แอร์เคลื่อนที่ 12000 btu กินไฟเท่าไหร่

เชื่อว่าหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หลายคนลังเลไม่กล้าติดเครื่องปรับอากาศเพื่อใช้งานภายในบ้านนั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องค่าใช้ไฟฟ้า ที่ถึงแม้ว่าหลายคนจะยืนยันว่าการติดเครื่องปรับอากาศทำให้เสียไฟฟ้าเพิ่มมากกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากความก้าวหน้าของนวัตกรรมทำให้ระบบการทำงานมีความทันสมัยและประหยัดไฟฟ้าได้มากขึ้น นอกจากนั้นสมัยนี้คนส่วนใหญ่ยังเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องหมายไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นการยืนยันการันตีว่าแอร์เครื่องนี้ประหยัดพลังงานแน่นอน แต่ถึงอย่างนั้นหากสามารถคำนวณว่า แอร์ 9000 BTU แอร์ 12000 BTU แอร์ 18000 BTU กินไฟกี่บาท ก็จะช่วยให้ประเมินค่าไฟฟ้าต่อเดือนคร่าวๆ ได้ ดังนั้น วันนี้เราจึงมีวิธีการคำนวณค่าไฟแอร์ตามขนาด BTU มาฝาก แต่จะคำนวณได้อย่างไรนั้น มาดูกันเลย

การคำนวณค่าไฟแอร์

สำหรับการคำนวณอย่างแรกต้องรู้ก่อนว่าเป็นแอร์ประเภทไหน ระบบแอร์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือระบบแอร์รุ่นธรรมดา (Non-Inverter) หากเป็นระบบอินเวอร์เตอร์จะประหยัดกว่า โดยสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าของแอร์ต่อปี

แอร์อินเวอร์เตอร์

ค่าไฟต่อปีจะเท่ากับจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานตลอดทั้งปี คูณ Cooling Capacity (btu/hr) หารด้วย ค่า SEER (btu/hr/w) คูณกับค่าไฟต่อหน่วย จากนั้นนำผลรวมทั้งหมดหารด้วย 1000 ก็จะได้ค่าไฟฟ้าต่อปีของแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

ซึ่งค่า Cooling Capacity และค่า SEER หรือค่าประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาลนั้น สามารถดูจากข้อมูลจำเพาะของสินค้าหรือสอบถามจากพนักงานผู้ขาย

ระบบแอร์รุ่นธรรมดา

ค่าไฟฟ้าจากการใช้งานแอร์ต่อปีจะคำนวณได้จากสูตร ค่าไฟต่อปีเท่ากับ จำนวนชั่วโมงการใช้งานตลอดทั้งปีคูณด้วย ค่ากำลังไฟฟ้า (วัตต์) คูณด้วยค่าไฟต่อหน่วย จากนั้นนำค่าทั้งหมดมาหารด้วย 1000 เท่านี้ก็จะได้ค่าไฟทั้งหมดตลอดทั้งปีของการใช้แอร์รุ่นธรรมดา

ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ต้องรู้คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ เพราะฉะนั้นต้องมีข้อมูลว่า

  • แอร์ 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์
  • แอร์ 12000 BTU กินไฟกี่วัตต์
  • แอร์ 18000 BTU กี่วัตต์

ขึ้นอยู่กับขนาดของแอร์ที่จะเลือกใช้ด้วย

เมื่อเห็นสูตรค่าไฟต่อปีที่ใช้คำนวณแล้ว หลายคนอาจถอดใจและงงว่าทำไมการคำนวณสำหรับค่าไฟแอร์ถึงได้ดูยากขนาดนี้ แถมในกรณีระบบแอร์อินเวอร์เตอร์ต้องรู้ข้อมูลหรือสอบถามข้อมูลจำเพาะของแอร์จากผู้ขายอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนไม่นำเรื่องนี้คำนวณไฟฟ้าก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ สุดท้ายก็ต้องมานั่งสงสัยอยู่ดีว่าทำไมค่าไฟที่บ้านถึงได้สูงจังทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ค่อยได้เปิดใช้งาน

แต่ถึงอย่างนั้นเพื่อให้หลายคนนำข้อมูลนี้ไปประกอบการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น จึงมีการคำนวณไฟฟ้าคร่าวๆ ต่อเดือนไว้ในอินเทอร์เน็ต ทำให้สะดวกในการประเมินค่าไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งในกรณีเลือกซื้อเป็นแอร์แบบติดผนังระบบอินเวอร์เตอร์

  • แอร์ 9000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 433 บาท
  • แอร์ 12000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 594 บาท
  • แอร์ 18000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 733 บาท

โดยค่าไฟจะขยับสูงขั้นตามขนาด BTU ในขณะที่หากเป็นแอร์ติดผนังรุ่นธรรมดา ขนาด 9000 BTU จะเสียค่าไฟฟ้าเริ่มต้นประมาณเดือนละ 678 และขยับสูงขึ้นไปตามขนาด BTU ของแอร์เช่นเดียวกัน

แต่หากเป็นแอร์แบบแขวนใต้ฝ้า ถ้าเป็นแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

  • 12000 BTU มีการคำนวณไว้คร่าวๆ ว่าต้องเสียค่าไฟต่อเดือนประมาณ 650 บาท
  • แอร์ 18000 BTU ประมาณ 940 บาท และจะขยับขึ้นหลักพันเมื่อใช้
  • แอร์ 24000 BTU ค่า ไฟ จะอยู่ที่ราวๆ 1,360 บาท
  • และถ้าใช้แอร์ 40000 BTU จะต้องเสียค่าไฟฟ้าอยู่ที่ราวๆ 2,260 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นแอร์รุ่นธรรมดาต้องเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า เพราะแอร์รุ่นธรรมดา

  • ขนาด 12000 BTU เสียค่าไฟฟ้าต่อเดือนอยู่ที่ 950 บาท
  • และสูงสุดที่ 3,100 บาท สำหรับแอร์รุ่นธรรมดาขนาด 40000 BTU

อย่างไรก็ตามการคำนวณค่าไฟแอร์จากการใช้งานเครื่องปรับอากาศ ไม่ว่าจะใช้สูตรคำนวณหรือเทียบเคียงจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ที่ใช้หลักการคำนวณประเมินเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าไฟแอร์ที่แท้จริงมาจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น ขนาดห้อง เวลาในการใช้งาน การตั้งอุณหภูมิ โหมดการทำงานที่เลือกใช้ การดูแลรักษา ที่สำคัญต้องรู้ว่า แอร์ใช้กระแสไฟกี่แอมป์ โดยเฉพาะที่ขนาด BTU สูง เพราะหากไม่รู้ว่า

  • แอร์ 24000 BTU กินไฟกี่แอมป์
  • แอร์ 30000 BTU กิน ไฟ กี่ แอมป์
  • แอร์ 36000 BTU กินไฟกี่แอมป์

อาจทำให้กระแสไฟฟ้าภายในบ้านไม่เพียงพอต่อการใช้งานได้

สูตรคำนวณค่าไฟแอร์

วันนี้เราจะมาสอนวิธีคำนวณค่าไฟแอร์ง่ายๆ กัน เป็นวิธีที่คำนวณไม่ยากเลยไปดูวิธีคำนวณกันเลยดีกว่า! ซึ่งการใช้สูตรคำนวณนี้ก็จะได้รู้ค่าไฟแอร์แบบคร่าวๆ โดยหน่วยค่าไฟนั้นสามารถเปลี่ยนไปตามอัตราค่าไฟของการไฟฟ้าด้วย การคำนวณค่าไฟของแอร์แต่ละเครื่องนั้น จะถูกทำการคำนวณจากการเปิดแอร์ 8 ชม.ต่อวัน แต่สูตรนี้ยังไม่คำนวณรวมกับสภาพของแอร์ หากเป็นแอร์ที่ใช้งานมานานมากแล้ว อัตราการกินไฟอาจจะสูงกว่านี้เล็กน้อย ดังนั้นอย่าลืมหมั่นตรวจดูสภาพแอร์อยู่เสมอ แอร์จะได้มีอายุการใช้งานและได้ประสิทธิภาพที่ดีอีกด้วย

  • ค่าBTU / ค่า SEER / 1000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

ตัวอย่าง X-Inverter : 42TVAA013 / 38TVAA013

ขนาดแอร์ 12,200 BUT /ค่า SEER 22.50 / 1000 x 8 ชั่วโมงต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้า 3.96 บาท/หน่วย 

ค่าไฟฟ้าต่อปี = 6,270 บาท

เทคนิคเปิดแอร์ยังไงให้ประหยัดไฟ เย็นสบาย ไม่เปลืองไฟ

แม้จะรู้วิธีคำนวณค่าไฟแอร์กันไปแล้ว แต่หลายคนก็อาจจะยังมีความกังวล เกี่ยวกับค่าไฟกันอยู่ ดังนั้นเราจึงมีเคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยประหยัดค่าไฟจากการเปิดแอร์ให้รู้กัน มาดูกันว่าหน้าร้อนนี้เปิดแอร์ยังไงให้ไม่เปลืองไฟกันบ้าง

  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่ให้ความร้อนในขณะที่เปิดแอร์ : การเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ อย่างพร้อมกันย่อมกินไฟมากกว่าเดิมเป็นธรรมดา ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ควรเปิดพร้อมกันกับการเปิดแอร์มากที่สุดก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ปล่อยความร้อนต่างๆ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น หม้อ กระทะ เตาอบ เพราะหน้าที่ของแอร์คือการทำให้อุณหภูมิในห้องนั้นลดลง และเย็นขึ้น ดังนั้นการมีความร้อนเกิดขึ้นภายในห้อง ก็จะยิ่งทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้นและเปลืองไฟมากขึ้นนั่นเอง
  • ตั้งอุณหภูมิสที่ 25 องศาหรือสูงกว่า 25 องศาเล็กน้อย : จริงอยู่ที่ว่าอุณหภูมิที่ 25 องศาเป็นอุณหภูมิที่ช่วยประหยัดไฟได้มาก แต่ในความจริงแล้วเราสามารถลดการทำงานของแอร์ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิให้อยู่ที่ 26-27 องศา ก็ยังสามารถทำให้อากาศภายในห้องเย็นสบายได้ไม่น้อยกว่าตอนเปิด 25 องศาเลย แถมยังประหยัดไฟกว่าด้วย
  • หลีกเลี่ยงใช้แอร์ในห้องพื้นที่เปิด หรือพื้นที่ที่มีขนาดกว้าง : สำหรับคนที่มีแอร์หลายห้อง อยู่บ้านขนาดกลางขึ้นไป ย่อมรู้กันดีว่าการเปิดแอร์ในห้องโถงหรือห้องนั่งเล่นนั้นเป็นอะไรที่กินไฟมากๆ ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรที่จะติดแอร์บริเวณห้องโถงเลย แต่หากจำเป็นจริงๆ ควรติดตั้งฉากกั้นระหว่างทางขึ้นบันได หรือทางเดินไปห้องต่างๆ ภายใรบ้าน รวมถึงปิดหน้าต่างและผ้าม่านให้สนิท ก็จะช่วยประหยัดไฟไปได้มากเลยทีเดียว
  • ใช้พัดลมช่วยไล่ความร้อนภายในห้องก่อนเปิดแอร์ : หากห้องนั้นไม่ได้เปิดแอร์หรือเปิดพัดลมมาทั้งวัน และมีอากาศอบอ้าวอยู่การเปิดแอร์ทันทีอาจทำให้แอร์กินไฟเพราะต้องทำงานหนักเพื่อปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นขึ้น ดังนั้นก่อนเปิดแอร์การเปิดพัดลมไล่และระบายอากาศออกก่อนจะช่วยทำให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นขึ้น และยังช่วยทำให้คุณไม่ต้องเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเลย

แอร์เคลื่อนที่12000 btu กินไฟกี่วัตต์

- หากเปิดแอร์ติดต่อกันนาน 8-10 ชั่วโมง แอร์เคลื่อนที่ขนาด 12,000 btu กินไฟที่ 1.04 หน่วยต่อชั่วโมงในขณะที่ทำงานที่พัดลมแรงสุด #เปรียบเทียบราคาค่าไฟบ้านจะตกประมาณ 3.8-4 บาท ต่อชั่วโมง ถ้าเปิด 8 ชั่วโมงจะอยู่ประมาณ 32 บาท

แอร์เคลื่อนที่ 12000 btu กินไฟกี่แอมป์

12,000 BTU - 4.0-5.0 A.

แอร์เคลื่อนที่กินไฟกี่บาท

แอร์เคลื่อนที่รุ่นปกติ อัตราการกินไฟ จะกินไฟมากกว่าแอร์บ้าน ถึง 3 เท่า เมื่อเทียบ บีทียู ต่อ บีทียู เช่น แอร์เคลื่อนที่ 9000 บีทียู กินไฟวันละ 30 บาท แอร์บ้าน 9000 บีทียู กินไฟวันละ 10 บาท

แอร์ 12000 BTU กินไฟไหม

12000 BTU มีการคำนวณไว้คร่าวๆ ว่าต้องเสียค่าไฟต่อเดือนประมาณ 650 บาท

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน