ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดเหตุการณ์ทางดนตรีอย่างไร

รองศาสตราจารย์วีณา เอี่ยมประไพ


             รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนับเป็นยุคทองของศิลปะด้านการแสดง ทั้งแบบจารีตคือ โขน ละครนอก ละครใน และละครแบบใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลของประเทศตะวันตก อันได้แก่ ละครร้อง ละครพูด ละครดึกดำบรรพ์ ความสนพระทัยของพระองค์ต่องานแสดงนั้น มิใช่เพียงแต่การทอดพระเนตรดังเช่นรัชกาลที่ผ่านมา แต่ได้มีส่วนพระราชนิพนธ์บทละครทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศรวมประมาณ 180 เรื่อง (ม.ล.ปิ่น มาลากุล,2518:8) ทรงควบคุมการแสดง และทรงแสดงร่วมด้วย 


1) โขน

            การแสดงโขนเป็นศิลปะขั้นสูงของไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตทั้งส่วนของพระมหากษัตริย์และประชาชนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนศิลปะการแสดงโขนด้วยการพระราชนิพนธ์บท ทรงควบคุมการจัดแสดงและฝึกซ้อมด้วยพระองค์เอง เนื่องจากผู้แสดงล้วนเป็นข้าราชบริพารในพระองค์จึงรู้จักกันในนามโขนสมัครเล่น ต่อมาเมื่อผู้แสดงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้สูงขึ้นเป็นลำดับ จึงมีชื่อเรียกว่าโขนบรรดาศักดิ์ ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ครั้งยังดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช   มหาดเล็กในพระองค์ได้รวมตัวกันเล่นโขนเื่อความสนุกสนาน พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้ครูโขนละครจากคณะของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชรฯ เป็นผู้ฝึกหัด พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าโขนสมัครเล่นสมควรจะแสดงได้ดีกว่าโขนอาชีพ เนื่องจากมีพื้นฐานการศึกษาที่ดีกว่า โดยเทียบเคียงกับประเทศอังกฤษว่ายกย่องศิลปินให้เป็นขุนนาง (วรชาติ มีชูบท, 2553 : 41) การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนการแสดงโขน นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงให้คงอยู่แล้ว พระองค์ยังได้ทรงใช้ศิลปะการแสดงดังกล่าวในการสอดแทรกพระราโชบายหรือพระราชดำริ โดยเฉพาะโขนซึ่งใช้วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลักในการแสดง มุ่งเน้นความสำคัญด้านคุณธรรมและยกย่องพระมหากษัตริย์ที่เปรียบประดุจสมมติเทพ  


ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดเหตุการณ์ทางดนตรีอย่างไร

โขนบรรดาศักดิ์ จ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ)

2) ละคร

                อิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อศิลปะของไทยในสมัยรัชการที่ 6 ซึ่งเห็นได้อย่างเด่นชัดคือศิลปะการแสดงละคร  โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำแบบอย่างมาเผยแพร่ ทั้งบทละคร วีธีแสดง การวางตัวละครบนเวที การเปล่งเสียงพูด พระองค์ทรงมีบทบาททั้งการพระราชนิพนธ์บทละคร ทรงควบคุมการแสดงและทรงแสดงร่วม  นับเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความบันเทิงจากสมัยจารีตที่ชนชั้นนำนิยมดนตรีไทยและละครใน  บทพระราชนิพนธ์และการจัดแสดงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมิใช่เพียงเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงสอดแทรกพระราโชบายที่มุ่งปลูกฝังแก่ประชาชน ดังเช่น เรื่องพระร่วง นับเป็นละครอิงประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความมีสติปัญญาของพระร่วงต่อการปลดปล่อยดินแดนสุโขทัยให้หลุดพ้นจากอำนาจขอม ขณะเดียวกันก็แสดงถึงความรักแผ่นดินและความจงรักภักดีต่อผู้นำจากบทของนายมั่นปืนยาว โดยพระองค์ทรงแสดงในบทบาทดังกล่าวนี้ด้วย บทละครเรื่องนี้จึงเป็นต้นแบบของละครปลุกใจให้รักชาติ สอดคล้องกับแนวพระราชดำริ เรื่องชาตินิยมซึ่งเป็นพระราโชบายที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของรัชสมัยนี้     ดังเช่นบทร้องในละครเรื่องพระร่วงตอนหนึ่งที่ว่า



                                ...ข้าเจ้าผู้เป็นไทย       จงใจรักและภักดี
                        ต่อองค์พระทรงศรี                สถิตเกล้าเหล่าประชา,

                        ขอนั่งพระสมภาร                  ทุกวันวารขอเป็นข้า,

                        เต็มใจใฝ่อาสา                     ต่อสู้หมู่ไพรี...


                                                               (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,2515:127)


ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดเหตุการณ์ทางดนตรีอย่างไร


            ด้วยความเอาพระราชหฤทัยใส่ต่อศิลปะด้านการแสดงโขนละคร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดฯ ให้จัดระเบียบกรมมหรสพที่เคยมีแต่เดิมตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ใหม่ กล่าวคือ  ในอดีตกรมมหรสพมีหน้าที่เกี่ยวกับการละเล่นของหลวง 5 ประเภทคือ ระเบง โมงครุ่ม กุลาตีไม้ แทงวิสัย และกระอั้วแทงควาย ครั้นถึงรัชกาลที่ 6 ก็ทรงโปรดฯ ให้กรมมหรสพดูแล 4 หน่วยงานคือ กรมโขนหลวง กรมปี่พาทย์หลวง กรมช่างมหาดเล็ก และกองเครื่องสายฝรั่งหลวง ผู้ที่มีความสามารถด้านการแสดงและได้เข้ารับราชการในกรมมหรสพมักเป็นที่ทรงโปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   จึงได้รับการเลื่อนตำแหน่งเร็วกว่าบุคคลอื่น ประกอบกับการใช้จ่ายเงินจำนวนเพื่อจัดการแสดงโขนละคร จึงทำให้เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งไม่พอใจอันเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดความเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมือง


            พระราชกรณียกิจด้านดนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เป็นส่วนหนึ่งของบทละคร  จากการที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องประกอบเนื้อเรื่อง  ทั้งทำนองเพลงไทยและเพลงสากล  นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนและส่งเสริมให้ดนตรีไทยดำรงอยู่และสืบทอดต่อมา  โดยพระองค์ทรงโปรดฯให้มีการสอนและฝึกซ้อมดนตรีไทยควบคู่ไปกับการเรียนการสอนวิชาสามัญ




                                               



 

เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6

ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ฉบับแรก ตั้งกรมสาธารณสุข ในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นต้นรากแห่ง กระทรวงสาธารณสุข ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ในยุโรป เมื่อได้รับชัยชนะจึงเป็นเหตุให้สยามมีอำนาจเจรจาต่อรองขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ได้ทำไว้แต่รัชกาลก่อนๆ ได้ อุโมงค์ขุนตานทะลุถึงกันสำเร็จ

ยุคทองของดนตรีไทยเกิดขึ้นในสมัยใด

สมัยรัชกาลที่ 2 อาจกล่าวว่าในสมัยนี้ เป็นยุคทองของดนตรีไทยยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ในทางดนตรีไทย ถึงขนาดที่ทรงดนตรีไทย คือ ซอสามสาย ได้ มีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ทั้งพระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยขึ้นเพลงหนึ่งเป็นเพลงที่ไพเราะ และอมตะ ...

กลองทัด เกิดขึ้นในสมัยใด

สมัยรัชกาลที่๑(พ.ศ.๒๓๒๕ - พ.ศ.๒๓๕๒) ได้มีการเพิ่มกลองทัดเข้าไปในวงปี่พาทย์เครื่องห้า จากสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีเพียงใบเดียว เพิ่มเป็น ๒ ใบ มีเสียงสูงใบหนึ่ง เสียงดัง “ตู๊ม” และมีเสียงต่าใบหนึ่ง เสียงดัง “ต้อม”

ดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยมีลักษณะอย่างไร

สมัยสุโขทัย ดนตรีไทย มีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง เกี่ยวกับ เครื่องดนตรีไทย ในสมัยนี้ ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงไว้ในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดี ที่แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร, สังข์, มโหระทึก, ฆ้อง, กลอง, ฉิ่ง, แฉ่ง (ฉาบ), บัณเฑาะว์ พิณ, ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือ ซอสามสาย) ปี่ไฉน, ระฆัง, ...