จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผลงาน

ชื่อของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2451-2506) ในปัจจุบันมักจะออกไปในด้านลบเป็นส่วนใหญ่ ส่วนจะเป็นเรื่องใดบ้างนั้น คงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะเป็นเรื่องที่แพร่หลายและสามารถหาอ่านกันได้โดยทั่วไป แต่ชีวิตของหลายคนก็เหมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่มีทั้งด้านบวก-ลบ จอมพลสฤษดิ์ก็เช่นกัน

Advertisment

นิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2564 จึงนำเสนอบทความเรื่อง “ประติมากรรมน้ำแข็ง : จาก ‘ขวัญใจ’ สู่ ‘ตัวร้าย’ ภาพลักษณ์ทางการเมืองของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อนการปฏิวัติ 20 ตุลาฯ” ที่ อิทธิเดช พระเพ็ชร เป็นผู้ค้นคว้าและเรียบเรียง ให้เห็นภาพลักษณ์ของ จอมพลสฤษดิ์ ที่เกิดขึ้นนั้นสัมพันธ์จากการทำรัฐประหาร 2 ครั้ง (กันยายน 2500 และตุลาคม 2501) ของเขา

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผลงาน
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน 2451-8 ธันวาคม 2506) [ภาพจาก อสท., ปีที่ 4 ฉบับที่ 5 (ธันวาคม 2506)]การรัฐประหารครั้งแรก วันที่ 16 กันยายน 2500 มิได้เป็นการรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนระบบการเมือง หรือเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ หากเป็นการเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหา “ความชอบธรรม” ในรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยให้มีการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

Advertisement

หนังสือพิมพ์ในขณะนั้นรายงานข่าวว่า จอมพลสฤษดิ์ ในฐานะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร จะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งคณะทหารเองได้ออกมาประกาศแก่หนังสือพิมพ์ว่า จอมพลสฤษดิ์ และ จอมพลถนอม จะไม่ยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยจะพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่ประชาชนเลื่อมใสและไม่เป็นคณะทหารเด็ดขาด

จอมพลสฤษดิ์ยังให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์หลังการรัฐประหาร ว่าไม่รู้สึกยินดีเลยต่อการรัฐประหารที่ตนกระทำ แต่เพราะสถานการณ์และความต้องการของประชาชนบังคับให้ต้องทำ ทั้งยังกล่าวปฏิเสธตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า “คิดว่าไม่รับ เพราะเป็นนักการเมืองที่เลว”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผลงาน
ภาพการ์ตูน จอมพล สฤษดิ์ในชุดทหารบกกำลังอุ้มช่วยเหลือ “เด็ก” ซึ่งถูกนำเสนอให้เป็นภาพตัวแทนของ “ประชาชน” (ข้อความจากบนเสื้อเด็ก) จากการตกน้ำคืนสู่อ้อมอกของแม่ อันแสดงให้เห็นถึงการสร้างภาพลักษณ์ จอมพล สฤษดิ์ในฐานะวีรบุรุษหรือ “ขวัญใจประชาชน” จากเหตุการณ์รัฐประหารวันที่ 16 กันยายน 2500 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สบ. 9.2. 3/10 เอกสารส่วนบุคคล เอก วีสกุล)

ทำให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ “ขวัญใจประชาชน” คนใหม่ ที่หลายคนหวังว่า จอมพลสฤษดิ์จะเป็น “ผู้นำประชาธิปไตย” มาสู่สังคมการเมืองไทย

Advertisement

ยิ่งเมื่ออ่านบทความของนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ในขณะกล่าวถึง จอมพลสฤษดิ์ ท่านผู้อ่านอาจแปลกใจว่าใช่ จอมพลสฤษดิ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้นำเผด็จการ” หรือไม่? ซึ่งผู้เขียน (อิทธิเดช พระเพ็ชร) ได้รวบรวมจากสื่อต่างๆ ขอยกบางส่วนมานำเสนอดังนี้

สารคดีการเมืองเรื่อง “วอเตอร์ลูของจอมพลแปลก” ของไทยน้อย และ กมล จันทรสร กล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มิได้มีความทะเยอทะยานในการทำรัฐประหาร “หากแต่มติมหาชนบังคับให้ทำ หากท่านได้รักษาสัจจะวาจานี้เป็นเที่ยงแท้ไว้แล้ว อย่างน้อยที่สุดก็พอจะทำให้เรามีหวังได้เข้าถึงประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ได้ในไม่ช้านี้”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผลงาน
พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์อิสสระ ฉบับปฐมฤกษ์ แสดงให้เห็นว่า จอมพล สฤษดิ์ต้องคอยเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ แม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการนอนพักรักษาตัวจากอาการป่วย เพื่อเข้าแก้ไขปัญหาของ
รัฐบาล พลเอก ถนอม กิตติขจร และการปรากฏข่าวลือทางการเมืองว่าจะมีการจับกุมพวกนักหนังสือพิมพ์ครั้งใหญ่ ซึ่งต่อมาปรากฏขึ้นจริงในการ “ปฏิวัติ” วันที่ 20 ตุลาคม 2501 (ภาพจากอิสสระ 23 มีนาคม 2501 ใน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สบ. 9.2.1 เอกสารส่วนบุคคล เอก วีสกุล)

หนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นว่า “การกระทำของคณะทหารครั้งนี้ทำให้คนนับถือตนเอง มีสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Self-respect ขึ้นใหม่ ผมเห็นจะไม่ลืมบุญคุณนี้ง่ายๆ”

หลักฐานร่วมสมัยอีกประเภทคือ “ภาพการ์ตูนการเมือง” ที่แสดงถึงภาพ จอมพลสฤษดิ์ในชุดทหาร ที่กำลังโอบอุ้มช่วยเหลือ “เด็ก” ที่ถูกนำเสนอให้เป็นภาพตัวแทน (representation) ของ “ประชาชน” จากการจมน้ำ คืนสู่อ้อมอกของแม่ แสดงให้เห็นว่าภาพลักษณ์ของ จอมพลสฤษดิ์ ขณะนั้นคือ “ฮีโร่” ในใจประชาชน

สุดท้ายก็เป็นไปดังที่ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยืนยันไว้แต่แรก ว่าจะไม่รับดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยประกาศต่อสาธารณะว่าได้เลือก นายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลที่ว่า “เป็นบุคคลที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง คือเป็นคนดีเข้ากับพวกเรา เข้ากับประชาชน…เป็นที่พอใจของต่างประเทศ และไม่สังกัดพรรคการเมือง”

นั่นคือ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในบทบาทของ “ขวัญใจมหาชน”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผลงาน
ภาพ จอมพล สฤษดิ์ กำลังชูหนังสือพิมพ์อิสสระ ต่อหน้าผู้สื่อข่าวและนักหนังสือพิมพ์ โดยกล่าวว่า“มันด่าแบบนี้ผมทนไม่ไหวจริงๆ” (ภาพจาก http://www.thaitribune.org/contents/detail/316?content_id=22208&rand=1473349281)

อิทธิเดช พระเพ็ชร วิเคราะห์เหตุที่ จอมพลสฤษดิ์ไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่าเป็นเพราะ 1.เวลานั้นจอมพลสฤษดิ์มีภาพลักษณ์ทางการเมืองแบบวีรบุรุษผู้ขับไล่รัฐบาลเผด็จการ มิใช่ในบทบาทของนักการเมืองหรือผู้บริหารทางการเมืองที่โดดเด่น การเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสียเอง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจได้ว่าการรัฐประหารเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและจะสืบทอดอำนาจตัวเอง

2.เพื่อให้ต่างประเทศรับรองรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร จำเป็นต้องเลือกพลเรือนที่ต่างประเทศยอมรับเข้าดำรงตำแหน่งเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของการรัฐประหารว่าทำไปเพื่อความเป็นประชาธิปไตย

ทว่า หากพิจารณาในรายละเอียด แม้หัวหน้าคณะรัฐบาลจะเป็นพลเรือน (นายพจน์ สารสิน) แต่คณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่กลับเป็นนายทหาร

ภารกิจสำคัญของรัฐบาล นายพจน์ สารสิน คือ จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 1 อย่างยุติธรรมเพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือในการรัฐประหารของคณะทหาร ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้นก็เป็นไปตามที่คาดหวังของจอมพลสฤษดิ์ ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าทหารมิได้อยู่เหนือกฎหมาย และการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีใหม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาทั้งสิ้น

ขณะเดียวกันก็เกิดสิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เมื่อพรรคสหภูมิซึ่งมีนโยบายสนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ ที่แม้จะมีสมาชิกได้รับเลือกมากกว่าพรรคอื่น หากก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เป็นพรรคเสียงข้างมากพรรคเดียวในสภาอย่างเด็ดขาด

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผลงาน
ภาพการ์ตูนล้อเลียน จอมพล สฤษดิ์ [ที่เกิดปีลิง] โดยวาดเป็นรูปลิงและโจมตี จอมพล สฤษดิ์ว่า “อ้ายหน้าลิงฆ่าประชาธิปไตย” ด้วยการเอาหางรัดและถอนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยอีกด้านหนึ่งมีกลุ่มประชาชนกำลังดันค้ำต่อสู้อยู่ ขณะที่ด้านขวาสุดเป็นรูปตัวการ์ตูน นายควง อภัยวงศ์ กำลังนั่งกอดเข่าอยู่เฉยๆ ขณะที่ด้านซ้ายเป็นรูปการ์ตูน นายพล ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ที่ขณะนั้นกำลังเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาการเมืองในประเทศฝรั่งเศสด้วยอำนาจอันเด็ดขาด อันเป็นเหตุการณ์ที่หนังสือพิมพ์ไทยมักนำมาเปรียบเทียบกับสภาพการเมืองไทย (ภาพจากประชาชน ฉบับปฐมฤกษ์ กรกฎาคม 2501๒๕๐๑ใน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สบ. 9.2.1 เอกสารส่วนบุคคล เอก วีสกุล)จอมพลสฤษดิ์จึงวางตำแหน่ง “ขวัญใจมหาชน” ลง เพื่อรับบทบาทอื่นแทน

หลังการเลือกตั้งเพียง 6 วัน จอมพลสฤษดิ์จัดตั้งพรรคการเมืองของตนขึ้นในนาม “พรรคชาติสังคม” เพื่อรักษาอำนาจและเสถียรภาพทางการเมืองของตน

พรรคชาติสังคมมีจอมพลสฤษดิ์เป็นหัวหน้าพรรค, พลโท ถนอม กิตติขจร และนายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรองหัวหน้าพรรค, พลโท ประภาส จารุเสถียร เป็นเลขาธิการพรรค ส่วนสมาชิกพรรค รวบรวมจากสมาชิกพรรคสหภูมิ, อดีตสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาที่ได้การรับเลือกเป็นผู้แทนฯ และผู้แทนฯที่ยังไม่สังกัดพรรคใด รวมเข้ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 (ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะทหาร) จนทำให้พรรคชาติสังคมเป็นพรรคเสียงข้างมากที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างมีเสถียรภาพ

การตั้งพรรคชาติสังคมกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อต่างๆ

“ปลาทอง” (ประจวบ ทองอุไร) คอลัมน์นิสต์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ วิจารณ์การจัดตั้งพรรค, จอมพลสฤษดิ์ (ผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ควบคุมทั้ง 3 กองทัพ) และการเข้ามาเล่นการเมืองของทหารว่า

“ถ้าหากเล่นการเมืองอย่างเปิดเผย ก็ควรออกมาเสียจากทหาร”

“การปกครองที่ท่านจอมพลสฤษดิ์เรียกว่าประชาธิปไตย ก็กลายเป็นเรื่องของคนที่มีอำนาจในบ้านเมืองเพียงไม่กี่คน”

“วิธีการตั้งพรรคแบบนี้เป็นวิธีเผด็จการโดยอาศัยพรรคการเมืองเท่านั้น”

ขณะที่ในสภา พรรคชาติสังคมมีมติเสนอให้ นายพจน์ สารสิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

แต่นายพจน์ได้ปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่าตนเองมิได้สมัครเข้ารับเลือกตั้งหรือได้รับการสนับสนุนจากประชาชนตามวิถีประชาธิปไตย ที่ประชุมพรรคชาติสังคมจึงเสนอชื่อ พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพราะขณะนั้น จอมพลสฤษดิ์ยังคงป่วยและนอนพักรักษาตัวอยู่ ตลอดระยะเวลาของรัฐบาล พลเอก ถนอม [ได้ยศพลเอกเมื่อเป็นนายกฯ] จึงเกิดความยุ่งยากและวุ่นวาย ซึ่งก็ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของจอมพลสฤษดิ์เองด้วย และนำไปสู่การทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผลงาน
หนังสือ “จอมพลของคุณหนูๆ” จัดทำโดย โดม แดนไทย ไพโรจน์ รัตตกุล ประเดิม เขมะศรีสุวรรณ และสมศักดิ์ กูรมะโรหิต แห่งกองบรรณาธิการ “เกียรติศักดิ์” จัดพิมพ์ในปี 2507 ขณะที่เกิดคดีมรดก เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวของ “แม่บ้าน” และ “หนูๆ” อีก 80 กว่าคนไว้อย่างละเอียด

นักหนังสือพิมพ์ต่างวิพากษ์วิจารณ์ด้วยการ “ขุด” พฤติกรรมทางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ เช่น การโอนเงินอย่างลับๆ เข้าบัญชีของผู้มีอำนาจในคณะปฏิวัติ (ที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์) หลายร้อยล้านบาท, จอมพลสฤษดิ์มีส่วนรู้เห็นและเข้าร่วมประชุมลับในการวางแผนสร้างสถานการณ์ทางการเมืองขึ้นเองเพื่อทำรัฐประหารรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม, การเล่นการเมืองแบบ “สองหน้า” กล่าวคือ ในทางลับกับสหรัฐอเมริกาได้แสดงท่าทีสนับสนุนสหรัฐอเมริกาและต่อต้านคอมมิวนิสต์

เมื่อถูกหนังสือพิมพ์โจมตีมาก จอมพลสฤษดิ์ก็สั่งจัดการและจับกุมนักหนังสือพิมพ์จำนวนมาก

จอมพลสฤษดิ์ เจ้าของประโยคทองที่ว่า “แล้วพบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” นายทหารผู้เคยได้ใจประชาชน เปลี่ยนเป็น ผู้นำเผด็จการ ท้ายที่สุด จอมพลสฤษดิ์ก็ตัดสินใจแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ด้วยการยึดอำนาจ “ปฏิวัติ 20 ตุลาฯ” และภาพลักษณ์ใหม่ก็เริ่มพัฒนาไป

ที่กล่าวมานี้ก็แค่สรุปเนื้อหาย่อๆ บางเรื่อง ส่วนข้อมูลและรายละเอียดที่เหลือโปรดติดตามอ่านจาก “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำอะไร

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบก และอธิบดีกรมตำรวจ จอมพล

ใครเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

2506 พล.อ. ถนอม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สืบต่อจาก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ถึงแก่อสัญกรรม ต่อมาในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2507 พล.อ.