ขอใบรับรองแพทย์โรงพยาบาลราชวิถี กี่บาท

โปรแกรมตรวจแรงงานไปต่างประเทศ

หน้าที่และเป้าหมาย (Purpose)

เป็นหน่วยให้บริการตรวจสุขภาพแรงงานไทยก่อนที่จะไปทำงานต่างประเทศ ด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย ประทับใจ โดยให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ด้วยบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีมาตรฐานระดับชาติ ภายใต้การทำงานที่มีความสุข ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจสูงสุด เป็นแหล่งศึกษาดูงานของบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน

ขอบเขตบริการ (Scope of Service)

  • ให้บริการตรวจสุขภาพแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย อายุ 18ปี ขึ้นไป เปิดให้บริการในวันราชการ ตั้งแต่ เวลา 8.00น.-16.00น. เช่น ประเทศไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น ดูไบ รัสเซีย มาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ แคนาดา ยูเครน ออสเตรเลีย ฯลฯ
  • ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและการฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม
  • ให้สุขศึกษา องค์ความรู้ ในการปฏิบัติตัว การดูแลสุขภาพขณะผู้รับบริการรอรับการตรวจเป็นรายกลุ่ม เช่น เรื่องพยาธิ และสิ่งเสพย์ติด เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุราและสารเสพย์ติด จำพวก ยาบ้า ยาไอซ์ ที่มีโทษต่อร่างกาย ตลอดถึงโรคที่ติดต่อทางเดินหายใจ หรือโรคตามฤดูกาล เป็นต้น และให้สุขศึกษารายบุคคล ในรายที่ตรวจสุขภาพแล้วเป็นความดันโลหิตสูง โรคเอดส์ วัณโรค ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น
  • ให้บริการประสานงาน และส่งผู้รับบริการเพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล ตามสิทธิการรักษา ในรายที่ผลตรวจโรคผิดปกติ
  • ให้บริการฉีดวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม(MMR) และให้ยาถ่ายพยาธิ กับผู้รับบริการตรวจสุขภาพที่ไปทำงานประเทศไต้หวันทุกราย และให้ยาโรคเท้าช้างรับประทานก่อนเจาะเลือด 30 นาที ในผู้รับบริการตรวจสุขภาพที่ไปทำงานประเทศตะวันออกกลางทุกราย
  • ให้บริการจ่ายเอกสารใบรับรองแพทย์กับผู้รับบริการหรือตัวแทนบริษัทจัดหางาน
  • ให้บริการตอบผลการตรวจโรคทางโทรศัพท์ในกรณีผลการตรวจโรคปกติ/ติดต่อให้ผู้รับบริการมาตรวจโรคซ้ำ หรือมาพบแพทย์ในกรณีผลตรวจโรคผิดปกติ

ขั้นตอนการบริการ

  1. ผู้รับบริการกรอกประวัติ เตรียมเอกสาร และรูปถ่ายให้เจ้าหน้าที่ที่โต๊ะรับเอกสาร
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารให้ถูกต้อง
  3. แจกบัตรคิวและให้คำแนะนำก่อนตรวจ
  4. รอเรียกชื่อตามบัตรคิว นำประวัติไปชำระเงิน
  5. นำประวัติและใบเสร็จไป
  6. ตรวจร่างกายทั่วไป ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดส่วนสูง วัดสายตา
  7. เจาะเลือด
  8. เอ๊กซเรย์
  9. (ผู้หญิง ตรวจปัสสาวะการตั้งครรภ์ก่อน)
    (ถ้าผลตรวจตั้งครรภ์ ไม่ต้องเอ๊กซเรย์)
    (ไม่ต้องฉีด VACCINE MMR)
  10. ตรวจร่างกายโดยแพทย์
  11. ฉีดวัคซีน หัด หัดเยอรมัน คางทูม
  12. ให้ยาฆ่าพยาธิ (1 ชุด ชุดละ3 ซอง)
  13. เก็บอุจจาระ , ปัสสาวะ (ใส่กล่องเตรียมไว้)
  14. ให้คำแนนะนำหลังตรวจเสร็จ
  15. นัดฟังผลวันรุ่งขึ้น เวลา 15:00 น. เป็นต้นไป (ในวันทำการ)

ราคาค่าตรวจสุขภาพแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ

  • ประเทศไต้หวัน ค่าตรวจ 1,450 บาท
  • ประเทศเกาหลี ค่าตรวจ 1,490 บาท
  • ประเทศ ตะวันออกกลาง เช่นคูเวต ดูไบ กาต้า ซาอุฯ เลบานอน บาเรยท์ (ผู้ชาย) 1,510 บาท (หญิง) 1,580 บาท
  • ประเทศอื่นๆ USA ญี่ปุ่น รัสเซีย ฮ่องกง ยูเครน มาเก๊า ฯลฯ ค่าตรวจ 1,230 บาท
  • ประเทศที่ไม่รับตรวจ อิสราเอล ลิเบีย มาเลเซีย บรูไน

  • หน้าแรก
  • ขั้นตอนการรับบริการ

ขั้นตอนการรับบริการ

การเข้ารับบริการห้องตรวจโรคเวชศาสตร์ครอบครัว

ห้องตรวจโรคเวชศาสตร์ครอบครัวให้บริการ

1.  บุคคลสุขภาพปกติยังไม่เจ็บป่วย

                ­  บริการตรวจสุขภาพทั่วไป

                ­  ตรวจเพื่อคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพตามวัย

                ­  บริการฉีดวัคซีน ได้แก่ วัคซีนไวรัสตับอักเสบ, อีสุกอีใส และไข้หวัดใหญ่

                ­  ใบรับรองแพทย์ทั่วไป, ใบรับรองแพทย์ 7 โรค  เพื่อใช้ในการสมัครสอบ  สมัครเรียนต่อ และสมัครงาน

­  ใบรับรองแพทย์ แบบ ทบ.466  เพื่อใช้ในการสมัครสอบ, เรียนต่อในหน่วยของ ทบ. และ

                     สมัครฌาปนกิจ ทบ.

­  ตรวจสุขภาพเพื่อบรรจุข้าราชการทหาร

­  ตรวจสุขภาพข้าราชการเพื่อไปศึกษาต่างประเทศ  ได้แก่  สหรัฐอเมริกา  ออสเตรเลีย  แคนานา

2.  ผู้มีอาการเจ็บป่วย

­  ไม่รุนแรง  ไม่ใช่กรณีวิกฤตฉุกเฉิน

­  อาการไม่ชี้ชัด  รักษาเบื้องต้นก่อนส่งตรวจเฉพาะทาง

­  ผู้ป่วยใหม่ หรือมาขอรับการรักษาต่อแต่ไม่มีหนังสือส่งตัว

3.  ผู้ป่วยห้องศูนย์รับรองข้าราชการทหาร (นายพล)

การให้บริการ       

ในเวลาราชการ                                  เวลา 07.00 16.00 น.

นอกเวลาราชการ(วันเสาร์)                 เวลา 08.30  12.00 น.

รายละเอียด

­  ผู้ป่วยที่รับตรวจจำนวนวันละ  280  คนต่อวัน

­  สถานที่ตั้ง  :-  อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 1 

­  หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน  02 354 7600 26  ต่อ  93104


ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจรักษา

1.  ทำบัตร ตรวจสอบสิทธิติดต่อเวชระเบียนและสถิติ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ

­  ห้องตรวจโรคทั่วไป / เวชศาสตร์ครอบครัว   

เคาน์เตอร์หมายเลข 1          ติดต่อพยาบาลคัดกรอง

                                                   ส่งใบแจ้งอาการ / ใบนัด

เคาน์เตอร์หมายเลข 2            จัดลำดับคิวพบแพทย์

   พบแพทย์ห้อง 1 - 16 

   ส่งปรึกษาแผนกอื่นๆ

ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม             ชั้น 2   เจาะเลือด  ตรวจปัสสาวะ  เอ็กซเรย์

                                                   ชั้น 3   ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

­  รับคำแนะนำหลังพบแพทย์

                                   เคาน์เตอร์หมายเลข  3 , 4 , 5 , 6   

                                   ติดต่อรับใบสั่งยาเคาน์เตอร์ หมายเลข 9

                                   รับยาห้องยา หมายเลข 10     กลับบ้าน

การเข้ารับบริการห้องตรวจโรคผู้สูงอายุ

การเข้ารับบริการห้องตรวจโรคผู้สูงอายุ

ห้องตรวจโรคผู้สูงอายุ ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยสูงอายุในทุกสาขาของโรค

การให้บริการ       

ในเวลาราชการ                                 วันจันทร์ วันศุกร์             เวลา 08.00 16.00 น. (รับบัตรคิวเวลา 05.00 น.)

สาขาตรวจโรคที่เปิดให้บริการ :       วันจันทร์               อายุรกรรม, เวชปฏิบัติทั่วไป

                                                          วันอังคาร              อายุรกรรม, ศัลยกรรม, เวชปฏิบัติทั่วไป, โรคหัวใจ

                                                          วันพุธ                    อายุรกรรม, ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก,

                ศัลยกรรมกระดูกโรคหัวใจ

                                                         วันพฤหัสบดี          อายุรกรรม, ศัลยกรรมกระดูก, เวชปฏิบัติทั่วไป,

               ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่ทวารหนัก

                                                           วันศุกร์                เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, ศัลยกรรมกระดูก, ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่

              และทวารหนัก, คลินิกความจำ

รายละเอียด

­  รับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจในห้องตรวจผู้สูงอายุ  ประมาณวันละ  80 - 85  คนต่อวัน

­  สถานที่ตั้ง  :-  อาคารสมเด็จย่า 90 ชั้น 1

­  หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน  02 354 7711   ต่อ  93952 ,  93961

ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจรักษา

1.  ยื่นบัตรนัด

2.  วัดสัญญาณชีพ, ชั่งน้ำหนัก

3.  เรียกเข้าพบแพทย์

4.  ให้คำแนะนำให้การมารตรวจครั้งต่อไป และการส่งตรวจแผนกอื่น

5.  รับยาที่ห้องยา

6.  กลับบ้าน

บริการ คัดสำเนาใบเสร็จ เปลี่ยนแปลงแก้ไขใบเสร็จรับเงิน

บริการ คัดสำเนาใบเสร็จ เปลี่ยนแปลงแก้ไขใบเสร็จรับเงิน

            บริการคัดสำเนาใบเสร็จ (กรณีใบเสร็จหาย)

                        เอกสารที่ต้องใช้

1. ใบแจ้งความ (ที่มีรายละเอียดชื่อเจ้าของใบเสร็จ วันที่ออกใบเสร็จ

                 ยอดค่าใช้จ่าย)

                                    2. บัตรประจำตัวผู้ป่วย            (บัตรเล็กโรงพยาบาล)

                        ขั้นตอนการขอคัดสำเนาใบเสร็จรับเงิน

1.           ผู้ป่วยนำใบแจ้งความ และบัตรประจำตัวผู้ป่วย ติดต่อแผนกส่วนเงินรายรับสถานพยาบาล (ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ) (ช่องหมายเลข 7)

2.           เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ ค้นหาสำเนาใบเสร็จ

3.           เจ้าหน้าที่ นำสำเนาใบเสร็จ ที่ค้นหา มาทำการสำเนา

4.           เจ้าหน้าที่ นำสำเนาใบเสร็จ ให้หัวหน้าแผนกส่วนเงินรายรับ              ลงนาม สำเนาถูกต้อง

นำสำเนาใบเสร็จให้กับผู้ป่วย 

แนวทางปฏิบัติของผู้ใช้สิทธิการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2549

ขอใบรับรองแพทย์โรงพยาบาลราชวิถี กี่บาท

แนวทางปฏิบัติของผู้ใช้สิทธิการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2549 <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office">

1.      ผู้ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก ต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ที่มีชื่อในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง สามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านWebsiteกรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th) หากไม่สามารถเข้าไปดูได้ให้เข้าไปที่หัวข้อสวัสดิการรักษาพยาบาลแล้วเลือกรายการตรวจสอบข้อมูลในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ แล้วเลือกหัวข้อวิธีแก้ไขปัญหา Internet Explorer ทำตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น แล้วให้ทำการปิด Internet Explorer หน้าต่างเดิม แล้วเปิด Internet Explorer ใหม่เพื่อเข้าไปใช้งานต่อไป

2.      ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญและบุคคลในครอบครัว สามารถตรวจสอบว่ามีชื่อในฐานข้อมูลตามข้อ 1. หรือไม่ ผ่านWebsiteกรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th)โดยเข้าไปที่หัวข้อสวัสดิการรักษาพยาบาลและเลือกรายการตรวจสอบสิทธิการรักษาสวัสดิการ

2.1  กรณีที่ตรวจสอบแล้วมีชื่อ: ต้องสมัครลงทะเบียน ณ สถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาก่อน

- กรณีผู้ป่วยนอกสามารถใช้ระบบจ่ายตรงได้หลังจากลงทะเบียนแล้ว 15 วัน และ ในช่วง 15 วันนั้น หากต้องเข้ารักษาพยาบาลให้นำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลไปวางเบิกกับต้นสังกัด

2.2   กรณีที่ตรวจสอบแล้วไม่มีชื่อ: ให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ติดต่อนายทะเบียนของส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่ เพื่อทำการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง หลังจากมีชื่อในฐานข้อมูลฯ แล้วจึงจะสามารถสมัครละทะเบียนตามข้อ 2.1 ได้

3.      ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ที่มีสิทธิซ้ำซ้อน (เช่น มีสิทธิประกันสังคม สิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น) ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลได้

4.      หนังสือรับรองการมีสิทธิสำหรับโครงการผู้ป่วยนอกรักษาต่อเนื่อง (แบบ 7101/1) ไม่สามารถนำมายื่นต่อสถานพยาบาลได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป โดยให้ใช้ระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลแทน

5.      ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลยังคงสามารถนำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลมาวางเบิกกับต้นสังกัด กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก และขอหนังสือต้นสังกัดกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในได้ตามปกติ

6.      กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน หากตรวจสอบแล้วมีชื่อตามข้อ 2.1 สามารถแจ้งโรงพยาบาลเพื่อให้ขอเลขอนุมัติแทนหนังสือรับรองการมีสิทธิทาง web page ได้

ทั้งนี้  รายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ กระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว.84 ลงวันที่ 28 กันยายน 2549 สามารถ download ได้ที่ Websiteกรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th)

บริการรับชำระค่ารักษาพยาบาล

บริการรับชำระค่ารักษาพยาบาล  (เงินสด / บัตรเครดิต)  ในเวลาราชการ    (วันจันทร์ ศุกร์)         

โดยให้บริการชำระค่ารักษาพยาบาล ตามจุดต่างๆ ในโรงพยาบาล ดังนี้

            อาคารเฉลิมพระเกียรติ                                     เวลาทำการ

                        ชั้น 1    ห้องยา                                                    07:00 - 16:00

                        ชั้น 1    แผนกเวชระเบียนและสถิติ                               08:00 - 15:00

       ชั้น 1    ห้องรับรอง นายทหารสัญญาบัตร                       08:00 - 15:00

                        ชั้น 1    แผนกส่วนเก็บเงินรายรับสถานพยาบาล                08:00 - 16:00

                        ชั้น 2    ห้องเจาะเลือด                                           06:30 - 15:00

                        ชั้น 2    ห้องเอ็กซเรย์                                            08:00 - 15:00

                        ชั้น 3    แผนกโรคหัวใจ                                          08:00 - 13:00

                        ชั้น 5    แผนกทันตกรรม                                         08:00 - 15:00

                        ชั้น 6    ห้องยา แผนก ตา , หู , คอ , จมูก                    08:00 - 15:00

            อาคารมหาวชิราลงกรณ์ (มวก.)

                        ชั้น 1    ห้องยา                                                   08:00 - 16:00

            อาคารพัชรกิตติยาภา

                        ชั้น 1    ห้องยา                                                   08:00 - 16:00

            อาคารสมเด็จย่า 90 (คลินิกผู้สูงอายุ)

                        ชั้น 1    ห้องยา                                                   08:00 - 15:00

            อาคารเวชศาสตร์นิวเคลียร์

                        ชั้น 3    ห้องทำนัดเอ็กซเรย์   (รับชำระเฉพาะวันพุธ)         08 :00 - 12:00

อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู

                               ชั้น 1    บก.กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู                         08:00 - 15:00