หลักการทํางานเพื่อการดํารงชีวิต 6p

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องการทำงานในชีวิตประจำวัน
1.หลักการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตประจำวันต้องอาศัยหลักการทำงาน  6  P
หลักในการทำงาน 6P  มีดังนี้
p  ที่1  PositiveThinking  การมีทัศนคติเป็นบวก
P  ที่2  Peaceful  Mimd  การมีจิตใจที่สงบ
P  ที่3  Patent  การมีความอดทน
P  ที่5  Polite  การเป็นคนสุภาพ
P  ที่6  Protessional  ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน
2.หลักการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
             ในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จจำเป้นต้องมีการปรับปรุง
และพัฒนาวิธีการทำงานอยู่เสมอโดยอาศัยกระบวนการ  PDCA  4  ขั้นตอน
ได้แก่  P  (plan)  D (Doing)  C  (check)  A  (Act)และหลักการ
D  E  V  E  L  O  P  คือหลักการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
 Development  ตรวจสอบจุดแข็งและจุดบกพร่อง
Endurance  อดทนต่อความเครียดและแรงกดดัน
Versatile  ในการทำงานเป็นกลุ่มนั้นจะต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความสามารถ
Energetic  จะต้องมีความกระตือรือร้น
Love  ในการทำงานนั้นต้องรู้สึกรักงาน
Orgenizing  ในการทำงานต้องรู้ว่าควรจัดการอะไรก่อน หลัง
Positive thinking  มองโลกในแง่ดี

การทำงานเพื่อการดำรงชีวิตจำเป็นต้องมีทักษะกระบวนการที่ดี และมีจริยธรรม คุณธรรมในการทำงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

1. หลักการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต

การทำงานในชีวิตประจำวันล้วนประกอบไปด้วยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย จึงจำเป็นต้องอาศัยหลักการทำงาน 6P เข้ามาาประยุกต์ใช้เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ

หลักการ 6P มีดังนี้ 

หลักการทํางานเพื่อการดํารงชีวิต 6p

2. หลักการทำงานให้ประสบความมสำเร็จ

  ในการทำงานให้ประสบความสำเร้จนั้น เราจำเป็นต้องมมีการปรับปรุงพัฒนาวิธีการทำงานอยู่เสมอ โดยอาศัยกระบวนการ PDCA 4ขั้นตอน ได้แก่ P (Plan) D (Do) C (Check) A (Act) และหลักการ ” D-E-V-E-L-O-P” ซึ่งมีดังนี้ 

หลักการทํางานเพื่อการดํารงชีวิต 6p

D = Development  
หัวใจไม่หยุดยั้งการพัฒนาผลงานและตนเองอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องบุคลิกภาพ  พฤติกรรมหรือแม้แต่วิธีการทำงาน หาจุดแข็งและจุดบกพร่องของตัวเองให้เจอ แล้วพยายามพัฒนาเพิ่มจุดแข็งตัวเองให้เด่นขึ้นและกล้าที่จะปรับปรุงจุดบกพร่องของตัวเองให้ดีขึ้นด้วย

E = Endurance  
มุ่งเน้นความอดทน หนักเอาเบาสู้  เมื่อไรที่คุณมีความอดทนพอ ไม่ว่าจะเป็นอดทนต่อคำพูด อดทนต่อพฤติกรรมการสบประมาทจากคนอื่น และอดทนต่อความเครียดในการทำงาน คุณคนนั้นก็จะจัดการกับปัญหาที่เข้ามาทั้งเบาหรือหนักแบบที่ว่ากระโดดผ่านไปได้อย่างสบาย

V = Versatile 
มีความสามารถหลากหลาย คุณจะต้องเป็นคนรอบรู้ในทุกอย่างสามารถที่จะรับมือกับงานที่เข้ามาได้ทุกรูปแบบโดยที่ไม่ปฏิเสธหรือพยายามหลีกเลี่ยงงาน เพียงเท่านี้คุณก็มีโอกาสที่จะก้าวหน้าการทำงานมากกว่าคนอื่นแล้ว

E = Energetic 
กระตือรือร้น มีพลังในการใช้ชีวิตอยู่เสมอเพราะเมื่อไรถ้าคุณเกิดหยุดที่จะตื่นตัวแสวงหาความรู้ใหม่ๆ  คุณจะไม่มีแรงที่ต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคที่เข้ามาอย่างลุล่วงเลย

L = Love 
รักงานที่ทำ ถ้าคุณเป็นคนที่เลือกงานไม่ได้คุณก็ต้องพยายามรักงานที่คุณกำลังทำอยู่ให้ได้ แล้วสิ่งนั้นจะดีเอง อย่าลืมว่าความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างชิ้นงานต่างๆขึ้นมา

O = Organizing 
จัดการเป็นเลิศ อย่าคอยพูดว่าไม่มีเวลาถ้าคุณไม่เคยลำดับการวางแผนเรื่องราวว่าควรทำอะไรก่อนและหลังบ้าง แต่ถ้าคุณรู้ว่ามีสิ่งไหนสำคัญกับคุณบ้างแล้ว ก็ขอให้หยิบกระดาษกับปากกาออกมาจดโน๊ตสั้นๆจัดลำดับสิ่งที่ต้องทำในชีวิต แล้วเวลาจะกลับมาหาคุณเอง นอกจากนั้นงานที่คุณทำก็จะมีประสิทธิภาพอีกด้วย

P = Positive Thinking 
คิดแต่ทางบวก การมองโลกในมุมดีมีความสำคัญกับการทำงานมากจริงๆ เพราะเป็นเหมือนยาวิเศษที่เราสร้างขึ้นเองอย่างที่คุณคิดไม่ถึง ถือเป็นกำลังใจและพลังชั้นเยี่ยมที่จะทำให้มีความสนุกและความสุขกับงานทุกชิ้นทีเดียว

 

3. ทักษะในการทำงาน

3.1 ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยลักษณะ 4 ประการ ดังนี้

  1. ความคิดริเริ่ม คือ ความคิดที่แปลกใหม่  ซึ่งแตกต่างจากความคิดเดิม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ
  2. ความคล่องในการคิด คือ ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว และมีปริมาณมากในเวลาจำกัด เช่นการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานได้หลากหลายอย่างมีคุณภาพในเวลาที่กำหนด เป็นต้น
  3. ความยืดหยุ่นในการคิด คือ ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภทและหลายทิศทาง ดัดแปลงสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้ เช่น การนำขวดน้ำพลาสติกที่เหลือใช้ไปประดิษฐ์เป็นแจกันใส่ดอกไม้ เป็นต้น
  4. ความคิดละเอียดละออ คือ ความคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่ง หรือขยายความคิดหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งความละเอียดละออในการคิดขึ้นอยู่กับเพศ อายุ ประสบการณ์ และความสามารถด้วย

3.2 ทักษะการจัดการงาน  มีทั้งหมด 8 ประการ ดังนี้

  1. การมอบหมายงาน 

-บอกรายละเอียดงานที่ทำ
-คุณภาพที่ต้องการ
-ปริมาณที่ต้องการ
-กำหนดเวลาที่งานต้องเสร็จ
-สมเหตุสมผล
-ย้ำถึงการติดตามงาน

2. การให้คำแนะนำต่องานที่มอบหมาย

-เครื่องมือและอุปกรณ์
-วิธีการ
-การเปลี่ยนแปลง
-รายละเอียดของการทำงาน
-วัตถุดิบที่ต้องใช้
-แหล่งที่มาของวัตถุดิบและอุปกรณ์
-ผู้ที่เกี่ยวข้อง

3. การติดตามผลงาน

-เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่ควรจะเป็น
-เปรียบเทียบผลงานที่ได้กับแผนงาน

4. การให้คำชมเชย

-ตั้งอยู่บนข้อมูลที่ปรากฎ
-คำชมเชยจะมีประสิทธิภาพ ถ้าเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น
* ตบไหล่
* พยักหน้า
เช่น คุณทำงานได้ดีมาก

5. การแก้ปัญหที่ดี

-เมื่อมีค่าต่างไปจากสิ่งที่คาดหมาย
-การแก้ปัญหาที่เป็นระบบ
* หาสาเหตุ
* รวบรวมข้อมูล
* หาวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้
* ประเมินผลวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้
* ดำเนินการตามวิธีที่ดีที่สุด

6. การชี้แนะตักเตือน

-พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การเผชิญหน้า
-การสื่อสารสองทาง
-พฤติกรรมที่สามารถสังเกตุหรือเห็นได้ชัด

7. การให้ความช่วยเหลือ

-ให้ความร่วมมือ
-แสดงความใส่ใจ
-พูดคุยส่วนตัว
* แสดงความชัดเจน
* ให้คำแนะนำ
* ให้การสนับสนุน
* ช่วยประณีประนอม (ระหว่าง 2 ฝ่าย)
* มีส่วนร่วม

8. การรายงานผล

-การส่งผ่านข้อมูลที่สำคัญไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องในองค์กร
-รายงานอย่างซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา
-ตรงเวลา

3.3 ทักษะการแสวงหาความรู้

การแสวงหาความรู้เกิดจากความพยายามศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ประเภทต่่างๆ เพื่อนำมาใช้พัฒนาตนเอง

ทักษะการแสวงหาความรู้ประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 การวางแผน

โดยวิเคราะห์สถานะการ 5W1H ไว้ล่วงหน้า ได้แก

หลักการทํางานเพื่อการดํารงชีวิต 6p

W = Who ใครเป็นผู้สืบค้นหาความรู้

W = What จะสืบค้นเรื่องอะไร

W = Where จะสืบค้นที่ไหน

W = when  จะสืบค้นเมื่อไหร่

W = Why จะสืบค้นเพราะเหตุใด

H = How มีวิธีการอย่างไร

 

ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการสืบค้น

ดำเนินการสืบค้นตามแผนที่กำหนดไว้ โดยเลือกสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีข้อมูลถูกต้อง และน่าเชื่อถือ เช่น หนังสือที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ เว็บไซต์ขององค์กรที่น่าเชื่อถือ

ขั้นตอนที่ 3 การรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากแหล่งการเรียนรู้หลาย ๆ แห่ง นำมาจัดเก็บให้เป็นระบบ เพื่อสะดวกในการสืบค้น และสามารถเลือกใช้ข้อมูลให้เหมาะสมกับงานได้สะดวก รวดเร็ว

ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบข้อมูล

ตรวจสอบข้อมูลกับแหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ พร้อมทั้งตรวจสอบความทันสมัยของข้อมูลต่าง ๆ ให้น่าเชื่อถือมากที่สุด

ขั้นตอนที่ 5 การบันทึกจัดเก็บข้อมูล

บันทึกจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องให้เป็นระบบ โดยอาจจัดเก็บรูปแบบ สมุดบันทึก แฟ้มเอกสาร แผ่นซีดี เป็นต้น เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล อีกทั้งสามารถปรับปรุงข้อมูลและนำไปใช้งานได้สะดวก

3.4 ทักษะกระบวนการทำงาน

มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

1. การวิเคราะห์งาน คือ การที่ผู้เรียนสามารถแจกแจงที่จะทำว่าเป็นงานประเภทใด หรือลักษณะใด

ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อะไรบ้าง มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไร กล่าวคือ ฝึกให้ผู้เรียนมองงานโดยภาพรวมออกมาว่าจะต้องทำอย่างไร

2. การวางแผนในการทำงาน คือ การให้ผู้เรียนสามารถวางแผนว่าจะใช้กำลังงานในการทำงานอย่างไร

จะทำคนเดียวหรือต้องทำหลายคน ถ้าทำหลายคนจะแบ่งหน้าที่กันอย่างไร ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรในการทำงานครั้งนี้ ต้องใช้เงินในการลงทุนมากน้อยอย่างไร ตลอดจนกำหนดวิธีการทำงานให้เป็นขั้นตอนจนงานสำเร็จ

3. การปฏิบัติงาน คือ การให้ผู้เรียนได้ทำงานตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้  ฝึกให้มีลักษณะนิสัยที่ดี

ในการทำงาน เช่น พูดจาสุภาพ เหมาะสม มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ขยัน อดทนซื่อสัตย์ ฯลฯ และสามารถตรวจสอบการทำงานของตนเป็นระยะ ๆ

4. การประเมินผลการทำงาน คือการให้ผู้เรียนได้ประเมินผลทั้งการวางแผนก่อนการทำงาน ขณะปฏิบัติงานและเมื่องานสำเร็จแล้ว โดยขั้นตอนในการวางแผนก่อนการทำงาน ให้ประเมินว่าได้วางแผนไว้รอบคอบรัดกุมหรือไม่จะต้องเตรียมอะไรบ้าง ตรวจสอบดูแผน ที่วางไว้ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ขณะปฏิบัติให้ประเมินว่าวิธีการทำงานเป็นอย่างไรบ้างมีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร และเมื่องานสำเร็จให้ประเมินว่าผลงานที่ออกมาเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อจะได้แก้ไขและปรับปรุงผลงานของตนให้ดีขึ้น

3.5 ทักษะการทำงานร่วมกัน

ประกอบไปด้วยปัจจัย ดังต่อไปนี้

  1. บรรยากาศของการทำงาน ควรมีความเป้นกันเอง อบอุ่น มีความมมกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
  2. ความไว้วางใจ เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานร่วมกัน สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลัลมคมใน
  3. การมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกภายในกลุ่มต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภาระกิจหลักของกลุ่ม
  4. บทบาทของสมชิกในกลุ่ม   สมาชิกแต่ละคนต้องเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่น รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นกลุ่มงานให้มั่นคง เช่น ประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เป็นต้น
  5. วิธีการทำงาน 

1. การสื่อความหมาย ที่จัดเจนและหมาะสม ซึ่งทำให้ทุกคนกล้าาที่จะเปิดใจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจและนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขั้น

2. การมีภาวะผู้นำ กำารทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่ได้รับการนอมรับ และปรารถนาที่จะร่วมงานกันอีก

3. การตัดสอนใจ  เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มแสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น

4. การกำหนดกติกาหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ การทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้หมายนั้นควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกติกา ที่นำมใข้ร่วมกัน

5. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของกลุ่ม ควรมีการประเมินผลเป็นระยะ โดยสมาชิกทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการประเมินผล เพื่อให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้ของงาน ปัญหาหรืออุปสรรค์ที่เกิดขัึ่น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน

3.6 ทักษะกระบวนกรแก้ปัญหา

ขั้นตอนที่ 1 เข้าใจสภาพการณ์
การตรวจสอบสภาพแวดล้อม สถานการณ์ อย่างมีประสิทธิผล แล้วทําความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้มา จะทํา
ให้ทราบถึงสถานการณ์ที่กําลังเผชิญอยู่ได้อย่างถูกต้องและยังสามารถคาดการณ์ถึงปัญหา และ เตรียมการณ์รับมือได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง ถ้ารู้จักตรวจสอบสถานการณ์อยู่เสมอ

ขั้นตอนที่ 2 กําหนดปัญหาให้ถูกต้องชัดเจน โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องหรือการเขียนบรรยายสภาพปัญหาด้วยถ้อยคำสั้น ๆ ที่สื่อสารอย่างตรงประเด็น ได้ใจความ จากนั้นจึงระบุเป้าหมายของสภาพการณ์ที่เราอยากให้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้แก้ปัญหานั้นไปแล้ว

ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์สาเหตุสําคัญ

1. ตรวจหาสาเหตุ
2. เลือกสาเหตุที่สําคัญ ๆ
3. ระบุสาเหตุที่แท้จริง

ขั้นตอนที่ 4 หาวิธีแก้ที่เป็ นไปได้  ความคิดสร้างสรรค์คือสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทําให้ได้วิธีแก้ปัญหาที่มีความหลากหลายมากมาย ซึ่งจะเป็ นผลดีต่อการแก้ปัญหา เพราะยิ่งมีตัวเลือกมากเท่าไร ก็ะยิ่งมีโอกาสได้วิธีแก้สุดท้ายที่ดีมากขึ้นเท่านั้น

ขั้นตอนที่5 เลือกวิธีแก้ที่ดีที่สุด โดยทำการเปรียบเทียบทางเลือกของการแก้ไขปัญหาทั้งหมด หาข้อดีและข้อเสียของแนวทางหรือวิธีการแต่ละรูปแบบเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการทำงานน้อยที่สุด

ขั้นตอนที่ 6 วางแผนปฏิบัติ ถึงเวลาที่จะต้องลงมือปฏิบัติ จะต้องรู้ว่า ต้องทําอะไร
เริ่มต้นที่ไหน ใครจะเป็ นคนทําอะไร เมื่อไร และอย่างไร 

ขั้นตอนที่ 7 ติดตามประเมินผล ตรวจสอบความคืบหน้าของการทำงานที่ได้วางแผนและปฏิบัติงานไปตามนั้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ทราบว่ามีปัญหาและอุปสรรค์ใดที่เกิดขึ้นจาการทำงานหรือไม่ งานสำเร้จลงได้ตามเป้าหมายหรือไม่ 

หลักการทํางานเพื่อการดํารงชีวิต 6P มีอะไรบ้าง

6P เพื่อความสำเร็จในการทำงาน.
P-Positive Thinking. ... .
P-Peaceful Mind. ... .
P-Patient. ... .
P-Punctual. ... .
P-Polite. ... .
P-Professional..

ข้อใด หมายถึงคำว่า "ตรงต่อเวลา" ของหลักงานทำงาน 6P

P-Punctual การเป็นคนตรงต่อเวลา เรื่องนี้เราถูกให้ฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กๆ ทั้งการเข้าเรียน การส่งการบ้าน สิ่งพวกนี้สอนให้เรารู้จักบริหารเวลา การตรงต่อเวลาเป็นพื้นฐานของคนที่มีระเบียบวินัย

ข้อใดเป็น E ตัวแรกของ หลักการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

E = Energetic กระตือรือร้น มีพลังในการใช้ชีวิตอยู่เสมอเพราะเมื่อไรถ้าคุณเกิดหยุดที่จะตื่นตัวแสวงหาความรู้ใหม่ๆ คุณจะ ไม่มีแรงที่ต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคที่เข้ามาอย่างลุล่วงเลย

คำว่า P

P-Peaceful Mind คือ การมีจิตใจที่สงบ เคยได้ยินคำพูดที่ว่า “จงใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว” หรือเปล่า คำพูดนี้ใช้ได้ผลดีทีเดียว เวลาเกิดปัญหาขึ้น เราอย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปกับปัญหานั้น การมีจิตใจที่สงบ มีสมาธิ จะทำให้เราเกิดปัญญาในการคิดหาวิธีแก้ปัญหา นอกจากนี้ ยังทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย