ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลวลัยลักษณ์

ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลวลัยลักษณ์

(ผู้เขียนกับผู้เล่า!) ระหว่างรอตรวจสุขภาพประจำปี
คนหลังที่ยืนกอดอกคือพี่เป้าคนเก่งแห่งศูนย์บรรณสาร(ห้องสมุด)ของม.วลัยลักษณ์


เมื่อวาน(12 ก.ย.2556)ผู้เขียนไปตรวจสุขภาพประจำปี ที่โรงพยาบาลนครินทร์
ออกจากบ้านที่วลัยลักาณ์ประมาณ 7 โมงเศษไปถึงยังไม่ทัน 8 โมงครึ่ง
ไม่แน่ใจว่าต้องรอ8โมงครึ่งก่อนหรือเปล่า แต่ไปเช้าไว้ก่อนดีกว่า
ปรากฎว่าเมื่อโผล่หน้าไปที่ห้องเจาะเลือด หรือห้องตรวจสุขภาพกลับไม่มีที่นั่งรอให้ห้องเลย!!!

และพบบุคลากรของม.วลัยลักษณ์เกือบทุกหน่วยงาน หลายท่านเป็นผู้ที่ใกล้ชิดสนิทสนมคุ้นเคย
มองไปทางไหนเหมือนกับอยู่บ้านของตนเองเลยทีเดียว
ความจริงต้องใช้คำว่า คลาคล่ำไปด้วยบุคลากรของวลัยลักษณ์
คงเพราะเป็นวันก่อนวันสุดท้าย(วันสุดท้ายคือ 15 ก.ย.56 ถ้าหลังจากนี้ต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อนแล้วมาเบิกภายหลัง!)...(อิ..อิ..ผู้เขียนเลยมาก่อนเพราะอะไรท่านคงทราบดี)

เป็นปีแห่งการตรวจสุขภาพที่ผู้เขียนได้สาระ ข้อคิด และรับฟังเรื่องราวดีๆจากหลายท่าน ที่โรงพยาบาล
แทบไม่น่าเชื่อว่าเราไม่ค่อยได้พบกันในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย
บางท่านเพิ่งกลับมาจากอังกฤษเพื่อเยี่ยมบ้าน จึงทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรื่องการเรียน การศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
และมีอายุแก่กว่าผู้เขียนทำให้เกิดแรงและกำลังใจในเรื่องนี้!
มีอาจารย์ท่านหนึ่งที่ผู้เขียนเคยพบไม่กี่ครั้งและ "รู้สึก" ไปว่าท่านคงจะดุ!และไม่น่าเชื่อว่าไม่ได้พบกันอีกเป็นเวลาเกือบ 4 ปี!
(อาจจะสอนต่างสำนักวิชา จึงไม่ได้พบท่านเลย)
ปรากฏว่าเมื่อได้สวัสดีทักทายและแลกเปลี่ยนพูดคุยความรู้ในเรื่องต่างๆแล้ว สร้างความสุข ความอิ่มใจให้ผู้เขียนมาก
จะขอแลกเปลี่ยนกับคุณผู้ฟังดังนี้
เรื่องมีอยู่ว่าท่านได้สอบถามถึงครอบครัวของผู้เขียนและเรื่องต่างๆ  ซึ่งเรียนท่านไปว่า
บางครั้งรู้สึกเหน็ดเหนื่อยมาก

ทั้งเรื่องงาน เรื่องครอบครัว จนแม้แต่เวลาจะหายใจเป็นของตนเองแทบจะไม่มี
(อ้าว! แล้วไหงมาเจรจาอยู่ในgotoknow ได้ไงเนี่ย!...)
บางครั้งแทบอยากจะหายตัวแว้บ!ไปจากสถานการณ์ที่วุ่นวายมากๆ
หรือแม้แต่Backpack ไปตามทางของตนเอง
ไปไหนๆที่อยากจะไป!
ฟังแล้วท่านได้กรุณาเล่าประสบการณ์ของท่านให้ผู้เขียนฟังและให้แง่คิดอันมีคุณค่ามาก
ท่านว่าเรามีเวลาอยู่กับลูกช่วงเดียว ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวัยรุ่นเป็นช่วงสำคัญ
ตอนนี้เขายังเล็กต้องพึ่งเรา สักพักนึงเขาจะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ไปมีชีวิตของเขาเอง
ไม่เหมือนเราที่ต่อไปต้องดูพ่อแม่ซึ่งนับวันเราต้องดูท่านมากขึ้นเรื่อยๆ!ไปตามช่วงอายุ
การให้ลูกทุกอย่างไมีมีอะไรมีค่ามากกว่าให้การศึกษาลูก
และให้ผู้เขียนประหยัดเพราะช่วงมัธยมปลายต้องจ่ายเงินเพื่อเรียนพิเศษของลูกเยอะขึ้น

ท่านเล่าถึงตัวท่านเองว่าลูกชายคนโตเพิ่งเรียนจบแพทยศาสตร์จากม.ธรรมศาสตร์
และเอารูปในโทรศัพท์ให้ผู้เขียนดู
เป็นคุณหมอที่มีบุคลิกภาพหน้าตาหล่อเหลามาก สูงใหญ่
ส่วนลูกชายคนเล็กของท่านกำลังเรียนอยู่ม.6 ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช
นอกจากนี้ท่านดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี ดูแข็งแรงกว่าอายุจริงมาก
ยังเล่าให้ผู้เขียนฟังด้วยว่าท่านมีโอกาสมาเป็นกรรมการทำแผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ได้อ่านรายงานของสำนักสถิติและพบข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่างเช่น
ผลการสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้นม.3 ค่าเฉลี่ยของนครศรีธรรมราชต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ!
(พอดีลูกสาวผู้เขียนคนโตเรียนอยู่ม.3)
สถิติรายได้ประชากรสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
แต่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย!!
พอดีบทสนทนาต้องสะดุดลงเพราะผู้เขียนถูกเรียกตัวไปอัลตราซาวน์เต้านม
ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวและแบ่งปันประสบการณ์ดีๆทั้งเรื่องการใช้ชีวิต
เรื่องงานที่ท่านทำและให้แง่คิดผู้เขียนในเรื่องครอบครัว
ท่านคือ รศ.ดร.วรรณา  ชูฤทธิ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
เป็นวันที่มีความสุขจริงๆค่ะอาจารย์

(ลืมบอกไปว่าทุกอย่างปกติสำหรับผู้หญิง40เศษ ยกเว้นความเข้มข้นของโลหิตที่จางเล็กน้อย
คงเป็นเพราะน่าจะบริจาคเลือดทุก 3 เดือนและไม่ค่อยรับประทานธาตุเหล็กที่คุณหมอให้)
ยังสงสัยว่าไขมันตัวร้ายที่เคยสูงมันหลบลี้หนีหน้าหายไปไหน??
แต่ดีแล้วอย่ามาเลย!!



กับน้องสาว(ซ้ายสุด)จนท.ของศูนย์คอมพิวเตอร์
และพี่ปี๊ด(กลาง)จนท.ส่วนประชาสัมพันธ์

กับพี่เล็กที่น่ารัก  ศูนย์บรรณสาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Walailak University Hospital
ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลวลัยลักษณ์
ประเภทโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง222 หมู่ที่ 10 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80161
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
สังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้อำนวยการผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว
จำนวนเตียง30 เตียง [1]
เว็บไซต์https://hospital.wu.ac.th

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (อังกฤษ: Walailak University Hospital) เป็นโรงพยาบาลในสังกัด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของภาคใต้

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดตั้งเพื่อให้บริการและเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของภาคใต้ตอนบน บนพื้นที่ 405 ไร่

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ระยะนำร่อง) ณ อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งสนับสนุนด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย และด้านบริการวิชาการ สำหรับสำนักวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[2]

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ระยะแรก) เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปอย่างเป็นทางการ โดยได้เริ่มเปิดให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) และแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)[3]

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มเปิดให้บริการแผนกผู้ป่วยใน (IPD) จำนวน 16 เตียง แบ่งเป็นผู้ป่วยชาย จำนวน 8 เตียง และผู้ป่วยหญิง จำนวน 8 เตียง[4]

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ย้ายการบริการมายังอาคารสำนักงานใหญ่ โดยเปิดให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) และแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER)[5]

เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยได้มีการขยายการให้บริการในแผนกผู้ป่วยใน (IPD) พิเศษ จำนวน 24 เตียง แผนกผู้ป่วยใน (IPD) สามัญ จำนวน 61 เตียง แผนกผู้ป่วยวิกฤต (ICU) จำนวน 12 เตียง และแผนกทารกแรกคลอด (Nursery) จำนวน 10 เตียง

ผู้อำนวยการ[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นพ.จรัส จันทร์ตระกูล 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (รักษาการ)
2. นพ.ธีระพันธ์ สงนุ้ย 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ)
3. รศ.ดร.จรัญ บุญกาญจน์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการ)
4. นพ.ลิขิต มาตระกูล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 (รักษาการ)
5. ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565 (รักษาการ)
6. รศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน (รักษาการ)

อาคาร[แก้]

  • กลุ่มอาคารโรงพยาบาล
    • อาคาร A อาคารอำนวยการ ความสูง 3 ชั้น
    • อาคาร B, C อาคารโรงพยาบาล ความสูง 7 ชั้น
    • อาคาร D ศูนย์บริการทางการแพทย์ ความสูง 7 ชั้น
    • อาคาร E งานตอกเสาเข็ม (พื้นที่ส่วนขยายในอนาคต)
    • อาคาร F อาคารพลังงาน
  • กลุ่มอาคารบ้านพักบุคลากร
    • อาคารชุดโสด 4 ชั้น (แบบ R1) จำนวน 1 หลัง
    • อาคารชุดโสด 3 ชั้น (แบบ R2) จำนวน 1 หลัง
    • อาคารครอบครัว 3 ชั้น (แบบ R3) จำนวน 3 หลัง
    • บ้านพักบุคคลากร 2 ชั้น (แบบ R4) จำนวน 25 หลัง

ผู้ป่วยนอก[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบริการผู้ป่วยนอกจำนวน 13 คลินิก ดังนี้

  • คลินิกทั่วไป
    • คลินิกโรคทั่วไป
    • คลินิกตรวจสุขภาพ
  • คลินิกเฉพาะโรค
    • คลินิกโรคหอบหืดและภูมิแพ้
  • คลินิกเฉพาะทาง
    • คลินิกอายุรกรรม
    • คลินิกเด็ก
    • คลินิกศัลยกรรม
    • คลินิกตา
    • คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว
    • คลินิกกระดูกและข้อ
    • คลินิกรักษ์ใจ (จิตเวช)
    • คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
    • คลินิกสูตินรีเวช
  • คลินิกพิเศษ
    • คลินิกสูตินรีเวช
    • คลินิกตา
    • คลินิกโรคผิวหนัง เลเซอร์ผิวพรรณ และความงาม
    • คลินิกอายุรกรรม

ผู้ป่วยใน[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบริการผู้ป่วยใน ดังนี้

  • วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 เปิดให้บริการ จำนวน 16 เตียง
  • วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 เปิดให้บริการ จำนวน 123 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2565 เปิดบริการ 419 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2567 เปิดบริการ 550 เตียง
  • ปี พ.ศ. 2572 เปิดบริการ 750 เตียง

กองทุนพัฒนา[แก้]

กองทุนพัฒนาศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการสร้างเสริม สนับสนุน อีกทั้งเป็นช่องทางในการระดมสมทบทุน เพื่อใช้ในกิจการของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างกว้างขวาง

โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท[แก้]

  • สถาบันร่วมผลิตแพทย์ (โรงพยาบาลหลัก)
    • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
    • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรัง
  • สถาบันร่วมผลิตแพทย์ (โรงพยาบาลสมทบ)
    • โรงพยาบาลทุ่งสง
    • โรงพยาบาลท่าศาลา
    • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
    • สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อ้างอิง[แก้]

  1. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/info.php?maincode=40970
  2. "ความเป็นมา". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2018-02-22.
  3. "เปิดให้บริการแล้ว!! รพ.ศูนย์การแพทย์ มวล". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2018-02-22.
  4. "รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ระยะแรก เปิดให้บริการผู้ป่วยในขนาด 16 เตียง". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2019-04-01.
  5. "พิธีเปิดสำนักงานใหญ่ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์". มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2021-11-16.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์