การบริหารจัดการการผลิต ตัวอย่าง

การวางแผนการผลิตเป็นขั้นตอนการออกแบบระบบที่สำคัญ ในพัฒนาทั้งกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการให้ตอบสนองการผลิตให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่การผลิตไปจนสินค้าถึงมือลูกค้าตามเวลาที่กำหนด 

ซึ่งการออกแบบระบบสำหรับการวางแผนการผลิตในโรงงาน สามารถทำได้หลายรูปแบบตั้งแต่การใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผน หรือจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทางก็ได้

ในบทความนี้จะมาอธิบายการวางแผนการผลิต (Production Planning) ที่ดีต้องทำอย่างไรบ้าง พร้อมบอกวิธีที่โรงงานควรนำไปใช้ เพื่อสร้างผลประกอบการในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

อ่านตามหัวข้อ

  • การวางแผนการผลิตคืออะไร?
  • การวางแผนการผลิตที่ดีเป็นอย่างไร?
  • ความสำคัญของการวางแผนการผลิต
  • สรุปท้ายบทความ

การวางแผนการผลิตคืออะไร?

การวางแผนการผลิต คือการนำปัจจัยทางด้านการผลิต มาจัดระเบียบขั้นตอนการทำงานให้การผลิตบรรลุเป้าตามที่ความต้องการของท้องตลาด ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ แรงงาน, วัตถุดิบ, เครื่องจักร, และกระบวนการผลิต หรือเรียกอีกอย่างว่า 4M  (Man, Material, Machine, Method) 

โดยผู้ผลิตจะเริ่มประเมินสถานการณ์ในตลาดนั้นๆ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดก่อนเริ่มดำเนินการวางแผนการผลิตในขั้นตอนถัดมา ซึ่งการวางแผนในระบบนี้ จะถูกแบ่งเป็น 2 แบบ 

1. การวางแผนการผลิตระยะยาว

แผนการผลิตนี้จะถูกนำมาใช้เมื่อเกิดการลงทุน และใช้ระยะเวลาการผลิตตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งจุดหมายของแบบแผนจะเน้นการเพิ่มกำลังการผลิต และการขยายกิจการ ดังนั้นการวางแผนการผลิตระยะยาวจึงถูกออกแบบให้รองรับการเติบโตของธุรกิจ และอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น การวางแผนการสร้างหรือการขยายโรงงาน เป็นต้น

2. การวางแผนการผลิตระยะสั้น 

แผนการผลิตระยะสั้น เหมาะกับการคำนวณกำลังการผลิตที่มีเป้าหมายชัดเจน หากคุณต้องการกำหนดการผลิตประจำสัปดาห์ หรือการผลิตประจำไตรมาส รูปแบบการวางแผนการผลิตนี้จึงเหมาะสมเป็นอย่างมาก โดยคุณสามารถใช้วางแผนการผลิตตามช่วงต่างๆ ได้ภายใน 12 เดือน

การวางแผนการผลิตที่ดีเป็นอย่างไร?

การบริหารจัดการการผลิต ตัวอย่าง

ไม่องค์กรไหนๆ ก็สามารถมีการวางแผนการผลิตที่ดีได้ หากผู้รับผิดชอบในส่วนนั้นเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ที่แท้จริง เพราะการวางแผนการผลิตเปรียบเหมือนหัวใจสำคัญที่ครอบคลุมส่วนต่างๆ ให้รวมเป็นหนึ่ง ไม่ว่าจะในส่วนของการประสานงานเพื่อค้นหาความต้องการของตลาด, การประมาณการกำลังการผลิต (Production Capacity) ของโรงงาน รวมไปถึงการดำเนินการในขั้นตอนถัดไปจนสำเร็จผล 

ดังนั้นทักษะการสื่อสาร การประสานงาน และการมองการณ์ไกล จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้รับหน้าที่นี้ควรมีความเชี่ยวชาญ เพื่อกำหนดแผนงานที่เฉียบขาดให้องค์กรได้เดิมตามไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของการวางแผนการผลิต

อย่างที่ทราบกันดีว่า อุตสาหกรรมในปัจจุบันนี้มีการแข่งขันมากมายในท้องตลาด เพราะฉะนั้นกลุ่มโรงงานและผู้ผลิตจำเป็นต้องมีรูปแบบแผนดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้สอดคล้องต่อผลผลิตของตน 

ด้วยความแตกต่างนั้นทำให้การวางแผนการผลิตถูกแบ่งตามกระบวนการผลิตต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. Master production schedule (MPS)

การวางแผนกำหนดการ การผลิตสินค้าในช่วงเวลาที่กำหนด แผนการดำเนินงานประเภทนี้มักถูกสร้างขึ้นโดยซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้ หรือผู้ผลิตสามารถกำหนดเองได้

2. Material requirements planning (MRP)

ระบบอัตโนมัติที่แต่ละโรงงานก็สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ เช่น ระบบนี้เหมาะสำหรับการวางแผนการผลิต, การจัดตารางเวลา และการควบคุมสินค้าในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ระบบ MRP ยังช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหาระหว่างการผลิต พร้อมสร้างความมั่นใจให้คุณได้ว่ากระบวนการผลิตทุกส่วนมีความพร้อม

3. การวางแผนกำลังการผลิต

หนึ่งในกระบวนการสำคัญ ที่จะคอยกำหนดกำลังการผลิตของโรงงาน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเทรนด์ที่มีการเปลี่ยนไปตามความนิยม

4. การวางแผนการผลิตแบบ Workflow

 นี่คือการวางแผนลำดับของการดำเนินงานให้แก่พนักงาน หรือกลุ่มพนักงานในองค์กร นอกจากนี้บทบาทการทำงานในประเภทอื่นๆ ยังนำตรรกะของการวางแผนการผลิตมาเสริมการทำงานให้เกิดระบบ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานด้วยเหมือนกัน เช่น การวางแผนทรัพยากรบุคคล เป็นต้น

5. การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP)

การรวบรวมกระบวนการดำเนินงานขององค์กรไว้ในระบบ โดยใช้ซอฟต์แวร์ในการช่วยจัดระบบและแบบแผนให้ในแต่ละหน่วยงานสามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านซอฟต์แวร์ ERP เพียงโปรแกรมเดียว แถมผู้ประกอบการยังสามารถเห็นภาพรวมของตัวรายงานผลได้ภายในคลิกเดียว

6. การวางแผนการขายและการดำเนินงาน (S&OP)

กระบวนที่ผู้บริหารทำการประเมินแผนงานในทุกบทบาทการทำงานในองค์กร และปรับให้สนับสนุนต่อแผนธุรกิจ เพื่อสร้างผลกำไรให้มีประสิทธิผล

ความสำคัญของการวางแผนการผลิต

หากโลกนี้ยังมีการแข่งขันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ ในอุตสาหกรรมการผลิตจึงจำเป็นต้องหาจุดสมดุลของการผลิต ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อเพื่อสร้างผลกำไรให้แก่ความมั่นคงของธุรกิจ 

ข้อดีของการวางแผนการผลิต

  • สร้างสายการผลิตตามสูตรการผลิต (BOM) ของสินค้าได้
  • มองเห็นภาพรวมของงานและสามารถเชื่อมโยงโครงการได้ตามต้องการ รวมไปถึงการเชื่อมโยงทั้ง ลูกค้า ผู้ขาย หรือพนักงาน
  • ทราบต้นทุนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว ความเสี่ยงต่องบบานปลายเพราะสามารถปรับต้นทุนให้สอดคล้องต่องบประมาณได้ก่อนเริ่มการผลิต 
  • กำหนดจำนวนสินค้าที่ต้องการผลิตได้ตามต้องการ 

ดังนั้น โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการวางแผนการผลิตที่ดีจะช่วยควบคุมทุกอย่างที่อยู่ในกระบวนการผลิต และส่งผลให้องค์กรของเราประหยัดงบประมาณในระยะยาวได้ นอกจากนี้ลดระยะเวลาการรอคอยสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดได้อีกเช่นกัน

วิธีการวางแผนการผลิตที่โรงงานควรใช้ 

เมื่อองค์กรมีจุดมุ่งหมายในการสร้างรายรับเพิ่มขึ้น “การวางแผนการผลิต” จึงเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจอุตสาหกรรมไปสู่ความสำเร็จได้ เพียงเพิ่มกลยุทธ์เล็กๆ อย่างการวางแผนการผลิตด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. ประเมินความต้องการสินค้าในตลาด

การเข้าใจและรับรู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เป็นกระบวนการแรกของการวางแผนการผลิต โดยทำการสำรวจและหาคำตอบ นำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าควรผลิตจำนวนเท่าใดในช่วงเวลาที่กำหนด 

2. จัดสรรงบประมาณการผลิต เพื่อกำหนดกำลังการผลิต

เมื่อทราบความต้องการของตลาดแล้ว ต่อมาที่ควรทราบคืองบประมาณในมือของคุณมีเท่าไร แบ่งสัดส่วนได้อย่างไรบ้าง ซึ่งคุณสามารถแบ่งงบประมาณได้ 3 ส่วน ดังนี้ 

  • งบประมาณบุคลากร 
  • งบประมาณอุปกรณ์ 
  • งบประมาณวัตถุดิบ 

งบประมาณแต่ละส่วนจะสามารถแตกย่อยออกไปได้อีกตามพื้นฐานของแต่ละโรงงาน โดยการจัดสรรงบประมาณจะทำให้ทราบได้ว่า กำลังการผลิตสินค้าสู่ตลาดนั้นมีขีดจำกัดที่ตรงไหน และทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตามที่คาดการณ์ไว้ได้ 

3. การวางแผนการผลิต

3.1 วางแผนกระบวนการ (Process Planning) 

เริ่มต้นด้วยการมองภาพรวมของการผลิต เพื่อไล่ระดับความสำคัญของกระบวนการทำงานให้เสร็จไปตามลำดับ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการช่วยย่นระยะเวลาการผลิตได้ดี หากทีมวางแผนกำหนดกระบวนการ และลำดับในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 การวางแผนเครื่องจักร (Machine Planning) 

เพื่อให้ได้ผลผลิตทันเวลา เครื่องจักรจึงถูกใช้งานอย่างหนัก ไม่มีการหยุดพัก ด้วยเหตุนี้อาจมีผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตของเครื่องจักรลดลงได้ อาจส่งผลให้การผลิตหยุดชะงักและล่าช้าได้ 

เพื่อเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ก่อนเริ่มการผลิตในแต่ละครั้งควรมีวางแผนการตรวจเช็กสภาพของเครื่องจักรให้มีความพร้อมอยู่เสมอ 

3.3 วางแผนด้านแรงงาน (Man Planning) 

สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือกฎหมายด้านแรงงาน องค์กรจำเป็นที่จะต้องกำหนดเวลาการทำงาน และการพักที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่ม และควรมอบหมายงานที่เหมาะสมต่อความสามารถ ไม่เกินกำลังการแก่พนักงาน

3.4 การวางแผนการจัดเก็บ (Store Planning) 

ในส่วนสุดท้ายของกระบวนการนี้คือ การวางแผนการจัดเก็บ ผู้วางแผนการผลิต ควรมองหาแหล่งที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บสินค้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน ตั้งแต่วัตถุดิบ สินค้าระหว่างการผลิต รวมไปถึงสินค้าที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์ และไม่สูงเกินกว่าระดับที่กำหนด

4. ติดตาม ประเมินผล และปรับแผนให้มีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการการผลิต ตัวอย่าง

ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของการผลิตว่าเป็นอย่างไร รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่มการผลิตจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น เพื่อนำมาปรับแก้การวางแผนการผลิตในอนาคตให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

นอกจากนี้ การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งมอบแก่ลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพที่ดี และความน่าไว้วางใจของโรงงาน ทุกๆ องค์จึงไม่ควรละเลยในกระบวนการนี้เป็นอันขาด 

สรุปท้ายบทความ

หากเรามีทีมที่พร้อมด้วยประสบการณ์ วัตถุดิบคุณภาพ และเครื่องมืออุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลประกอบการที่น่าพึงพอใจต่อลูกค้า และอุตสาหกรรม หรือโรงงานนั้นๆ การวางแผนการผลิต (Production Planning) จึงเป็นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ที่ต้องคำนึงถึง เพราะบทบาทและหน้าที่ของกระบวนการนี้ คือการวางรูปแบบการทำงานให้เกิดผลงานที่ดีที่สุด 

ในช่วงเวลาที่มีการแข่งขันอยู่เสมอ สิ่งสำคัญที่ทุกโรงงานควรมี คือการจัดระบบและการวางแผนการผลิตที่รวบรัด ครอบคลุมต่อทุกสถานการณ์ รวมไปถึงการมองการณ์ไกลเพื่อเล็งหาโอกาสพัฒนาผลประกอบการในอนาคต และ ระบบ ERP อาจเป็นอีกตัวเลือกที่จะช่วยยกระดับองค์กรด้วยนวัตกรรมล่าสุด พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และส่งมอบคุณค่าของแบรนด์ให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณ

กิจกรรมทางด้านการบริหารจัดการการผลิต มีอะไรบ้าง

○1. การวางแผน (planning) ○2. การจัดองค์การ (organizing) ○3. การจัดคนเข้าท างาน (staffing) ○4. การอ านวยการ (directing) ○5. การควบคุม (controlling) ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่ควรมีในการบริหารการผลิต

ระบบบริหารการผลิต คือข้อใด

การบริหารการผลิต หมายถึง การสร้าง การวิเคราะห์ การจัดการ การวางแผนการปฏิบัติตาม แผน และการควบคุมผลิตภัณฑ์ขององค์การ เพื่อสนองความจําเป็นและความต้องการของลูกค้าให้เกิด ความพึงพอใจ ขณะเดียวกันก็ต้องบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ การ ดําเนินงานตามกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ถ้าผู้บริหารขาด ...

การบริหารการผลิต มีกี่ขั้นตอน

การผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคํานึงถึงปัจจัยด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และราคา ซึ่งทั้งหมดนี้ จะต้องนํามารวมไว้ในระบบการผลิต โดยมีการวางแผนและควบคุมการผลิตเป็นแกนกลาง กิจกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ ในระบบการผลิตนั้นสามารถจําแนกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน (planning) การดําเนินงาน (operation) และการควบคุม (control)

การบริหารการผลิตมีความสําคัญอย่างไร

นอกจากทางที่กล่าวมาข้างต้น ความสำคัญของการบริหารการผลิตก็คือการหาวิธีช่วยให้การผลิต มีความสะดวก มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้ปริมาณในเวลาที่ต้องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดแต่กำไรได้มาก