ส่วนราชการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%


ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป


สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ทำไมเราจะต้องถูกหัก และทำไมในแต่ละครั้งถึงถูกหักไม่เท่ากัน โดยจะขอเล่าคร่าวๆ ว่า


  • ให้เราอ่านให้ฟัง
  • ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร
  • ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง
    • หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง
    • หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา
    • หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ
    • หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
    • ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท

ให้เราอ่านให้ฟัง


ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย หรือ หัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วนำส่งเป็นภาษีให้กรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

ในการทำหัก ณ ที่จ่ายจะต้องรู้ 2 เรื่องคือ


  1. คนรับเงินคือใคร (กระทบต่อแบบที่ยื่น)
  2. จ่ายค่าอะไร (กระทบอัตราภาษีที่หัก)

ทุกครั้งที่ทำการหักไว้ คนที่หักต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่ จ่าย ให้กับคู่ค้าของเราไว้ด้วยทุกครั้ง โดยออกอย่างน้อย 4 ฉบับ คือ ต้นฉบับและสำเนา 2 ฉบับแรกออกให้คู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าเก็บไว้ใช้ขอคืนภาษีฉบับหนึ่ง และเก็บไว้เป็นหลักฐานฉบับหนึ่ง ส่วนฉบับที่ 3 และ 4 เราเก็บไว้เอง โดยฉบับที่ 3 เอาไว้สำหรับส่งภาษี (โดยปกติก็จะส่งฉบับนี้ให้กับสำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำให้) และฉบับที่ 4 เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย พร้อมยื่นต่อกรมสรรพากร ผ่านโปรแกรม FlowAccount

ผู้ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายสามารถใช้โปรแกรมบัญชีช่วยในการออกเอกสารได้อย่างง่ายๆ แล้ว ลองใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธุรกิจ  FlowAccount ซึ่งสามารถออกหนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่ายนี้ได้ทั้งทางเว็บไซต์และแอปมือถือ    


ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง

แต่ละประเภทค่าใช้จ่ายนั้นจะถูกหัก ณ ที่จ่ายในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง

ทุกๆ ครั้งที่มีการขายของและขนส่ง โดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้อง หัก ณ ที่จ่าย 1% แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ยังไม่ต้องหัก

แต่! ถ้าเป็นไปรษณีย์ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เพราะเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้น

หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา

การโฆษณาสินค้าตามสื่อโฆษณาต่างๆ ผ่านเอเจนซี บริษัทรับโฆษณา เพื่อช่วย “ประกาศ” ให้แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จักผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram ที่ไม่ใช่บริการด้านการตลาด ทำหัก ณ ที่จ่าย 2%

ส่วนบริการด้านการตลาดคือ การจ้างบล็อกเกอร์รีวิวโฆษณาสินค้า จ้างมาร์เก็ตติ้ง Consult ด้านการตลาดให้ หรือบริการทำ roll-up ป้ายออกบูท (อันนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ) จะต้องหัก 3%

หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ

ค่าบริการที่เกิดขึ้นในกิจการทุกอย่างจะต้องมีการ หัก ณ ที่จ่าย 3% เช่น บริการรับจ้างทำของ จ้างทำนามบัตร จ้างทำกราฟิก จ้างช่างภาพมาถ่ายรูป จ้างบล็อกเกอร์รีวิวสินค้า จ้างตกแต่งภายใน บริการสถานที่ ซอฟต์แวร์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็นการให้บริการ

หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์

คนที่ไม่มีสถานที่เป็นของตนเอง หากจะดูว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าบริการให้ดูจากสิทธิในการถือกุญแจ ถ้าเช่าสถานที่เพื่อจัดสัมมนา หรือจัดอีเวนต์ชั่วคราวถือเป็นค่าบริการ ทำหัก ณ ที่จ่าย 3% แต่ถ้าเราถือกุญแจจะถือเป็นค่าเช่าสถานที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากเจ้าของที่ดิน 5%

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกที่ต้องหัก 5% เช่น เช่ารถยนต์ ค่าจ้างนักแสดง ดารา นักร้อง อาชีพเพื่อการบันเทิง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ ด้วย

แต่! ถ้าเช่ารถยนต์พร้อมคนขับด้วย เราถือกุญแจรถก็จริง แต่จะถือว่าเป็นการบริการ เพราะมีคนขับรถให้ต้องทำหัก ณ ที่จ่าย 3%

ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท

สำหรับยอดเล็กๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาท เช่น จ้างทำรูป หรือนามบัตรเพียงครั้งเดียว ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย

แต่! ยอดที่มีมูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ที่มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพราะยอดทั้งปีเกิน 1,000 บาท

ซึ่งในการเปิดบิลผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี FlowAccount เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่ามูลค่ารวมนั้นจะรวมการเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย หรือไม่ และเสียเท่าไหร่ จากนั้นจะคำนวณยอดชำระให้โดยอัตโนมัติ

Credits
Voice Artist พิมวิภา ป๊อกยะดา
Scriptwriter สราญรัตน์ ไว้เกียรติ
Sound Designer & Engineer อลงกรณ์ สุขวิพัฒน์

ลองใช้งานFlowAccount ฟรี 30 วันได้ง่ายๆ วันนี้

ลองใช้งานฟรีได้ง่ายๆ วันนี้

สมัครเลย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1 มีอะไรบ้าง

หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง ทุกๆ ครั้งที่มีการขายของและขนส่ง โดยที่บริษัทหรือนิติบุคคลที่ให้บริการจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง เช่น บริการขนส่งสินค้าจากบริษัท โลจิสติกส์ เป็นต้น จะต้อง หัก ณ ที่จ่าย 1% แต่ถ้าคุณยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ยังไม่ต้องหัก

หักภาษี ณ ที่จ่าย ข้าราชการ กี่เปอร์เซ็นต์

การจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%

ค่าธรรมเนียมหักภาษี ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์

คำนวณเพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วย และสำหรับการจ่ายค่าธรรมเนียมในครั้งต่อๆ ไป แม้การจ่ายใน แต่ละครั้งจะมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้ใช้บริการมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าธรรมเนียมที่จ่ายในแต่ละครั้ง

การ หัก ภาษี ณ ที่ จ่าย บุคคลธรรมดา กี่ เปอร์เซ็นต์

ค่าใช้จ่าย ปกติบุคคลธรรมดาถ้ามีรายได้เป็นเงินเดือน สรรพากรกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 50% ของรายได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับค่าลดหย่อน ปกติแล้วถ้าไม่ได้มีการหักลดหย่อนเพิ่มเติมด้านสุขภาพ ครอบครัว ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ ตามนโยบายของรัฐบาล คนทั่วไปจะมีลดหย่อนอยู่ 2 รายการ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน