ระเบียบการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2565

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

28 เม.ย. 2565 เวลา 5:30 น. 46.1k

ตรวจสอบขั้นตอน การลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุล่าสุด 2565 สำหรับผู้สูงอายุรายใหม่ เช็คคุณสมบัติเงื่อนไขและขั้นตอนการรับเงิน จากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่นี่

ตามที่มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันอังคารที่ 26 เมษายน 2565 มีมติการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2565 ในอัตราที่แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปี ถึงกลุ่มผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษดังนี้

  • กลุ่มผู้สูงอายุ 60 – 69 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 100 บาทต่อคนต่อเดือน 
  • กลุ่มผู้สูงอายุ 70 – 79 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 150 บาทต่อคนต่อเดือน 
  • กลุ่มผู้สูงอายุ 80 – 89 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน 
  • กลุ่มผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 250 บาทต่อคนต่อเดือน
     

ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลจาก กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ ถึงขั้นตอนและวิธีการลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2564

เพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจำปีงบประมาณ 2565 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

หลักฐานประกอบการขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออก โดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน)
  • สมุดบัญชีเงินฝากรนาคาร ในนามผู้มีสิทธิ/ผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ (สำหรับกรณีประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร)
  • สามารถมอบอำนาจเป็นลายลับษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำยอรับเนี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้

ระเบียบการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2565

    คุณสมบัติ

    1. สัญชาติไทย
    2. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2505
    3. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่
    • ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิศษ หรือ เงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

    ㆍผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงคราะห์ของรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    ㆍผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือ ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ

    • ไม่ร่วมถึงผู้พิการหรือป่วยเอดส์ตามระบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 หรือ ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติคณะรัฐมนตรี

    ระยะเวลาการลงทะเบียน

    • กรณีผู้สูงอายุที่มีอายุ 59 ปี สามารถลงทะเบียนตั้งแต่เตือนตุลาคม 2563 และ เดือน มกราคม 2564 ไปจนถึงเตือนกันยายน 2564

    หมายเหตุ: เกิดก่อน 2 กันยายน 2505 (อายุ 59 ปี ) เนื่องจากผู้สูงอายุที่เกิดตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2505- 1 ตุลาคม 2505 เป็นผู้สูงอายุที่จะมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่จะมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ คือ เดือนตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นปีงบประมาณ 2566 ดังนั้นกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าวต้องลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

    • กรณีผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพ สามารถลงทะเบียนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - เดือนพฤศจิกายน 2563 และ เดือนมกราคม 2564 ไปจนถึงเดือนกันยายน 2564 โดยจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

    สถานที่ลงทะเบียน

    • สำนักงานเขต หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุมีภูมิลำเนา

    การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได

    • อายุ 60-69 ปี จะได้รับ 600 บาท
    • อายุ 70-79 ปี จะได้รับ 700 บาท
    • อายุ 80-89 ปี จะได้รับ 800 บาท
    • อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

    ที่มา

    : กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ

    ระเบียบการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2565
    รัฐบาล แจง จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังยึดเกณฑ์เดิมไม่จ่ายประโยชน์ซ้ำซ้อน หลังมีการแชร์ข้อความระบุระเบียบใหม่ให้ขรก.บำนาญรับเบี้ยยังชีพได้ แนะติดตามข้อมูลทางการ 'พม.- มท.' อยู่ระหว่างวางนโยบายออกระเบียบให้ชัดเจน

    2 ก.ย. 2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ได้มีการส่งต่อข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุว่าขณะนี้ได้มีการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้กลุ่มผู้ได้รับบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษหรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันจากรัฐ สามารถรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้อีกทางหนึ่งด้วยนั้น รัฐบาลขอชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุยังยึดหลักเกณฑ์ตามระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุ (กผส.) และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่เพิ่มเติม พ.ศ. 2561 ที่กำหนดไม่ให้มีการจ่ายเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนกับประโยชน์อื่น

    น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้เกิดกรณีที่ผู้สูงอายุที่รับบำนาญ หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน เช่น การรับบำนาญต่อจากบุตรที่เสียชีวิตแล้ว ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วย กระทั่งเกิดกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฟ้องร้องเรียกเบี้ยยังชีพคืนเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้สูงอายุจากกรณีดังกล่าว คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ได้มีมติให้คืนเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่รับประโยชน์ซ้ำซ้อนที่ได้นำเงินมาคืนทางราชการแล้ว จำนวน 28,345 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 245.24 ล้านบาท รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถอนฟ้องหรือระงับการบังคับคดีกรณีที่ได้มีการดำเนินคดีเรียกคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยทั้งหมดให้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ ครม.มีมติ

    น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า จากปัญหาข้างต้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงอยู่ระหว่างการนำเสนอแนวทางการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุ(กผส.) เพื่อให้เกิดความชัดเจน เมื่อมีระเบียบของ กผส. ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทรวงมหาดไทยจะได้ปรับปรุงระเบียบให้สอดคล้องกัน และประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป

    ดังนั้น ในระหว่างระเบียบการจ่ายเบี้ยยังชีพยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้เกิดความชัดเจน การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ณ ปัจจุบันจึงยังต้องยึดหลักเกณฑ์เดิมนั่นคือ ต้องเป็นผู้ มีสัญชาติไทย อายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใจจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงผู้พิการหรือผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติ ครม.

    “ขณะนี้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างดำเนินการวางแนวนโยบายและกฎระเบียบให้มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากระทบกับผู้สูงอายุอีก เมื่อมีความชัดเจนแล้วจะประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป จึงขอให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุติดตามตรวจสอบประกาศระเบียบที่เป็นทางการ ไม่หลงเชื่อข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์โดยง่าย” น.ส.ไตรศุลี กล่าว