บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ ดีไหม

  • TH

  • EN

  • ข้อมูลการซื้อขาย

    ผลิตภัณฑ์

    ดัชนี

    ข่าวและการแจ้งเตือน

    ข้อมูลและสถิติ

    ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

  • ผู้ออกหลักทรัพย์

    การออกตราสารทุน

    ข้อมูล IPO

    การเป็นบริษัทจดทะเบียน

  • กฎเกณฑ์และการกำกับ

    เกณฑ์และการกำกับ

  • บริการ

    บริการเชื่อมต่อและข้อมูล

    บริการซื้อขาย

    บริการหลังการซื้อขาย

    บริการเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน

    บริการสำหรับสมาชิก

    บริการสำหรับนักลงทุนสถาบัน

  • ความรู้และวิจัย

    ความรู้

    วิจัย

  • เกี่ยวกับ ตลท.

    ภาพรวมองค์กร

    กลุ่ม ตลท.

    ตลาดหลักทรัพย์กับความยั่งยืน

    ปฏิทิน & กิจกรรม

    SET SOURCE

  1. หน้าหลัก
  2. TOP ...
  3. ราคา

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

  • สรุปเกณฑ์สำคัญ
  • ขั้นตอน
  • เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • แบบฟอร์ม
  • ถาม-ตอบ
  • Case Studies

สรุปเกณฑ์สำคัญ

เกณฑ์การนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

ในการพิจารณารับหุ้นสามัญของบริษัทเข้าจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาทั้งจากคุณสมบัติของหุ้นสามัญและคุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอดังนี้

1.1 คุณสมบัติของหุ้นสามัญ 

  • มีมูลค่าที่ตราไว้ (Par) ไม่น้อยกว่าหุ้นละ 0.50 บาท และชำระเต็มมูลค่าแล้วทั้งหมด
  • ระบุชื่อผู้ถือ
  • ไม่มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น ยกเว้นข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมายและต้องระบุไว้ในข้อบังคับบริษัท

1.2 คุณสมบัติของบริษัทที่ยื่นคำขอ

เรื่อง คุณสมบัติ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

สถานะ

บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายไทยจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ

ทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ (หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)

> 300 ล้านบาท

> 50 ล้านบาท

ฐานะการเงินและสภาพคล่อง

  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น > 300 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ
  • มีส่วนของผู้ถือหุ้น > 50 ล้านบาท และก่อน IPO ต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น > 0
  • แสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและ มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ

ผลการดำเนินงาน

เกณฑ์กำไร (Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

  • มีผลการดำเนินงาน > 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง > 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิใน 2 หรือ 3 ปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอรวมกัน > 50 ล้านบาท โดยในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ > 30 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ

เกณฑ์กำไร (Profit Test)
มีผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน

  • มีผลการดำเนินงาน > 2 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง > 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
  • มีกำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอ > 10 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมก่อนยื่นคำขอ

เกณฑ์ Market Cap1

  • ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่กำหนด
  • ได้รับ BOI ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่กำหนด
  • มี Market Cap. > 7,500 ล้านบาท และมีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ต่อไปนี้ โดยต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่มีการสั่งรับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
    - มีผลการดำเนินงาน > 3 ปี โดยอยู่ภายใต้การจัดการของกรรมการและผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันมาอย่างต่อเนื่อง > 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
    - มีรายได้จากการดำเนินงานหรือสินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้อุตสาหกรรมที่กำหนด
-

กระจายการถือหุ้นรายย่อย*(หลังเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน)

  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย > 1,000 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น2
    • ถือหุ้นรวมกัน > 25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ > 20% หากทุนชำระแล้ว > 3,000 ล้านบาท)
    • แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย > 300 ราย
  • อัตราส่วนการถือหุ้น2
    • ถือหุ้นรวมกัน > 25% ของทุนชำระแล้ว (หรือ > 20% หากทุนชำระแล้ว  > 3,000 ล้านบาท)
    • แต่ละรายต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 หน่วยการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน

  • ต้องได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยกเว้นนิติบุคคลที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ
  • เสนอขายผ่านผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย
    • เสนอขาย > 15% ของทุนชำระแล้ว (หรือ > 10% หากทุนชำระแล้ว > 500 ล้านบาท โดยมูลค่าหุ้นสามัญตามมูลค่าที่ตราไว้ > 75 ล้านบาทแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า)
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขาย
    • เสนอขาย > 15% ของทุนชำระแล้ว

การบริหารงาน

  • มีกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    • ไม่เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน3
    • ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าผืนข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ หรือการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาของหลักทรัพย์
  • มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน3
  • มีผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำากับตลาดทุน3
  • มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและผู้จัดการหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นไม่เป็นบุคคลเดียวกัน

การกำกับดูแลกิจการและการควบคุมภายใน

  • มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน3 และมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ซึ่งมีองค์ประกอบ คุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน3

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน3

งบการเงินและผู้สอบบัญชี

  • มีงบการเงินที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน3
  • ผู้สอบบัญชีของผู้ยื่นคำขอต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นายทะเบียน

แต่งตั้งให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) หรือบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นชอบเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์

การห้ามขายหุ้น (Silent Period)

เกณฑ์กำไร(Profit Test)

ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 25% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย เมื่อครบกำหนด 6 เดือน

เกณฑ์ Market Cap

ผู้เข้าข่าย Strategic Shareholders จะถูกห้ามนำหุ้นของตนซึ่งมีจำนวนรวมกัน 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO ออกขายภายใน 3 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขายหลังจากหุ้นซื้อขายครบ 1 ปี และเมื่อครบกำหนดทุก 6 เดือน ทยอยขายหุ้นได้ 20% ของหุ้นที่ถูกห้ามขาย

-

Opportunity Day

บริษัทต้องจัดประชุมเพื่อนำเสนอและชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและผลการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่หุ้นเริ่มซื้อขาย เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูล รวมทั้งสามารถซักถามผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนได้

หมายเหตุ: 
1 Market Capitalization คำนวณจาก

  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายใน 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป
  • กรณีที่ผู้ยื่นคำขอต่อตลาดหลักทรัพย์ภายหลัง 1 ปี นับแต่วันสุดท้ายของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ให้ใช้ราคาที่เป็นธรรม ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้กำหนด

2 ผู้ถือหุ้นรายย่อยคือ ผู้ที่ไม่ได้เป็น Strategic Shareholders โดย Strategic Shareholders คือ

  • กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% ของทุนชำระแล้ว รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ผู้มีอำนาจควบคุม

3 ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ.39/2559 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (ฉบับประมวล)

กรณีที่บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว สามารถนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยได้ โดยเรียกวิธีการนี้ว่า Spin off เป็นกระบวนการนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัทจดทะเบียน (บริษัทแม่) แยกออกมาเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (Initial Public Offering: IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งภายหลังจากการนำบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมเข้าจดทะเบียนแล้ว บริษัทแม่ต้องยังมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดำรงสถานะในการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

หลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการรับหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

ด้วยมูลค่าหุ้นสามัญตามราคาตลาด (Market Capitalization Test)

คุณสมบัติ
กลุ่ม 1 กลุ่ม 2

ประเภทอุตสาหกรรมที่สามารถยื่นคำขอได้ (รายชื่ออุตสาหกรรมตามท้ายตาราง)

  • อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI1 ในกลุ่มกิจการ A1 หรือ A2 หรือ
  • อุตสาหกรรมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI1 แต่ไม่ใช่กลุ่มกิจการ A1 หรือ A2

ผลการดำเนินงาน

บริษัทผู้ยื่นคำขอและที่ปรึกษาทาง การเงินร่วมกันแสดงได้ว่า บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานหรือสินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมตามที่กำหนดในกลุ่ม 1

บริษัทผู้ยื่นคำขอและที่ปรึกษาทาง การเงินร่วมกันแสดงได้ว่า บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานหรือสินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมตามที่กำหนดในกลุ่ม 2 โดยมีรายได้จากการดำเนินงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวในปีล่าสุด > 5,000 ล้านบาท และมีรายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดย 2 ปีล่าสุดเฉลี่ยมี Growth Rate > 20%

การเปิดเผยข้อมูลความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียน

  • เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing) ว่ามีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสำหรับการดำเนินงานใน 12 เดือนข้างหน้านับแต่วันที่แบบ Filing มีผลบังคับใช้
  • ภายหลังเข้าจดทะเบียน บริษัทจดทะเบียนและที่ปรึกษาทางการเงินที่ร่วมยื่นคำขอ เปิดเผยความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียนโดยเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวต่อเนื่องทุกไตรมาสอีก 4 ไตรมาส ภายในวันเดียวกับวันครบกำหนดส่งงบการเงิน

รายชื่ออุตสาหกรรมที่ยื่นคำขอฯ ตามเกณฑ์ Market Cap:

(1) อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่

ยานยนต์สมัยใหม่ / อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ / การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ / การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ / การแปรรูปอาหาร / หุ่นยนต์ / การบินและโลจิสติกส์ / เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ / ดิจิทัล / การแพทย์และสุขภาพครบวงจร

(2) อุตสาหรรมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่

กิจการพัฒนา Biotechnology / กิจการพัฒนา Nanotechnology / กิจการพัฒนา Digital Technology / กิจการพัฒนา Advance Material Technology

1ประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

A1 ฐานความรู้ เน้นการออกแบบ ทำ R & D เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

A2 โครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาประเทศ และกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่มีการลงทุนในประเทศน้อยหรือยังไม่มีการลงทุน

A3 กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีฐานการผลิตอยู่บ้างเล็กน้อย

A4 B1-B2 กิจการที่มีระดับเทคโนโลยีไม่เท่ากลุ่ม A1-A3 แต่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบในประเทศ และเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมสนับสนุนที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูง แต่ยังสำคัญต่อห่วงโซ่มูลค่า

ทำไมบริษัทต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์

ว่าเราต้องการอะไรจากการ IPO เช่น ต้องการลดภาระการเพิ่มทุน, ต้องการผลตอบแทนที่ดีขึ้น, ต้องการรู้มูลค่ากิจการ หรือต้องการระดมทุนขยายกิจการ ซึ่งการนำบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป เริ่มจากข้อดีของการ IPO ก็คือ - ชื่อเสียงของบริษัทเพิ่มขึ้น

บริษัทที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ต้องทําอย่างไร

ยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ / ยื่นคำขอเสนอขายหุ้น IPO ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมการเรื่องการเยี่ยมชมกิจการ และตอบข้อซักถามของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ สำนักงาน ก.ล.ต. เสนอขายหุ้นแก่ประชาชน เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์

ค่าใช้จ่ายในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ มีอะไรบ้าง

300,000 บาท ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขั้นต่ำ 50,000 บาท ขั้นสูง 1,500,000 บาท.
ค่าธรรมเนียมรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์คิดเป็นร้อยละของมูลค่าการระดมทุน.
ค่าจัดพิมพ์หนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญ.
ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ / การจัดกิจกรรม Road show..

ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่จะได้รับมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ที่คุณจะได้รับ นี่คือ โอกาสที่ดีที่เจ้าของกิจการเช่นคุณ จะทำความเข้าใจหรือรู้จักกับบริษัทที่คุณนำเงินไปลงทุนมากขึ้น และที่สำคัญคือ คุณจะสามารถเข้าไปติดตามดูแลได้ว่า กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของคุณในการบริหารกิจการ ได้จัดการเงินของคุณในทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของคุณแล้วหรือยัง คุณไม่ควรละทิ้งสิทธิอันมีค่า

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน