สัญญาให้เป็นนิติกรรมกี่ฝ่าย

นิติกรรมและสัญญา

          1.1 ต้องมีเจ้าหนี้และลูกหนี้             

 หมายความว่า เมื่อเกิดหนี้ขึ้นแล้ว จะต้องมีคู่กรณี ซึ่งคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง

เรียกว่า เจ้าหนี้ และอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ลูกหนี้

1.2 ต้องมีความผูกพันในสิทธิและหน้าที่

ระหว่างกันในเรื่องหนี้ คือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้มีการรับผิดจำกัด

ตัวบุคคลที่หนี้ผูกพันอยู่เท่านั้น ไม่ผูกพันไปถึงบุคคลภายนอก เช่น

(1) ในสัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่าทรัพย์ คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ตอบแทนซึ่งกันและกัน

                        (2) ในบางกรณีไม่มีการตอบแทน เช่น สัญญายืม สัญญาฝากทรัพย์ หรือสัญญาตัวแทนที่ไม่มีบำเหน็จ

                        (3) สัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะพิเศษยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เช่น สัญญาเช่าตึกแถว โดยผู้เช่าช่วยออกเงินค่าก่อสร้าง

1.3 ต้องมีวัตถุแห่งหนี้

                        แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ การกระทำ การงดเว้นการกระทำ และการ

ส่งมอบทรัพย์สิน

                        2. สัญญากับบ่อเกิดแห่งหนี้

(1) สัญญาหรือนิติกรรมหลายฝ่ายเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้

                        (2) นิติกรรมฝ่ายเดียว

            1 เสรีภาพในการทำสัญญา

(1) บุคคลที่แสดงเจตนานั้นจะต้องมีความสามารถ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีความ

สามารถในการทำนิติกรรม สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ (มาตรา 153)

                        (2) วัตถุประสงค์ของสัญญาที่คู่สัญญาแสดงเจตนาตกลงกัน ต้องไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (มาตรา 150)

                        (3) สัญญาบางประเภทกฎหมายเห็นว่าสำคัญจึงบัญญัติบังคับให้ทำตามแบบ เช่น สัญญาเช่าซื้อ(มาตรา 572) สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์(มาตรา 456) ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้มิฉะนั้นสัญญานั้นย่อมเป็นโมฆะ (มาตรา 152)

            2. สาระสำคัญของสัญญา

                        2.1 ต้องมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป

2.2 ต้องมีการแสดงเจตนาเป็นคำเสนอคำสนองตกลงตรงกัน ยินยอมกัน

2.3 ต้องมีวัตถุประสงค์

            คำเสนอ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาตอบ ถ้าข้อความที่แสดงเจตนาออกมานั้นตรงกันกับคำเสนอ เรียกนิติกรรมฝ่ายหลังว่า คำสนอง เกิดเป็นสัญญาขึ้น

            1.1 ลักษณะของคำเสนอ

                        คำเสนอเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเกิดจากการแสดงเจตนาของผู้ทำคำเสนอต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้รับคำเสนอ

                        คำเสนอจะต้องมีข้อความแน่นอนชัดเจนพอที่จะให้ถือเป็นข้อผูกพันก่อให้เกิดเป็นสัญญา

                        คำทาบทาม ที่มีขึ้นเพื่อให้มีการเจรจาที่จะทำสัญญากันต่อไป และแตกต่างกับคำเชื้อเชิญ คำเชื้อเชิญจะมีลักษณะเป็นคำขอที่ให้อีกฝ่ายหนึ่งทำคำเสนอเข้ามา

                        การแสดงเจตนาทำคำเสนอจะทำด้วยวาจาก็ได้ เป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยกริยาอาการอย่างใด ๆ ก็ได้

                        1.2 การถอนคำเสนอ

                        (1) ในระยะเวลาที่บ่งไว้ให้ทำคำสนองผู้เสนอจะถอนคำเสนอของตนไม่ได้ (มาตรา 354)

(2) ผู้เสนอจะถอนคำเสนอซึ่งกระทำต่อผู้อยู่ห่างโดยระยะทางก่อนเวลาที่ควรมีคำสนองไม่ได้ (มาตรา 355)

(3) คำเสนอต่อบุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้าจะมีคำสนองได้ก็แต่ ณ ที่นั้นเวลานั้น (มาตรา 356)

1.3 คำเสนอสิ้นความผูกพัน

(1) ผู้รับคำเสนอบอกปัดไปยังผู้เสนอ (มาตรา 357)

(2) ผู้รับคำเสนอไม่สนองรับภายในกำหนดเวลาที่บ่งไว้ในคำเสนอ ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าผู้เสนอจะได้รับคำบอกกล่าว

(3) กรณีที่ผู้เสนอตายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ(มาตรา 360)

มาตรา 360 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของหลัก

หรือก่อนสนองรับผู้สนองได้ทราบว่าผู้เสนอตายแล้วหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ

2. คำสนอง

คำสนอง คือ คำตอบของผู้รับคำเสนอต่อผู้เสนอโดยแสดงเจตนาว่าผู้รับคำเสนอนั้นตกลง

(1) คำสนองที่ไม่ตรงกับคำเสนอ

3. คำมั่น

คำมั่นเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเช่นเดียวกับคำเสนอ มีผลเช่นเดียวกับคำเสนอ คือ ผูกพันผู้ให้คำมั่นว่าตนจะรักษาคำมั่นนั้นจนกว่าเหตุการณ์เกี่ยวกับคำมั่นจะสิ้นสุดลง คำมั่น มี 2 ชนิด

คำมั่นจะให้รางวัลแก่ผู้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จตามที่กำหนด

วิธีถอนคำมั่นมีลักษณะพิเศษ คือ โฆษณาวิธีใดก็ต้องถอนด้วยวิธีเดียวกันนั้น ถ้าถอนโดยวิธีอื่นจะมีผลสมบูรณ์เฉพาะผู้ที่รู้เท่านั้น ผู้ที่ไม่รู้ว่าผู้ให้คำมั่นถอนคำมั่นยังคงมีสิทธิได้รับรางวัล

คำมั่นจะให้รางวัลในการประกวดชิงรางวัล (มาตรา 365)

คำมั่นชนิดนี้จะต้องมีกำหนดระยะเวลาให้ผู้ส่งเข้าประกวด

สัญญาเกิดขึ้นทันทีในเมื่อคำสนองมีข้อความตรงกับคำเสนอ

4. การตีความสัญญา

ท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย

สัญญามีค่าตอบแทน หมายถึง สัญญาซึ่งคู่สัญญาต่างให้ประโยชน์เป็นค่าแลกเปลี่ยนตอบแทนซึ่งกันและกัน ซึ่งประโยชน์นี้จะเป็นทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย (มาตรา 453) สัญญาจ้างแรงงาน (มาตรา 575) สัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ (มาตรา 658) และสัญญากู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ย (มาตรา 653)

สัญญาไม่มีค่าตอบแทน หมายถึง สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ให้ประโยชน์แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว โดยคู่สัญญาฝ่ายที่ให้ประโยชน์นั้นไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนเลยเช่น สัญญาให้โดยเสน่หา (มาตรา 521) สัญญายืมใช้คงรูป (มาตรา 640) สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง (มาตรา 650) และสัญญาฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จ (มาตรา 657)

สัญญา 2 ประเภท

ก. สัญญามีค่าตอบแทน เช่น สัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ กฎหมายได้กำหนดหน้าที่ใช้ความระมัดระวังรักษาของผู้รับฝากไว้สูงกว่าผู้รับฝากโดยไม่มีบำเหน็จ (ดูมาตรา 659 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม)

ข. การเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ถ้าเป็นสัญญามีค่าตอบแทน ลูกหนี้กับบุคคลภายนอกผู้ได้ลาภงอกนั้นจะต้องได้รู้ข้อความจริงอันทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ

                        ค. ในระหว่างผู้รับโอนโดยสุจริตด้วยกันผู้รับโอนที่มีค่าตอบแทนย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้รับโอนที่ไม่ได้เสียค่าตอบแทน(ดูมาตรา 1299

                        ง. สัญญามีค่าตอบแทน ปัญหาเรื่องการชำรุดบกพร่องหรือการรอนสิทธิ หากเกิดมีขึ้นก่อนส่งมอบย่อมฟ้องร้องบังคับกันได้ (ดูมาตรา 472 มาตรา 475 มาตรา 479มาตรา 530มาตรา 549 มาตรา 578 และมาตรา 600) แต่สัญญาไม่มีค่าตอบแทน ผู้ที่ได้รับทรัพย์สินนั้นจะต้องรับไปตามสภาพที่เป็นอยู่จะทักท้วงเรียกค่าเสียหายไม่ได้

                        จ. สัญญามีค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา กฎหมายบัญญัติบังคับไว้ให้คู่สัญญาเสียคนละครึ่ง (มาตรา 457 และมาตรา 539) แต่ถ้าเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน กฎหมายบัญญัติให้ผู้ได้รับประโยชน์ไปฝ่ายเดียวเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียม

                        มีค่าตอบแทนพิเคราะห์ถึง ประโยชน์ ที่คู่สัญญาจะให้ตอบแทนกัน แต่สัญญาต่างตอบแทนพิเคราะห์ถึง หนี้ ที่คู่สัญญามีหน้าที่ปฏิบัติต่อกัน

                        สัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญามีค่าตอบแทนโดยผู้กู้จะต้องให้ประโยชน์เป็นดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ แต่ไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน

                        สัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ แม้ผู้ฝากจะต้องให้ประโยชน์ค่าฝากเป็นบำเหน็จแก่ผู้รับฝากการส่งมอบทรัพย์สินที่ฝากเป็นองค์ประกอบของสัญญา มิได้ก่อให้เกิดสิทธิให้ผู้รับฝากเรียกร้องให้ผู้ฝากนำทรัพย์มาฝาก จึงไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน

                        ผลแห่งสัญญาต่างตอบแทนและสัญญาไม่ต่างตอบแทน แตกต่างกันดังนี้

ก. การเรียกร้องให้ชำระหนี้

ข. ผลแห่งความเสียหายหรือสูญหายที่เกิดแก่ทรัพย์

(3) สัญญาประธานและสัญญาอุปกรณ์

ของสัญญาอุปกรณ์ โดยปกติสัญญาประธานถ้าเสียไปด้วยเหตุใด สัญญาอุปกรณ์ย่อมเสียไปด้วย สัญญาประธานเป็นสัญญาที่สมบูรณ์อยู่ในตัวโดยลำพังของสัญญานั้น ส่วนสัญญาอุปกรณ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่เป็นประธานนั้น

สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญาประธาน ดอกเบี้ยที่กำหนดกันไว้ในสัญญาเป็นสัญญาอุปกรณ์

สัญญากู้ยืมเงิน กำหนดดอกเบี้ยไว้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี

สัญญากู้ยืมเงินขาดอายุความ ดอกเบี้ยอันเป็นสัญญาอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความ

ด้วย

การก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง (มาตรา 370)

มาตรา 370 ใช้บังคับเฉพาะสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และสัญญาซึ่งได้กระทำกัน ตกลงเด็ดขาดแล้ว ได้แก่ สัญญาซื้อขาย และสัญญาแลกเปลี่ยน

สัญญาเช่าทรัพย์ แม้จะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า และฝ่ายผู้เช่ามีหน้าที่ชำระค่าเช่า แต่สัญญาเช่าทรัพย์มิใช่สัญญาต่างตอบแทนที่ก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะ

สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ มิใช่สัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์ เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง

สัญญาต่างตอบแทนตามมาตรา 371 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญายังไม่โอนไปจนกว่าเงื่อนไขจะสำเร็จ

มาตรา 372 วรรคหนึ่ง อยู่ในบังคับของหลักทั่วไปของสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือเมื่อการชำระหนี้ของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกเป็นพ้นวิสัย มิใช่เป็นความผิดของคู่สัญญาฝ่ายใด

ลูกหนี้หามีสิทธิได้รับชำระหนี้ตอบแทนไม่และลูกหนี้ก็หลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้นตาม

                        ของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ

                        มัดจำ เป็นสิ่งที่คู่สัญญาได้ส่งมอบให้ไว้แก่กันในขณะเมื่อเข้าทำสัญญา และการให้มัดจำกันไว้ย่อมถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งรับรองว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว

                        เบี้ยปรับ เป็นแต่เพียงข้อสัญญาของฝ่ายลูกหนี้ว่า ลูกหนี้จะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นค่าเสียหายให้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้นั้นผิดนัดไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามมูลหนี้ที่ตกลงกันไว้ในสัญญาถ้าลูกหนี้ได้วางเงินหรือทรัพย์สิน เจ้าหนี้มีสิทธิ

                        ความแตกต่างระหว่างมัดจำกับเบี้ยปรับ

                        (1) มัดจำ ให้กันไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาได้ทำกันขึ้นแล้วและเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญา (มาตรา 377)

            เบี้ยปรับ เป็นค่าสินไหมทดแทนที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าในสัญญา ถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ลูกหนี้ยอมให้เจ้าหนี้ริบเบี้ยปรับ (มาตรา 379)

                        (2) มัดจำ จะต้องเป็นเงินหรือสิ่งของเท่านั้น (มาตรา 378)

                        เบี้ยปรับ เป็นเงิน (มาตรา 379) หรืออย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งของ

การกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำก็ได้ (มาตรา 382)

                        (3) มัดจำ จะต้องมีการส่งมอบกันไว้(มาตรา 377)

                        เบี้ยปรับ จะส่งมอบหรือไม่ส่งมอบกันไว้ก็ได้

                        (1) มัดจำ มัดจำไม่ใช่สัญญาอุปกรณ์ เพราะสัญญาประธาน

                        (1) เจ้าหนี้มีสิทธิริบเบี้ยปรับในกรณีใด

                        ก. กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้

                        ข. กรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร

                        วัตถุแห่งหนี้มี 3 ประการ คือ การส่งมอบการกระทำ และการงดเว้น สำหรับการส่งมอบ และการกระทำนั้น จะมีการกำหนดวันเวลาที่แน่นอนการงดเว้นไม่มีกำหนดวันเวลาหรือถ้ามีกำหนดเวลาก็จะเป็นชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่ง เช่น ภายใน 1 ปี หรือ 5 ปี

                        (2) ริบเบี้ยปรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้

                        เบี้ยปรับเป็นสัญญาอุปกรณ์คู่สัญญาจะตกลงเรื่องเบี้ยปรับรวมอยู่ในสัญญาประธาน หรือแยกเป็นสัญญาเกี่ยวกับเบี้ยปรับอีกฉบับหนึ่งก็ได้ แต่สัญญาอุปกรณ์นี้ตามหลัก

จะต้องอาศัยความสมบูรณ์ของสัญญาประธาน ถ้าสัญญาประธานไม่สมบูรณ์ สัญญาอุปกรณ์

ย่อมไม่สมบูรณ์ไปด้วย (มาตรา 384)

                        การเลิกสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 386 มี 2 ประการ

                        1.1 สิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา

                        ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา

                        (1) สิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา หมายความถึงการที่คู่สัญญาได้ตกลงกันกำหนดสิทธิในการบอกเลิกสัญญาไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ก็ให้เจ้าหนี้มีสิทธิแสดงเจตนาเลิกสัญญาได้แต่ฝ่ายเดียว

                        (2) สิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา มิใช่เงื่อนไขบังคับหลังหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุด

                        1.2 สิทธิเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติของกฎหมาย

                        บอกเลิกสัญญามีบัญญัติอยู่ในที่ต่างกัน เฉพาะในหมวดเลิกสัญญานี้มี 3 มาตรา คือ มาตรา 387 มาตรา 388 และมาตรา 389 ซึ่งเป็นหลักทั่วไป

                        การไม่ชำระหนี้นี้ หมายความรวมถึง 1. การไม่ชำระหนี้โดยสิ้นเชิง 2. ชำระแต่บางส่วน 3. ไม่ชำระหนี้ถูกต้องสมควร แต่ไม่หมายความรวม

ถึงการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยทั้งหมดหรือบางส่วน

                        2) การเลิกสัญญาเพราะการชำระหนี้กลายเป็น พ้นวิสัย

            ถ้าการชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันจะโทษลูกหนี้ได้ เจ้าหนี้จะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้ (มาตรา 389)

                        3. ผลของการเลิกสัญญา

                        3.1 การกลับคืนสู่ฐานะเดิม

                        3.2 การคืนเงิน

                        ดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ (มาตรา 391 วรรคสอง)

                        ถ้าลูกหนี้ไม่ยอมใช้จึงจะคิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปีได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้

ได้รับการทวงถามหนี้เงินจำนวนนั้น

                        3.3 การคืนการงานและการคืนทรัพย์

                        3.4 สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน

                        3.5 การชำระหนี้ของคู่สัญญาในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม

                        สิทธิเลิกสัญญาระงับเมื่อเจ้าหนี้ ไม่ยอมเลิกสัญญาภายในระยะเวลาที่ลูกหนี้กำหนด

                        สิทธิเลิกสัญญาระงับเพราะผู้มีสิทธิเลิกสัญญาทำให้ไม่อาจกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา 394 วรรคหนึ่ง คือ

                        (1) ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญานั้นบุบสลายไปในส่วนสำคัญ เพราะการกระทำหรือเพราะความผิดของผู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

                        (2) การคืนทรัพย์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะการกระทำของผู้มีสิทธิเลิกสัญญา

                        (3) ผู้มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เปลี่ยนแปลงทรัพย์นั้น ให้ผิดแผกไปเป็นอย่างอื่นด้วยการประกอบหรือดัดแปลง

                        ขายสินค้าอัตโนมัติ เช่น เครื่องขายเครื่องดื่มหรือบุหรี่ชนิดต่าง ๆ ที่บริษัทผู้ขายสินค้านั้นเอาไปวางไว้โดยบอกให้รู้ว่า เมื่อหยอดเหรียญเข้าไปจำนวนเท่านั้นบาทก็จะได้สินค้าชนิดใด ราคาเท่าใดออกมา ลักษณะอย่างนี้ก็เป็นลักษณะที่เป็นคำเสนอเพราะเหตุว่า มีลักษณะของการแสดงเจตนาที่ให้ผู้ซึ่งสนใจเข้าตกลงทำสัญญา

                        ก. ทำสัญญาซื้อรถยนต์จากบริษัท ข. ในกรณีนี้เราถือว่าสัญญาซื้อรถยนต์ระหว่าง ก. กับบริษัท ข. นั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน แต่ในขณะเดียวกันหากพิจารณาสัญญากู้ยืมหรือสัญญาฝากทรัพย์ เช่น ก. กู้เงิน ข. 10,000 บาท ก็ดี หรือ ก. เอารถยนต์ของตนไปฝาก ข. ช่วยดูแลรักษาในระหว่างที่ตนต้องไปราชการต่างจังหวัดก็ดี เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน

                        สัญญาใดก็ตามถ้าหากว่าเป็นกรณีที่ต่างฝ่ายต่างมีหนี้ต่อกันและกัน หรือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ในขณะเดียวกันแล้วก็เป็นเรื่องของสัญญาที่กฎหมายเรียกว่าเป็น สัญญาต่างตอบแทน

                        เกิดหนี้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้น สัญญายืมก็ดี สัญญาฝากทรัพย์ก็ดี ลักษณะที่กฎหมายเรียกว่าเป็น สัญญาไม่ต่างตอบแทน (unilateral contracts)

                        สัญญาฝากทรัพย์ที่มีบำเหน็จหรือคิดค่าฝาก กับสัญญาฝากทรัพย์ที่ไม่มีบำเหน็จหรือไม่คิดค่าฝาก ที่ไม่บำเหน็จนั้นก็คงจะไม่มีปัญหาเพราะเหตุว่าคงเป็น สัญญาไม่ต่างตอบแทน

                        ตัวอย่างของสัญญาที่มีค่าตอบแทน เช่น กรณีสัญญาชื้อขายรถยนต์จากสัญญาเดียวกันนี้ซึ่งได้เคยตกลงซื้อรถยนต์จากบริษัท ข. ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว นั้น ได้รับประโยชน์จากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง บริษัท ข. นั้น ก็จะได้รับประโยชน์จากการทำสัญญานี้เป็นการตอบแทนคือได้ชำระราคาแห่งค่าของรถยนต์ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์เป็นการแลกเปลี่ยนตอบแทน สัญญาให้ ก. ทำสัญญาให้นาฬิกาเรือนหนึ่งแก่ ข. เนื่องในโอกาสครบรอบไม่มีค่าตอบแทนเกิดหรืเหตุอื่นใดก็ได้ ในกรณีนี้ถ้าจะพิจารณาในลักษณะอ่างเดียวกับกรณีข้างต้น ว่าในการทำสัญญานี้ในระหว่างคู้สัญญานั้นมีความผูกพันกันในลักษณะใดก็จะเห็นว่าในสัญญานี้ ข. เป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งนั้น จะได้รับประโยชน์จากสัญญานี้ ประโยชน์ที่ว่านั้นก็คือการได้กรรมสิทธิ์ในนาฬิกาที่ ก. ยกให้แก่ตนในขณะเดียวกัน

                        ในสัญญาที่ทำกันขึ้นนั้นเป็นสัญญาซึ่งมีหนี้ซึ่งต่างฝ่ายต่างจะต้องกระทำเป็นการตอบแทนซึ่งกันและกัน หรือว่าเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียวมีหน้าที่จะต้องกระทำต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในลักษณะเป็นหนี้ตอบแทนแล้ว ข้อที่จะต้องพิจารณานั้น อยู่ตรงที่ว่าในสัญญานั้นคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างฝ่ายต่างจะได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินจากคู่สัญญาแต่ละฝ่ายเป็นการตอบแทนซึ่งกันหรือไม่หรือเป็นสัญญาที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สิน คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์อะไรเป็นการตอบแทนเลย หนี้ที่ต้องกระทำในการตอบแทน หรือว่าเป็นสัญญาที่คู่สัญญาจะได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์

                        สัญญาประธาน ย่อมหมายถึง สัญญาโดยทั่วไป ที่คู่สัญญาได้ตกลงทำขึ้น และมีผลบังคับให้เกิดหน้าที่จะต้องมีการปฏิบัติตามความตกลงของบุคคลทั้งสองฝ่าย เรียกว่ามีความสมบูรณ์ในตัวของสัญญานั้น เช่น สัญญาซื้อขายเมื่อไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลงที่จะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการขำระราคา ก็เป็นเรื่องซึ่งคู่สัญญาจะต้องดำเนินคดีฟ้องร้องเพื่อให้มีการบังคับการให้เป็นไปตามสัญญาหรือในกรณีของสัญญากู้ยืมซึ่งก็มีความสมบูรณ์ในตัวของสัญญานั้นเอง

                        สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งสามารถที่จะมีการบังคับการให้เป็นไปตามความตกลงสัญญาที่ทำกัน

                        สัญญาอุปกรณ์ เป็นสัญญาหรือความตกลงในระหว่างคู่สัญญาที่ได้ทำลักษณะที่มีส่วนประกอบหรือเป็นส่วนหนี่งของสัญญาประธาน เช่น ไปว่าจ้างให้ร้านสวยเสมอในการตกลงว่าจ้างกันผู้รับจ้างอาจกำหนดให้ผู้ว่าจ้างวางเงินจำนวนหนึ่งเป็นมัดจำหรือเป็นประกันที่จะมีการปฏิบัติตามสัญญานั้น

                        สัญญาต่างตอบแทน คือสัญญาซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะต้องกระทำตอบแทนซึ่งกันและกัน ส่วนสัญญาไม่ต่างตอบแทนนั้น ย่อมก่อให้เกิดหนี้จากคู่สัญญาแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว

                        สัญญามีค่าต่างตอบแทน คือสัญญาซึ่งมีคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ต่างได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินเป็นการแลกเปลี่ยนตอบแทนกัน ส่วนสัญญาไม่มีค่าตอบแทนนั้น คู่สัญญาแต่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินเป็นการตอบแทน

                        สัญญาอุปกรณ์ เป็นสัญญาซึ่งเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนหนึ่งของสัญญาประธาน สัญญาประธาน คือ สัญญาซึ่งมีความสมบูรณ์ในตัวของสัญญานั้นเอง

                        มาตรา 370 มาตรา 371 และมาตรา 372 ซึ่งวางหลักไว้ว่า ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบแทนไม่...

                        ตัวอย่าง ก. ว่าจ้างให้บริษัท ข. ส่งน้ำตาลไปยังบริษัทหนึ่งในต่างประเทศ แต่ก่อนที่ถึงกำหนดที่ บริษัท ข. จะปฏิบัติลำระหนี้คือ ส่งน้ำตาลไปต่างประเทศรัฐบาลออกกฎหมายห้ามมิให้มีการนำน้ำตาลออกนอกประเทศ เพื่อป้องกันความขาดแคลนน้ำตาลที่ราษฎรต้องบริโภคภายในประเทศ เช่นนี้ การปฏิบัติชำระหนี้ของบริษัท ข. ในอันที่จะบรรทุกน้ำตาลส่งไปยังบริษัทต่างประเทศจึงเป็นอันกระทำมิได้ ซึ่งเรียกว่าการชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัย

                        ก. จ้างให้ ข. มาทาสีบ้านจะจ่ายค่าจ้างจำนวนหนึ่งอาจจะเป็นจำนวน 5,000 บาท ขณะที่ทาสีไปได้บางส่วน ต่อมาบ้านของผู้ว่าจ้างคือ ก. นั้นเกิดเพลิงไหม้ซึ่งอาจจะเกิดจากฟ้าผ่า ความผิดของเจ้าของบ้านคือ ก. ความผิดของ ข. ซึ่งเป็นผู้รับจ้างทาสี ในกรณีเช่นนี้การชำระหนี้ของ ขง คือการทาสีบ้าน ก. ถือว่าตกเป็นพ้นวิสัย ข. ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างจาก ก.ตามสัญญาเช่นเดียวกัน

                        มาตรา 370 นั้นเป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทน ทรัพย์สิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่งได้โอนจากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ส่วนกรณีตามมาตรา 371 เป็นกรณีที่ทรัพย์สิทธิยังไม่โอนไปนั้นเอง

                        ตามมาตรา 370 อันเป็นเรื่องของสัญญาตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่งนั้น ถ้าสัญญาต่างตอบแทนมีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหรือเสียหายไปด้วยเหตุใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้ไม่ได้การสูญหรือเสียหายนั้นย่อมตกพับแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ต้องตกเป็นฝ่ายรับบาปเคราะห์ในการสูญหรือเสียหายนั้น

1. การที่มีการวางมัดจำนั้นก็เท่ากับเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้น

2. ที่มีข้อตกลงวางมัดจำกันขึ้นนั้นย่อมเป็นประกันว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย

มัดจำได้นั้นจะต้องเป็นสิ่งของคือเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมอบไว้ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง

                        เช่น ไปว่าจ้างตัดชุดสากลจำนวน 800 บาท วางมัดจำไว้ 200 บาท เงิน 200 บาทที่วางมัดจำไว้เป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ อีกเพียง 600 บาท

                        มัดจำ คือการที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมอบเงินหรือสิ่งของอื่นให้ไว้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ในขณะทำสัญญาเพื่อเป็นประกันว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้เพราะถ้าฝ่ายที่วางมัดจำไม่ปฏิบัติชำระหนี้ หรือการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยหรือมีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายวางมัดจำ กฎหมายให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งรับมัดจำไว้สามารถรับมัดจำนั้นได้ แต่ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย หรือมีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายรับมัดจำ กฎหมายกำหนดให้คืนมัดจำแก่ผู้วางมัดจำ

                        เนื่องจากนั้น การวางมัดจำยังได้ว่าเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาได้ทำกันขึ้นแล้วอีกด้วย

การปฏิบัติตามสัญญานั้นมีอยู่ 2 ประการ

1. มัดจำ

2. เบี้ยปรับ

ทำสัญญาห้ามไม่ให้ลูกศิษย์ที่เรียนสอนตัดเสื้อมาตั้งร้านค้าแข่งขันกับครูที่สอนในบริเวณหมู่บ้านที่ตกลงกัน ซึ่งถ้าไม่ใช่เป็นกรณีที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมีกรณีกำหนดเบี้ยปรับ

การเรียกเบี้ยปรับนั้นมีได้ 2 ประการ

1. การเรียกเบี้ยปรับเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้นั้นเลย

2. เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้

เช่น สัญญาซื้อขายระบุว่า ถ้าผู้ขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนการขายตามกำหนด ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญา และยอมให้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้ออีก 30,000 บาท ดังนี้ ค่าเสียหายที่กำหนดไว้นั้นเป็นเบี้ยปรับ เมื่อผู้ขายไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นได้โดยไม่ต้องนำสืบค่าเสียหาย

การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เช่น ชำระหนี้ล่าช้าหรือไม่ครบตามความประสงค์อันแก้จริง ในกรณีเช่นนั้นกฎหมายเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิทั้งในอันที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนและยังมีสิทธิที่จะริบเบี้ยปรับได้อีกด้วย

ข้อนี้เป็นเรื่องซึ่งแตกต่างกันในระหว่างการกำหนดเบี้ยปรับ

ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในระหว่างการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดไว้เป็นเงิน กับการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดไว้เป็นสิ่งของอย่างอื่นตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องของการกำหนดเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นสิ่งของอย่างอื่นแล้ว ถ้าเจ้าหนี้ได้เรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้อีก ซึ่งไม่เหมือนกับกรณีของการกำหนดเบี้ยปรับที่เป็นเงินซึ่งในกรณี นอกจากเจ้าหนี้จะมีสิทธิรับเบี้ยปรับแล้วยังมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้อีก ถ้าหากปรากฏว่าตน

สัญญาซื้อขาย” เป็นนิติกรรมกี่ฝ่าย

นิติกรรมหลายฝ่าย เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาและการกระทำโดยบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจะเกิดเป็นนิติกรรมได้ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์ สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง สัญญากู้ยืมเงิน การหมั้น การสมรส เป็นต้น

พินัยกรรม เป็นนิติกรรมกี่ฝ่าย

ก. นิติกรรมฝ่ายเดียว เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นด้วยการแสดงเจตนาและกระทำไปโดยบุคคลเพียงฝ่ายเดียว การกระทำนั้นก็มีผลเป็นนิติกรรมได้ เช่น การทำพินัยกรรม การบอกเลิกสัญญา การปลดหนี้ การตั้งมูลนิธิ เป็นต้น

นิติกรรมสัญญามีกี่ประเภท

2. นิติกรรม มี 2 ประเภท 2.1 นิติกรรมฝ่ายเดียว เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายเดียว เช่น การ ทําพินัยกรรมการบอกเลิกสัญญา เป็นต้น 2.2 นิติกรรมหลายฝ่าย เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ที่เรียกว่าสัญญา เช่น สัญญาเช่า สัญญากู้ยืม สัญญาซื้อขาย การก่อตั้งห้างหุ้นส่วน บริษัท เป็นต้น

สัญญากฎหมายมีอะไรบ้าง

สัญญามี2 ประเภท คือ 1)สัญญามีชื่อ หรือเอกเทศสัญญา หมายถึง สัญญาซึ่งกฎหมายบัญญัติ ชื่อไว้ และคู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วนสัญญานั้นๆ 2) สัญญาไม่มีชื่อ หมายถึง สัญญาที่กฎหมายไม่ได้ก าหนดเรียกชื่อไว้โดยเฉพาะ แต่กฎหมายคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายที่แสดงเจตนาต่อกัน