ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย สามารถ แก้ไข ได้ อย่างไร

ความนำ
    เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าในสังคมไทยปัจจุบัน ไม่มีปัญหาใดยิ่งใหญ่และรุนแรงเท่าปัญหาความขัดแย้งทางความคิดเห็นกันทั้งในด้านสังคม การเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งผลให้เกิดความแตกแยกเป็นฝักฝ่ายอย่างชัดแจ้ง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบสุข ของสังคมเกือบจะทุกด้าน เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปกครองบ้านเมือง รวมทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ ทำให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจอยู่ในปัจจุบัน
    ปัญหาดังกล่าวนี้  แม้มีผู้หวังดีเสนอทางแก้ไขแนวสมานฉันท์  ให้รัก-สามัคคีกันหลาย แนวมาแล้วก็ตาม แต่ยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมที่ทำให้ยุติความขัดแย้งลงได้ ในทางตรงกันข้าม กลับ ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น  เช่น  ในงานวันมาฆบูชาของสภาองค์กรพระพุทธศาสนา ณ ท้องสนาม หลวง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะที่พุทธศาสนิกชนจำนวนมาก นั่ง ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์อยู่ในมณฑลพิธีนั้น ได้มีเสียงจากเครื่องขยายเสียงสอดแทรกเข้า มารบกวนเป็นระยะๆ เสียงนั้นประกาศว่า “พวกเขาขโมยอำนาจรัฐของพวกเราไป และได้ออก กฎหมายมาฆ่าพวกเรา ขอให้พวกเราฆ่าพวกเขาทันทีที่ฆ่าได้”
    ท่ามกลางความขัดแย้งทางความคิดเห็นของคน ๒ ฝ่ายนี้ ยังมีชาวสังคมจำนวนมากที่ วางตัวเป็นกลาง หรือที่มักเรียกกันว่า “พลังเงียบ” คนเหล่านี้ต่างเฝ้ามองอย่างมีความหวังว่า ปัญหา ดังกล่าวจะยุติลงด้วยดีโดยมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้หวังดีต่อประเทศชาติอย่างจริงใจ  มาช่วย ประนีประนอมให้เรื่องร้ายกลายเป็นดีในที่สุด เพราะเชื่อว่า “อยุธยาไม่สิ้นคนดี” ผู้เขียนเชื่อว่า ผู้หวังดีต่อประเทศชาติอย่างจริงใจโดยไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนแอบแฝง นั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าได้รับแรงบันดาลที่ดีและมั่นใจได้ ท่านเหล่านั้นจะรวมพลังกันทำเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้ตามที่หวัง ผู้เขียนยังเชื่อต่อไปว่า เพราะประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็น รากฐานทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทยมายาวนาน ชาวไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นับถือพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสังฆเจ้า เป็นที่พึ่งที่ระลึก และดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว    ถัานำพุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ทรงแสดงแก่พระภิกษุสงฆ์มาประยุกต์ใช้กับปัญหาดังกล่าว น่าจะทำให้สังคมไทยยอมรับได้และช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หวังดีทั้งหลายได้ทำเรื่องร้ายให้กลาย เป็นดีสมตามความหวังของสังคม
    ผู้เขียนจึงขอเสนอวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการสมานฉันท์ตามแนวที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ในกันติสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่ม  ๑๔ เพื่อเป็น แนวพิจารณาของผู้หวังดีต่อประเทศชาติต่อไป

เนื้อความโดยย่อของกินติสูตร
    กินติสูตร แปลว่า “พระสูตรที่ว่าด้วยภิกษุคิดอย่างไรในพระพุทธเจ้า” คือกล่าวถึงวิธีแก้ ปัญหาความขัดแย้งกันของภิกษุทั้งหลาย  พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสูตรนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ ณ ป่าชัฏอันเป็นสถานที่บวงสรวงพลีกรรม เขตกรุงกุสินารา แคว้นมัลละ โดย ตรัสถามนำให้ภิกษุเหล่านั้นคิดตอบคำถาม คำถามและคำตอบมีดังนี้
    ตรัสถาม:ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราบ้างหรือ(ไม่) ว่า “พระ สมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุ แห่ง(ความสุขใน)ภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้”
    ทูลตอบ:ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่มีความคิดในพระผู้มีพระ ภาคอย่างนี้เลยว่า “พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งจีวร พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต พระสมณโคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ หรือพระสมณ โคดมแสดงธรรม เพราะเหตุแห่ง (ความสุขใน) ภพน้อยและภพใหญ่ ด้วยอาการอย่างนี้”

    ตรัสถาม:... ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างไรในเราเล่า
    ทูลตอบ:ข้าพระองค?ทั้งหลายมีความคิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค ทรงมีความเอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความอนุเคราะห์ จึงทรงแสดงธรรม”
    พระพุทธองค์ทรงรับรองว่า เป็นความคิดเห็นที่ชอบ จากนั้นทรงยกประเด็นปัญหาความ คิดเห็นขัดแย้งกันในหมู่สงฆ์มาให้ภิกษุเหล่านั้นคิดหาวิธีแก้ไขรวม ๓ ประเด็น คือวิธีระงับความ เห็นขัดแย้งในการอธิบายธรรม วิธีกล่าวหาผู้ต้องอาบัติ (ผู้ล่วงละเมิดพระวินัย) และวิธีระงับความ แตกสามัคคี

    ๑.  วิธีระงับความเห็นขัดแย้งในการอธิบายธรรม
    พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมที่ควรรู้ยิ่งที่พระองค์ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายมี ๓๗ ประการ (ซึ่งเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งความตรัสรู้ หรือธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรค มีองค์ ๘ ให้ภิกษุทั้งหมดสามัคคีกัน ร่วมใจกัน ตั้งใจศึกษา อย่าวิวาทกัน
    ทรงตั้งประเด็นขึ้นว่า ถ้าภิกษุ ๒ พวก มีความเห็นต่างกัน มีวาทะต่างกันในการอธิบาย ธรรมเหล่านั้น  ควรปฏิบัติอย่างไร  ทรงแนะนำให้มีภิกษุผู้เป็นกลางทำหน้าที่ระงับความขัดแย้ง ดังต่อไปนี้
     (๑) ถ้าเห็นว่า ภิกษุ ๒ พวก มีความเห็นขัดแย้งกันทั้งโดยอรรถ (อธิบายความหมาย ต่างกัน)  และโดยพยัญชนะ  (ใช้คำศัพท์ต่างกัน) พึงจำข้อขัดแย้งนั้นว่า  ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิด โดยอรรถอย่างไรและยึดถือผิดโดยพยัญชนะอย่างไร จากนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในแต่ละพวกที่เห็นว่าพอจะแนะนำ ทำความเข้าใจกันได้โดยง่ายแล้วชี้แจงให้เข้าใจถูกต้องตามหลัก ธรรมเหล่านั้นว่า ทั้ง ๒ พวกเห็นผิดทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขออย่าได้วิวาทกัน
     (๒) ถ้าเห็นว่า ภิกษุ ๒ พวก มีความเห็นขัดแย้งกันโดยอรรถ เห็นตรงกันโดยพยัญชนะ พึงจำข้อขัดแย้งนั้นว่า ภิกษุเหล่านั้นยึดถือผิดกันโดยอรรถอย่างไร ยึดถือถูกต้องโดยพยัญชนะอย่าง ไร จากนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในแต่ละพวกที่เห็นว่าพอจะแนะนำทำความเข้าใจกันได้ โดยง่าย แล้วชี้แจงให้เข้าใจถูกต้องตามหลักธรรมเหล่านั้นว่า ทั้ง ๒ พวกเห็นผิดกันโดยอรรถ เห็น ตรงกันโดยพยัญชนะ ขออย่าได้วิวาทกัน
     (๓) ถ้าเห็นว่า ภิกษุ ๒ พวกมีความเห็นตรงกันโดยอรรถ เห็นขัดแย้งกันโดยพยัญชนะ พึงจำข้อขัดแย้งนั้นว่า  ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกต้องโดยอรรถอย่างไร  ยึดถือผิดโดยพยัญชนะ อย่างไร จากนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในแต่ละพวกที่เห็นว่าพอจะแนะนำทำความเข้าใจ กันได้โดยง่าย  แล้วชี้แจงให้เข้าใจถูกต้องตามหลักธรรมเหล่านั้นว่า  ทั้ง ๒ พวกเห็นตรงกันโดย อรรถ เห็นผิดกันโดยพยัญชนะซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ขออย่าได้วิวาทกัน
     (๔) ถ้าเห็นว่า(จริงๆแล้ว) ภิกษุ ๒ พวก มีความเห็นตรงกันทั้งโดยอรรถ และโดย พยัญชนะ พึงจำข้อที่ภิกษุเหล่านั้นยึดถือถูกต้องตรงกัน จากนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งใน แต่ละพวกที่เห็นว่าพอจะแนะนำทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย แล้วชี้แจงให้เข้าใจถูกต้องตามหลัก ธรรมเหล่านั้นว่า ทั้ง ๒ พวก เห็นตรงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขออย่าได้วิวาทกันเลย

    ๒.  วิธีกล่าวหาผู้ต้องอาบัติ
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมมือกัน ไม่วิวาทกัน ตั้งใจศึกษา ธรรมเหล่านั้นอยู่  ถ้ามีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติ(ล่วงละเมิดพระวินัย)  ภิกษุทั้งหลายควร ปฏิบัติอย่างไร ทรงแนะนำให้มีภิกษุผู้เป็นกลางทำหน้าที่กล่าวหาผู้ต้องอาบัติ ดังต่อไปนี้
     (๑) ไม่ควรกล่าวหาภิกษุรูปนั้นด้วยข้อกล่าวหาในเรื่องนั้นทันที ควรพิจารณาบุคคล ก่อนว่า “ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น(ผู้ต้องอาบัติ) เพราะบุคคล นั้นเป็นผู้ไม่มักโกรธ  ไม่ผูกโกรธ  ไม่ดื้อรั้น  สละคืน(ยอมรับและทำตาม)ได้ง่าย และเราสามารถ จะให้เขาออกจากอกุศล(อาบัติ) แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศล(ความไม่มีอาบัติ)ได้ ด้วยอาการอย่างนี้” ถ้า มีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
     (๒) มีความเห็นว่า “ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา  แต่ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น แต่สละคืนได้ง่าย และเราสามารถจะให้เขาออก จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ เรื่องความขัดใจของบุคคลอื่นนี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่อง ที่เราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้นเป็นเรื่องใหญ่กว่า” ถ้ามีความเห็น อย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
     (๓) มีความเห็นว่า “ความลำบากจักมีแก่เรา แต่ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่น เพราะ บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก ถึงอย่างนั้นเราก็สามารถให้เขา ออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ เรื่องความลำบากของเราเป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่ เราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้นเป็นเรื่องใหญ่กว่า” ถ้ามีความเห็น อย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
     (๔) มีความเห็นว่า “ความลำบากจักมีแก่เราด้วย ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก แต่เราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศล แล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้ เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของบุคคลอื่นเป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราสามารถจะให้เขาออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้นั้นเป็นเรื่องใหญ่กว่า” ถ้า มีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรกล่าวหา
     (๕) มีความเห็นว่า “ความลำบากจักมีแก่เราด้วย ความขัดใจจักมีแก่บุคคลอื่นด้วย เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ ดื้อรั้น สละคืนได้ยาก และเราก็ไม่สามารถจะให้เขาออก จากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศลได้” ในกรณีอย่างนี้ ควรมีอุเบกขา

    ๓.  วิธีระงับความแตกสามัคคี
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายสามัคคีกัน  ร่วมใจกัน  ไม่วิวาทกัน  ตั้งใจศึกษา ธรรมเหล่านี้อยู่  ถ้ามีการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดี ต่อกัน ควรปฏิบัติอย่างไร ทรงแนะนำให้มีภิกษุผู้เป็นกลาง ทำหน้าที่ระงับความแตกสามัคคี ดัง ต่อไปนี้
     (๑) ควรเข้าไปหาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในพวกที่แตกแยกกันฝ่ายหนึ่ง ที่เห็นว่าเป็นผู้ตัก เตือนได้ง่ายกว่า แล้วพูดนำให้คิดว่า ถ้าพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องนี้ จะทรงตำหนิได้หรือไม่ และ ถ้าไม่เลิกทะเลาะกัน จะบรรลุนิพพานได้หรือไม่
     (๒) ควรเข้าไปหาภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในอีกฝ่ายหนึ่งที่เห็นว่าเป็นผู้ตักเตือนได้ง่ายกว่า แล้วพูดแนะนำโดยนัยเดียวกัน
    ทรงสรุปว่า ถ้าภิกษุเหล่าอื่นถามภิกษุผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่าน ทำให้ภิกษุเหล่านั้นออกจากอกุศล ให้ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ” ภิกษุนั้นควรตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้ กระผมได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสารณีย ธรรมแก่กระผม กระผมฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้บอกแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรม นั้นแล้ว ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว” เมื่อชี้แจงอย่างนี้ ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มบุคคลอื่น และชื่อว่าชี้แจงอย่างสมเหตุสมผล ไม่เป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้
    สารณียธรรมหรือสาราณียธรรม คือธรรมที่ทำให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็น ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มี ๖ ประการ ได้แก่
    ๑.  เมตตากายกรรม ตั้งกายกรรมประกออบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์  (ภิกษุ สามเณร) ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    ๒.  เมตตาวจีกรรม ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    ๓.  เมตตามโนกรรม ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง
    ๔.  สาธารณโภคิตา แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยธรรมแก่เพื่อนพรหมจรรย์
    ๕.  สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    ๖.  ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นถูกต้องดีงาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง๒
    สารณียธรรม ๖ ประการนี้ นอกจากเป็นธรรมสำหรับผู้ประสานสามัคคีแล้วยังป้องกัน มิให้เกิดอธิกรณ์(คดีความ)ขึ้นในสงฆ์ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสามคามสูตร ในคัมภีร์มัชฌิม นิกาย อุปริปัณณาสก์ คือเป็นพระสูตรที่ ๔ ต่อจากกินติสูตร ที่กล่าวถึงข้างต้น  ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ตรัสหลักธรรมไว้ ๔ หมวด คือ มูลเหตุวิวาท ๒ ประการ อธิกรณ์ ๔ ประการ วิธี ระงับอธิกรณ์ ๗ ประการ และธรรมสำหรับป้องกันมิให้เกิดอธิกรณ์ คือสารณียธรรม ๖ ประการ
    คุณธรรมหมวดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงอธิบายขยายความ ไว้ในพระราชดำรัสที่ตรัสตอบพระบรมวงศานุวงศ์ คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ และประชาชนที่ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องในงาน ๖๐ ปีแห่งการ ครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยทรงรวมข้อความประการที่ ๑-๓ เข้าด้วย กัน ดังความสำคัญต่อไปนี้
    “ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาอยู่ในท่ามกลางมหาสมาคม พร้อมพรั่งด้วยบุคคล จากทุกสถาบันในชาติ ตลอดจนประชาชนชาวไทย ขอขอบใจในคำอำนวยพร และการเฉลิมฉลอง ยิ่งใหญ่ ที่ทุกคนตั้งใจจัดให้ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ ทั้งรัฐบาลได้จัดงานครั้งนี้ได้เรียบร้อยและงดงาม น้ำใจ ไมตรีของประชาชนชาวไทยที่ได้ร่วมกันแสดงออกทั่วประเทศ รวมทั้งที่พร้อมเพรียงกันมาในวันนี้ น่าปลาบปลื้มใจมาก เพราะแต่ละคนได้แสดงออกและตั้งใจมาด้วยความหวังดีจากใจจริง จึงขอ ขอบใจทุกๆ คน จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาดีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกคน ทุกฝ่าย ทำให้ข้าพเจ้าเห็นแล้วมีกำลังใจมากขึ้น นึกถึงคุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคี ที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกันรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกัน ไปได้ตลอดรอดฝั่ง
    ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน
    ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์ กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ
    ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎ กติกา และ ในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน
    ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิด ความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยง ตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุผล หากความคิด จิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดี ที่เจริญนี้ยังมี พร้อมมูลในกาย ในใจของคนไทย ก็มั่นใจได้ว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ตลอดไปได้ จึง ขอให้ท่านทั้งหลายในมหาสมาคมนี้ ทั้งประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้รักษาจิตใจและคุณธรรม นี้ไว้ให้เหนียวแน่น และถ่ายทอดความคิดจิตใจนี้กันต่อไปอย่าให้ขาดสาย เพื่อให้ประเทศชาติของ เราดำรงยืนยงอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขทั้งในปัจจุบันและในภายหน้า...” 
   พระราชดำรัสในตอนท้าย ทรงชี้ให้เห็นความสำคัญของคุณธรรมหมวดนี้และทรงชักชวน ให้ทุกคนนำไปประพฤติปฏิบัติและายทอดสู่อนุชนต่อๆ กันไป อย่าให้ขาดสาย

วิธีแก้ปัญหาความขักแย้งในสังคมไทยด้วยการสมานฉันท์แนวพุทธ
    วิธีระงับความเห็นขัดแย้งในการอธิบายธรรม วิธีกล่าวหาผู้ต้องอาบัติและวิธีระงับความ แตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในกินติสูตร และสามคามสูตร ดังกล่าวโดยย่อข้างต้น นั้น ถือได้ว่า เป็นวิธีการสมานฉันท์แนวพุทธ ถ้าตั้งใจศึกษารายละเอียดในพระสูตรทั้งสอง แล้ว นำวิธีการเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งกันในสังคมไทยปัจจุบันได้อย่างถูก ต้อง เหมาะสมกับสาเหตุของความขัดแย้งแต่ละกรณี เชื่อแน่ว่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้สามารถ แก้ปัญหาความขัดแย้งในกรณีนั้นๆ ได้ การประยุกต์พุทธวิธีสมานฉันท์ดังกล่าว ควรประกอบด้วย หลักการสำคัญ ดังต่อไปนี้
    ๑.  ต้องมีบุคคลหรือคณะบุคคลที่วางตัวเป็นกลาง  ทำหน้าที่สานสัมพันธ์  เพื่อให้เกิด สมานฉันท์ขึ้นในกลุ่มต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน ผู้ทำหน้าที่สานสัมพันธ์เพื่อให้เกิดสมานฉันท์ต้องมีคุณสมบัติ  ดังนี้
     ๑.๑  ต้องมีจิตสาธารณะ  (public mind) คือมีความเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวม หรือประโยชน์ของประเทศชาติอย่างแท้จริง โดยมุ่งหวังความสงบสุขของประชาชนและ ประเทศชาติเป็นสำคัญ ไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตน หรือพวกพ้องของตนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
     ๑.๒  ต้องมีจิตอาสา  (voluntary mind) คือสมัครใจและเต็มใจอาสาเข้ามาช่วย แก้ปัญหาของสังคมประเทศชาติ แม้รู้ตระหนักว่าเป็นเรื่องยากลำบาก เสี่ยงต่อความทุกข์ ความ เสื่อมเสียอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะเกิดขึ้น แต่ยอมทนลำบาก ทนตรากตรำ ทนเจ็บใจ โดยอนุโลม ตามคุณสมบัติ ๔ ประการของภิกษุผู้ทำหน้าที่กล่าวหาผู้ต้องอาบัติดังกล่าวข้างต้น
     ๑.๓  ต้องมีจิตใจใฝ่ธรรมมุ่งดีมุ่งเจริญต่อผู้อื่น (spiritual mind) คือยึดมั่นในหลัก สารณียธรรม (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความรัก) ๖ ประการ หรือ ๔ ประการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงประยุกต์ขึ้นเป็นพระราชดำรัส พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยในงาน ๖๐ ปีแห่งการ ครองราชสมบัติ เมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
     ๑.๔  ต้องมีจิตเป็นนักเหตุผล (rational mind) คือมีสติปัญญา รู้หลักเหตุผลตาม แนวอริยสัจ ๔ เข้าใจเรื่องราวที่เป็นข้อขัดแย้งกันได้ชัด สามารถชี้แจงให้คู่กรณีมองเห็นผลดี ผลร้าย ของการขัดแย้งนั้นๆ ได้อย่างมีเหตุผลเชื่อถือได้
    ถ้าถามว่า บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวมานี้มีหรือไม่ ตอบว่า มี แต่เนื่องจากในปัจจุบัน คนในสังคมไม่ไว้วางใจกัน มองต่างมุมกันทุกเรื่อง  ไม่ยอมรับว่าจะมีผู้ใดเป็นคนดีมีคุณธรรมดัง กล่าวได้จริง คนดีที่ว่ามานี้จึงไม่แสดงตัว เพราะท่านทราบดีว่า การทำความดีก็ต้องทำให้ถูกกาละ และเทศะด้วย จึงจะเกิดผล
    ๒.  หน้าที่ของผู้สานสัมพันธ์เพื่อให้เกิดสมานฉันท์
    ผู้ทำหน้าที่สานสัมพันธ์ควรทำหน้าที่ตามขั้นตอน ดังนี้
     ๒.๑  ศึกษาปัญหาความขัดแย้งให้เข้าใจชัดว่าเป็นเรื่องอะไร มีความเป็นมาอย่างไร มีอะไรเป็นสาเหตุแท้ มีอะไรเป็นสาเหตุเทียม แต่ละฝ่ายเห็นอย่างไร ต่างกันตรงไหน ข้อแตกต่าง กันนั้นเป็นข้อเท็จจริง หรือเป็นเพียงความคิดเห็น แล้วสรุปผลที่ได้จากการศึกษาเก็บไว้เพื่อใช้เป็น ข้อมูลต่อไป
     ๒.๒  ศึกษาบุคคลหรือกลุ่มบุคคลของแต่ละฝ่ายที่พอจะขอพบปะเพื่อเจรจาทำความ เข้าใจกันได้โดยง่าย และพอจะเป็นตัวแทนของกลุ่มหรือฝ่ายได้
     ๒.๓  ขอพบปะเจรจาข้อขัดแย้งกับตัวแทนของแต่ละฝ่าย ต่างกรรมต่างวาระกัน เพื่อ ขอฟังความเห็นที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งแต่ละฝ่ายยึดถือ โดยเสนอฐานความคิดในการเจรจาว่า ไม่ มีฝ่ายใดเห็นผิด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ หรือเห็นถูก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าทั้ง ๒ ฝ่ายสามารถมานั่ง สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นของกันและกันได้ จะทำให้ขจัดความเห็นที่ผิดของแต่ละ ฝ่ายออกไป นำความเห็นที่ถูกต้องของทั้ง ๒ ฝ่ายมารวมกันเพื่อให้ได้ความถูกต้องเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ความขัดแย้งยุติลงและเกิดสมานฉันท์ระหว่างกันได้
     ๒.๔  นำความเห็นของแต่ละฝ่ายมาศึกษาเปรียบเทียบหาแนวทางสู่การสมานฉันท์ แล้วนัดพบตัวแทนแต่ละฝ่ายชี้แจงให้ทราบว่า ข้อขัดแย้งที่แท้จริงอยู่ตรงไหน ถ้าประนีประนอม กันไม่ได้จะเกิดผลร้ายแก่ชาติบ้านเมืองอย่างไร และถ้าตัวแทนแต่ละฝ่ายเห็นด้วยก็ให้นำไปทำความ เข้าใจกับฝ่ายของตน เพื่อสานสัมพันธ์ให้เกิดสมานฉันท์ต่อไป
    อย่างไรก็ดี สมานฉันท์จะเกิดขึ้นเมื่อต่างฝ่ายยอมรับความจริงว่า เป็นความจริง และ ยอมรับความเท็จว่า เป็นความเท็จ ไม่ถือทิฐิมานะ ไม่อ้างเหตุผลเข้าข้างตัวเอง และไม่ถือประโยชน์ ส่วนตนสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม

สรุป
    บทความนี้ เขียนขึ้นด้วยเจตนาเป็นมหากุศล และมีความปรารถนาด้วยความบริสุทธิ์ ใจ ๓ ประการ คือ (๑) อยากเห็นสังคมไทยสงบสุขสมกับเป็นเมืองพุทธ (๒) อยากเห็นคนไทยซึ่ง ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง ได้ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่ปัญหาของประเทศ ชาติอย่างจริงจัง (๓) อยากให้ท่านผู้มีจิตสาธารณะ มีจิตอาสา มีจิตใจใฝ่ธรรมมุ่งดีมุ่งเจริญต่อประเทศ ชาติ  และมีจิตเป็นนักเหตุผล  พิจารณาดูว่าพุทธวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการสมานฉันท์ ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น  มีความเหมาะสมเพียงใด  สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมได้
หรือไม่

ข้อใดเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

กลยุทธการบริหารความขัดแย้ง.
การเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง - เลือกเวลาและสถานที่ ในการพูดคุย.
เข้าใจสภาพแวดล้อมแต่ละฝ่าย - การหาสาเหตุของความขัดแย้งให้ได้ ... .
ระบุปัญหา - สร้างความชัดเจนของปัญหาให้ถูกต้อง ... .
แสวงหาและประเมินทางเลือก - ทั้งสองฝ่ายหาทางเลือกที่หลากหลาย ... .
สรุปแนวทาง และนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้.

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมวิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด

โดยทั่วไปการแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเผชิญหน้า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จากวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด คู่กรณีทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะหันหน้าเข้าหารือกันเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยกันบริหารความขัดแย้ง การร่วมมือกันเป็นการทำความตกลงกันในลักษณะของการบรรลุถึงข้อยุติโดยวิธีการซึ่งคู่กรณีทั้งสอง ...

วิธีการแก้ไขความขัดแย้งที่เกี่ยวกับบุคคล

คำแนะนำที่จะช่วยทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็ว คือ.
อ้าแขนรับปัญหา | เจรจาด้วยเหตุผล ... .
หันหน้าคุยกัน | เลี่ยงคำพูดรุนแรง ... .
ฟังอย่างตั้งใจ | ป้องกันตีความผิด ... .
หาข้อตกลง | ยึดงานเป็นที่ตั้ง ... .
หาคนกลาง | ไกล่เกลี่ยปัญหา ... .
ขอโทษให้เป็น | อภัยให้เร็ว.

สิ่งใดที่จะช่วยลดความขัดแย้งในสังคมได้มากที่สุด

สิ่งใดจะช่วยลดความขัดแย้งกันในสังคมได้มากที่สุด การพูดแต่สิ่งดีไม่ขัดแย้ง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การให้มากกว่าการรับจากผู้อื่น การให้อภัยและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น