โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน

 Microsoft Excel เป็นโปรแกรมประเภท Spreadsheet หรือตารางคํานวณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งออกแบบมาสําหรับบันทึกวิเคราะห์ และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในรูปแบบของแผนภาพ หรือรายงาน ซึ่งโปรแกรม Microsoft Excel ยังมีความสามารถในการจัดรูปแบบเอกสารได้สวยงาม และง่ายดายไม่แพ้โปรแกรมอื่นๆ เลยทีเดียว
       การบันทึกขอมูลลงในโปรแกรม Microsoft Excel จะบันทึกลงในช่องที่เรียกว่า Cell โดยแต่ละเซลล์ จะอยู่ตารางซึ่งประกอบไปด้วย Row (แถว) และ Column (คอลัมน์) ซึ่งตารางในแต่ละตารางเราเรียกว่า Worksheet และ Worksheet หลายๆ Worksheet รวมกันเราจะเรียกว่า Workbook ซึ่งก็คือไฟล์ของโปรแกรม
         โปรแกรม Excel ช่วยให้เราคํานวณตัวเลขในตารางได้ง่าย ๆ ตั้งแต่คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานไปจนถึงสูตรทางการเงินที่ซับซ้อน และเรายังสามารถใช้ Excel ในการจัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สร้างรายงาน และสร้างแผนภูมิได้อีด้วย

6.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Microsoft Excel


  • ลักษณะทั่วไปของโปรแกรม Excel 

               โปรแกรมตารางงาน หรือโปรแกรมสเปรดชีต (Spread Sheet) หรือตารางคำนวณ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในการทำงานเกี่ยวกับการคำนวณข้อมูล แสดง ข้อมูลในลักษณะเป็นคอลัมน์ หรือเป็นช่องตาราง ซึ่งเราสามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ โดยส่วนมาก มักจะเป็นตัวเลขลงในตารางสี่เหลี่ยมที่แบ่งออกเป็นช่องเล็ก ๆ มากมาย เรียกว่า เซลล์ (Cell) พร้อม ทั้งสามารถใส่สูตรลงในเซลล์บางเซลล์เพื่อให้โปรแกรมทำการคำนวณหาผลลัพธ์จากข้อมูลที่ 
โปรแกรม Excel ช่วยให้เราคำนวณตัวเลขในตารางได้ง่าย ๆ ตั้งแต่คณิตศาสตร์ขั้น พื้นฐานไปจนถึงสูตรทางการเงินที่ซับซ้อน และเรายังสามารถใช้ Excel ในการจัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สร้างรายงาน และสร้างแผนภูมิได้อีกด้วย 
โปรแกรม Excel มีประโยชน์กับผู้คนแทบทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี ซึ่ง สามารถนำ Excel มาช่วยคำนวณรายรับรายจ่ายและงบการเงินได้ นักวิเคราะห์การตลาด ที่จะนำ Excel มาช่วยในการสรุปข้อมูลแบบสอบถามจำนวนมาก ๆ วิศวกรที่สามารถนำข้อมูลจากการ ทดลองมาให้ Excel สร้างเป็นแผนภูมิลงในรายงานของตนเองได้ง่าย ๆ นักวางแผนสามารถทดลอง ได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรถ้าตัวแปรบางตัวเปลี่ยนไป แม้กระทั่งครูอาจารย์ก็ยังสามารถคำนวณ เกรดของนักศึกษาได้ด้วย และนอกจากที่กล่าวแล้ว Excel ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานอื่น ๆ ได้ อีกมากมาย

  • คุณสมบัติของโปรแกรม Excel

          1. สร้างและแสดงรายงานของข้อมูล ตัวอักษร และตัวเลข โดยมีความสามารถในการจัดรูปแบบให้สวยงามน่าอ่าน เช่น การกําหนดสีพื้น การใส่แรเงา การกําหนดลักษณะและสีของเส้นตาราง การจัดวางตําแหน่งของตัวอักษรการกําหนดรูปแบบและสีตัวอักษรเป็นต้น
          2. อํานวยความสะดวกในด้านการคํานวณต่าง ๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หารตัวเลขและยังมีฟังก์ชั่นที่ใช้ในการคํานวณอีกมากมาย เช่น การหาผลรวมของตัวเลขจํานวนมาก การหาค่าทางสถิติและการเงิน การหาผลลัพธ์ของโจทย์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
         3. สร้างแผนภูมิ (Chart) ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการแสดงและการเปรียบเทียบข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น แผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart หรือBar Chart) แผนภูมิเส้น (Line Chart) แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) ฯลฯ
         4. มีระบบขอความช่วยเหลือ (Help) ที่จะคอยช่วยใหคําแนะนํา ช่วยให้ ผู้ใช้สามารถทํางานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม หรือสงสัยเกี่ยวกับวิธีการใช้งานแทนที่จะต้องเปิดหาในหนังสือคู่มือการใช้งานของโปรแกรมก็สามารถขอความช่วยเหลือจากโปรแกรมได้ทันที
         5. มีความสามารถในการค้นหาและแทนที่ขอมูล โดยโปรแกรมมีความสามารถในการค้นหาและแทนที่ ขอมูล เพื่อทําการแก้ไขหรือทําการแทนที่ข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว
         6. มีความสามารถในการจัดเรียงลําดับข้อมูล โดยเรียงแบบตามลําดับ จาก A ไป Z หรือจาก 1 ไป 100 และเรียงย้อนกลับจาก Z ไปหา A หรือจาก 100 ไปหา 1

         7. มีความสามารถในการจัดการข้อมูลและฐานข้อมูลซึ่งเปนกลุมของข้อมูลข่าวสารที่ถูกรวบรวมเขาไว้ ด้วยกันในตารางที่อยูใน Worksheet ลักษณะของการเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในโปรแกรมตารางงานจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของตาราง โดยแต่ละแถวของรายการจะเป็นระเบียนหรือเรคอรด (Record) และคอลัมน์จะเป็นไฟล์ (Field)


6.2 ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Excel

        เมื่อเข้าสู่การทำงานของ  Excel แล้วจะปรากฎหน้าต่างการทำงานซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังรูป

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน

1. แถบชื่อ (Title Bar) คือส่วนที่แสดงชื่อ ของโปรแกรมนั้น ซึ่งคือ Microsoft Excel แสดงชื่อของแฟ้มหรือสมุดงานแทน

2.  แถบคำสั่ง (Menu Bar) คือแถวที่รวมคำสั่งที่ใช้ในการทำงานได้แก่  แฟ้ม(File)  แก้ไข(Edit)  มุมมอง(View)  แทรก(Insert)  รูปแบบ(Format)  เครื่องมือ(Tool)  ข้อมูล(Data)  หน้าต่าง(Window)   ตัวช่วย(Help)

3.  แถบเครื่องมือ(Tool Bar) เป็นแถบที่ใช้แสดงเครื่องมือสำหับสั่งให้ Microsoft Excel ทำงานในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่

3.1  แถบเครื่องมือมาตรฐาน(Standard Tool Bar)

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน



3.2  แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ (Formating Tool Bar)

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน

3.3  แถบเครื่องมือรูปวาด (Drawing Tppl Bar)

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน



4.  แถบสูตร (Formular Bar) เป็นส่วนที่ใช้แสดงข้อมูลและสูตรต่าง ๆ ในเซลล์ที่เรากำลังทำงานอยู่ ใช้ป้อนข้อมูลและแก้ไขข้อมูล

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน

 5.  แถบชีตงาน (Sheet Bar)  แสดงชื่อชีทงานที่ใช้งานอยู่

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน


6.  แถบสถานะ (Status Bar)  เป็นส่วนที่แสดงสถานะการทำงานของ Excel และแป้นพิมพ์

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน

7.  แถบเลื่อน (Scroll Bar) ใช้เลื่อนเอกสารไปซ้าย – ขวา หรือ เลื่อนขึ้น – ลง

8. ตัวชี้เซลล์ (Active Cell) คือเซลลืที่กำลังถูกใช้งานในขณะนั้น  เซลล์ที่เป็นแอกทีพเซลล์จะมีเส้นกรอบแบบสีดำล้อมรอบอยู่

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน

9.  สมุดงาน (Work Book)คือ ไฟล์ที่สร้างจากExcel ซึ่งประกอบ Work sheet หลายแผ่นมารวมกัน

10.  แผ่นงาน(Work Sheet) หมายถึงพื้นที่ส่วนที่ใช้เป็ฯกระดาษคำนวณมีลักษณะเป็นตาราง เราสามารถป้อนข้อมูลและสูต

6.3 การกำหนดขอบเขตของข้อมูล

6.4 การคำนวณและการใช้สูตรฟังก์ชัน

โปรแกรม Microsoft Excel สามารถ ประยุกต์ใช้งาน

ฟังก์ชัน                               หน้าที่

 =MAX(กลุ่มเซลล์) ค่าสูงสุดในกลุ่มเซลล์ 

=MIN(กลุ่มเซลล์) ค่าต่ำสุดในกลุ่มเซลล์ 

=AVERAGE(กลุ่มเซลล์) ค่าเฉลี่ยในกลุ่มเซลล์ 

=AVERAGEIF(กลุ่มเซลล์,เงือนไข) ค่าเฉลี่ยในกลุ่มเซลล์ตามเงื่อนไข 

=AVERAGEIFS(กลุ่มเซลล์,เงื่อนไข,กลุ่มเซลล์.เงื่อนไข,…) ค่าเฉลี่ยในกลุ่มเซลล์ตามเงื่อนไขโดยสามารถหาได้หลายเงื่อนไง หลายช่วงข้อมูล 

=MEDIAN(กลุ่มเซลล์) ค่ากึ่งกลางในกลุ่มเซลล์ 

=MODE(กลุ่มเซลล์) ค่าที่เกิดซ้ำหรือเกิดบ่อยที่สุดในกลุ่มเซลล์ 

=COUNT(กลุ่มเซลล์) นับจำนวนข้อมูลเฉพาะตัวเลข 

=COUNTA(กลุ่มเซลล์) นับจำนวนข้อมูลทั้งตัวเลขและข้อความ 

=COUNTBLANK(กลุ่มเซลล์) นับจำนวนเซลล์ว่าง 

=COUNTIF(กลุ่มเซลล์,เงื่อนไข) นับจำนวนข้อมูลตามเงื่อนไข 

=COUNTIFS(กลุ่มเซลล์,เงื่อนไขกลุ่มเซลล์,เงื่อนไข,…) นับจำนวนข้อมูลตามเงื่อนไข