จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

     2. จุดรวมสายตาหรือเรียกว่า Vanishing point ใช้ตัวย่อ VP จะเป็นจุดรวมสายตาที่อยู่ในเส้นระดับสายตา เป็นตำแหน่งที่ลากเส้นสิ่งของต่างๆ ไปรวมกัน มีตั้งแต่ 1จุดขึ้นไป แล้วแต่ตำแหน่งของวัตถุที่จัดวาง หรือ ต้องการวาดให้มีความหลากหลายซับซ้อน
การเขียนภาพทัศนียภาพ เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกเป็น 3 มิติ คือ มีลักษณะของความเหมือนใกล้เคียงกับภาพที่คนเราเห็นภาพต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ถ้าไปยืนอยู่กลางถนน แล้วมองไปไกลข้างหน้า เราจะเห็นถนนจะค่อยเล็กลง เสาไฟฟ้าก็สั้นเล็กลง ถ้ามีต้นไม้เป็นทิวข้างทางก็จะ เตี้ยลง แล้วก็จะวิ่งไปรวมกันที่จุดสุดสายตา หรือถ้าใครอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟก็จะเห็นได้ชัดเจน รางรถไฟจะไปรวมกันที่จุดจุดเดียว ไม้หมอนที่นอนขวางรับรางเหล็กก็จะสั้นเข้า และรวมกันที่ จุดรวมสายตา ซึ่งพอจะสรุปลักษณะของภาพ PERSPECTIVE ได้ดังนี้


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

1. วัตถุ หรือสิ่งของที่มีขนาดเท่ากันเมื่ออยู่ไกลตัวออกไปจะมีขนาดเล็กลง

2. ระยะที่เท่ากันเมื่ออยู่ไกลตัวออกไปจะมีระยะที่ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ จนรวมเป็นจุดเดียวกัน

3. เส้น หรือสิ่งของที่คู่ขนานกันเมื่อไกลออกไปจะพุ่งเข้าหากัน

4. วัตถุ หรือสิ่งของต่าง ๆ เมื่ออยู่ไกลตัวออกไป จะมีรายละเอียดและความชัดเจนลดลงไปตามลำดับ

 

หลักการพื้นฐานของภาพ PERSPECTIVE จะประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ส่วนที่สำคัญ ที่กำหนดในการลากเส้น คือ...


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

1. Horizon Line ( HL - เส้นระดับสายตา) เป็นเส้นระดับแนวนอน หรือแนวระดับน้ำ จะขึ้น-ลง สูง-ต่ำ อยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะเป็นเส้นที่สำคัญในการกำหนดของการมองวัตถุหรือ สิ่งก่อสร้างทั้งหมด

2. Vanishing point ( VP - จุดรวมสายตา ) เป็นจุดรวมสายตาที่อยู่ในเส้นระดับสายตาเป็นตำแหน่งที่ลากเส้นสิ่งของต่างๆไปรวมกันมีตั้งแต่ 1 จุดขึ้นไป

แล้วแต่ตำแหน่งของวัตถุที่จัดวาง หรือ ต้องการวาดให้มีความหลากหลายซับซ้อน

 

ภาพเขียน Step by step ของการวาดห้องจาก PERSPECTIVE แบบ 1 จุด และ PERSPECTIVE 2 จุด


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

จะเห็นว่าการวาดแบบ PERSPECTIVE 1 จุดดูเหมือนจะซับซ้อนน้อยกว่าและวาดง่ายกว่า แต่ PERSPECTIVE แบบ 2 จุดนั้นจะวาดออกมาเสมือนจริงมากกว่า เพราะคนเราจะมีสองตา และการวาดจาก 2 จุดจะออกมาดูเป็นธรรมชาติกว่าเสมอ และดูไม่หลอกตามาก


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

นอกจากการวาดภาพ PERSPECTIVE ตรงๆแล้วเรายังมีเรื่องของความสูงต่ำของมุมมอง ที่ทำให้ภาพวาดนั้นแตกต่างแล้วน่าสนใจไปอีกด้วยนะ

 

เมื่อเราเริ่มแม่นยำในการวาดก้อนสี่เหลี่ยมให้ถูกต้องตามตีฟแล้ว เราก็ลงรายละเอียดต่างๆเลย #รออะไร วันนี้ ARTHOUSE เอาภาพวาด SKETCH DESIGN แบบออกแบบภายใน (INTERIOR DESIGN) มาให้ดูกันว่า เมื่อเราแม่น PERSPECTIVE แล้ว ภาพวาดจะสวยเป๊ะยิ่งกว่าภาพถ่ายเลย!


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

งานดี งานคุณภาพ ... เมื่อเราแม่นทั้ง PERSPECTIVE, แสงเงา และ การลงสี


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

ลงสี Copic แบบ Dynamic ก็จะได้อารมณ์เท่ไปอีกแบบ


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

ลงสีแบบเนี้ยบๆ แสงเงาเบาๆ ก็จะได้อารมณ์สะอาดสะอ้าน MINIMAL สุดๆ


จุดมองของการเขียนรูปทัศนียภาพ

สำหรับใครที่อยากลองฝึกวาด PERSPECTIVE แบบ 1 จุด และ 2 จุดโดยมีอุปกรณ์เสริมจากชีวิตประจำวัน ARTHOUSE ขอแนะนำวีดีโอนี้ให้ลองวาดตามดูนะ ดูง่ายมากๆ

PERSPECTIVE แบบ 1 จุด


PERSPECTIVE แบบ 2 จุด


ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเป็นเด็กมัธยมที่ต้องการสอบเข้า คณะสถาปัตย์ หรือ ออกแบบภายใน สามารถติดต่อเพื่อมาปรึกษาฟรีได้ที่ m.me/arthouse.artschool นะจ้ะ :)