อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร ใครเลยห่อน จะว่าตัวเป็นวัวมอ

เริ่มหน้า ๑๒

บทที่ ๑๑

เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่า ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน
อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ

.............

.............

คำศัพท์ สำนวน

.............
ห่อน หมายถึง ไม่ ไม่เคย
มอ หมายถึง สีมัว ๆ อย่างสีดำเจือเทา
วัวมอ หมายถึง วัวตัวผู้
ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ หมายถึง ไม่มีใครว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นเขาใช้งาน

.............

ถอดความได้ว่า

.............

เกิดเป็นคนต้องรู้เท่าทันใจของตนเอง คือต้องสอนใจตนเองหรือเตือนตนเองได้ และถ้าจะขอความช่วยเหลือจากผู้ใด เราต้องอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะไม่มีใครที่จะคิดว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นใช้งาน

.............

สุภาษิต สำนวน ที่เกี่ยวข้อง

.............

จงเตือนตนด้วยตนเอง

.............

หมดหน้า ๑๒

เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่า ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน

อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ

เป็นบ้าจี้นิยมชมว่าเอก คนโหยกเหยกรักษายากลำบากหมอ

อันยศศักดิ์มิใช่เหล้าเมาแต่พอ ถ้าเขายอเหมือนอย่างเกาให้เราคัน

บ้างโลดเลนเต้นรำทำเป็นเจ้า เป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน

ผีมันหลอกช่างผีตามทีมัน คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก

สูงอย่าให้สูงกว่าฐานนานไปล้ม จะเรียนคมเรียนเถิดอย่าเปิดฝัก

คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา

เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา

ใครทำตึงแล้วหย่อนผ่อนลงเอา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง

พออ่านชื่อบทเรียนนี้ครั้งแรก เราเชื่อว่าเพื่อน ๆ บางคนน่าจะต้องกลับมาอ่านใหม่อีกรอบเพราะไม่แน่ใจว่าอ่านถูกไหม และไม่รู้ว่าความหมายของชื่อนี้เกี่ยวกับอะไรกันแน่ 

แต่ก่อนจะไปเรียนรู้กันแบบเต็มอิ่ม เราเลยขออธิบายคร่าว ๆ ก่อนว่า อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า อิด-สะ-ระ-ยาน-พา-สิด) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ โดยมาจากชื่อผู้แต่ง คือ หม่อมเจ้าอิศรญาณ (มหากุล) กวีคนสำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) บวกกับคำว่า ภาษิตซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมา ดังนั้น คำว่า ‘อิศรญาณภาษิต’ เลยหมายถึงถ้อยคำของหม่อมเจ้าอิศรญาณที่บอกเล่าสืบต่อกันมา นั่นเอง ส่วนเนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไรและให้แง่คิดอะไรบ้าง ติดตามกันต่อได้ในบทความนี้เลย

หรือเพื่อน ๆ จะไปเรียนแบบเต็ม ๆ พร้อมแอนิเมชันสวย ๆ กับแอปพลิเคชัน StartDee ก็ได้นะ คลิกที่นี่ได้เลย

ที่มาของเรื่องอิศรญาณภาษิต

สำหรับที่มาของเรื่อง เกิดขึ้นจากความน้อยอกน้อยใจของผู้แต่งหลังถูกตำหนิว่าสติไม่ดี จึงไม่น่าแปลกใจที่กลอนเพลงยาวนี้จะมีเนื้อหาที่แฝงไปด้วยน้ำเสียงเหน็บแนม ประชดประชัน โดยจุดมุ่งหมายหลักของการแต่งอิศรญาณภาษิต คือการสั่งสอนและเตือนใจผู้อ่านเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม โดยเฉพาะคนที่มีอำนาจมากกว่าหรือผู้อาวุโสกว่า

ลักษณะคำประพันธ์

อิศรญาณภาษิตแต่งด้วยกลอนเพลงยาว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกลอนสุภาพ แต่มีจุดที่แตกต่างออกไป 2 อย่างหลัก ๆ  ได้แก่ 

  1. กลอนเพลงยาวจะขึ้นต้นด้วยวรรครับ (วรรคที่สอง) ดังนั้น บทแรกของกลอนเพลงยาวจึงมีเพียง 3 วรรค ขณะที่กลอนสุภาพหนึ่งบทจะมี 4 วรรค ดังตัวอย่าง

    อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร

    เทศนาคำไทยให้เป็นทาน       โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี 

  2. อิศรญาณภาษิตจะลงท้ายด้วยคำว่า เอย แต่กลอนสุภาพไม่จำเป็นต้องลงท้ายด้วยเอย

แปลอิศรญาณภาษิต

เนื้อหาโดยรวมของอิศรญาณภาษิตเป็นการสอนและเตือนสติผู้อ่านเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ร่วมกับคนที่มีอำนาจมากกว่า หรือผู้ที่อาวุโสกว่า โดยไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน ทั้งเรื่องการวางตัว การมีสติ คิดไตร่ตรองก่อนลงมือทำ และการเคารพผู้ใหญ่ 

อย่างไรก็ตามการสอนเหล่านี้ อยู่ในบริบทของยุคสมัยรัชกาลที่ 4 บางอย่างอาจจะยังนำมาปรับใช้กับชีวิตในปัจจุบันได้เหมือนเดิม แต่บางอย่างเพื่อน ๆ อาจจะต้องพิจารณาบริบทในยุคปัจจุบันเพิ่มเติม ส่วนเนื้อหาฉบับเต็ม คำศัพท์ และการถอดความเรารวบรวมมาให้ครบทุกบทแล้ว ไปอ่านกันเลยดีกว่า

  • บทที่ ๑

อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร

เทศนาคำไทยให้เป็นทาน     โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ชาญ หมายถึง เชี่ยวชาญ
เทศนา หมายถึง สอน
ตำนาน หมายถึง คำโบราณ
ศุภอรรถ หมายถึง ถ้อยคำที่ดี

แปลความหมาย 

ท่อนนี้เป็นการเกริ่นว่า หม่อมเจ้าอิศรญาณเชี่ยวชาญด้านการแต่งกลอน จึงได้นำคำสอนโบราณและถ้อยคำที่ดีมาประพันธ์เป็นคำสอนเตือนใจ มอบให้ไว้เป็นทาน

  • บทที่ ๒

สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา      ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี

ต้องหาม้ามโนมัยใหญ่ยาวรี             สำหรับขี่เป็นม้าอาชาไนย

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เจือ หมายถึง ผสม
โมห์ หมายถึง ความลุ่มหลง
ม้ามโนมัย หมายถึง ม้าที่ขับขี่ได้รวดเร็วดั่งใจ (มาจากคำว่า มโน = ใจ และ มย = ความสำเร็จ)
ม้าอาชาไนย หมายถึง ม้าที่ได้รับการฝึกมาดี

แปลความหมาย

ในบทนี้เริ่มด้วยเรื่องการฝึกจิต โดยเปรียบเทียบม้า เหมือนพาหนะหรือหนทางฝึกจิตใจของคนเรา ซึ่งแปลความหมายได้ว่า คนที่มีความประพฤติโง่เขลา เพราะลุ่มหลงยึดติดกับกิเลสตัณหา (ในที่นี้เปรียบเหมือนซากผี) เลยต้องรู้จักหาวิธีฝึกจิตใจให้ทันกิเลสอย่างรวดเร็วเหมือนม้ามโนมัย เมื่อเท่าทันกิเลสแล้ว จิตใจที่ได้รับการฝึกฝนแล้วนั้นเปรียบเสมือนม้าอาชาไนยที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี

  • บทที่ ๓

ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า    น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย

เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ                                   รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

อัชฌาสัย หมายถึง ความมีน้ำใจเกื้อกูลกัน

แปลความหมาย

โบราณกล่าวไว้ว่า ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือก หญิงเปรียบเสมือนข้าวสาร ซึ่งเป็นการสอนให้ผู้หญิงรู้จักรักนวลสงวนตัว เพราะผู้หญิงคล้ายกับข้าวสารที่ผ่านการขัดสีพร้อมที่จะนำไปหุงอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาปลูกใหม่ได้อีก ขณะที่ผู้ชายเปรียบเสมือนข้าวเปลือกที่สามารถนำไปเพาะปลูกและเจริญงอกงามใหม่ได้เรื่อย ๆ ซึ่งทั้งชายและหญิงต่างก็ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เหมือนกับสำนวน น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า และต้องนึกถึงใจเขาใจเรา รักกันไว้ก่อนจะดีกว่าการเกลียดชังกัน 

ในบทนี้ผู้เขียนคิดว่า การเปรียบเทียบดังกล่าวอาจสะท้อนแนวคิดชายเป็นใหญ่ที่กำหนดให้ผู้หญิงต้องเรียบร้อย รักนวลสงวนตัวเพื่อให้ไม่ให้บอบช้ำเสียหาย ขณะที่ฝ่ายชายไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ ซึ่งปัจจุบันมีคนที่วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้เช่นกัน (ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ใน //thematter.co/thinkers/patriarchy-in-thai-lesson/54111)

  • บทที่ ๔

ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ     ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ

สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล           เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชาย

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

หักหาญ หมายถึง การบังคับโดยใช้กำลังหรืออำนาจ
อย่าเพ่อ หมายถึง ห้ามไม่ให้กระทำ

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงเรื่องการทำความดี คือ คนดีมาเราก็ดีตอบ แต่ถ้าร้ายมาเราไม่จำเป็นต้องร้ายตอบ แต่ควรให้อภัยกันและกันแทน ซึ่งการทำความดีนั้น ต่อให้ทำมาสิบครั้ง พอผิดครั้งเดียวคนก็ลืมความดีที่ทำมาทั้งหมดได้ ดังนั้น มนุษย์จึงไม่ควรประมาท และไม่ควรดูหมิ่นผู้อื่น

  • บทที่ ๕

รักสั้นนั้นให้รู้อยู่เพียงสั้น      รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย

มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย              แหงนดูฟ้าอย่าให้อายแก่เทวดา

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เยิ่น หมายถึง ยาว หรือ นานออกไป

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงการทำให้ความรักความสัมพันธ์เป็นไปอย่างยาวนาน ต้องอาศัยการทำดีต่อกันอย่างสม่ำเสมอ และไม่ทำอะไรเกินขอบเขตกฎหมาย ยังไงเราทุกคนก็ต้องตาย ทำความดีไว้ก่อนดีกว่าจะได้ไม่อายเทวดาที่อยู่บนสวรรค์

  • บทที่ ๖

อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย      น้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา

อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา     ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงการทำบุญที่แม้จะทำเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอก็กลายเป็นกุศลผลบุญยิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน คล้ายกับการปาดน้ำตาลที่แม้จะไหลออกมาเพียงเล็กน้อย แต่หากเวลาผ่านไป น้ำตาลก็สามารถจะเพิ่มจำนวนขึ้นมากเรื่อย ๆ ได้เช่นกัน 

ส่วนวรรคที่บอกว่า ‘อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา’ ไม่ได้หมายถึงการส่องกระจกเช็คหน้าผมแต่อย่างใด แต่สื่อถึงการสำรวจสภาพร่างกาย จิตใจ และการกระทำของตัวเองในแต่ละวัน คล้ายกับการเตือนใจให้ผู้คนมีสติหมั่นทบทวนตัวเองในทุก ๆ วันนั่นเอง

  • บทที่ ๗

เห็นตอหลักปักขวางหนทางอยู่     พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน

เห็นเต็มตาแล้วอย่าอยากทำปากบอน    ตรองเสียก่อนจึงค่อยทำกรรมทั้งมวล

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

พิเคราะห์ หมายถึง คิดพิจารณาอย่างรอบคอบ
ทึ้ง หมายถึง พยายามดึง
ปากบอน หมายถึง ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด
ตรอง หมายถึง คิดทบทวน

แปลความหมาย

เมื่อเห็นตอไม้ปักขวางทาง ก่อนที่จะลงมือถอนควรพิจารณาให้ดีก่อน เพราะหากถอนโดยไม่ดูให้ดีอาจได้รับความเดือดร้อนได้ เมื่อเราเห็นสิ่งใดก็อย่าเพิ่งพูด ควรคิดพิจารณาให้ดีเสียก่อนก่อนที่จะพูดหรือกระทำอะไร

  • บทที่ ๘

ค่อยดำเนินตามไต่ผู้ไปหน้า      ใจความว่าผู้มีคุณอย่าหุนหวน

เอาหลังตากแดดเป็นนิจคิดคำนวณ   รู้ถี่ถ้วนจึงสบายเมื่อปลายมือ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ดำเนิน หมายถึง เดิน
หลังตากแดด หมายถึง ก้มหน้าทำงานหนักแบบชาวนา ทำให้หลังถูกแดดตลอดเวลา
คิดคำนวณ หมายถึง คิดใคร่ครวญ
เมื่อปลายมือ หมายถึง ในภายหลัง

แปลความหมาย

บทนี้เล่าถึงการใช้ชีวิตและประพฤติตัวโดยมีผู้ใหญ่เป็นแบบอย่าง และไม่ควรอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ รวมทั้งมีความขยันอดทนเหมือนกับชาวนาที่ทำงานหนัก หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินตลอดเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสบายในวันข้างหน้า

  • บทที่ ๙

เพชรอย่างดีมีค่าราคายิ่ง     ส่งให้ลิงจะรู้ค่าราคาหรือ

ต่อผู้ดีมีปัญญาจึงหารือ               ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร

แปลความหมาย

การนำของมีค่าให้กับคนที่ไม่รู้ค่า ก็เหมือนกับการนำเพชรไปให้กับลิง ดังนั้นเราควรอยู่กับคนที่มองเห็นคุณค่าของเราเอง ซึ่งในที่นี้คือเรื่องสติปัญญา โดยวรรคที่บอกว่า ‘ให้เขาลือเสียว่าชายนี้ขายเพชร’ หมายถึงให้คนร่ำลือว่าตนเองมีปัญญาราวกับมีเพชรมากพอที่จะอวดได้

  • บทที่ ๑๐

ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า      ใครเลยเล่าจะไม่งามตามเสด็จ

จำไว้ทุกสิ่งจริงหรือเท็จ                            พริกไทยเม็ดนิดเดียวเคี้ยวยังร้อน

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เจ้า หมายถึง เจ้านาย

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงการเห็นดีเห็นงามตามเจ้านาย ต่อให้ไม่เห็นด้วยก็ต้องเก็บไว้ข้างใน เพื่อให้ไม่เดือดร้อนตนเองเพราะหากเดือดร้อนขึ้นมาต่อให้เป็นเรื่องเล็กเหมือนพริกไทยเม็ดเดียวก็กลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้เช่นกัน  ซึ่งผู้เขียนมองว่าบทนี้สะท้อนให้เห็นการความสำคัญกับผู้มีอำนาจหรืออาวุโสกว่าตนมาก ๆ โดยเน้นหนักไปที่ความถูกใจมากกว่าความถูกต้อง และผู้คนยังไม่ได้มีสิทธิมีเสียงในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้อย่างเปิดกว้างและเท่าเทียมกัน

  • บทที่ ๑๑

เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่า        ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน

อยากใช้เขาเราต้องก้มประนมกร   ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ประนมกร หมายถึง ประนมมือ
ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ หมายถึง ไม่มีใครที่จะคิดว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นใช้งาน

ความหมาย

การเกิดเป็นมนุษย์ต้องรู้จักเท่าทันของผู้อื่น เราควรหมั่นสอนใจตนเอง หากเราต้องการขอความช่วยเหลือจากเขา เราก็ควรมีความสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน เพราะไม่มีใครที่จะคิดว่าตนเป็นวัวให้คนอื่นใช้งาน

  • บทที่ ๑๒

เป็นบ้าจี้นิยมชมว่าเอก        คนโหยกเหยกรักษายากลำบากหมอ

อันยศศักดิ์มิใช่เหล้าเมาแต่พอ    ถ้าเขายอเหมือนอย่างเกาให้เราคัน

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

บ้าจี้ หมายถึง บ้ายอ

คนโหยกเหยก หมายถึง คนที่ไม่ได้เรื่อง แก้ไขยาก

แปลความหมาย

บทนี้กล่าวถึงคนบ้ายอที่มักจะชอบให้คนอื่นชื่มชม คนประเภทนี้เป็นคนที่ไม่ได้เรื่อง หากนำไปรักษาก็สร้างความลำบากให้กับหมอ ซึ่งคนที่ลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในยศศักดิ์ จะต้องคิดให้ดีว่าสิ่งที่เขายกย่องสรรเสริญเรานั้น มาจากความจริงใจมากน้อยแค่ไหน หรือแค่พูดให้เหมาะกับจริตของเราเท่านั้น 

  • บทที่ ๑๓

บ้างโลดเล่นเต้นรำทำเป็นเจ้า     เป็นไรเขาไม่จับผิดคิดดูขัน

ผีมันหลอกช่างผีตามทีมัน                  คนเหมือนกันหลอกกันเองกลัวเกรงนัก

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ทำเป็นเจ้า หมายถึง ทำทีว่าเจ้าเข้าสิง

แปลความหมาย

บางคนทำตัวเหมือนเจ้าเข้าสิง ไม่มีใครคิดจับผิดว่าเป็นผีจริงหรือไม่ แต่ต่อให้เป็นผีจริงก็ปล่อยให้หลอกไป เพราะยังไงก็น่ากลัวน้อยกว่าคนที่มาหลอกกันเอง

  • บทที่ ๑๔

สูงอย่าให้สูงกว่าฐานนานไปล้ม    จะเรียนคมเรียนเถิดอย่าเปิดฝัก

คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก                 ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

อย่าเปิดฝัก หมายถึง อย่าอวดรู้

คนสามขา หมายถึง คนแก่ ขาที่สามคือไม้เท้า

แปลความหมาย

ถ้าจะสร้างสิ่งไหนที่สูงเกินสมดุลของฐานก็อาจจะทำให้ล้มได้ เช่นเดียวกับการศึกษาหาความรู้ก็ต้องขยันหมั่นเพียรโดยไม่อวดรู้จนเกินไป และเราควรที่จะปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่เพราะเขามีประสบการณ์มาก่อนเรา หากสิ่งไหนที่ดีงามก็ควรจะจดจำและนำไปใช้

  • บทที่ ๑๕

เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด      ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา

ใครทำตึงแล้วหย่อนผ่อนลงเอา            นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

หาญ หมายถึง กล้า

ราญ หมายถึง รบ

แปลความหมาย

เราควรประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างผู้ใหญ่ซึ่งมีประสบการณ์มาก่อน เหมือนกับสำนวน เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด และไม่ควรไปพูดขัดผู้อื่นเพราะอาจขัดใจเขาได้ นอกจากนี้ เราควรรู้จักยืดหยุ่น ถ้ามีคนหาเรื่องก่อนเราก็จะไม่หาเรื่องตอบ เพราะนักเลงที่แท้จริง (หรือจะเรียกว่า คนจริง แบบที่เราใช้กันในปัจจุบันก็ได้นะ) จะไม่หาเรื่องผู้อื่นก่อน

  • บทที่ ๑๖

เป็นผู้หญิงแม่หม้ายที่ไร้ผัว      ชายมักยั่วทำเลียบเทียบข่มเหง

ไฟไหม้ยังไม่เหมือนคนที่จนเอง       ทำอวดเก่งกับขื่อคาว่ากระไร

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ทำเลียบ หมายถึง พูดจาแทะโลม

คนที่จนเอง หมายถึง คนที่ทำตนเองให้ยากจน

ขื่อคา หมายถึง เครื่องจองจำนักโทษ แต่ในคำประพันธ์นี้ หมายถึง แสดงอำนาจท้าทายบทลงโทษ

ภาพขื่อคา (ขอบคุณภาพจาก //w2help.com/)

แปลความหมาย

ในยุคสมัยนั้นมีมุมมองว่า การเป็นหญิงหม้ายไม่มีสามีคอยปกป้อง มีโอกาสถูกชายอื่นพูดจาแทะโลมข่มเหง ส่วนไฟไหม้บ้านยังไม่ร้ายแรงเท่ากับคนที่ทำตนเองให้ยากจน (ในที่นี้หมายถึงการหมดเงินไปกับกิเลสตัณหาต่าง ๆ) และอย่าทำตัวท้าทายกฎหมาย และบทลงโทษ

  • บทที่ ๑๗

อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก      ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว

จงฟังหูไว้หูคอยดูไป                                 เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ศอก หมายถึง มาตราวัด ๑ ศอก เท่ากับ ๒ คืบ

แปลความหมาย

เสาหินขนาด 8 ศอกถูกตอกลงบนพื้นดินอย่างมั่นคง เมื่อมีคนมาผลักเสาหินอยู่เสมอ เสาหินย่อมสั่นคลอน เหมือนกับคนหูเบาเชื่อคนง่ายมักจะคล้อยตามผู้อื่น ดังนั้นเราควรพิจารณาความคิดของผู้อื่นก่อนว่าเขาพูดด้วยความจริงใจหรือไม่แล้วค่อยตัดสินใจเชื่อ

  • บทที่ ๑๘

หญิงเรียกแม่ชายเรียกพ่อยอไว้ใช้      มันชอบใจข้างปลอบไม่ชอบดุ

ที่ห่างปิดที่ชิดไชให้ทะลุ                               คนจักษุเหล่หลิ่วไพล่พลิ้วพลิก

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

คนจักษุเหล่ หมายถึง คนตาเข หรือ คนตาเหล่

แปลความหมาย

บทนี้กล่าวถึงการใช้คำพูดเป็นหลัก ถ้าเราต้องการขอความช่วยเหลือก็ควรใช้คำพูดอ่อนหวานเพราะไม่มีใครชอบให้ใช้คำพูดห้วน ๆ หรือดุดัน และควรพูดจาให้รู้จักกาลเทศะ เช่น เมื่อเจอคนตาเหล่ก็ควรรู้จักเลี่ยงไม่พูดตรง ๆ เพื่อมิให้เสียน้ำใจ

  • บทที่ ๑๙

เอาปลาหมอเป็นครูดูปลาหมอ      บนบกหนออุตส่าห์เสือกกระเดือกกระดิก

เขาย่อมว่าฆ่าควายเสียดายพริก           รักหยอกหยิกยับทั้งตัวอย่ากลัวเล็บ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เสือก หมายถึง ทำให้เคลื่อนไปบนพื้นโดยแรง

กระดิก หมายถึง ทำปลายอวัยวะให้เคลื่อนไหว

แปลความหมาย

บทนี้เปรียบเทียบว่า เราควรเพียรพยายามแบบปลาหมอที่อยู่บนบกแล้วพยายามตะเกียกตะกายกลับไปในน้ำให้ได้ ส่วนการฆ่าควายแล้วอย่าเสียดายพริกนั้น หมายถึง หากจะทำการใหญ่ก็ไม่ควรกลัว แต่ควรทำให้เต็มที่ ส่วนวรรคสุดท้ายต้องการจะสื่อว่า หากเราอยากจะหยอกล้อผู้อื่น เราก็ควรไม่กลัวที่ผู้อื่นจะหยอกล้อเรากลับบ้าง

  • บทที่ ๒๐

มิใช่เนื้อเอาเป็นเนื้อก็เหลือปล้ำ      แต่หนามตำเข้าสักนิดกรีดยังเจ็บ

อันโลภลาภบาปหนาตัณหาเย็บ              เมียรู้เก็บผัวรู้ทำพาจำเริญ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เนื้อ หมายถึง เนื้อคู่

ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก

จำเริญ หมายถึง เจริญ

แปลความหมาย

ถ้าเราแต่งงานกับคนที่ไม่ใช่เนื้อคู่หรือเข้ากันไม่ได้จริง ๆ ต่อไปก็จะมีแต่ปัญหา แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็เจ็บปวดได้ เหมือนกับหนามตำเพียงนิดเดียวก็สร้างความเจ็บปวดได้ไม่น้อย นอกจากนี้การใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างสามีภรรยา ควรตัดความโลภ บาป และตัณหา ฝ่ายสามีต้องขยันทำงานเลี้ยงครอบครัว ส่วนภรรยาต้องรู้จักเก็บหอมรอมริบจะทำให้ครอบครัวเจริญยิ่งขึ้น ซึ่งผู้เขียนมองว่าอิศรญาณภาษิตบทนี้สะท้อนค่านิยม “ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า” ของคนในยุคสมัยก่อน ต่างจากปัจจุบันที่ชายหญิงสามารถทำงานหรือเป็นผู้นำครอบครัวได้ทั้งคู่ 

  • บทที่ ๒๑

ถึงรู้จริงนิ่งไว้อย่าไขรู้       เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ

ไม่ควรก้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน      อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ไข หมายถึง บอก อธิบาย

ชัง หมายถึง เกลียด

แปลความหมาย

สะท้อนมุมมองของคนในยุคสมัยนั้นว่า การพูดถึงสิ่งที่ตนรู้นับเป็นการอวดรู้ และจะได้รับการชื่นชมจากผู้อื่นในระยะเวลาสั้น ๆ ดังนั้น อย่าทำอะไรเกินหน้าเกินตาผู้อื่น เพราะจำนวนคนที่รักเราจะมีน้อยกว่าคนที่เกลียดเรา 

  • บทที่ ๒๒

วาสนาไม่คู่เคียงเถียงเขายาก       ถึงมีปากมีเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย

ผีเรือนตัวไม่ดีผีอื่นพลอย                      พูดพล่อยพล่อยไม่ดีปากขี้ริ้ว

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

พูดพล่อยพล่อย หมายถึง พูดออกมาโดยไม่ไตร่ตรองถึงผลที่จะเกิด 

ปากขี้ริ้ว หมายถึง พูดจาไม่สุภาพ พูดไม่เหมาะสม

แปลความหมาย

ผู้มีอำนาจน้อยกว่าย่อมไม่สามารถเถียงผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าได้ ถึงแม้ว่าจะมีปากในการพูดแต่พูดไปไม่มีประโยชน์ หากไม่ระวังกายและใจของตนเองให้ดี ตัวเราจะประพฤติชั่วได้โดยง่าย การพูดพล่อยๆโดยไม่คิดให้ดีก่อนพูดเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ

  • บทที่ ๒๓

แต่ไม้ไผ่อันหนึ่งตันอันหนึ่งแขวะ      สีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควันฉิว

ช้างถีบอย่าว่าเล่นกระเด็นปลิว                  แรงหรือหิวชั่งใจดูจะสู้ช้าง

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

แขวะ หมายถึง เอาสิ่งมีคมแหวะคว้านให้กว้าง

ไม้ไผ่แขวะ หมายถึง ไม้ไผ่เจาะรู

สีแหยะแหยะ หมายถึง ถูกันเบา ๆ

ตะบัน หมายถึง แทงกดลงไป

แปลความหมาย

บทนี้สอนให้ไม่ประมาทเพราะบางอย่างอาจจะมีพิษภัยกว่าที่คิด อย่างไม้ไผ่อันที่ตันกับอีกอันที่เจาะเป็นรู เมื่อนำมาสีกันเบา ๆ ก็เกิดความร้อนได้เหมือนกัน และหากเราโดนช้างถีบหรือทำร้าย หากคิดจะแก้แค้นเอาคืน ควรพิจารณาตัวเองให้ดีก่อนว่ามีพละกำลังมากพอจะสู้กับช้างหรือไม่ 

  • บทที่ ๒๔

ล้องูเห่าเล่นก็ได้ใจกล้ากล้า       แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง

ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง      ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

เบื้อง หมายถึง ข้าง ด้าน

ผาง หมายถึง เสียงดังอย่างเสียงเอามือตบสิ่งของ

แปลความหมาย

ถ้าเราจะล้อเล่นกับงูเห่า (สิ่งที่ดูอันตรายและเสี่ยงภัย) จะต้องมีใจที่กล้าหาญ คล่องแคล่ว ว่องไว ต้องรู้วิธีการจับงู ไม่จับงูเห่าข้างหาง และสามารถตบหัวงูเห่าให้ตายในครั้งเดียวได้ หากไม่สามารถทำได้งูเห่าจะย้อนกลับมากัดเราตายได้

  • บทที่ ๒๕

ถึงเพื่อนฝูงที่ชอบพอขอกันได้      ถ้าแม้ให้เสียทุกคนกลัวคนขอ

พ่อแม่เลี้ยงปิดปกเป็นกกกอ                  จนแล้วหนอเหมือนเปรตเหตุด้วยจน

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ปิดปกเป็นกกกอ หมายถึง โอบอุ้มทะนุถนอมไว้

แปลความหมาย

บทนี้สอนเรื่องการให้แต่พอดี สำหรับเพื่อนฝูงก็ให้ได้ตามปกติ แต่เราไม่สามารถให้ทุกคนที่เข้ามาขอได้ เพราะยังไงพ่อแม่ก็ดูแลทะนุถถนอมเรามาอย่างดี กว่าเราจะมีทุกสิ่งอย่างจนวันนี้ แต่ถ้าเราให้คนอื่นไปจนหมดตัว สุดท้ายแล้วเราจะกลายเป็นเหมือนเปรตที่ต้องไปขอส่วนบุญกับผู้อื่น

  • บทที่ ๒๖

ถึงบุญมีไม่ประกอบชอบไม่ได้       ต้องอาศัยคิดดีจึงมีผล

บุญหาไม่แล้วอย่าได้ทะนงตน                ปุถุชนรักกับชังไม่ยั่งยืน

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

ประกอบ หมายถึง ทำ

ทะนง หมายถึง ถือตัว หยิ่งในตนเอง

ปุถุชน หมายถึง สามัญชน

แปลความหมาย

บทนี้พูดถึงเรื่องการทำดีอย่างสม่ำเสมอ ไม่ยึดติดกับบุญเก่าที่เราทำมา โดยต้องเริ่มจากการคิดดีก่อน เพราะมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงความรู้สึกได้ง่าย คนที่เรารักอาจจะกลับมาเกลียดเรา ส่วนคนที่เกลียดเราอาจจะกลับมารักเราก็ได้

รู้จักสำนวนไทยในอิศรญาณภาษิต 

เพื่อน ๆ จะเห็นว่าอิศรญาณภาษิตมีสำนวนไทยหลายสำนวนที่เราคุ้นเคยสอดแทรกอยู่ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่าแต่ละสำนวนมีความหมายอย่างไรบ้าง

  • รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ

สำนวนนี้มองเผิน ๆ อาจจะดูย้อนแย้ง ชวนสงสัยว่ารักยาวให้บั่น หมายถึงทำให้ความรักน้อยลงหรือเปล่า แต่จริง ๆ แล้ว สิ่งที่ต้องบั่นให้น้อยลงในสำนวนนี้ คือ ‘ความอาฆาตพยาบาทต่อกัน’ ต่างหากเพราะความรักที่มีแต่ความอาฆาตคิดร้ายต่อกันนั้นเป็นความรักที่เกิดขั้นในช่วงสั้น ๆ แต่หากต้องการให้รักยั่งยืนจะต้องตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไปนั่นเอง 

  • น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

หมายถึง การพึ่งพาอาศัยกัน  สำหรับเสือที่พึ่งป่าเพื่ออยู่อาศัยและหาอาหารนั้นยังพอเข้าใจได้ แต่ทำไมถึงเป็นน้ำพึ่งเรือแทนที่เรือจะพึ่งน้ำซะมากกว่า สำหรับข้อสงสัยนี้คาดว่าน่าจะมาจากเรือที่แล่นบนแม่น้ำช่วยให้ท้องน้ำไม่เป็นตะกอนตื้นเขิน หรืออาจจะเพราะเรือแล่นบนแม่น้ำ ทำให้ผู้คนดูแลเรื่องความสะอาด และสภาพแวดล้อมของน้ำให้ดีขึ้นกว่าแม่น้ำที่ไม่มีเรือแล่น

ภาพสายน้ำและผู้คนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน (ขอบคุณภาพจาก Unsplash)

  • เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด

ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย เพราะผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน มีประสบการณ์มาก่อน สะท้อนให้เห็นค่านิยมของสังคมไทยที่เน้นความนอบน้อมและเชื่อฟังผู้ใหญ่ 

  • คมในฝัก

มีความรู้ความสามารถ แต่ไม่ได้แสดงออกจนกว่าจะถึงเวลา หรือมีโอกาสได้ลงมือทำ ซึ่งมีความหมายคล้ายกับสำนวนน้ำนิ่งไหลลึก

  • ลิงได้แก้ว, วานรได้แก้ว

หมายถึง ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่ เหมือนกับลิงซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่ได้เห็นคุณค่าของแก้ว 

  • ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก, ฆ่าควายเสียดายเกลือ

หมายถึง ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่ เช่นเดียวกับการฆ่าควายทั้งตัว ถ้ามัวเสียดายพริกและเกลือจนใส่ไม่พอดีกับปริมาณเนื้อ อาจจะทำให้รสชาติออกมาไม่ดี เสียของไปเปล่า ๆ 

  • จับงูข้างหาง

หมายถึง การทำสิ่งที่เสี่ยงอันตรายเพราะใจร้อนหรือมักง่าย อาจจะทำให้พลาดพลั้งได้ เช่นเดียวกับการจับงูข้างหางที่งูอาจจะหันมาแว้งมากัดได้ง่ายกว่าการจับที่คอ 

ส่วนข้อคิด คุณค่าด้านสังคม และคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของอิศรญาณภาษิต เพื่อน ๆ สามารถโหลด แอปพลิเคชัน StartDee มาเรียนกันต่อได้เลย หรือจะอ่านบทความอื่น ๆ ของระดับชั้นม.3 อย่างเรื่องพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล หรือแผนที่เฉพาะเรื่อง เพิ่มเติมกันก็ได้นะ


ขอบคุณข้อมูลจากครูธีรศักดิ์ จิระตราชู (ครูหนึ่ง)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน