จดทะเบียน สมรสที่ต่างประเทศ

การขอจดทะเบียนการสมรสผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจาก คู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้า นายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสาร ของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย
(1) คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (ขอรับได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือดาวน์โหลดจาก แบบฟอร์มคำร้อง)
(2) บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริงหรือบัตรเหลืองติดรูปถ่าย หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่ายหรือเอกสารรับรองบุคคล ที่คัดสำเนาจากฐานข้อมูลทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนาด้านหน้าและด้านหลัง 1 ชุด
(3) ทะเบียนบ้านไทยตัวจริง หรือฉบับที่มีตรารับรองจากอำเภอ พร้อมสำเนา 1 ชุด (สำเนาซึ่งอำเภอรับรองมาจะต้องออกให้ภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
(4) หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย หน้าต่ออายุหนังสือเดินทาง และหน้าเปลี่ยนนามสกุล กรณีมีวีซ่า กรุณาถ่ายสำเนาหน้าวีซ่ามาด้วย 1 ชุด
(5) ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยอำเภอไทยไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์กระทรวงการต่างประเทศไทย กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยอำเภอไม่เกิน 3 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย (ต้องผ่านการรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศไทย)
(6) หากเคยจดทะเบียนหย่ามาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริงหรือใบทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่าพร้อมสำเนา 1 ชุด (กรณีที่เป็นหญิงไทยต้องหย่ามาแล้วอย่างน้อย 310 วัน หากหย่ายังไม่ถึง 310 วัน ไม่สามารถจดทะเบียนตามกฎหมายไทยได้)(7) หากเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อน กรุณานำใบเปลี่ยนชื่อตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
(8) รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป

เอกสารของบุคคลสัญชาติอื่น

(1) หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่ายและมีชื่อ 1 ชุด
(2) หนังสือรับรองสถานะการสมรสออกโดยทางการของประเทศคู่สมรส ซึ่งจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการรับรองเอกสารจากสถานทูต/สถานเอกอัครราชทูตฯ ของประเทศคู่สมรส ซึ่งประจำประเทศจีน 1 ชุด
(3) ใบรับรองการทำงาน 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน
(4) ใบรับรองการเสียภาษี (1 ปี ย้อนหลัง) 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน
(5) ใบรับรองเงินเดือน (3 เดือนย้อนหลัง) 1 ชุด ที่ผ่านการประทับตราและรับรองจาก Notary Public ของจีน
(6) รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว 1 รูป

กำหนดเสร็จ
ประมาณ 30 นาที (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

หมายเหตุ
หากคู่สมรสชาวต่างชาติ ไม่ได้ทำงาน ให้เขียนจดหมายรับรองรายได้ของตนเอง แล้วนำไปประทับตรารับรองจาก Notary Public 

2. การหย่าการขอจดทะเบียนหย่าจะต้องไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานทูตฯ เนื่องจาก ต้องลงลายมือชื่อต่อหน้า นายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน           

การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทยสามารถดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศได้

***กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติลาว การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยจะใช้บังคับ
ใน สปป. ลาวไม่ได้ ดังนั้น หากต้องการให้การสมรสถูกต้องตามกฎหมาย สปป. ลาว ต้องดำเนินการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายและระเบียบของ สปป.ลาว เท่านั้น

เมื่อจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย สปป. ลาว แล้ว สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อรับรองเอกสารการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย สปป. ลาว สำหรับยื่นขอบันทึกฐานะแห่งครอบครัวในประเทศไทยเพื่อรับรองการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายลาวสำหรับใช้ในประเทศไทยต่อไป

1.1 คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

    – ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิง

      มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้

    – ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

    – ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา

    – ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

    – ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้

    – หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่

              * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

              * สมรสกับคู่สมรสเดิม

              * มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

              * ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้

              * มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

    – ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย

1.2 เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอจดทะเบียนสมรส  

คู่สมรสเป็นบุคคลสัญชาติไทย

  1. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส (แบบฟอร์ม)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
  4. หนังสือรับรองความเป็นโสด ที่ออกโดยเขตหรืออำเภอไม่เกิน 6 เดือน
  5. หนังสือให้ความยินยอม(กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
  6. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล(กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ-สกุล)
  7. สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร(กรณีมีบุตรด้วยกันมาก่อน)
  8. ใบสำคัญการหย่าหรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า(กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)

คู่สมรสเป็นคนสัญชาติลาว

  1. หนังสือรับรองคุณสมบัติเหมาะสมหรือมีเสรีภาพในการสมรส ซึ่งออกโดยทางการ สปป. ลาว

     (หนังสือรับรองความเป็นโสด)

  1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
  2. สำเนาทะเบียนบ้านหรือรายละเอียดที่อยู่
  3. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
  4. ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)
  5. หนังสือรับรองความประพฤติ
  6. ใบรับรองแพทย์

***เอกสารภาษาลาวต้องแปลเป็นภาษาไทย และนำไปให้กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาวรับรอง

คู่สมรสเป็นต่างชาติที่ไม่ใช่สัญชาติลาว

  1. หนังสือรับรองความเป็นโสด ซึ่งออกโดยทางการของประเทศผู้ร้อง
  2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
  3. สำเนาทะเบียนบ้านหรือรายละเอียดถิ่นพำนัก
  4. หนังสือรับรองความประพฤติ
  5. ใบรับรองแพทย์
  6. หนังสือให้ความยินยอม(กรณีผู้ร้องยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย)
  7. ใบสำคัญการหย่า(กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)

หนังสือรับรองความเป็นโสด ควรเป็นหนังสือซึ่งออกโดยทางการของประเทศที่ผู้ร้องมีสัญชาติและผ่านการรับรองโดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว

  1. ให้สถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ร้องประจำ สปป. ลาว รับรองและนำไปให้กระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว รับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำ สปป. ลาว
  2. หากกระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว ไม่สามารถรับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตของประเทศผู้ร้องประจำ สปป. ลาว ได้ อาจขอให้สถานเอกอัครราชทูตดังกล่าวติดต่อมาที่สถานเอกอัครราชทูตไทยเพื่อส่งตัวอย่างลายเซ็นของเจ้าหน้าที่
  3. หากไม่สามารถดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 ได้ หรือหากประเทศของผู้ร้องไม่มีสถานเอกอัครราชทูต
    ใน สปป. ลาว สามารถให้สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำประเทศไทยรับรองหนังสือรับรองสถานภาพโสดและนำไปให้กรมการกงสุลของกระทรวงการต่างประเทศไทยรับรองลายเซ็นของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตประเทศผู้ร้องประจำประเทศไทย และสามารถจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยหรือที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ได้

หมายเหตุ

  • ไม่มีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการจดทะเบียนสมรส
  • ค่าธรรมเนียมในการรับรองเอกสารจากสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ อัตรา 600 บาท/ตราประทับ
  • ในวันที่จดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องนำพยาน (บุคคลที่รู้จัก สัญชาติใดก็ได้) มาด้วย 2 คน (พยานต้องนำหนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวประชาชน กรณีคนไทย มาแสดง) ถ้าเป็นคนต่างชาติให้ถือหนังสือเดินทางมาแสดง
  1. การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย สปป. ลาว

บุคคลสัญชาติไทยมีความประสงค์จดทะเบียนสรมรสกับคนลาวจะต้องเตรียมเอกสารตามแบบฟอร์มที่กำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยการจดทะเบียนสมรสระหว่างพลเมืองลาว กับคนต่างประเทศของ สปป. ลาว ให้ครบถ้วน

เอกสารที่คู่สมรสฝ่ายไทยต้องเตรียม

  • หนังสือหมั้นหมายสู่ขอ
  • รูปขนาด 3 x 4 จำนวน 6 รูป
  • หนังสือรับประกันการส่งตัวคนลาวกลับประเทศตามจุดประสงค์กรณีมีการหย่า ได้รับการรับรองจากกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศ(ถนนแจ้งวัฒนะ)
  • หนังสือรับรอง (To whom it may concern) จากสถานทูต ฯ หรือกงสุลไทย
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล(กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ-สกุล)
  • สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร(กรณีมีบุตรด้วยกันมาก่อน)
  • ใบสำคัญการหย่า(กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว)

หมายเหตุ เอกสารที่ยื่นต่อทางการ สปป. ลาว ต้องแปลเป็นภาษาลาวและผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย