การ กำหนด หน้าที่ องค์กร ในการส่งเสริมสุขภาพของ โลก เกิด ขึ้น ครั้ง แรก ที่ ประเทศ ใด

องค์กรอนามัยโลกมีบทบาทเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ดูแลและคอยประสานงานด้านการสาธารณสุขเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งโลกมี 4 หน้าที่หลักคือ

1. อำนวยความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆตามความต้องการเมื่อได้ร้องขอมา

2. จัดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่างๆทั่วโลก

3. ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆอันไม่อาจดำเนินไปได้โดยลำพังของแต่ละประเทศ 

4. ทำหน้าที่แก้ปัญหาโรคที่ยังไม่สามารถรักษาได้ เช่น ซาร์ส ไข้หวัดนก และล่าสุดคือโควิด-19

ทั้งนี้ความมุ่งหมายดั้งเดิมของการร่วมมือกันนี้ก็เพื่อช่วยกันหยุดยั้งการระบาดของโรคต่างๆแต่ในปัจจุบันได้ขยายความร่วมมือออกไปอีกโดยยกระดับเรื่องสุขภาพอนามัยทุกแห่งบนโลกและส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านสาธารณสุขด้วยการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆอันเกี่ยวกับการคุ้มครองส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน  และที่สำคัญงานขององค์การอนามัยโลกดำเนินการภายใต้นโยบายและการปกครองของสมัชชาอนามัยโลกที่ประกอบไปด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิก และเพื่อเป็นการกระจายการปฏิบัติงานขององค์การให้ทั่วถึงส่วนต่าง ๆ ของโลก สมัชชาอนามัยโลกในการประชุมสมัยที่ 1 ได้มีมติกำหนดพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 6 ภูมิภาค คือ

1. ภูมิภาคอเมริกา มีสำนักงานอยู่ณกรุงวอชิงตันดีซี

2. ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก  มีสำนักงานอยู่ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย

3. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสำนักงานอยู่ที่ณกรุงนิวเดลี

4. ภูมิภาคแอฟริกามีสำนักงานอยู่ณเมืองบราซาวีล

5. ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกมีสำนักงานอยู่ณกรุงมะนิลา

6. ภูมิภาคยุโรปมีสำนักงานอยู่ณกรุงโคเปเฮเกน

สำหรับประเทศไทย อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ประเทศบังคลาเทศ ประเทศพม่า ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเกาหลี ประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ประเทศมองโกเลีย ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา ประเทศภูฏาน และประเทศไทย

WHO ยังให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน อีกด้วย

สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  และสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  • รับผิดชอบในภาพรวม โดยจัดให้มีมาตรการในการป้องกันคุ้มครองเจ้าหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • ให้ความรู้ จัดฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่บุคคล ประกอบไปด้วย
  • การอบรมเพื่อทบทวนเรื่องการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (IPC) และ
  • การอบรมเรื่องสวมใส่ การถอด และกำจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (IPC) และ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ให้เพียงพอ เช่น หน้ากาก, ถุงมือ, แว่นตาสำหรับป้องกัน, เสื้อคลุม, เจลทำความสะอาดมือ, สบู่และน้ำสะอาด และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ให้มีปริมาณที่เพียงพอสำหรับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข หรือผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ให้การดูแลผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ COVID-19 โดยบุคคลดังกล่าว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ บนพื้นฐานข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมตามความจำเป็น
  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากการกล่าวโทษสำหรับบุคลากร เพื่อให้สามารถรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น หากมีการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ หรือกรณีที่เกิดความรุนแรงระหว่างปฏิบัติ พร้อมทั้งให้มีการติดตามรวมถึงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ โดยเร่งด่วน
  • แนะนำให้บุคลากรประเมินตนเอง รวมทั้งรายงานอาการเจ็บป่วยและจำกัดตัวเองอยู่ที่บ้านเมื่อมีอาการเจ็บป่วย
  • จัดสรรระยะเวลาทำงานให้มีความเหมาะสม และควรมีการหยุดพักในระหว่างเวลางาน
  • ปรึกษาหารือกับผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเด็นของอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากร และรายงานต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยแรงงาน ในกรณีที่พบโรคจากการทำงาน
  • ไม่ควรกลับไปปฏิบัติงานในงานในสถานที่ทำงานที่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างมากต่อชีวิตหรือสุขภาพ จนกว่านายจ้างจะมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้แล้ว
  • อนุญาตให้บุคลากรมีสิทธิที่จะออกจากสถานที่ทำงานที่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตอย่างรุนแรง นอกจากบุคลากรควรได้รับการปกป้องจากผลกระทบที่ไม่เป็นธรรมตาม มาจากการใช้สิทธินั้น
  • หากมีการติดเชื้อ COVID-19 ที่เกิดจากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงในที่ทำงาน ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิที่ได้รับการชดเชย การฟื้นฟูเยียวยาและการได้รับการรักษา ทั้งนี้จะพิจารณาการได้รับความสี่ยงจากการทำงานซึ่งมีผลทำให้เกิดความเจ็บป่วย ให้เป็นกาฬโรคที่เกิดจากการทำงาน
  • จัดให้มีการเข้าถึงบริการรักษาและคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
  • เปิดโอกาสให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ และ/หรือตัวแทนของบุคลากร

ทุกท่านเห็นแล้วใช่หรือไม่ ว่าทุกประเทศได้ให้ความสำคัญกับระบบสาธารณสุขกับประชาชนภายในประเทศของตน จึงทำให้องค์กรนี้ได้มีการดำเนินงานที่สำคัญออกมามากมาย เพื่อให้คำแนะนำที่เกี่ยวกับมาตรการเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และป้องกันการแพร่กระจายของการระบาดได้อย่างทันท่วงที

ในที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ปี พ.ศ. 2520 ได้มีมติร่วมกันว่า “การมีสุขภาพดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่พึงได้รับ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม” โดยที่ประชุมได้เรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศเป็นผู้รับผิดชอบ และจัดหากลวิธีที่เหมาะสม เพื่อให้สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 หรือ Health for all by the year 2000

ต่อมาในเดือนกันยายน 2521 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care; PHC) ที่เมืองอัลมา อตา สหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อร่วมกันพิจารณาหาวิธีที่จะทำให้บรรลุถึงการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ และที่ประชุมได้มีแถลงการณ์ที่กันเรียกว่า คำประกาศอัลมา อตา (Alma Ata Declaration) ซึ่งระบุว่า “การสาธารณสุขมูลฐาน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเพื่อความยุติธรรมในสังคม และเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าเมื่อปี 2543 ได้”

ประเทศไทยโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ร่วมลงนามในกฎบัตรเพื่อพัฒนาทางสุขภาพ (Charter for Health Development) อันเป็นข้อตกลงระหว่างไทยกับองค์การอนามัยโลก ยืนยันว่าจะยึดถือการสาธารณสุขมูลฐานเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบการสาธารณสุขของประเทศ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2523 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า งานสาธารณสุขมูลฐานไทยได้ดำเนินการผ่านมาแล้วสามทศวรรษ จวบจนเริ่มเข้าสู่ทศวรรษที่สี่ ซึ่งเส้นทางการดำเนินการที่ผ่านมานั้นล้วนน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

พัฒนาการของสาธารณสุขมูลฐานในไทย

“การสาธารณสุขมูลฐาน คือการดูแลสุขภาพอนามัยโดยประชาชน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ด้วยการสนับสนุนของรัฐ”

หากเมื่อพิจารณาถึงงานสาธารณสุขมูลฐานในไทยนั้น พบว่า ได้มีการดำเนินงานมาก่อนที่รัฐบาลจะประกาศนโยบายตามมติองค์การอนามัยโลก สามารถแบ่งได้เป็น 8 ระยะ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ได้ดังนี้

1.พัฒนาการระยะแรก ( พ.ศ. 2504-2519)

งานสาธารณสุขมูลฐานเกิดขึ้นมาจากการที่ประชาชนในชนบทประสบกับปัญหาสุขภาพอนามัยและปัญหาการขาดแคลนของบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ดังจะเห็นได้จากในปี พ.ศ. 2504-2505 มีการอบรมอาสาสมัครกำจัดไข้มาเลเรียขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาโรคมาเลเรียที่มีการระบาดในขณะนั้น  

ในปี 2509 นพ.สมบูรณ์ วัชโรทัย  ศึกษาและพบว่า อัตราการไปใช้บริการที่สถานีอนามัยตำบลทุกระดับมีระดับต่ำมาก จึงหาวิธีแก้ไขโดยจัดทำโครงการทดลองที่สำคัญ คือ โครงการส่งเสริมอนามัยชนบท จ.พิษณุโลก ในเวลาเดียวกันกับ นพ.อมร นนทสุต ที่ได้ทำการทดลองโครงการที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ หลังจากทดลองโครงการไประยะหนึ่งคณะกรรมการดำเนินโครงการสารภี ประกอบด้วย นพ.สมบูรณ์ วัชโรทัย  นพ.อมร นนทสุต และนพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ เห็นว่า ควรนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ พร้อมทั้งได้คัดเลือกประชาชนมาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณสุข(ผสส.) หลังจากนั้น 1 ปี พบว่าอัตราการมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการขยายโครงการไปยังอำเภออื่นๆในจังหวัดเชียงใหม่ และอ.โนนไทย จ.นครราชสีมา

2.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)

พ.ศ. 2522 โครงการสาธารณสุขมูลฐานได้เริ่มต้นและผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ภายใต้ “แผนงานสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.)” มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนงาน และการสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม สสม. ต่อมาในปี 2523 หลังจากที่ไทยได้มีการร่วมลงนามกับองค์การอนามัยโลก ในกฎบัตรเพื่อพัฒนาการทางสุขภาพ เมื่อในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2523 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติสำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน ให้เป็นส่วนราชการ มีฐานะเทียบเท่ากอง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันคือ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

แผนงานสสม. จะเน้นหนักการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็น ครูฝึกสาธารณสุขมูลฐาน และจัดอบรม ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข(ผสส.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) รวมทั้งสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ มีการกำหนดกิจกรรมจำเป็นของการสาธารณสุขมูลฐานไว้ 8 กิจกรรมตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ระยะเวลานี้ ถือได้ว่าเป็นระยะการสร้างอสม.และผสส. กำเนิดกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน รวมทั้งมีการจัดระบบบริหารงานสาธารณสุขมูลฐานในกระทรวงสาธารณสุขอย่างเป็นทางการครั้งแรก เป็นการเริ่มต้นของการพัฒนา 3 ก. คือ กำลังคน กองทุน และการบริหารจัดการ 

3.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525 - 2529)

มีการจัดตั้งหน่วยงานฝึกอบรมสาธารณสุขมูลฐานขี้นหลายแห่ง ทั้งในเขตปริมณฑลและภูมิภาคโดยความ

ร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ "โครงการศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานอาเซียน" เพื่อขอสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น ภายใต้โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งอาเซียน (ASEAN HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT PROJECT) รัฐบาลญี่ปุ่นได้ลงนามให้ความช่วยเหลือด้านการก่อสร้างและด้านวิชาการในวงเงิน 400 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 ประกอบด้วยศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขแห่งอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา นครปฐมปัจจุบันคือ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน 4 ภาค ปัจจุบันคือ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ได้แก่ ภาคกลาง (ชลบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) ภาคเหนือ (นครสวรรค์) ภาคใต้ (นครศรีธรรมราช) และชายแดนภาคใต้ (ยะลา) รวมทั้งมีการกำหนดสายงานรองรับในระดับจังหวัด คือ “งานสาธารณสุขมูลฐาน” อยู่ภายใต้งานพัฒนาบุคลากร รวมทั้งกำหนดบทบาทรองรับในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย

การดำเนินงานในระยะนี้ เป็นช่วงการประสานงานเพื่อดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานร่วมกันใน 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข  มีการกำหนดโครงการ “ปีรณรงค์การสาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ” ส่งเสริมให้เกิด “กระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ระหว่างหมู่บ้าน” หรือ “โครงการหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน” ทั้งยังเริ่ม “โครงการปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ(ปรช.)” โดยใช้เครื่องมือชี้วัด “ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)” เป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายใต้การวางแผนขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ “คณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ” โดยมีการดำเนินการตามกระบวนการ จปฐ. และกชช 2 ค. ซึ่งมี 8 หมวด 32 ตัวชี้วัด ในจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านทั่วประเทศ

4.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  6 (พ.ศ.2530 - 2534)

ในระยะนี้ จะเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้เกณฑ์จปฐ. เพื่อเร่งรัดให้เกิดการดำเนินงานสสม. ให้ขยาย

ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ทั้งเขตชนบทและเขตเมือง มุ่งปรับปรุงคุณภาพของสถานบริการตามระบบการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ (พบส.)  

ในการพัฒนาศักยภาพของอสม. มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรเป็นรูปแบบผสมผสาน โดยได้รับงบประมาณในการฝึกอบรมโดยตรงจากคณะกรรมการสสม.  มีการเพิ่มกิจกรรมจำเป็นของการสาธารณสุขมูลฐาน 2 กิจกรรม ได้แก่ งานทันตสาธารณสุข และงานสุขภาพจิต รวมเป็น 10 กิจกรรม

ขอบคุณภาพจาก www.siced.ac.th

5.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535 - 2539)

เป็นการดำเนินการต่อจากแผนฯ 6 มุ่งเน้นให้ทุกครอบครัวมีความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเองและ

บรรลุคุณภาพชีวิต ในปีพ.ศ. 2535 ได้มีการยกระดับอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีเพียงระดับเดียวคือ อสม. มีการเพิ่มกิจกรรมใหม่ของงานสสม.อีก 4 กิจกรรม คือ อนามัยสิ่งแวดล้อม, การคุ้มครองผู้บริโภค, การควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ, และการป้องกันและควบคุมเอดส์   รวมเป็น 14 องค์ประกอบ ได้แก่ งานโภชนาการ  งานสุขศึกษา การรักษาพยาบาล  การจัดหายาที่จำเป็น การสุขาภิบาลและจัดหาน้ำสะอาด อนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว  งานควบคุมป้องกันโรคติดต่อในท้องถิ่น การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การส่งเสริมสุขภาพฟัน  การส่งเสริมสุขภาพจิต อนามัยสิ่งแวดล้อม  คุ้มครองผู้บริโภค การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุอุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ การป้องกันและควบคุมเอดส์

มีการส่งเสริมและการสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขโดยชุมชน จัดตั้ง “ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.)”  ครบทุกหมู่บ้าน ในเขตชนบท มีการปรับปรุงตัวชี้วัดจปฐ. เป็น 9 หมวด 37 ตัวชี้วัด และมีการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.เป็นประจำทุกปี จนถึงปัจจุบัน  

และได้ผลักดันให้มีวันสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุข จนวันที่ 21 ธันวาคม 2536 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้วันที่ 20 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ” กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เริ่มต้นจัดงานในนามวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2537 

6.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 - 2544)

มีการส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ส่งเสริมแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว ให้

เป็นแกนสำคัญในการดูแลสุขภาพของครอบครัว  และส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณสุขในชุมชน  มีการจัดสรรงบอุดหนุนเพื่อการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน หมู่บ้านละ 7,500 บาทต่อหมู่บ้านต่อปี เพื่อดำเนินกิจกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่ พัฒนาศักยภาพคน แก้ไขปัญหาสาธารณสุข และให้บริการใน

ศสมช.

7.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2549)

เกิดการปฏิรูประบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ปรับเปลี่ยนเป็นกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  เกิดระบบสุขภาพภาคประชาชนที่ต่อยอดแนวคิดการสาธารณสุขมูลฐาน  มีการถ่ายโอนงบอุดหนุนเพื่อการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน หมู่บ้านละ 7,500 บาท ต่อหมู่บ้านต่อปี ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

8.ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – ปัจจุบัน)

เกิดกองทุนสุขภาพระดับตำบล โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้การสนับสนุน

งบประมาณ ให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชน ในการพัฒนาด้านสาธารณสุข

สัญลักษณ์การสาธารณสุขมูลฐานและความหมาย

ประเทศไทย ได้กำหนดสัญลักษณ์ของการสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.) ดังภาพ โดยมีความหมาย ดังนี้

• ภาพคนยืนซ้อนและจับมือซ้อนกัน หมายถึง ประชาชน ครอบครัว และชุมชน

• ภาพกลุ่มคนประสานมือล้อมภาพคนยืนซ้อนและจับมือซ้อนกัน หมายถึง การประสานความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรธุรกิจเอกชน และองค์กรประชาชน เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ครอบครัว และชุมชน

• สีแดง หมายถึง เลือดเนื้อของชีวิตมนุษย์ เปรียบเสมือนการสาธารณสุขมูลฐานซึ่งจะหล่อเลี้ยงให้ประชาชนมีสุขภาพดี

• สีน้ำเงิน หมายถึง ความยิ่งใหญ่ กว้างใหญ่ ความหนักแน่นมั่นคง

 

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช, [Online], สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กรกฏาคม 2557. จาก //www.nakhonphc.go.th/history_asm.php

ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, [Online], สืบค้นเมื่อวันที่ 4กรกฏาคม 2557. จาก //www.esanphc.net/rtc/history.php

ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคกลาง จังหวัดชลบุรี, [Online], สืบค้นเมื่อวันที่ 4กรกฏาคม 2557. จาก //www.centralphc.org/about-1.php

วรเดช จันทรศร.นโยบายการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย ปัญหา ข้อจำกัด และลักษณะเด่น.มปป.

กองบก.วิชาการ.ทิศทางสสม.ในทศวรรษที่สี่. หมออนามัยปีที่ 18 ฉบับที่ 5 หน้า 22-43

กฤษณชัย กิมชัย. 30 ปี การสาธารณสุขมูลฐาน.เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการสรุปการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน และกำหนดทิศทางการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน ทศวรษที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2551 วันที่ 17-19 กันยายน 2551 ณ โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน