ประชากรกับสิ่งแวดล้อม ม.4-6 เฉลย

ประชากร (population)

                ประชากร (population)   หมายถึง   กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดเดียวกัน 

         และอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันในช่วงเวลาหนึ่ง  ประชากรในระบบนิเวศ

             มีองค์ประกอบ  ดังนี้

                         การศึกษาขนาดของประชากรในระบบนิเวศ  สามารถกระทำควบคู่ไปกับการ

ศึกษาลักษณะของสภาพแวดล้อมภายในระบบนิเวศ  ทำให้เราทราบถึงความสัมพันธ์

ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งขนาดของประชากรภาในระบบนิเวศนั้นจะได้มา

จากการสำรวจจำนวนหรือความหนาแน่นของประชากร  ที่แสดงออกมาในรูปของ

จำนวนประชากรต่อหน่วยพื้นที่  หรือแสดงเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้

     การสำรวจจำนวนหรือความหนาแน่นของประชากรจะมีวิธีการสำรวจที่แตกต่างกัน ออกไป  ได้แก่

                                1.  การนับจำนวนทั้งหมด (total  count  method)  เป็นการนับจำนวนของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อาศัยอยู่ ในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการศึกษา  แต่วิธีนี้เหมาะกับการศึกษาสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่  มีพื้นที่ที่ต้องการศึกษาจำกัด  และสิ่งมีชีวิตนั้น  มีการเคลื่อนที่ช้า  หรือไม่เคลื่อนที่เลย  เพราะเป็นการยากที่จะนับจำนวนของสัตว์ในพื้นที่หนึ่งได้หมดทุกตัว  เนื่องจากธรรมชาติของสัตว์จะมีการเคลื่อนที่ไปทั่ว  และมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในบางโอกาส  การกระจายตัวของสัตว์มักไม่คงที่  บางชนิดก็มองเห็นยากเนื่องจากมีขนาดเล็ก  ชอบหลบซ่อนหรือมีการพรางตัว  บางชนิดก็มีการเคลื่อนที่ไปมาอย่างรวดเร็วนักวิทยาศาสตร์จึงใช้วิธีการจับสัตว์ (มักจะเป็นสัตว์ขนาดกลางขึ้นไป)  แล้วนำมาติดไมโครชิป  หรือทำเครื่องหมายเพื่อเก็บข้อมูลมาทำวิจัย  อย่างไรก็ตามนักเรียนสามารถจับสัตว์ขนาดเล็กในแต่ละสิ่งแวดล้อม  เพื่อศึกษาจำนวนสัตว์โดยการสร้างอุปกรณ์ดักสัตว์

                                2.  การสุ่มตัวอย่างแบบตาราง (quadrat  random  sampling  method)  เป็นการศึกษาจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตโดยการใช้กรอบไม้นับประชากร (quadrat)  และเลือกสุ่มนับจำนวนประชากรจากหลาย  พื้นที่  เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยจำนวนประชากรต่อพื้นที่  แล้วคำนวณหาจำนวนทั้งหมด  วิธีการนี้เหมาะกับการศึกษาจำนวนของประชากรที่เคลื่อนที่ช้า  หรือไม่เคลื่อนที่  และบริเวณพื้นที่ที่ต้องการศึกษามีขนาดกว้าง

            ขนาดของประชากรสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขนาดดังนี้ 

                             1. ประชากรที่มีขนาดคงที่   แสดงว่า     

อัตราการเกิด +อัตราการย้ายเข้า    =   อัตราการตาย +อัตราการย้ายออก

                            2. ประชากรที่มีขนาดเพิ่มขึ้น   แสดงว่า     

 อัตราการเกิด + อัตราการย้ายเข้า   >    อัตราการตาย +อัตราการย้ายออก

                          3. ประชากรที่มีขนาดลดลง   แสดงว่า     

อัตราการเกิด + อัตราการย้ายเข้า   <    อัตราการตาย +อัตราการย้ายออก

          สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร 

                   1.  การเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อม 

                   2.  กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ 

                   3. จำนวนผู้ล่า 

                  4. ทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด 

                  5. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆในระบบนิเวศ 

                  6. ศัตรูทางธรรมชาติและเชื้อโรค หรือโรคระบาด 

            คุณลักษณะของประชากรประกอบด้วย

          ๑.ขนาด หมายถึง จำนวนของประ-ชากรในแต่ละพื้นที่
          ๒.โครงสร้าง หมายถึง องค์ประกอบของประชากร ซึ่งแบ่งตามอายุ และ เพศ
          ๓.ความหนาแน่น  หมายถึง  จำนวนประชากรที่นับต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เช่น จำนวนต้นไม้ ๑๕๐ ต้นต่อไร่
          ๔.การเพิ่มจำนวน  หมายถึง การเปลี่ยน-แปลงขนาดของประชากรที่เป็นผลรวมสุทธิระหว่างอัตราการเกิด    การตาย    การย้ายถิ่นเข้าและการย้ายถิ่นออก  โดยมีขีดความสามารถของสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้น เป็นตัวกำหนดให้ประชากรในพื้นที่เพิ่มจำนวนในอัตราที่เหมาะสม  นั่นคือ  การเพิ่มจำนวนของประชากรแต่ละชนิด  จะต้องอยู่ภายในอิทธิพลของประชากรอื่นในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน    ถ้าเมื่อใดที่จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเกินระดับความเหมาะสม ส่วนที่เกินนั้นก็จะถูกชีวิตอื่นกำจัดให้ลดลง

          ชุมชน
 หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่อาศัยอยู่รวมกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง   และมีการดำรงชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  การเรียกชื่อชุมชนใดชุมชนหนึ่งอาจเรียกตามลักษณะโครงสร้างของชุมชน        ซึ่งจะเรียกตามจำนวนที่หนาแน่นมากที่สุดของประชากรในชุมชน ซึ่งมากพอที่จะเป็นตัวควบคุมการทำงานและมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าประชากรอื่น ๆ ในชุมชนนั้น เช่น ไม้โกงกางในป่าชายเลน หรือต้นสนในป่าสนเขาเป็นต้น หรืออาจเรียกตามรูปร่างลักษณะของประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้น ที่แสดงความแตกต่างระหว่างกันให้เห็นอย่างชัดเจน    เช่นพืชซึ่งแบ่งความแตกต่างของลักษณะประชากรออกได้เป็น ๖ ลักษณะ ได้แก่
          
          
-ต้นไม้
  มีลักษณะเป็นพืชยืนต้นที่มีขนาดสูงใหญ่ มีลำต้นปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน
          -ไม้พุ่ม   มีลักษณะเป็นพืชยืนต้นที่มีขนาดเล็กกว่าต้นไม้  มีกิ่งก้านสาขารวมทั้งใบไม้จำนวนมากอยู่ใกล้บริเวณพื้นดิน
          -ไม้ล้มลุก    มีลักษณะเป็นพืชขนาดเล็กอาจมีอายุยืนยาวนานหลายปี เช่น หญ้า
          -ตะไคร่ เป็นพืชที่มีขนาดเล็กมาก เช่นมอส
          -พืชอากาศ เป็นพืชที่เกาะอาศัยอยู่ติดกับกิ่งก้าน หรือลำต้นของต้นไม้อื่น โดยลำต้นไม่สัมผัสกับพื้นดินเลย เช่น กล้วยไม้
          -เถาวัลย์  เป็นพันธุ์ไม้เลื้อยที่ขึ้นเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น ไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้โดยลำพัง

//guru.sanook.com/2042/

ประชากรและชุมชนในระบบนิเวศ, ประชากรและชุมชนในระบบนิเวศ หมายถึง, ประชากรและ



ชุมชนในระบบนิเวศ คือ, ประชากรและชุมชนในระบบนิเวศ ความหมาย, ประชากรและชุมชนในระบบนิเวศ คืออะไร

ชีววิทยา ตอน ประชากร

วิชาชีววิทยา - การเพิ่มขนาดของประชากร (Population growth)



Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน