นักเรียน จะมีพัฒนาการที่สมวัย ได้ อย่างไร

และในช่วง 1-5 ปีแรก พ่อแม่ควรเฝ้าดูพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กเติบโตอย่างสมบูรณ์ทุกด้าน หรือหากมีปัญหาก็จะสามารถแก้ไขได้แต่เนิ่น ๆ ดังนั้น พ่อแม่ควรทราบถึงพัฒนาการที่เหมาะสมของลูกน้อยตามช่วงวัย เรียนรู้วิธีส่งเสริมพัฒนาการ และหัดสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อคอยดูแลให้เด็กเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมวัย

พัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการรวดเร็วหรือช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เด็กส่วนใหญ่มักมีพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา ภาษา อารมณ์ และสังคมในแต่ละช่วงอายุ ดังนี้

เด็กอายุ 18 เดือน หรือ 1.5 ขวบ

เป็นช่วงวัยกำลังหัดเดิน เด็กจะเจริญเติบโตช้าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วง 0-12 เดือนแรก แต่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย การใช้ภาษา การเรียนรู้ การทรงตัว และการประสานงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

พัฒนาการทางร่างกาย

  • เริ่มควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้ปัสสาวะและขับถ่ายได้ แต่อาจยังไม่พร้อมต่อการใช้ห้องน้ำ
  • เดินได้โดยไม่ต้องคอยช่วยเหลือ และเริ่มหัดวิ่งแต่ยังไม่ค่อยคล่องตัวหรืออาจหกล้มบ่อย ๆ
  • เดินขึ้นบันไดได้โดยใช้มือข้างหนึ่งจับราวบันไดไว้
  • เริ่มถอดเสื้อผ้าชิ้นที่ถอดออกง่ายได้ด้วยตนเอง เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า เป็นต้น
  • ดื่มน้ำจากแก้วหรือใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้โดยหกเลอะเพียงเล็กน้อย
  • ขึ้นนั่งบนเก้าอี้ที่ไม่สูงมากได้โดยไม่ต้องช่วยเหลือ
  • เปิดหนังสือโดยจับทีละ 2-3 หน้า

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

  • พูดออกมาเป็นคำ ๆ ได้มากขึ้นหลายคำ โดยเป็นคำใหม่ ๆ ที่มีความหมาย และไม่ใช่คำว่าพ่อแม่ ชื่อคนคุ้นเคย ชื่อของ หรือชื่อสัตว์เลี้ยงในบ้าน
  • พูดพร้อมกับส่ายหัวเพื่อบอกปฏิเสธ
  • ชี้สิ่งของเพื่อบอกว่าอยากได้หรือเพื่อให้ผู้ใหญ่สนใจ
  • เรียนรู้ชื่อและวัตถุประสงค์ของการใช้สิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แปรงสีฟัน ช้อน โทรศัพท์ เป็นต้น
  • ชี้และระบุชื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือหลาย ๆ ส่วนได้
  • แสดงความสนใจเมื่อเล่านิทานให้ฟังและมองภาพตาม
  • ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ที่ไม่ซับซ้อนโดยไม่ต้องใช้ท่าทางประกอบ เช่น ลุกขึ้น นั่งลง เป็นต้น
  • มักเลียนแบบท่าทางของผู้ใหญ่
  • เริ่มวาดขีดเขียนบนกระดาษหรือพยายามวาดรูปตามต้นแบบ

พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์

  • ให้ความสนใจตุ๊กตาและเล่นป้อนอาหารให้ตุ๊กตา
  • ชอบเล่นโดยถือสิ่งของต่าง ๆ ไปยื่นให้คนอื่น
  • อาจแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวหรือโกรธ
  • อาจกลัวคนแปลกหน้า และเกาะติดพ่อแม่หรือผู้ดูแลเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
  • แสดงความกังวลเมื่อต้องแยกจากพ่อแม่หรือคนที่คุ้นเคย
  • แสดงความรักต่อคนที่ตนคุ้นเคย เช่น จูบแบบปากจู๋ เกาะแขน เป็นต้น
  • เดินดูสิ่งต่าง ๆ ตามลำพังได้ แต่ยังอยู่ในระยะใกล้กับผู้ดูแล

วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กในวัยนี้

  • อ่านนิทานให้เด็กฟัง
  • จัดหาพื้นที่ว่างเพื่อให้เด็กทำกิจกรรมและได้เล่นสนุก
  • หาของเล่นที่เลียนแบบอุปกรณ์จริง เช่น พลั่วพลาสติก ช้อนหรือส้อมพลาสติก เป็นต้น
  • ให้เด็กมีส่วนช่วยในการทำกิจวัตรประจำวันเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในครอบครัว
  • ส่งเสริมให้เด็กเล่นสร้างสิ่งต่าง ๆ อย่างการต่อตึก และสิ่งอื่น ๆ ที่เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • ให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกัน
  • ชวนเล่นเกมง่าย ๆ เช่น เกมจิ๊กซอว์ เกมเติมของเล่นให้ตรงตามรูปร่างที่หายไป เป็นต้น
  • ให้ของสำหรับปลอบโยนเมื่อเด็กต้องห่างพ่อแม่ เช่น ตุ๊กตาตัวโปรด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการให้เด็กดูโทรทัศน์หรือวิดีโอจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใด ๆ จนกว่าจะถึงอายุ 2 ขวบ

ความผิดปกติทางพัฒนาการ

  • เดินไม่ได้
  • ไม่ชี้สิ่งต่าง ๆ ให้ดู
  • ไม่รู้ว่าสิ่งของที่ใช้เป็นประจำทุกวันคืออะไร หรือใช้เพื่ออะไร
  • ไม่เลียนแบบท่าทางของคนอื่น ๆ
  • ไม่เรียนรู้คำใหม่ ๆ หรือรู้คำศัพท์น้อยกว่า 4 คำ ซึ่งไม่รวมคำเรียกพ่อแม่อย่างปาป๊า มาม้า ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของ
  • ไม่แสดงความสนใจเมื่อพ่อแม่เพิ่งกลับมา หรือดูไม่กังวลเมื่อต้องห่างจากพ่อแม่
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

เด็กอายุ 2 ขวบ

ในช่วงนี้พ่อแม่อาจเริ่มฝึกให้เด็กเข้าห้องน้ำได้แล้ว เพราะเด็กจะเริ่มรู้ตัวเมื่อปวดปัสสาวะหรืออุจจาระและแสดงท่าทางว่าต้องการขับถ่าย ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเด็กพร้อมต่อการใช้ห้องน้ำและอาจไม่ต้องใส่ผ้าอ้อมอีกต่อไป รวมทั้งยังมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ ดังนี้

พัฒนาการทางร่างกาย

  • ยืนเขย่งเท้าได้ และยกสิ่งของขณะยืนได้โดยไม่เสียการทรงตัว
  • เตะและทุ่มลูกบอลโดยยกแขนสูง วิ่งได้คล่องตัวกว่าเดิม
  • ไต่ขึ้นลงเตียงหรือเก้าอี้ได้โดยไม่ต้องช่วยเหลือ
  • ขึ้นลงบันได้โดยยังต้องจับราว
  • เปิดลูกบิดประตูได้
  • เปิดหนังสือทีละ 1 หน้าได้
  • เริ่มใส่เสื้อผ้าชิ้นที่สวมใส่ง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง แต่จะถนัดถอดออกมากกว่า
  • วาดเส้นและวงกลมตามต้นแบบได้
  • ต่อบล็อกของเล่นเป็นหอสูง 4 ก้อนได้โดยไม่ล้ม
  • เริ่มมีฟันน้ำนมงอกขึ้นมา
  • มีพัฒนาการด้านการมองเห็นเพิ่มมากขึ้น
  • เด็กจะสูงประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงเมื่อโตเต็มที่

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

  • แสดงท่าทางสื่อสารถึงสิ่งที่ตนต้องการได้ เช่น หิว กระหายน้ำ อยากเข้าห้องน้ำ เป็นต้น
  • พูดเป็นวลีสั้น ๆ ที่ไม่ใช่คำนาม 2-3 คำ หรือพูดประโยคสั้น ๆ 2-4 คำ เช่น ร้องเพลง อาบน้ำ หรือกินนม เป็นต้น และพูดซ้ำตามบทสนทนาที่ได้ยิน
  • เข้าใจคำสั่งที่ซับซ้อนกว่าเดิม เช่น หยิบบอลและใส่รองเท้า ถอดรองเท้าแล้ววางบนชั้น เป็นต้น
  • เรียนรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 50-300 คำ และอาจมากกว่านี้ในรายที่มีพัฒนาการเร็ว
  • รับรู้ต่อสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
  • อาจถนัดใช้มือข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง
  • เริ่มแยกแยะรูปทรงและสีต่าง ๆ ได้
  • ชี้รูปภาพได้ถูกต้องตามคำบอก หรือระบุได้ว่าเป็นรูปอะไร เช่น นก ปลา แมว หมา เป็นต้น
  • จดจำชื่อของคนที่คุ้นเคย และระบุชื่ออวัยวะต่าง ๆ บนร่างกายได้

พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์

  • เลียนแบบพฤติกรรมและท่าทางของผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ใหญ่และเด็กที่โตกว่า
  • ตื่นเต้นและกระตือรือร้นเมื่ออยู่กับเด็กคนอื่น ๆ
  • พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น
  • แสดงความดื้อและต่อต้าน โดยทำในสิ่งที่ถูกห้ามหรือเตือน
  • ยังแยกเล่นคนเดียวแม้จะนั่งข้างเด็กคนอื่น แต่ก็เป็นช่วงที่กำลังจะเริ่มเล่นกับเด็กคนอื่น

วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กในวัยนี้

  • อ่านนิทานให้เด็กฟังและชี้ชวนให้ดูรูปภาพไปด้วย
  • จัดสรรพื้นที่ให้เด็กได้วิ่งเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างเพียงพอ
  • ให้เด็กเล่นสร้างสิ่งของและฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น ต่อแท่งไม้ ต่อตัวต่อ เป็นต้น
  • ให้เด็กมีส่วนช่วยในกิจวัตรประจำวันของครอบครัว หรือการทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • ให้เด็กลองใช้อุปกรณ์ที่ปลอดภัยในการเลียนแบบกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ใหญ่ เพราะเด็กในวัยนี้มักชอบทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการกวาดพื้นหรือปัดฝุ่น
  • พยายามหลีกเลี่ยงการให้เด็กดูโทรทัศน์และวิดีโอในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต หากให้ดูควรจำกัดเวลาให้น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน โดยเลือกเนื้อหาที่มีประโยชน์ ไม่รุนแรง และเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการอ่านนิทานให้ฟังหรือชวนทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย
  • หากให้เด็กเล่นเกม ควรเลือกเกมที่ไม่รุนแรงและเหมาะสมกับเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการ

  • เดินไม่มั่นคง หรือไม่คล่องตัว
  • ยังไม่เริ่มพูดเป็นวลีหรือประโยคสั้น ๆ เช่น กินข้าว กินนม อาบน้ำ เป็นต้น
  • ไม่รู้ว่าสิ่งของที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวันใช้ทำอะไร เช่น จาน ชาม ช้อน แปรงสีฟัน เป็นต้น
  • ไม่เลียนแบบพฤติกรรม คำพูด หรือคำศัพท์จากผู้อื่น
  • ทำตามคำบอกง่าย ๆ ไม่ได้
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

เด็กอายุ 3 ขวบ

เด็กช่วงวัยนี้ชอบเล่นสมมติบทบาทต่าง ๆ และมีจินตนาการมาก ทำให้เด็กอาจเกิดความกลัวต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ความมืด หรือสัตว์ประหลาด เป็นต้น พ่อแม่จึงควรรับฟังอย่างตั้งใจเมื่อเด็กพูดถึงสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งคอยปลอบและอยู่เป็นเพื่อนให้เด็กหายวิตกกังวล

พัฒนาการทางร่างกาย

  • ทรงตัวดีขึ้นกว่าเดิม กระโดดขาเดียวได้ ทรงตัวยืนขาเดียวได้ในเวลาสั้น ๆ
  • วิ่งและปีนป่ายอย่างคล่องตัว ก้าวขึ้นลงบันไดอย่างคล่องแคล่วโดยไม่ต้องจับราวบันได
  • ใส่และถอดเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง
  • วางวัตถุหรือรูปทรงขนาดเล็กลงล็อกได้
  • ปั่นจักรยาน 3 ล้อได้
  • วาดรูปวงกลมโดยใช้ดินสอหรือดินสอสี
  • มีพัฒนาการทางการมองเห็นที่เพิ่มขึ้นจากเดิม
  • มีฟันน้ำนมครบ 20 ซี่
  • อาจกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้ในตอนกลางวัน บางรายอาจกลั้นได้ในเวลากลางคืนด้วย

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

  • ปฏิบัติตามคำบอก 2-3 ขั้นตอนได้
  • เข้าใจคำบอกตำแหน่ง เช่น ใน บน ข้างใต้ ข้างล่าง เป็นต้น
  • พูดชื่อตัวเอง อายุ และเพศ หรือบอกชื่อเพื่อนได้
  • เริ่มใช้คำสรรพนามแทนตัวเอง หรือระบุลักษณะนามสิ่งของบางอย่างได้
  • พูดสนทนาได้ยาวขึ้น โดยใช้ 2-3 ประโยค และสื่อสารให้คนแปลกหน้าเข้าใจได้
  • เล่นแสดงบทบาทสมมติเป็นเรื่องราว โดยเล่นกับตุ๊กตา สัตว์ หรือคนอื่น ๆ
  • เข้าใจและจดจำตัวเลขได้มากขึ้น
  • วาดรูปวงกลมด้วยดินสอหรือสี
  • เปิดและปิดฝาขวดได้

พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์

  • พยายามเลียนแบบผู้ใหญ่และเพื่อน
  • แสดงความรักต่อเพื่อนโดยไม่ต้องถูกกระตุ้นหรือบอก
  • แสดงความวิตกกังวลเมื่อเห็นเพื่อนร้องไห้
  • รู้จักรอและเปลี่ยนให้เพื่อนเล่นเมื่อถึงคราวของเพื่อน
  • เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ รู้ว่าอันไหนเป็นของตนเองหรือของคนอื่น
  • แสดงอารมณ์อย่างหลากหลายมากขึ้น
  • แยกจากพ่อแม่ได้ง่ายขึ้น ไม่แสดงความวิตกกังวลเหมือนช่วงก่อน
  • อาจหงุดหงิดเมื่อกิจกรรมหลักที่ต้องทำทุกวันมีการเปลี่ยนแปลง

วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กในวัยนี้

  • อ่านหนังสือนิทานไปพร้อม ๆ กับเด็ก
  • จัดสรรพื้นที่ที่ปลอดภัยและกว้างพอให้เด็กได้เล่นอย่างเต็มที่ และคอยจับตาดูตลอดเวลา เพราะเด็กกำลังอยู่ในวัยซุกซน
  • ช่วยแสดงเป็นตัวอย่างและแนะนำกฎกติกาในการเล่นเกมหรือกีฬาต่าง ๆ ให้เด็กเข้าใจเมื่อเพิ่งเริ่มเล่น
  • กระตุ้นให้เด็กช่วยทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เก็บของเล่น จัดโต๊ะอาหาร เป็นต้น
  • สนับสนุนให้เด็กเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
  • กระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการละเล่นต่าง ๆ
  • ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยพยายามตอบคำถามต่าง ๆ ของเด็ก
  • ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมที่ตรงกับความสนใจของเด็กเอง
  • พยายามให้เด็กใช้คำพูดสื่อสารความรู้สึกมากกว่าการใช้ท่าทาง
  • จำกัดเวลาในการดูโทรทัศน์หรือวิดีโอในโทรศัพท์และแท็บเล็ต รวมทั้งควบคุมเนื้อหาที่เหมาะกับเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการ

  • มีปัญหาในการเดินขึ้นลงบันได
  • มีน้ำลายไหลออกจากปาก
  • พูดเป็นประโยคไม่ได้ หรือพูดไม่ชัดเป็นอย่างมาก
  • ไม่เข้าใจคำบอกหรือคำแนะนำง่าย ๆ
  • เล่นของเล่นง่าย ๆ ไม่ได้
  • ไม่เล่นบทบาทสมมติเป็นผู้อื่น
  • ไม่สบตาคนอื่น
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

เด็กอายุ 4 ขวบ

เป็นวัยก่อนเข้าเรียนอนุบาล ในช่วงนี้เด็กจะพูดได้อย่างคล่องแคล่วและชัดเจนขึ้น เริ่มวาดรูปหน้าคนและแขนขา เรียนรู้ที่จะกินอาหารได้ด้วยตนเอง เริ่มแยกแยะตัวเลขและสีต่าง ๆ ได้มากขึ้น รวมทั้งมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

พัฒนาการทางร่างกาย

  • การทรงตัวดีขึ้น กระโดดขาเดียวได้โดยไม่สูญเสียการทรงตัว
  • ทุ่มบอลได้โดยมีการประสานงานของร่างกายที่ดีขึ้น
  • สามารถตัดกระดาษตามรูปภาพโดยใช้กรรไกรได้
  • อาจยังฉี่รดที่นอนอยู่
  • มีพัฒนาการด้านการมองเห็นที่ดีขึ้น
  • นอนวันละ 11-13 ชั่วโมง แต่มักไม่นอนกลางวัน
  • สูงขึ้นกว่าตอนแรกเกิด 2 เท่า

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

  • รู้คำศัพท์เพิ่มขึ้น และแต่งประโยค 4-5 คำได้ง่าย ๆ
  • รู้จักสีบางสี เลขบางตัว และเริ่มนับเลขได้
  • พูดชื่อและนามสกุลของตัวเองได้
  • ขี้สงสัยและถามคำถามมากมาย
  • อาจใช้คำที่ตนเองก็ยังไม่เข้าใจดีพอ และเริ่มใช้คำไม่สุภาพหรือคำหยาบคาย
  • พูดเรื่องราวส่วนตัวของครอบครัวให้คนอื่นฟัง
  • ร้องเพลงง่าย ๆ ได้
  • วาดรูปคนโดยมีใบหน้าและแขนขา
  • พยายามทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
  • เข้าใจเกี่ยวกับหลักการของเวลามากขึ้น
  • แยกความแตกต่างระหว่างวัตถุ 2 ชนิดได้ โดยดูจากขนาดและน้ำหนัก
  • จำเรื่องราวต่าง ๆ ได้บางส่วน
  • ยังไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้

พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์

  • ชอบและสนุกกับการได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ
  • เล่นบทบาทสมมติที่หลากหลายมากขึ้น แต่ยังไม่อาจแยกระหว่างบทบาทสมมติกับเรื่องจริงได้
  • มักมีเพื่อนในจินตนาการ
  • ชอบเล่นกับเพื่อน ๆ มากกว่าเล่นคนเดียว และเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กคนอื่น ๆ
  • พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนชอบและสนใจ
  • อาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น
  • แสดงความต่อต้านหากถูกคาดหวังให้ทำสิ่งใดมากเกินไป

วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กในวัยนี้

  • อ่านหนังสือนิทานไปพร้อม ๆ กับเด็ก
  • จัดหาพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรมที่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  • แนะนำและทำเป็นตัวอย่างให้เด็กดูว่าควรปฏิบัติตามกฎในการเล่นเกมหรือกีฬาต่าง ๆ อย่างไร
  • สนับสนุนให้เด็กเล่นและแบ่งปันสิ่งของกับเพื่อน
  • สนับสนุนการเล่นที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • สอนให้เด็กทำกิจกรรมหรืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยตนเอง เช่น จัดโต๊ะกินข้าว เป็นต้น
  • พาเด็กออกไปนอกสถานที่ใกล้ ๆ บริเวณบ้านหรือในชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ เป็นต้น
  • จำกัดการดูโทรทัศน์หรือวิดีโอให้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน และเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการ

  • กระโดดอยู่กับที่ไม่ได้
  • มีปัญหาในการขีดเขียนหรือวาดรูป
  • ไม่แสดงความสนใจเมื่อเล่นเกมที่ต้องมีการโต้ตอบหรือเมื่อเล่นบทบาทสมมติ
  • เมินเฉยต่อเด็กคนอื่น ๆ และไม่โต้ตอบกับคนภายนอกครอบครัว
  • ไม่ยอมให้แต่งตัว ไม่ยอมนอน และไม่ยอมฝึกใช้ห้องน้ำ
  • บอกเล่าเรื่องราวที่ตนชอบให้ผู้อื่นฟังซ้ำอีกครั้งไม่ได้
  • ทำตามคำบอก 3 ขั้นตอนไม่ได้
  • ใช้คำแทนตนเองและผู้อื่นไม่ถูกต้องหรือสลับกัน
  • พูดไม่ชัด
  • ไม่เข้าใจความเหมือนและความต่างระหว่างสิ่งของ 2 ชนิด
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมี

เด็กอายุ 5 ขวบ

เป็นช่วงวัยที่เด็กเริ่มพึ่งพาตนเอง เริ่มให้ความสนใจกับคนภายนอกครอบครัว เริ่มอยากออกไปเล่นซุกซน และมีคำถามเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวมากยิ่งขึ้น การอบรมและแนะนำจากครอบครัวจะช่วยหล่อหลอมบุคลิกภาพและความคิดของเด็กต่อไป โดยพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่สังเกตได้ มีดังนี้

พัฒนาการทางร่างกาย

  • การประสานงานของร่างกายดีขึ้น โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว
  • เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัวและทรงตัวได้ดี ทั้งการกระโดดและการก้าวข้ามสิ่งกีดขวาง
  • ทรงตัวขณะยืนขาเดียวและปิดตาข้างหนึ่งได้ ม้วนหน้าได้
  • เล่นชิงช้าและปีนป่ายได้
  • มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ และเครื่องเขียนต่าง ๆ มากขึ้น
  • วาดรูป 3 เหลี่ยมและรูปเรขาคณิตอื่น ๆ ตามต้นแบบได้
  • ใช้ห้องน้ำได้โดยไม่ต้องช่วยเหลือ
  • ใช้ช้อนและส้อมในการรับประทานอาหาร
  • มีพัฒนาการด้านการมองเห็นอย่างสมบูรณ์เทียบเท่ากับผู้ใหญ่
  • ฟันแท้ซี่แรกเริ่มโผล่ขึ้นมาบริเวณเหงือก โดยเด็กส่วนใหญ่จะมีฟันแท้ซี่แรกงอกพ้นเหงือกเมื่ออายุ 6 ขวบ

พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา

  • เริ่มพูดประโยคที่มี 5 คำขึ้นไป และพูดชัดมากขึ้น
  • ใช้คำได้ทุกประเภท ทั้งคำนาม สรรพนาม กริยา บุพบท และคำอื่น ๆ
  • แยกแยะความแตกต่างของเหรียญห้า เหรียญสิบ และเหรียญบาทได้
  • นับเลขได้ถึง 10 หรือมากกว่านั้น รู้จักชื่อสีมากกว่าเดิมหลายสี
  • เขียนตัวอักษรและตัวเลขบางตัวได้ รู้จักหมายเลขโทรศัพท์
  • ถามและตอบคำถามที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ เช่น สามารถให้เหตุผลเมื่อถูกถามว่าทำไม เป็นต้น

พัฒนาการทางสังคมและอารมณ์

  • ต้องการให้เพื่อนพอใจและอยากเป็นแบบเพื่อน
  • มีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยลง เข้าใจและยอมทำตามข้อตกลงต่าง ๆ มากขึ้น
  • ชอบเต้นและร้องเพลง
  • รู้ว่าตนเองและผู้อื่นเป็นเพศใด
  • มีความรับผิดชอบมากขึ้นและรู้จักขอโทษเมื่อทำผิด
  • ยังคงชอบจินตนาการและเล่นในบทบาทต่าง ๆ แต่แยกแยะระหว่างเรื่องจริงและเรื่องสมมติได้แล้ว
  • เลิกกลัวสิ่งที่เคยกลัวมาก่อน เช่น ความมืด สัตว์ประหลาด เป็นต้น
  • พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น

วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กในวัยนี้

  • อ่านหนังสือนิทานไปพร้อม ๆ กัน
  • จัดหาพื้นที่ว่างให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
  • แสดงเป็นตัวอย่างให้ดูและแนะนำกติกาในการละเล่นต่าง ๆ
  • สนับสนุนให้เด็กเล่นกับเพื่อน ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการเข้าสังคม
  • หากิจกรรมที่เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์มาเล่นกับเด็ก
  • จำกัดการดูโทรทัศน์และการใช้คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต
  • พาเด็กออกไปยังสถานที่ที่น่าสนใจในชุมชน เช่น สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
  • สนับสนุนให้เด็กทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ช่วยจัดโต๊ะกินข้าว เก็บของเล่นหลังเล่นเสร็จ เป็นต้น

ความผิดปกติทางพัฒนาการ

  • แสดงอารมณ์ไม่หลากหลาย ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบผู้อื่น หรือแสดงออกมาเพียงผิวเผิน
  • มีพฤติกรรมผิดปกติ อาจหวาดกลัว ก้าวร้าว เศร้า หรือดูขี้อายผิดปกติ
  • เฉื่อยชาและแยกตัวผิดปกติ
  • ไขว้เขวหรือเสียสมาธิง่าย ไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมที่ทำได้นานกว่า 5 นาที
  • แยกแยะระหว่างเรื่องจริงและเรื่องสมมติไม่ได้
  • ไม่เล่นหรือทำกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่วาดรูป
  • พูดชื่อจริงและนามสกุลของตัวเองไม่ได้
  • ไม่พูดคุยถึงกิจวัตรประจำวันและสิ่งที่ได้พบเจอ
  • แปรงฟัน ล้างมือ หรือถอดเสื้อผ้าเองด้วยตนเองไม่ได้
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยมีไป

ทั้งนี้ การเฝ้าดูพัฒนาการของลูกให้เป็นไปอย่างสมวัยเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ หากพ่อแม่สังเกตว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าที่ควร หรือคาดว่าเด็กอาจมีความผิดปกติใด ๆ ที่แสดงให้เห็นทางพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งการเล่น การเรียนรู้ การพูด การกระทำ และการเคลื่อนไหวร่างกาย ควรพาเด็กไปให้แพทย์ตรวจและรับคำปรึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขแต่เนิ่น ๆ

นักเรียนมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัย

๘.๑ ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย และสภาพร่างกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓-๕ วัน อย่างน้อย วันละ ๓๐ นาที ๘.๒. เคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินขึ้นลงบันได อย่างน้อยวันละ ๓๐ นาทีการ ทำงานบ้าน เป็นต้น ๘.๓ ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี ๙) ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ

วิธีการดูแลร่างกายให้เติบโตสมวัยมีอะไรบ้าง

เติมพลังงานให้กับสมองด้วยการกินอาหารประเภทโปรตีน เสริมด้วยวิตามินบีรวม วิตามินซีสูง และแร่ธาตุ เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ ออกกำลังกายประเภทที่ใช้อุปกรณ์ เช่น แบดมินตัน ปิงปอง เทนนิส ฟุตบอล แชร์บอล เพื่อพัฒนาการประสานงานของร่างกายและประสาทสั่งการ เช่น สายตา การได้ยิน และกล้ามเนื้อต่างๆ

นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดี

1. รับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการ ของร่างกาย และรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูง 2. ควรท้ากิจกรรมต่างๆ เช่น เดิน วิ่ง เล่น อย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ 3. ออกก้าลังกายที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่้าเสมอ 4. ไม่วิตกกังวลจนเกินไป ท้าจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ 5. ดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง เช่น ...

พัฒนาการ 4 ด้าน มีอะไรบ้าง

พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ 1. พัฒนาการด้านร่างกาย 2. พัฒนาการด้านสติปัญญา 3. พัฒนาการด้านอารมณ์ 4. พัฒนาการด้านสังคม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน