องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีกี่องค์กร

(1) ���ǹ����稨�ԧ�����ػ�ӹǹ �������駹Ӥ�������ʹ͵���ز���ҡó��ա���ͧ�����ʹ�͹����ç���˹觹�¡�Ѱ����� �Ѱ����� ��Ҫԡ��Ҽ��᷹��ɮ� ��Ҫԡ�ز���� ��иҹ��Ż���ͧ�٧�ش ��¡���٧�ش ������á�����͡��� ����Ǩ�Һ����蹴Թ�ͧ�Ѱ��� �ͧ��иҹ��Ůա� �ͧ��иҹ����ͧ�٧�ش ���˹���ӹѡ���ҡ�÷��� �ͧ��¡���٧�ش ����ç���˹��дѺ�٧ ��м���ç���˹���蹵����衮���ºѭ�ѵ�

(2) ���ǹ����稨�ԧ �����ػ�ӹǹ �������駷Ӥ����������ѧ��¡���٧�ش����ͧ��յ����Ůա�Ἱ�����ҭҢͧ����ç���˹觷ҧ������ͧ �ó��ռ����������ͧ���¹�����Թ����ҭҡѺ����ç���˹觹�¡�Ѱ����� �Ѱ����� ��Ҫԡ��Ҽ��᷹��ɮ� ��Ҫԡ�ز���� ���͢���Ҫ��á�����ͧ��������¼Դ���� ��зӤ����Դ��͵��˹�˹�ҷ��Ҫ��õ�������š������ҭ� ���͡�зӤ����Դ��͵��˹�˹�ҷ�����ͷب�Ե���˹�ҷ������������� ��������ѧ�Ѻ�Ѻ�óշ��ؤ�Ŵѧ��������ͺؤ������繵�ǡ�� ����� ���ͼ��ʹѺʹع����

(3) ���ǹ����ԹԨ���������˹�ҷ��ͧ�Ѱ�����¼Դ���� ��зӤ����Դ�ҹ�ب�Ե���˹�ҷ�����͡�зӤ����Դ��͵��˹�˹�ҷ���Ҫ��� ���ͤ����Դ��͵��˹�˹�ҷ��㹡���صԸ���

(4) ��Ǩ�ͺ�����١��ͧ��Ф����������ԧ �����駤�������¹�ŧ�ͧ��Ѿ���Թ���˹���Թ�ͧ���˹�ҷ��ͧ�Ѱ �����駵�Ǩ�ͺ��������¹�ŧ�ͧ��Ѿ���Թ���˹���Թ�ͧ����ç���˹觷ҧ������ͧ

(5) ��˹���ѡࡳ������ǡѺ��á�˹����˹���Ъ�������дѺ�ͧ���˹�ҷ��ͧ�Ѱ���е�ͧ��蹺ѭ���ʴ���¡�÷�Ѿ���Թ���˹���Թ

(6) ��˹���ѡࡳ������Ըա����蹺ѭ���ʴ���¡�÷�Ѿ���Թ���˹���Թ�ͧ���˹�ҷ��ͧ�Ѱ ��С���Դ�ºѭ���ʴ���¡�÷�Ѿ���Թ���˹���Թ�ͧ����ç���˹觹�¡�Ѱ���������Ѱ�����

(7) ��§ҹ�š�õ�Ǩ�ͺ ��мš�û�Ժѵ�˹�ҷ����������ѧࡵ��ͤ���Ѱ����� ��Ҽ��᷹��ɮ� ����ز���� �ء�� ��й���§ҹ����͡�������������

(8) �ʹ��ҵá�ä������ ���͢���ʹ��е�ͤ���Ѱ������Ѱ��� ��� ���ͤ�С�����õ�Ǩ�Թ�蹴Թ ��������ա�û�Ѻ��ا��û�Ժѵ��Ҫ��� �����ҧἹ�ç��âͧ��ǹ�Ҫ��� �Ѱ����ˡԨ ����˹��§ҹ�ͧ�Ѱ ���ͻ�ͧ�ѹ��л�Һ������÷ب�Ե���˹�ҷ�� ��á�зӤ����Դ��͵��˹�˹�ҷ���Ҫ��� ���͡�á�зӤ����Դ��͵��˹�˹�ҷ��㹡���صԸ���

(9) ���Թ����������դ�������ͤӾԾҡ�����¡��ԡ�����ԡ�͹�Է�������͡����Է�����˹�ҷ��ͧ�Ѱ��͹��ѵ�����͹حҵ����Է�Ի���ª�� �����͡�͡����Է����ؤ�������Ԫͺ���¡�������������º�ͧ�ҧ�Ҫ����ѹ���˵�������������ҧ�Ҫ���

(10) ���Թ������ͻ�ͧ�ѹ��÷ب�Ե �����������ҧ��ȹ�����Ф�ҹ�������ǡѺ���������ѵ���ب�Ե �����駴��Թ�������ЪҪ����͡�����ؤ������ǹ����㹡�û�ͧ�ѹ��л�Һ������÷ب�Ե

(11) ��������繪ͺ㹡���觵���ŢҸԡ��

(12) �觵�駺ؤ�����ͤ�кؤ�����ͻ�Ժѵ�˹�ҷ����������Ѻ�ͺ����

(13) ���Թ�����蹵��������Ҫ�ѭ�ѵԻ�Сͺ�Ѱ�����٭���ѭ�ѵ����ͷ�衮������蹡�˹�������ӹҨ˹�ҷ��ͧ��С������ �. �. � 㹪�鹹�� ����

ความเป็นมาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 1 (13 กรกฎาคม 2544 - 24 มิถุนายน 2552)

                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 8 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยที่มาตรา 199 และมาตรา 200 ได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอแนะมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสม รวมทั้งอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเป็นการเสนอแนะนโยบายและข้อสเนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี หรือการส่งเสริมการศึกษา การวิจัย ความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนการจัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2542
                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีสถานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เกิดขึ้นจากแรงผลักดันและการเรียกร้องต้องการของประชาชนที่มุ่งหวังให้มีกลไกอิสระ เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีผลปรากฏเป็นจริง ตามที่มีการบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพอย่างกว้างขวางไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยที่กระบวนการร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นับเป็นแบบอย่างที่ดีของการร่างกฎหมายที่มีผลเกี่ยวข้องกับประชาชน โดยคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ ในขณะที่ภาคประชาชนก็ตื่นตัวมีส่วนร่วมจัดเวทีศึกษาแลกเปลี่ยนบทเรียนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศอื่น ๆ ซึ่งเป็นผลให้มีการปรับปรุงร่างกฎหมายนี้ให้ดีขึ้นจากร่างเดิมในหลายประเด็น
                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดที่หนึ่ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คือ วันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ครบวาระการดำรงตำแหน่งวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ในระหว่างนั้นมีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ 2 คน คือ คุณหญิงจันทนี  สันตะบุตร (วันที่ 20 พฤศจิกายน 2549) และนายจรัล ดิษฐาอภิชัย (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550) ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้เกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่ กสม. ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สำหรับประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกแปดคนที่เหลือดำรงตำแหน่งจนครบวาระเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 และได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรอให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2552 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552 ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรอให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่นายวสันต์  พานิช ได้ขอยุติการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2551

ความเป็นมาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 2 (25 มิถุนายน 2552 – 19 พฤศจิกายน 2558)

                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชุดที่ 2 จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2550) ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว กสม. ชุดที่ 2 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2552 ครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 24 มิถุนายน 2558
                   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติองค์ประกอบ และหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ในมาตรา 256 มาตรา 257 และมาตราที่เกี่ยวข้องแตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หลายประการที่สำคัญ ดังนี้
                   1. สถานะองค์กรรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้แบ่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 4 องค์กร คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และอีกประเภทหนึ่ง คือ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ 3 องค์กร คือ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส่วนรัฐธรรมนูญ 2540 มิได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน
                   2. องค์ประกอบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีจำนวนลดลง จากเดิมที่มี 11 คน เหลือเพียง 7 คน ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกหกคน
                   3. กระบวนการสรรหา และการเลือกกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีจำนวน 7 คน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือก กสม. จำนวน 7 คน ด้วยมติที่มีการลงคะแนนโดยเปิดเผยและมีคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แล้วเสนอรายชื่อผู้ได้รับเลือกพร้อมความยินยอมของผู้นั้นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงข้างมาก โดยวิธีลงคะแนนลับ
                      จะเห็นได้ว่ากระบวนการสรรหาและการเลือก กสม. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ทั้งในขั้นตอนของคณะกรรมการสรรหา คือองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา วิธีการสรรหาและคัดเลือก รวมทั้งจำนวน
ผู้ได้รับเลือกเพื่อเสนอชื่อให้วุฒิสภา และในขั้นตอนของวุฒิสภาจากเดิมที่ต้องมีมติเพื่อคัดเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อจากจำนวน 22 คนให้เหลือ 11 คน เป็นมีมติให้ความเห็นชอบผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาจำนวน 7 คน
                   4. การพ้นจากตำแหน่ง นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระและเหตุอื่นแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดให้ กสม. พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ด้วย
                   5. หน้าที่และอำนาจกำหนดให้ กสม. มีหน้าที่และอำนาจเพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ใน 3 เรื่อง คือ
                       5.1 การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญสำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ กสม. จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามวรรคหนึ่งนั้น หมายถึงกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น
                       5.2 การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มี ผู้ร้องเรียนว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหา ที่เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
                       5.3 การฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและ เป็นกรณีที่เห็นสมควร เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม
                   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง รวมทั้งการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายได้ โดยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และที่กฎหมายบัญญัติตามลำดับ
                   ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม. ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้เกิดการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 และให้องค์กรอิสระ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสม. ชุดใหม่ให้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ และต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2557 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 เรื่อง การสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่าง กำหนดว่าในกรณีที่จำเป็นต้องสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแทนตำแหน่งที่ว่างให้ดำเนินการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เคยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หากในการสรรหาไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งต้องมีในคณะกรรมการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ ระหว่างการดำเนินการดังกล่าว มีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่พ้นจากตำแหน่ง 2 คน คือ พลตำรวจเอกวันชัย  ศรีนวลนัด ลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2558 และศาสตราจารย์อมรา  พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากอายุครบ 70 ปี (วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558) และคณะกรรมการที่เหลือได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เนื่องจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 3 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 และเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558

ความเป็นมาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 3 (20 พฤศจิกายน 2558 – 24 พฤษภาคม 2564)

                   โดยที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 และให้องค์กรอิสระ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ประกอบกับได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2557 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 เรื่อง การสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่าง กำหนดว่า ในกรณีที่จำเป็นต้องสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแทนตำแหน่งว่าง ให้ดำเนินการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่เคยดำเนินการสรรหามาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และหากในการสรรหาดังกล่าวไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใด ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องมีในคณะกรรมการสรรหาด้วย ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ ดังนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชุดที่ 3 จึงได้ดำเนินการสรรหาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว  ซึ่งต่อมา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ปฏิบัติหน้าที่วุฒิสภา โดยทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ชุดที่ 3 เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว และครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564
                   ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 130 (10) มาตรา 246 มาตรา 247 และมาตรา 267 บัญญัติให้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 เพื่อกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหา การพ้นจากตำแหน่ง หน้าที่และอำนาจ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   โครงสร้างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
                   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มีทั้งหมด 67 มาตรา แบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่
                   หมวด 1 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   หมวด 2 การดำเนินการตามหน้าที่ของคณะกรรมการ
                   หมวด 3 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   หมวด 4 บทกำหนดโทษ และบทเฉพาะกาล
                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ประกอบด้วยกรรมการจำนวนเจ็ดคนซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี และดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว

ผู้ทำหน้าที่แทนผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว

                   ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดที่ 3 เพื่อรอให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 4 คน ได้แก่ นายสุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย (วันที่ 5 เมษายน 2558) นายชาติชาย สุทธิกลม (วันที่ 1 มิถุนายน 2562) นางอังคณา นีละไพจิตร และนางเตือนใจ ดีเทศน์ (วันที่ 31 กรกฎาคม 2562) เป็นเหตุให้มีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
                   ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด จึงได้มีคำสั่งที่ 1/2562 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่แทนผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 60 วรรคสาม ประกอบมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำหน้าที่เป็นกรรมการเป็นการชั่วคราว จำนวน 4 คน ได้แก่ นายสมณ์ พรหมรส นางสาวอารีวรรณ จตุทอง นางภิรมย์ ศรีประเสริฐ และนายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติครบเจ็ดคน 

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีกี่องค์กร

มีองค์กร คือ 1. คณะกรรมการการเลือกตัง (กกต.) 2. ผู้ตรวจการแผ่นดิน 3. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 4. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) และ 5. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ข้อสังเกต องค์กรอัยการ ไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรของผู้บริโภคตามมาตรา ๔๖ ไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

คณะกรรมการองค์กรอิสระมีจำนวนองค์กรละกี่คน

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรแรกที่เราจะมารู้จักในวันนี้ คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือที่เรียกติดปากว่า “กกต.” กกต. ประกอบด้วย กรรมการจำานวน 7 คน มีวาระการดำารงตำาแหน่ง 7 ปี และดำารงตำาแหน่งได้เพียงวาระเดียว ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำาแนะนำาของวุฒิสภา กกต. จำานวน 7 คน มาจากการสรรหา 2 ช่องทาง ดังนี้

องค์กร อิสระ ตาม รัฐธรรมนูญ 2550 มี อะไร บ้าง

1. สถานะองค์กรรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้แบ่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 4 องค์กร คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และอีกประเภทหนึ่ง คือ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ 3 ...

องค์กรอิสระมีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี *

องค์กรอิสระเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นให้มีความอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย มีวาระการดํารงตําแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดํารงตําแหน่งได้เพียงวาระเดียว