ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 2565

เปิดวิธีขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่มีสถานะไม่ถูกต้อง มีขั้นตอนยังไง เปิดให้ยื่น Name List ถึงเมื่อไหร่ นายจ้างต้องทำอะไรบ้าง รวมไว้แล้วที่นี่ครบ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มอบหมาย กระทรวงแรงงาน เปิดให้นายจ้างและสถานประกอบการ ดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงาน 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่มีสถานะไม่ถูกต้อง (ตามมติ ครม. 5 กรกฎาคม 2565) แล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ระยะเวลาการเปิดยื่นบัญชีรายชื่อ

  • ตั้งแต่วันนี้ – 15 สิงหาคม 2565 
  • ผ่านระบบอนุญาตทำงานคนต่างด้าวทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน 

ทั้งนี้เพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถอยู่และทำงานต่อในไทยได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หากต้องการอยู่ทำงานต่อต้องขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนที่จะสิ้นอายุ และยื่นขอตรวจลงตรา VISA ภายใน 13 กุมภาพันธ์ 2566 

 

โดยนายทะเบียน จะอนุญาตให้ทำงานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง คือ

  • ครั้งแรกไม่เกิน 13 กุมภาพันธ์ 2567 
  • ครั้งที่ 2 ไม่เกิน 13 กุมภาพันธ์ 2568
     

สำหรับขั้นตอนที่นายจ้างต้องดำเนินการมีดังนี้

 

1. นายจ้าง/สถานประกอบการ หรือบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ลงทะเบียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เว็บไซต์ กรมการจัดางาน เพื่อขอรับชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน

 

2. ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name list) ต่อ กรมการจัดหางาน พร้อมด้วยรูปถ่ายปัจจุบันของคนต่างด้าวที่เว็บไซต์ กรมการจัดางาน และชำระค่าธรรมเนียมผ่านธนาคารกรุงไทย 

 

โดยมีค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 900 บาท หลังจากนั้นธนาคารกรุงไทยจะออกใบเสร็จรับเงินให้แก่นายจ้าง ระยะเวลาดำเนินการ 15 วัน (วันที่ 1 - 15 สิงหาคม 2565)
  

3. นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ตามแบบ บต.50 พร้อมแนบเอกสารประกอบการยื่นคำขออนุญาตทำงานตามแบบ อ.4 ระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม 2565 - 15 ตุลาคม 2565 (ระยะเวลา 60 วัน) 

 

โดยนายทะเบียนจะออกใบรับคำขออนุญาตทำงาน เพื่อให้คนต่างด้าวใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานและใบเสร็จรับเงินคู่กัน เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับการผ่อนผันให้ทำงานได้ จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

 

4. คนต่างด้าวใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวพร้อมกับใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม แสดงต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม แบ่งเป็น

  • กรณีคนต่างด้าวที่รอขึ้นทะเบียนประกันสังคมจากนายจ้าง ระหว่างนั้นต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข หรือซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชนก่อน 
  • กรณีคนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม จะต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข และนำหลักฐานการทำประกันสุขภาพของคนต่างด้าวมายื่นต่อนายทะเบียน เพื่อรับการพิจารณาอนุญาตให้ทำงานไม่เกิน 13 กุมภาพันธ์ 2566

 

5. นายจ้างนำคนต่างด้าวไปดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ตรวจสุขภาพ 6 โรค จัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ ระหว่าง 16 สิงหาคม 2565 - 13 ก 66

1 ส.ค. นี้ ก.แรงงาน พร้อมให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ขึ้นทะเบียนเข้าระบบจ้างงานถูกต้อง นายไพโรจน์ โชติกเสถียร...

Posted by ศูนย์ข้อมูล COVID-19 on Saturday, July 23, 2022

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า วันนี้ (วันที่ 5 กรกฎาคม 2565)  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.เห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2565 กลุ่มคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามที่มีสถานะไม่ถูกต้อง ที่ประสงค์จะทำงานและมีนายจ้าง สามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 66 โดยหากประสงค์จะทำงานต่อไป สามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 ก.พ. 68 โดยต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงแรงงานได้สำรวจข้อมูลจากนายจ้างสถานประกอบการพบว่ายังมีความต้องการแรงงานประมาณไม่น้อยกว่า 120,000 คน

2.เห็นชอบให้กลุ่มคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา ที่มีสถานะถูกต้อง ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มมติครม. 29 ธ.ค. 63 มติครม. 13 ก.ค. 64 มติครม. 28 ก.ย. 64 จำนวนประมาณ 1,690,000 คน อยู่และทำงานได้ไม่เกิน 13 ก.พ. 68

“การฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 จำเป็นต้องมีมาตรการสนับสนุนนายจ้าง/สถานประกอบการ และภาคการผลิตให้สามารถจ้างคนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะทำงานให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานต่อไปได้ เพื่อให้ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศไทยขับเคลื่อนอย่างมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ที่ต้องการฟื้นฟูประเทศในมิติต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า สำหรับการบริหารจัดการคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย 4 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name list) ต่อกรมการจัดหางาน จากนั้นจะต้องยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวภายใน 60 วัน หลังยื่น Name List และชำระค่าธรรมเนียมค่ายื่นคำขอฉบับละ 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานฉบับละ 900 บาท ให้คนต่างด้าวใช้ใบรับคำขอดังกล่าวคู่กับใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าคนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้ทำงานได้จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งหลังดำเนินการตามขั้นตอนเสร็จสิ้นจะทำงานและอยู่ได้ถึง 13 ก.พ. 66 หากต้องการทำงานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียนจะอนุญาตให้ทำงานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 ก.พ. 68 เช่นเดียวกัน

และในส่วนแนวทางการดำเนินการของกลุ่มคนต่างด้าวที่มีสถานะถูกต้อง หรือแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุวันที่ 13 ก.พ. 66 จะแบ่ง เป็น 2 กลุ่ม

1.กลุ่มที่รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ภายในวันที่ 1 ส.ค. 65 หากต้องการทำงานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการ ตามขั้นตอนที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ เพื่อทำงานได้อีก  2 ปี (13 ก.พ. 68) โดยครม. เห็นชอบให้ ขยายระยะเวลาการตรวจลงตราจนถึงวันที่ 13 ก.พ. 66 (จากเดิมวันที่ 1 ส.ค. 65) และ

2. กลุ่มที่รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ภายหลังวันที่ 1 ส.ค. 65 หากต้องการทำงานต่อไป ให้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานและดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ โดยนายทะเบียน จะอนุญาตให้ทำงานคราวละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง ถึงวันที่ 13 ก.พ. 68

ทั้งนี้การดำเนินการของคนทั้ง 2 กลุ่มจะสามารถเริ่มดำเนินการได้หลังจากประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้แล้ว
https://www.doe.go.th/prd/main/news/param/site/1/cat/7/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/60379

ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 2565
บริการ ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2565 มติ 5 กรกฎาคม 2565

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 5 กรกฎาคม 2565 ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2565

ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 2565
สรุป มติ ครม. วันที่ 5 ก.ค. 2565 ของแรงงานต่างด้าว

เรื่องการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้

1. เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่  13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป สามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนต่างด้าวดังกล่าวประกอบด้วย

1.1 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563

1.2 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ได้แก่ คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 และคนต่างด้าวกลุ่มที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุดโดยผลของกฎหมาย

1.3 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564

1.4 ผู้ติดตามคนต่างด้าวตามข้อ 1.1 ข้อ 1.2 และข้อ 1.3

ทั้งนี้ คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ซึ่งได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 แล้ว แต่ยังไม่ได้จัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ให้ไปดำเนินการจัดทำบัตรดังกล่าวภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 จึงจะสามารถดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวต่อไปได้

ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2565

2. เห็นชอบการบริหารจัดการคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่ประสงค์จะทำงานและมีนายจ้าง สามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนต่างด้าวดังกล่าวประกอบด้วย

2.1 คนต่างด้าวซึ่งการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงาน สิ้นสุดโดยผลของกฎหมาย และมีเอกสารประจำตัวซึ่งมีอายุหรือหมดอายุ และมีรอยตราประทับ หรือเคยจัดทำ หรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ

2.2 คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกต้อง และทำงานอยู่กับนายจ้างก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ

2.3 คนต่างด้าวซึ่งมีเอกสารประจำตัวและมีรอยตราประทับ โดยระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลง แต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (Over Stay) ซึ่งทำงานอยู่กับนายจ้างก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ

ทั้งนี้ กรณีคนต่างด้าวสัญชาติเวียดนามต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุและมีรอยตราประทับทุกกรณี

3. เห็นชอบการบริหารจัดการคนต่างด้าวตามข้อ 2 ที่ดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ที่ประสงค์จะทำงานต่อไปสามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ในการประกันสุขภาพของคนต่างด้าวที่ดำเนินการตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 สามารถประกันสุขภาพได้กับโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยในประเทศ ดังนี้

1) กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างในกิจการซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข

และ 2) กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างในกิจการต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ในระหว่างที่ยังไม่เกิดสิทธิประกันสังคมต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข หรือซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชน ซึ่งต้องได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการทำประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข

4. เห็นชอบการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

4.1 กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ดังนี้

1) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1.1 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป ให้ไปขอรับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566

2) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1.2 ข้อ 1.3 ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่  13 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ยังไม่ได้ยื่นขอตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หากคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะทำงานต่อไป ให้ไปขอรับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566

3) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล หากคนคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะทำงานต่อไปให้ไปขอรับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566

4) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไปอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ดังนี้

(1) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565   หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานต่อไป ให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568

(2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2565 (ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2565 – 13 กุมภาพันธ์ 2566) หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานต่อไป ให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ครั้งแรกไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่สองไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
ทั้งนี้ ในกรณีที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสิ้นอายุ ให้คนต่างด้าวดำเนินการให้ได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตหรือย้ายรอยตราประทับอนุญาต รวมถึงขยายระยะเวลาอนุญาตตามสิทธิให้แก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยยกเว้นเปรียบเทียบปรับในช่วงที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

5) ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดา

6) มิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้

1) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่             29 ธันวาคม 2563 (ฉบับที่ ..)

2) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..)

3) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..)

4) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง                การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา    ซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..)

5) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 (ฉบับที่ ..)

6) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ … และ

7) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …

4.2 กระทรวงแรงงาน ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2 ที่นายจ้างดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name List) และอยู่ระหว่างการยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวสามารถทำงานไปพลางก่อนได้ โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 60 วันนับจากวันสิ้นสุดการยื่นบัญชีรายชื่อ
2) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2 ใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว         คู่กับใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าคนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้ทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงาน หรือไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
3) อนุญาตให้คนต่างด้าวดังต่อไปนี้ ได้รับอนุญาตทำงานไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
(1) คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และได้รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปภายในวันที่              1 สิงหาคม 2565 อนุญาตให้ทำงาน ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
(2) คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และได้รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป หลังจากวันที่                  1 สิงหาคม 2565 (ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2565 – 13 กุมภาพันธ์ 2566) อนุญาตให้ทำงานครั้งแรก ถึงวันที่                  13 กุมภาพันธ์ 2567 และอนุญาตให้ทำงานได้อีกครั้งถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
(3) คนต่างด้าวตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และหากคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะทำงานต่อไปถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 จะอนุญาตทำงานได้อีกสองครั้ง ครั้งแรกอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่สองอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
4) ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตทำงาน มีสิทธิทำงานกับนายจ้างได้ทุกประเภทงานที่มิได้ประกาศห้ามคนต่างด้าวทำ โดยให้นำประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ              ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 และประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกรและงานขายของหน้าร้านกับนายจ้าง ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
5) ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตทำงานถ้าออกจากงานจะต้องทำงานกับนายจ้างใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างเดิม
6) ให้คนต่างด้าวได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งข้อมูลการเข้าทำงานกับนายจ้างให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา 64/2 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
7) ให้คนต่างด้าวที่ทำงานประมงทะเลดำเนินการเพิ่มนายจ้างตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่                 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ และร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การยกเว้นหน้าที่การแจ้งข้อมูลการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2