ส่งประกันสังคม กี่เดือน ถึง เบิกค่าคลอดได้

ส่งประกันสังคม กี่เดือน ถึง เบิกค่าคลอดได้

เช็คเงื่อนไขคุณพ่อมือใหม่เบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคม

  • เช็คเงื่อนไขคุณพ่อมือใหม่เบิกค่าคลอดบุตรจากประกันสังคม
    • เงื่อนไขสิทธิเบิกกรณีคลอดบุตร สำหรับคุณพ่อ
    • คุณพ่อมือใหม่เบิกค่าคลอดบุตรได้เท่าไหร่
    • รวมสิทธิประกันสังคมที่คุณแม่ต้องรู้

สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดเงื่อนไขผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ที่เป็นคุณพ่อมือใหม่ให้สามารถใช้สิทธิเบิกประโยชน์ทดแทน “กรณีคลอดบุตร” ได้ โดยเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่จำกัดค่าฝากครรภ์ รวมถึงสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี เกี่ยวกับเรื่องนี้มีรายละเอียดอย่างไรติดตามได้ในหัวข้อ สิทธิเบิกกรณีคลอดบุตร ม.33-ม.39 สำหรับคุณพ่อ ได้เท่าไหร่มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

เงื่อนไขสิทธิเบิกกรณีคลอดบุตร สำหรับคุณพ่อ

  • ภรรยามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
  • เป็นผู้ประกันตน ม.33 และ 39 เท่านั้น
  • ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน
    ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนภรรยาคลอดบุตร
  • ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
    ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
ส่งประกันสังคม กี่เดือน ถึง เบิกค่าคลอดได้
คุณพ่อมือใหม่สามารถเบิกประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร ได้

คุณพ่อมือใหม่เบิกค่าคลอดบุตรได้เท่าไหร่

คุณพ่อป้ายแดงที่เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 และ มาตรา 39 สามารถใช้สิทธิเบิกประโยชน์ทดแทน “กรณีคลอดบุตร” ได้ โดยเป็นการเหมาจ่ายในอัตราค่าคลอดบุตร 15,000 บาท แบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง นอกจากนี้ค่าฝากครรภ์ให้จ่ายตามจริงแต่ครั้งละไม่เกิน 1,500 บาท สำหรับการพบแพทย์ 5 ครั้ง/การตั้งครรภ์ 1 ครั้ง

รวมไปถึงเงินสงเคราะห์บุตรสามารถเบิกได้เดือนละ 800 บาท เริ่มเบิกได้ตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ต่อบุตร 1 คน ได้คราวละไม่เกิน 3 คน ทั้งนี้บุตรต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้สามารถเบิกได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต่อบุตร 1 คน

รวมสิทธิประกันสังคมที่คุณแม่ต้องรู้

สำหรับคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันสังคม ตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 มีสิทธิขอรับผลประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ลาคลอด ฝากครรภ์จากประกันสังคมได้ดังนี้

ส่งประกันสังคม กี่เดือน ถึง เบิกค่าคลอดได้

กรณีคลอดบุตร

  • ประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตร เงื่อนไขต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร
  • สิทธิรับเงินสงเคราะห์จากการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 90 วัน กรณีใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรนี้
  • กรณีทั้งคุณแม่และคุณพ่อเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่สามารถใช้สิทธิการเบิกค่าคลอดบุตรได้เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดยไม่จำกัดจำนวนบุตรและจำนวนครั้ง

กรณีสงเคราะห์บุตร

  • เป็นผู้ประกันสังคมตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39
  • ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น โดยประกันสังคมจะจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรในอัตราเดือนละ 800 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน
  • จ่ายเงินสงเคราะห์ให้บุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแต่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิด จนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

กรณีลาคลอด

  • จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร
  • สิทธิการลาคลอดใช้ได้เฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น ฝ่ายชายไม่สามารถเบิกใช้ได้
  • จ่ายให้ไม่เกินฐานเงินเดือน 15,000 บาท หากเงินเดือนมากกว่าจะคิดแค่ 15,000 บาท
  • มีสิทธิได้รับเงินลาคลอดไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • มีระยะเวลาจ่ายเงินให้ทั้งหมด 90 วัน (นับรวมวันหยุดราชการ)
  • กรณีกลับมาทำงานก่อนครบ 90 วัน คุณแม่ยังได้รับเงินสงเคราะห์ตามปกติ

กรณีฝากครรภ์

  • กรณีอายุครรภ์ไม่เกินระยะเวลา 12 สัปดาห์ กองทุนฯจะจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500 บาท
  • กรณีอายุครรภ์มากกว่าระยะเวลา 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ กองทุนฯจะจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
  • กรณีอายุครรภ์มากกว่าระยะเวลา 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ กองทุนฯจะจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 300 บาท
  • กรณีอายุครรภ์มากกว่าระยะเวลา 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ กองทุนฯจะจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท
  • กรณีอายุครรภ์มากกว่าระยะเวลา 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป กองทุนฯจะจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200 บาท

และทั้งหมดนี้ก็คือรายละเอียดของสิทธิเบิกเงินประกันสังคมกรณีคลอดบุตร สำหรับผู้ประกันตน ม.33-ม.39 ที่เป็นคุณพ่อป้ายแดงว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง ได้เงินเท่าไหร่ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคุณพ่อมือใหม่ทุกท่านได้รู้ถึงสิทธิของตนเองที่มีตามกฎหมาย

อ้างอิง : thaigov.go.th

อ่านเพิ่มเติม

  • เล็งปลดล็อคเงินชราภาพประกันสังคม กู้ได้ หรือยืมก่อนได้
  • อัปเดต ลดเงินสมทบประกันสังคม 2565 เริ่มเมื่อไหร่ ลดกี่เดือน
  • อัปเดตล่าสุด ติดโควิดประกันสังคมจ่ายไหม ม. 33
  • ผู้ประกันตนติดโควิด รักษาฟรี สิทธิ์ประกันสังคมที่ไม่ควรมองข้าม

ส่งประกันสังคม กี่เดือน ถึง เบิกค่าคลอดได้

ประกันสังคมสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้กี่คน

1. เราสามารถเบิกเงินค่าคลอดประกันสังคมได้กี่ครั้ง คุณสามารถเบิกได้กี่ครั้งก็ได้ ตามจำนวนครั้งที่คุณคลอด นั่นหมายความว่าการคลอดบุตร 1 ครั้ง จะเบิกเงินได้ 13,000 บาท/บุตร 1 คน 2. จำเป็นไหมที่ต้องคลอดตามโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ

เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้ที่ไหน

สามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่สะดวกทั่วประเทศ ยกเว้นที่สาขาสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข โดยสามารถยื่นได้เลย ไม่ต้องรอให้เด็กคลอดออกมาหรือจะรอยื่นพร้อมกับ เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม เมื่อเด็กคลอดมาแล้วก็ได้

เงินสงเคราะห์บุตรเบิกได้ตอนไหน

เงื่อนไขการยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม) อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

ประกันสังคมเบิกค่าคลอดบุตรย้อนหลังได้ไหม

เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรได้ คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน คือ เดือนที่คลอดบุตรไม่นับสิทธิ การนับจะนับย้อนหลังไป 15 เดือน (1 ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบครบ 7 เดือน