ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

▪เจ้าของเฉพาะตัวบ้านมีชื่อในเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ + ทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน หรือเจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน)

🏘บ้านหลังอื่นๆ

▪เจ้าของบ้านที่ชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

3. อื่นๆ

▪พาณิชยกรรม

▪อาคารสำนักงาน

▪อุตสาหกรรม

▪ร้านอาหาร

▪โรงแรม

▪อื่นๆ

4. ว่างเปล่า / ไม่ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

▪ทิ้งที่ดินไว้ว่างเปล่า

▪ไม่ได้ประโยชน์ในปีก่อนหน้า

ต่อจาก Part 1 กันนะคะ โดยในตอนนี้เราจะมาพูดถึง อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2565-2565

👉มาดูกันนะคะ ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนไปจากปีที่แล้วมั้ย ??

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

🏡🏗อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565-2566

1. เกษตรกรรม

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 75 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.01%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 7,500 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 75 - 100 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.03%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 30,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 100 - 500 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.05%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 250,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 500 – 1,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.07%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 700,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 1,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.1%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 1,000,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

2. ที่อยู่อาศัย

2.1 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

(เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 25 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.03%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 7,500 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 25 - 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.05%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 25,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.1%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

2.2 สิ่งปลูกสร้าง

(เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 40 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.02%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 8,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 40 – 65 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.03%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 19,500 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 65 – 90 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.05%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 45,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 90 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.1%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 90,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

2.3 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย

นอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม 2.1 และ 2.2 (บ้านหลังอื่นๆ)

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 0 - 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.02%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 10,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 50 - 75 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.03%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 22,500 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 75 - 100 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.05%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 50,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 100 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.1%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป

3. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก 1 และ 2

▪มูลค่าทรัพย์สิน : ไม่เกิน 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.3%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 150,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 50 - 200 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.4%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 800,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 200 – 1,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.5%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 5,000,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 1,000 – 5,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.6%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 30,000,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 5,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.7%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 35,000,000 บาทขึ้นไป

4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์

▪มูลค่าทรัพย์สิน : ไม่เกิน 50 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.3%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 150,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 50 - 200 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.4%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 800,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 200 – 1,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.5%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 5,000,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : 1,000 – 5,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.6%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 30,000,000 บาท

▪มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 5,000 ล้านบาท

▪อัตราภาษี : 0.7%

▪ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 35,000,000 บาทขึ้นไป

มาถึง part สุดท้ายแล้วนะคะ สำหรับเรื่อง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2565” โดยใน Part สุดท้ายนี่เราจะพูดถึงเรื่องอะไรมารับชมพร้อมๆกันได้เลยค่า

👉มาดูกันนะคะ ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนไปจากปีที่แล้วมั้ย ??

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 จ่ายเท่าไร

🗓Timeline การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565

▪เดือนมกราคม : ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษี

▪เดือนกุมภาพันธ์ : การแจ้งประเมินภาษี โดยส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี

▪เดือนเมษายน : ชำระภาษี

▪เดือนเมษายน – มิถุนายน : ผ่อนชำระภาษี

▪เดือนพฤษภาคม : แจ้งเตือนภาษีค้างชำระ

▪เดือนมิถุนายน : แจ้งชื่อผู้ค้างชำระภาษี

‼️โทษปรับ หากชำระภาษีเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด

1. เบี้ยปรับ

ค่าปรับจากการที่ชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด

- ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด และได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ

- ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีตามเวลาที่แจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 20% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ

- ไม่ได้ขำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ

2. เงินเพิ่ม

- ดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระภาษีล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด

- คิดอัตรา 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) โดยไม่นำเบี้ยปรับมารวมคำนวณเพื่อเสียเงินเพิ่มด้วย

- เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีจนถึงวันที่ชำระภาษี

- เพดานสูงสุดไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่จะชำระ (แต่ถ้าได้รับการขยายกำหนดเวลาชำระภาษี และชำระภาษีภายในกำหนดเวลานั้น อัตราเงินเพิ่มจะลดลงเหลือ 0.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน)

3. โทษทางอาญา

การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือการนำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ มาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องโดนเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม

(หากเป็นกรณีที่ชำระภาษีล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด)

- เนื่องจากไม่ได้รับใบประเมินเรียกเก็บภาษี หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ขยาย หรือเลื่อนกำหนดเวลาในการชำระภาษีด้วยตนเอง

ผู้เสียภาษีไม่มีความผิด จึงไม่ต้องเสียภาษี

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า