ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ข้อเสีย

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คืออะไร?

by Kris Piroj มีนาคม 14, 2018

เขียนโดย Kris Piroj มีนาคม 14, 2018

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ “คงที่” จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดตายตัวโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Demand และ Supply ของเงิน

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าประเทศไทยกำหนดไว้ว่า 25 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ 25 บาทก็จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐไปจนกว่าธนาคารกลางจะประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้น ในสกุลเงินของประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate จะไม่มีการแข็งค่า (Appreciation) หรืออ่อนค่า (Depreciation) เหมือนกับประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ข้อดีของ Fixed Exchange Rate หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ คือ การที่ไม่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน หนึ่งในผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือผู้ส่งออกที่ไม่ต้องเสี่ยงกับค่าเงินที่อาจทำให้ขาดทุนหรือทำให้สินค้าขายได้ยาก

ในทางกลับกันข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) คือ การที่ในระยะยาวมูลค่าของเงินจะวิ่งหามูลค่าที่มันควรจะเป็น ในที่นี้คือสภาพของประเทศที่เป็นสิ่งค้ำประกันมูลค่าเงินในแต่ละสกุล

เมื่อไหร่ก็ตามที่ต่างชาติมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดเอาไว้ในอัตราที่ไม่สมเหตุสมผล เงินสกุลที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป และเกิดการเทขายเงินสกุลดังกล่าวในที่สุด

และเมื่อเกิดการเทขายอย่างหนักจนถึงระดับที่ธนาคารกลางของประเทศนั้นควบคุมไม่ได้ก็จะทำให้ค่าเงินหลุดจากราคาที่ตรึงเอาไว้และอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในที่สุดในลักษณะเดียวกับวิกฤตค่าเงินของหลาย ๆ ประเทศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

จากข้อดีที่ไม่มีความผันผวนของค่าเงิน ทำให้ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ต้องรับภาระในการดูแลค่าเงินด้วยการตรึงค่าเงินให้อยู่ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการ เมื่อไหร่ก็ตามที่ธนาคารกลางไม่สามารถตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ได้จุดจบก็จะไม่ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งของประเทศไทยเมื่อปี 2540

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการควบคุมแทน

ประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ประเทศไทยในอดีต เคยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

ประเทศจีนในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ โดยประเทศจีนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินหยวนแบบคงที่ และกำหนด (เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับสกุลอื่น) โดยธนาคารกลางของจีน

CurrencyFixed RateFloat Rateระบบอัตราแลกเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อัตราแลกเปลี่ยนเงิน

แชร์บทความนี้ FacebookTwitterEmail

Kris Piroj

บรรณาธิการ GreedisGoods | อดีตที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการเงิน | นักลงทุนที่สนใจในเศรษฐศาสตร์มหภาคและอนุพันธ์เป็นพิเศษ | หากบทความเป็นประโยชน์สามารถติดตามเราได้บน Facebook และ Twitter

อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว หรือ Floating Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่จะปล่อยให้มูลค่าของอัตราแลกเปลี่ยน “เปลี่ยน” ไปตาม Demand และ Supply ของเงินสกุลนั้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวหรือ Floating Exchange Rate เป็นหนึ่งใน 2 รูปแบบกว้าง ๆ ของอัตราแลกเปลี่ยน

  1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate)
  2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) ที่กำลังพูดถึงในบทความนี้

สมมติว่าเมื่อวาน เงินไทย 32 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ กลไกที่เกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) อาจเปลี่ยนไปในลักษณะดังนี้

เมื่อเงินบาทมีความต้องการซื้อ (Demand) มากกว่า ความต้องการขาย (Supply) หรืออธิบายง่าย ๆ คือ คนต้องการแลกเงินสกุลอะไรก็ตามเป็นเงินบาท มากกว่าความต้องการแลกเงินบาทไปเป็นเงินสกุลอื่น ก็จะทำให้มูลค่าของเงินบาทสูงขึ้น หรือก็คือ เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น

ทำให้ในวันนี้อาจจะใช้เงินบาทแค่ 31.50 บาท ก็สามารถแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ในทางตรงกันข้าม เมื่อเงินบาทมีความต้องการขาย (Supply) มากกว่า ความต้องการซื้อ (Demand) หรือ คนต้องการแลกเงินบาทไปเป็นเงินสกุลอื่น มากกว่าความต้องการแลกเงินสกุลอื่นมาเป็นเงินบาท ก็จะทำให้มูลค่าของเงินบาทลดลง หรือ เงินบาทจะอ่อนค่าลง

ทำให้วันนี้อาจจะต้องใช้เงินบาท 33 บาท เพื่อที่จะแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ

จะเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) ก็คืออัตราแลกเปลี่ยนในรูปแบบที่ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า เงินอ่อนค่า (Currency Depreciation) และเงินแข็งค่า (Currency Appreciation)

ข้อดีของอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว

มูลค่าเงินเป็นไปตามที่ควรจะเป็น ไม่สามารถแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน (อาจทำได้ยาก หรือทำได้ไม่นาน)

ธนาคารกลางของประเทศนั้น มีภาระในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน้อยกว่ากรณีอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

มูลค่าของเงินสกุลจะสะท้อนสภาพเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวออกมา

ข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว

อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน ไม่ได้นิ่งเหมือนอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ทำให้เกิดความเสี่ยงกับผู้ที่ต้องจ่ายหรือรับชำระเงินระหว่างประเทศ เช่น ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ฯลฯ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน