คลินิกตรวจสารเสพติด เขตคังนัม

ให้ส่งรายละเอียด เพื่อใช้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ดังนี้

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม สำหรับคลินิก
1. สำเนาใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (1 ฉบับ)
2. สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (1 ฉบับ)
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ยื่นคำขอ ผู้รับใบอนุญาต และ ผู้ประกอบวิชาชีพร่วม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกคน (รวม 1 ฉบับ)
4. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ/ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ผู้ยื่นคำขอ ผู้รับใบอนุญาต และ ผู้ประกอบวิชาชีพร่วม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกคน(รวม 1 ฉบับ)
5. สำเนาวุฒิบัตร หรือหนังสืออนุมัติบัตร หรือหนังสือรับรอง(กรณีคลินิกเฉพาะทาง) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (1 ฉบับ)
6. แบบแสดงเจตจำนงเข้าร่วม Mohpromt Station สำหรับสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยค้างคืน (คลินิก) ที่ให้ความยินยอมตกลงรักษาข้อมูลที่เป็นความลับและไม่เปิดเผยข้อมูล พร้อมลงนามโดย ผู้ได้รับอนุญาต อย่างถูกต้อง (1 ฉบับ)
7. เอกสารอื่นๆ
ทั้งนี้ เอกสารหลักฐานทุกฉบับขอให้บันทึกเป็นไฟลล์นามสกุล .pdf เท่านั้น เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและแก้ไข

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม สำหรับร้านขายยา
1. สำเนาใบอนุญาตให้ดำเนินการร้านขายยา พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (1 ฉบับ)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ยื่นคำขอ ผู้รับอนุญาต และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเสริม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกคน (รวม 1 ฉบับ)
3. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ผู้ยื่นคำขอ ผู้รับอนุญาต และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเสริม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกคน (รวม 1 ฉบับ)
4. แบบแสดงเจตจำนงเข้าร่วม Mohpromt Station สำหรับ ร้านขายยา ที่ให้ความยินยอมตกลงรักษาข้อมูลที่เป็นความลับและไม่เปิดเผยข้อมูล พร้อมลงนามโดย ผู้ได้รับอนุญาต อย่างถูกต้อง (1 ฉบับ)
5. เอกสารอื่นๆ
ทั้งนี้ เอกสารหลักฐานทุกฉบับขอให้บันทึกเป็นไฟลล์นามสกุล .pdf เท่านั้น เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและแก้ไข

เอกสารหลักฐาน สำหรับสถานประกอบกิจการ และหน่วยงาน อื่นๆ
1. สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (1 ฉบับ)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/พาสปอร์ต ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (1 ฉบับ)
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ที่เป็นผู้ให้บริการ ประจำสถานประกอบ
กิจการ /หน่วยงาน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกคน (รวม 1 ฉบับ)
4. สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ/ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ของบุคลากรทางการแพทย์ ที่เป็นผู้
ให้บริการ ประจำสถานประกอบกิจการ /หน่วยงาน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกคน (รวม 1 ฉบับ)
5. แบบแสดงเจตจำนงเข้าร่วม Mohpromt Station สำหรับสถานประกอบกิจการ และหน่วยงาน อื่นๆ
(1 ฉบับ)
6. เอกสารอื่นๆ
ทั้งนี้ เอกสารหลักฐานทุกฉบับขอให้บันทึกเป็นไฟลล์นามสกุล .pdf เท่านั้น เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและแก้ไข

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม สำหรับโรงพยาบาล
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ยื่นคำขอ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (1 ฉบับ)
2. แบบแสดงเจตจำนงเข้าร่วม Mohpromt Station สำหรับ โรงพยาบาล ที่ให้ความยินยอมตกลงรักษาข้อมูลที่เป็นความลับและไม่เปิดเผยข้อมูล พร้อมลงนามโดย ผู้ได้ยื่นคำขอ และ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล อย่างถูกต้อง (1 ฉบับ)
3. เอกสารอื่นๆ เช่น ใบประกอบวิชาชีพผู้ยื่นคำขอ
ทั้งนี้ เอกสารหลักฐานทุกฉบับขอให้บันทึกเป็นไฟลล์นามสกุล .pdf เท่านั้น เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและแก้ไข

คลินิกใกล้ฉัน ตรวจรักษาโรคทั่วไป

 

คลินิกใกล้ฉัน คือ คลินิกใกล้บ้าน ใกล้ที่พัก ที่สามารถเดินทางไปรักษาได้ด้วยความสะดวก และรวดเร็วใช้เวลาเดินทาง 15 นาที ไม่เกิน 45 นาที โดยคลินิกใกล้ฉันนั้นจะต้องให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ(one stop service) มีแพทย์และพยาบาลประจำตลอดที่เปิดทำการ ซึ่งเป็นคลินิกรักษาโรคทั่วไป, ออกใบรับรองแพทย์ , ฉีดยาคุม , ฝากครรภ์ , ตรวจหลังคลอด , ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน, ล้างแผล , ฉีดวัคซีน , ตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น

1. ตรวจรักษาโรคทั่วไป

ตรวจรักษาโรคทั่วไปในระดับปฐมภูมิ คือการตรวจรักษาโรคที่เป็นพื้นฐานโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice) ได้แก่ ไข้หวัด ท้องเสีย ปวดหัว ตัวร้อน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคผิวหนัง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฝากครรภ์ ตรวจหลังคลอด เป็นต้น

2. ออกใบรับรองแพทย์

คลินิกส่วนใหญ่จะให้บริการออกใบรับรองแพทย์เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้แก่ ออกใบรับรองแพทย์เพื่อสมัครงาน , เรียนต่อ, ทำใบขับขี่ , ต่อใบขับขี่ , เบิกประกัน , เดินทางต่างประเทศ , เข้าสอบ , ต่อ work permit เป็นต้น

ผู้ประกอบการคลินิกและแพทย์จะต้องมีจรรยาบรรณในการออกใบรับรองแพทย์โดยระบุ รายละเอียดอย่างถูกต้อง ไม่บิดเบือน ตรงตามข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยและตรวจรักษา

3. ล้างแผล ทำแผล เย็บแผล

การล้างแผลเป็นบริการที่มีบริการทุกคลินิก เนื่องจากเป็นหัตถการที่ง่ายที่สุด และสามารถดำเนินการโดยพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยมีแพทย์เป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือควบคุมดูแล

หากผู้ป่วยมีอุบัติเหตุ การเย็บแผลเป็นบริการที่มีเฉพาะบางคลินิก มีแพทย์ผู้ทำหัตถการโดยส่วนใหญ่แพทย์คลินิกจะรับเย็บแผลขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง และไม่บาดเข้าเส้นเลือด ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์แต่ละคนด้วย

4. ฉีดยาคุม

การฉีดยาคุมมี 2 แบบ คือแบบ 1 เดือน และ 3 เดือน ซึ่งคลินิกใกล้บ้าน จะมีให้บริการ แต่แพทย์จะต้องเป็นผู้วินิจฉัยในครั้งแรกว่าสามารถฉีดทันทีหรือต้องรอประจำเดือนมาก่อน

หลังจากฉีดครั้งแรกกับคลินิกแล้ว สามารถมาฉีดต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องพบแพทย์อีก ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายได้

5. ตรวจโควิดด้วยวิธี atk

คลินิกบางแห่งรับตรวจโควิดด้วยวิธี atk พร้อมออกใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันผลการตรวจโควิด สำหรับยื่นสมัครงาน , รับปริญญา , เดินทางต่างประเทศ , ขึ้นเครื่องบิน เป็นต้น

คลินิกส่วนใหญ่ไม่รับตรวจโควิดเนื่องจากจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และ มีต้นทุนในการดำเนินงานสูง ดังนั้นผู้ใช้บริการควรปรึกษาผ่านไลน์ OA หรือ ส่งข้อความสอบถามก่อนเข้ารับบริการ

รู้หรือไม่ว่า… แม้ว่าคุณจะเข้ารับรักษาอาการเจ็บป่วยที่คลินิก ก็สามารถใช้สิทธิการรักษามีหลายรูปแบบ ทั้งสิทธิการรักษาที่รัฐจัดหาให้ หรือ สิทธิการรักษาที่เราซื้อประกันไว้ในรูปแบบต่างๆ

ดังนั้นผู้ป่วยควรตรวจสอบสิทธิการรักษากับคลินิกใกล้ฉัน หรือ คลินิกใกล้บ้านคุณ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวท่านเองนั่นเอง

1. สิทธิประกันสังคม

สิทธิประกันสังคม หมายถึง สิทธิที่เกิดจากกองทุนประกันสังคม ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เช่น พนักงานบริษัท หรือ พนักงานของรัฐ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทน หรือ ชดเชย จากการเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือตาย

สิทธิประกันสังคมจะใช้บริการที่คลินิกก็ต่อเมื่อ คลินิกได้ลงทะเบียนเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลที่รับบริการผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม โดยคลินิกจะต้องลงทะเบียนใหม่หรือเซ็นต์สัญญากับโรงพยาบาลทุกปี ดังนั้นก่อนเข้ารับบริการควรตรวจสอบคลินิกก่อนเข้ารับบริการเสมอ สามารถตรวจสอบได้ที่ รายชื่อโรงพยาบาลประกันสังคม ปี 2565 (รายจังหวัด)

2. สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)

สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่รู้จักกันในชื่อสิทธิบัตรทอง คือสิทธิที่รัฐจัดหาให้ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะครอบคลุมคนไทยทุกคนที่ไม่มีสิทธิราชการและสิทธิประกันสังคม

หากประชาชนไม่มีสิทธิการรักษาของสิทธิราชการและสิทธิประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีหน้าที่ลงทะเบียนสิทธิบัตรทองให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถมีสิทธิการรักษาได้อย่างเท่าเทียมกันทุกคน

" ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองจะใช้บริการที่คลินิก เมื่อคลินิกได้เข้าร่วมโครงการคลินิกชุมชนอบอุ่น หรือคลินิกปฐมภูมิกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น "

คลินิกใกล้ฉันหรือคลินิกใกล้บ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว และผู้ป่วยควรตรวจสอบสิทธิการรักษาก่อนเข้ารับบริการว่าเป็นสิทธิบัตรทองหรือไม่ หากไม่ใช่สิทธิบัตรทองจะต้องชำระค่าบริการเอง

 

  สามารถตรวจสอบสิทธิบัตรทองได้ที่นี่ คลิกเลย

สิทธิบัตรทอง ครอบคลุมบริการดังนี้

1. การตรวจวินิจฉัยโรค

2. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

3. การฝากครรภ์

4. การบำบัดและการบริการทางการแพทย์

5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์การทางการแพทย์

6. การทำคลอด

7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ

8. การบริบาลทารกแรกเกิด

9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย

10. บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ

11. การพื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

12. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

13. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่บอร์ดสปสช.กำหนด

14. บำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

15. บริการสาธารสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

16. รักษาภาวะมีบุตรยาและการผสมเทียม ยกเว้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์แทน

17. การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน

บริการที่สิทธิบัตรทองไม่ครอบคลุมมีดังนี้

  1. การบริการทางการแพทย์เพื่อความสวยและความงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

  2. การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

  3. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าหรือทดลอง

  4. การปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ไม่ปรากฏตามบัญชีแนบท้าย

  5. การบริการทางการแพทย์อื่น ตามที่บอร์ดสปสช.กำหนด

อ้างอิงจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

3. สิทธิประกันสุขภาพ

การรักษาพยาบาลในรูปแบบปัจจุบัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่นิยมใช้สิทธิประกันสุขภาพ โดยผู้ป่วยจะต้องซื้อประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าก่อนเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 30 วัน หรือ 60 วัน (แล้วแต่กรณี)

การทำประกันสุขภาพนั้นมีประโยชน์คือการลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเจ็บป่วย ทำให้เราสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อรักษาพยาบาลได้ บริษัทประกันสุขภาพก็มีให้เลือกหลายบริษัท อีกทั้งยังมีโปรแกรมให้เลือกเพื่อเหมาะสมกับลูกค้าทุกท่าน

การเลือกบริษัทประกันสุขภาพควรจะเลือกให้ครอบคลุมเพื่อใช้ได้ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก โดยบริษัทประกันจะมีรายชื่อสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา เพื่อให้ลูกค้าไม่ต้องสำรองจ่าย สถานพยาบาลสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตรงกับบริษัทประกันได้ ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วในการรับบริการมากขึ้น

ตัวอย่างบริษัทประกันสุขภาพที่สามารถใช้บริการที่คลินิก ได้แก่

  • ประกันสุขภาพเอไอเอ

  • กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต

  • เมืองไทยประกันภัย

4. สิทธิประกันอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ คือ เหตุที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด โดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า ส่งผลกระทบให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย บาดเจ็บ จนถึงเสียชีวิต

การมาใช้สิทธิประกันอุบัติเหตุที่คลินิก มีส่วนน้อยที่สามารถมาใช้บริการได้ เพราะอุบัติเหตุจะมีการบาดเจ็บ บาดแผลขนาดใหญ่ ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่มีอุบัติเหตุบางอย่างที่สามารถใช้บริการที่คลินิกได้แก่

  • มีดบาด หรือโดนของมีคมบาด

  • หกล้ม หรือ ตกท่อ

  • สุนัขหรือแมวกัด ข่วน

  • มอเตอร์ไซค์ล้ม

  • รถเชี่ยว มีบาดแผลเล็กน้อย

  • ลื่นล้ม

ดังนั้นลูกค้าควรตรวจสอบเบื้องต้นว่าคลินิกสามารถให้บริการและรับประกันอุบัติเหตุที่ลูกค้าถือก่อนเข้ารับบริการเพื่อความสะดวกและสบายใจ

สำหรับการประกันอุบัติเหตุมีได้หลายรูปแบบได้แก่

1. การประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

2. การประกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

3. การประกันอุบัติเหตุจากการเดินทาง

4. การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

5. สิทธิชำระเงินเอง

สิทธิในการรักษาด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นสิทธิที่ไม่ยุ่งยากที่สุด เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเซ็นเอกสารต่างๆ เพื่อขอใช้สิทธิให้ยุ่งยาก และส่วนใหญ่ท่านจะได้รับบริการที่ดีเลิศมากกว่าสิทธิอื่นๆ

เพราะสถานพยาบาลส่วนใหญ่มีการแข่งขันสูง และมีความต้องการลูกค้ากลุ่มนี้มาใช้บริการมากที่สุด

  คลินิกเวชกรรม ใกล้บ้าน ราคาสบายกระเป๋า

ช่วงเวลาที่คลินิกนิยมเปิดทำการ

คลินิกส่วนใหญ่เป็นคลินิกที่แพทย์ทางโรงพยาบาลของรัฐ หรือ แพทย์ประจำจากโรงพยาบาลเอกชนมาเปิดให้บริการ ดังนั้นเวลาที่นิยมให้บริการคือหลังเวลาราชการ หรือ วันหยุดต่างๆ

1.  ช่วงเย็น 17.00 - 20.00 น.

คลินิกที่เปิดให้บริการช่วงเย็นหลังเลิกงาน เป็นคลินิกที่แพทย์สามารถเดินทางจากที่ทำงานประจำมาคลินิกได้ระยะเวลาอันสั้นไม่เกิน 30 นาที โดยเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเช่น แพทย์สูตินรีเวช จักษุแพทย์ แพทย์หูคอจมูก เป็นต้น

2. เสาร์-อาทิตย์ 9.00 - 12.00 น.

คลินิกที่เปิดให้บริการเสาร์และอาทิตย์ ส่วนใหญ่เป็นคลินิกที่ให้บริการสิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิประกันสังคม

3. วันหยุดนักขัตฤกษ์

คลินิกบางแห่งก็ให้บริการวันหยุดนักขัตฤกษ์เพื่อให้บริการสำหรับผู้ต้องทำงานวันเวลาปกติ ไม่สะดวกในการรับบริการในวันทำงาน การรักษาส่วนใหญ่เป็นจะเป็นเคสทางเลือกหรือเคสที่ไม่รีบด่วนที่ต้องรักษาทันที

เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม

  แก้ไขล่าสุด : 17/06/2022 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน