แบบฝึกหัด กฎและมาตรฐานทางไฟฟ้า

                    ศึกษาเกี่ยวกับกฎและมาตรฐานที่ใช้ในงานทางไฟฟ้า ตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และมาตรฐานสากล ที่ใช้งานในระบบติดตั้งไฟฟ้า ระบบป้องกัน ระบบการต่อลงดิน ระบบการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยและเพลิงไหม้ การติดตั้งไฟฟ้าในพื้นที่อันตรายและระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2 1.1 ความหมายของกฎและมาตรฐานทางไฟฟา้ 1.2 มาตรฐานสากลและมาตรฐานประจําชาติท่ีเก่ยี วข้องกับไฟฟา้ 1.3 มาตรฐานการตดิ ตง้ั ทางไฟฟ้าสําหรับประเทศไทย 1.4 นยิ ามและขอ้ กําหนดทัว่ ไปทางไฟฟ้า 1.5 สญั ลักษณ์ทางไฟฟา้ 1.6 ตาํ แหน่งของบริภณั ฑ์ไฟฟ้าตามที่กาํ หนดในนิยาม 1.7 สรปุ สาระสําคญั มาตรฐานทางไฟฟ้าท่ีเกี่ยวข้องกับการติดตั้งทางไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานวัสดุ อุปกรณ์ไฟฟ้า (Product Standard) เป็นมาตรฐานท่ีใช้สําหรับทดสอบวัสดุอุปกรณ์ในงานไฟฟ้า หน่วยงาน ทดสอบในประเทศไทย คือ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า (Installation Standard) สําหรับประเทศไทยมีมาตรฐานท่ีสําคัญคือ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สําหรับ ประเทศไทย” แสดงความรู้เบ้อื งต้นเกยี่ วกับกฎและมาตรฐานทางไฟฟ้า 1. บอกมาตรฐานทางไฟฟา้ ทเ่ี กีย่ วข้องกบั การติดตั้งทางไฟฟา้ ได้ 2. บอกมาตรฐานสากลหรอื มาตรฐานต่างประเทศท่ีเกี่ยวขอ้ งกบั ไฟฟ้าไดไ้ มน่ อ้ ยกว่า 5 มาตรฐาน 3. บอกหน่วยงานทีเ่ กย่ี วขอ้ งกับมาตรฐานประจําชาตไิ ทยได้ไม่นอ้ ยกวา่ 3 หน่วยงาน 4. บอกสาระสาํ คัญท่กี ําหนดในมาตรฐานการติดต้ังทางไฟฟา้ สาํ หรับประเทศไทยได้ 5. บอกนยิ ามศพั ท์ตามมาตรฐาน วสท. ไดไ้ มน่ ้อยกวา่ 5 นยิ าม 6. เขยี นสญั ลักษณ์ทางไฟฟ้าพรอ้ มบอกความหมายไดไ้ มน่ อ้ ยกวา่ 5 สญั ลกั ษณ์

3 เน้อื หาสาระ ในหน่วยน้ีจะศึกษาถึงความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับกฎและมาตรฐานทางไฟฟ้า มาตรฐานท่ีเก่ียวข้องกับไฟฟ้า มาตรฐานการติดต้ังทางไฟฟ้าสําหรับประเทศไทย และนิยามท่ีเกี่ยวข้องกับมาตรฐานทางไฟฟ้าเพ่ือเป็นพ้ืนฐาน ในการศึกษาหนว่ ยอน่ื ๆ ต่อไป กฎ หมายถึง จดไว้เป็นหลักฐาน ข้อกําหนด หรือข้อบังคับที่อยู่ในความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดความ เสยี หายต่อทรัพยส์ นิ และชวี ิต มาตรฐาน หมายถงึ ส่ิงทถ่ี ือเอาเป็นเกณฑท์ รี่ ับรองกนั ท่ัวไป (ราชบณั ฑติ ยสถาน. 2546: 855) มาตรฐานแบ่งตามผู้กําหนด ออกเป็น 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานประจําชาติ (National Standard) และมาตรฐานสากล (International Standard) 1. มาตรฐานประจําชาติ เป็นมาตรฐานท่ีแต่ละประเทศร่างข้ึนมาใช้ปฏิบัติเองภายในประเทศ จะตรง ตามสภาวะภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม และอุตสาหกรรมภายในประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันในหลายประเทศได้ ยกเลิกการทํามาตรฐานของตนเองและนํามาตรฐานสากลฉบบั ภาษาองั กฤษมาใชแ้ ทน 2. มาตรฐานสากล เป็นมาตรฐานที่มีสมาชิกหลายประเทศ ถ้าเป็นมาตรฐานด้านไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเร่ือย ๆ คือ มาตรฐานไออีซี (International Electro technical Commission: IEC) มาตรฐานทางไฟฟ้าท่ีเก่ียวข้องกับการติดต้ังทางไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานวัสดุ อปุ กรณไ์ ฟฟ้า (Product Standard) และมาตรฐานการตดิ ตั้งไฟฟา้ (Installation Standard) 1. มาตรฐานวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นมาตรฐานที่ใช้สําหรับทดสอบวัสดุอุปกรณ์ในงานไฟฟ้า หน่วยงานทดสอบในประเทศไทย คือ สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หน่วยงานทดสอบใน ต่างประเทศ เช่น UL (Underwriter’s Laboratories, Inc.) เป็นองค์กรท่ีทําการทดสอบและรับประกันความ ปลอดภัยของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น เมื่อผู้ผลิตส่งผลิตภัณฑ์มาทดสอบตามมาตรฐานนั้น ๆ แล้วผ่าน การทดสอบจะได้รับใบรับรองและอนุญาตให้นําสัญลักษณ์ของหน่วยงานทดสอบไปติดที่ตัวผลิตภัณฑ์เพื่อให้ ลูกค้าเกิดความเชื่อถือมากกว่าผลิตภัณฑ์ท่ีไม่ได้มาตรฐาน เคร่ืองหมายมาตรฐานของ สมอ. ดังรูปท่ี 1.1 (กฎกระทรวงกําหนดลักษณะของเคร่ืองหมายมาตรฐานสําหรับแสดงกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2549 โดยเคร่ืองหมายมาตรฐานจะมีขนาดเท่าไรหรือจะใช้สีใดก็ได้ มีเพียง 2 เคร่ืองหมาย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 29 พฤศจิกายน 2549)

4 ก) เครือ่ งหมายมาตรฐานท่วั ไป ข) เครอ่ื งหมายมาตรฐานบงั คับ รปู ท่ี 1.1 อปุ กรณ์ไฟฟ้าทีจ่ ะนาํ ไปตดิ ต้งั ใชง้ าน ตอ้ งมีเคร่ืองหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2. มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับวิธีการนําวัสดุอุปกรณ์ไปติดต้ังอย่างถูกต้องตาม มาตรฐานเพ่ือความปลอดภัยและความเช่ือถือได้ในการใช้งาน สําหรับประเทศไทยมีมาตรฐานที่สําคัญคือ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สําหรับประเทศไทย” จัดทําโดยสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชปู ถมั ภ์ (วสท.) เริ่มใช้ในประเทศไทยตั้งแต่เดอื นมถิ ุนายน พ.ศ. 2545 เปน็ ต้นมา มาตรฐานที่เก่ียวข้องกับไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฯ ยอมรับ เช่น มาตรฐาน IEC, BS, ANSI, NEMA, DIN, VDE, UL, JIS, AS เป็นต้น หรือเป็นชนิดท่ีได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าฯ ก่อน โดยมาตรฐานท่ีอ้างอิงให้ยึดถือ ตามฉบับทป่ี รับปรุงล่าสุด ยกตวั อย่างมาตรฐานท่ีนิยมใช้ในประเทศไทย ดงั นี้ มาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) เปน็ มาตรฐานนานาชาติ มาตรฐาน BS (British Standard) เป็นมาตรฐานของประเทศอังกฤษ จะสอดคลอ้ งกับมาตรฐาน IEC มาตรฐาน ANSI (American National Standards Institute) เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานและข้อ– กําหนดของประเทศสหรฐั อเมรกิ า มาตรฐาน NEMA (National Electrical Manufactures Association) เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของ โรงงานผ้ผู ลิตอุปกรณ์ไฟฟา้ ในประเทศสหรฐั อเมรกิ า มาตรฐาน NEC (National Electric Code) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบระบบไฟฟ้าและติดต้ัง ของประเทศสหรฐั อเมรกิ า มาตรฐาน DIN (Deutsches Institut fur Normung e.V.) เป็นมาตรฐานของประเทศเยอรมนี มาตรฐาน VDE (Verband Deutscher Elektrotechniker e.V.) เป็นองค์กรของกลุ่มวิศวกรไฟฟ้าใน ประเทศเยอรมนี มาตรฐาน UL (Underwriter’s Laboratories, Inc.) เป็นองค์กรที่ทําการทดสอบและรับประกันความ ปลอดภัยของประเทศสหรฐั อเมริกา มาตรฐาน JIS (Japanese Industrial Standards) เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศญ่ีปุ่น

5 มาตรฐาน AS (Australian Standards) เป็นมาตรฐานของประเทศออสเตรเลีย มาตรฐาน EIT (The Engineering Institute of Thailand) เป็นมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสําหรับ ประเทศไทย (สมาคมวิศวกรรมสถานแหง่ ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถมั ภ์ : วสท.) MEA (Metropolitan Electricity Authority) การไฟฟา้ นครหลวง (กฟน.) PEA (Provincial Electricity Authority) การไฟฟา้ สว่ นภูมิภาค (กฟภ.) TISI (Thai Industrial Standards Institute) สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศ ไทย (สมอ.) สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้นํากฎการเดินสายและติดต้ัง อุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ. 2538 ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และแนวปฏิบัติในการเดินสายและติดต้ังอุปกรณ์ ไฟฟ้า พ.ศ. 2537 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มาพิจารณาเพ่ือรวมเป็นมาตรฐานเดียว เรียกว่า “มาตรฐานการติดต้ังทางไฟฟ้า สําหรับประเทศไทย” หรือเรียกว่า มาตรฐาน วสท. เพื่อใช้ในการอ้างอิงโดยให้ ถือว่า พ.ศ. ที่ต่อท้ายมาตรฐานฯ นั้นเป็นเพียงส่วนเสริมท่ีใช้แสดงปีที่จัดทํา ซ่ึงฉบับ พ.ศ. 2556 เป็นฉบับ ปัจจุบัน เป็นมาตรฐานบังคับต้ังแต่วันท่ี 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ดังนั้นการใช้กฎและมาตรฐานทางไฟฟ้าควรจะมีหนังสือมาตรฐานการติดต้ังทางไฟฟ้าสําหรับ ประเทศไทยของ วสท. ไว้สําหรบั ศึกษาอ้างองิ ดว้ ย ดังรปู ที่ 1.2 ก) EIT Standard 2001–45 ข) EIT Standard 2001–45 (ปรบั ปรงุ ) ค) EIT Standard 2001–56 รูปที่ 1.2 หนังสอื มาตรฐานการติดตงั้ ทางไฟฟา้ สาํ หรบั ประเทศไทยของ วสท.

6 มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สําหรับประเทศไทย พ.ศ. 2545 ฉบับปรับปรุงคร้ังที่ 1 พ.ศ. 2551 ได้ใช้ งานมาระยะหนึ่งแล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุ อุปกรณ์ และการติดต้ังเปล่ียนแปลงไป โดยเฉพาะมาตรฐาน การผลติ สายไฟฟ้าที่จดั ทําโดย สมอ. ตาม มอก. 11–2553 จงึ มกี ารปรบั ปรงุ มาตรฐานฯ เป็นฉบบั พ.ศ. 2556 สาระของมาตรฐานการติดต้ังทางไฟฟ้าสําหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 แบ่งออกเป็น 14 บท ดังน้ี บทที่ 1 นิยามและขอ้ กาํ หนดท่ัวไป บทท่ี 2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบรภิ ณั ฑไ์ ฟฟ้า บทที่ 3 ตัวนําประธาน สายป้อน วงจรย่อย บทที่ 4 การต่อลงดนิ บทที่ 5 ข้อกาํ หนดการเดนิ สายและวัสดุ บทท่ี 6 บริภณั ฑ์ไฟฟ้า บทท่ี 7 บริเวณอันตราย บทท่ี 8 สถานท่เี ฉพาะ บทที่ 9 อาคารชุด อาคารสูงหรอื อาคารขนาดใหญ่พิเศษ บทที่ 10 บริภณั ฑ์เฉพาะงาน บทท่ี 11 มาตรฐานการทนไฟของสายไฟฟ้า บทท่ี 12 วงจรไฟฟ้าชว่ ยชีวติ บทที่ 13 อาคารเพอื่ การสาธารณะใต้ผิวดิน บทที่ 14 การตดิ ตง้ั ไฟฟา้ ช่วั คราว นิยามและข้อกําหนดทั่วไปต่อไปน้ีเพื่อส่ือความหมาย ใช้เรียกชื่อ และอธิบายลักษณะรูปแบบให้เข้าใจ ขอบเขตและลกั ษณะอปุ กรณท์ ี่กาํ หนดไว้ในมาตรฐาน วสท. 1.4.1 นิยามที่ใช้งานทั่วไป 1. เข้าถึงได้ง่าย (Accessible, Readily) หมายถึง ที่ซ่ึงสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วเพ่ือ ปฏิบัติการ เปลี่ยนหรือตรวจสอบ โดยไม่ทําให้ผู้เข้าถึงต้องปีนข้ามหรือเคลื่อนย้ายส่ิงกีดขวางหรือใช้บันไดหยิบ ยกได้หรอื ใช้เกา้ อี้ ฯลฯ 2. ขนาดกระแส (Ampacity) หมายถึง ปริมาณกระแส ซ่ึงตัวนํายอมให้ไหลผ่านอย่างต่อเน่ือง ในภาวการณ์ใชง้ าน โดยไม่ทาํ ให้พิกดั อุณหภูมิเกินค่าที่กําหนด มหี นว่ ยเป็น แอมแปร์ 3. เคร่ืองใช้ไฟฟ้า (Appliance) หมายถึง บริภัณฑ์สําหรับประโยชน์ใช้สอยท่ัวไปนอกจากใน โรงงานอุตสาหกรรม โดยปกติสร้างขึ้นเป็นขนาดมาตรฐานสากล โดยติดต้ังหรือประกอบเข้าเป็นหน่วยเดียว เพ่ือใช้งานในหน้าที่เดียวหรือหลายหน้าท่ี เช่น เครื่องซักผ้า เคร่ืองปรับอากาศ เคร่ืองผสมอาหาร เคร่ืองทอด และอ่ืน ๆ 4. เต้าเสยี บ (Attachment Plug) หมายถึง อุปกรณท์ ่ีสอดเข้าไปในเต้ารับแล้วทําให้เกิดการต่อ ระหว่างตัวนําของสายออ่ นทีต่ ดิ เตา้ เสยี บกบั ตัวนําทีต่ ่ออยา่ งถาวรกับเต้ารับ

7 5. อัตโนมัติ (Automatic) หมายถึง การทํางานได้ด้วยกลไกของตัวมันเอง เม่ือมีการกระตุ้นอัน ไมใ่ ช่การกระทาํ ของบคุ คล เช่น มีการเปลีย่ นแปลงกระแส แรงดนั อณุ หภมู ิ หรอื การเปลีย่ นแปลงทางกล 6. การต่อฝาก (Bonding) หมายถึง การต่อถึงกันอย่างถาวรของส่วนท่ีเป็นโลหะให้เกิดเป็นทาง นาํ ไฟฟ้าท่มี ีความตอ่ เน่ืองทางไฟฟ้า และสามารถนาํ กระแสท่อี าจเกดิ ขึ้นไดอ้ ยา่ งปลอดภัย 7. สายต่อฝาก (Bonding Jumper) หมายถึง ตัวนําท่ีใช้ต่อระหว่างส่วนท่ีเป็นโลหะท่ีต้องการ ตอ่ ถึงกันทางไฟฟา้ 8. วงจรยอ่ ย (Branch Circuit) หมายถึง ตวั นําวงจรในวงจรระหวา่ งอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน จุดสดุ ทา้ ยกบั จุดจ่ายไฟ ซง่ึ อาจแบ่งออกได้ ดังนี้ วงจรย่อยสําหรับเคร่ืองใช้ไฟฟ้า (Branch Circuit, Appliance) หมายถึง วงจรย่อยที่จ่าย ไฟฟ้าใหจ้ ุดจ่ายไฟท่ีมเี ครื่องใช้ไฟฟา้ มาตอ่ มากกวา่ 1 จดุ ขึ้นไป เช่น วงจรทไี่ ม่มีการตอ่ สายจากดวงโคม วงจรย่อยสําหรับจุดประสงค์ท่ัวไป (Branch Circuit, General Purpose) หมายถึง วงจร ยอ่ ยทจ่ี า่ ยไฟฟ้าใหก้ ับจดุ จา่ ยไฟเพอื่ ใชส้ าํ หรบั แสงสว่างและเคร่อื งใช้ไฟฟา้ วงจรย่อยเฉพาะ (Branch Circuit, Individual) หมายถึง วงจรย่อยที่จ่ายไฟฟ้าให้บริภัณฑ์ ใช้สอยหนงึ่ ชิ้นเท่าน้ัน 9. ตู้ (Cabinet) หมายถึง เคร่ืองห่อหุ้มท่ีออกแบบให้ติดตั้งบนพื้นผิวหรือติดผนัง โดยมีกรอบ ดา้ น และฝาปิดซงึ่ เปดิ ได้ 10. รางเคเบิล (Cable Trays) หมายถึง รางสําหรับรองรับสายเคเบิล ซ่ึงทําด้วยวัสดุไม่ติดไฟ ประกอบด้วยฐานยาวต่อเนื่องกันโดยมีขอบตั้งข้ึน ไม่มีฝาปิด โดยรางเคเบิลอาจเป็นหรือไม่เป็นรูพรุนก็ได้ หรือ เปน็ ตะแกรงก็ได้ ทงั้ นอ้ี าจเปน็ รางเคเบลิ ขน้ั บันได ระบบรางเคเบิลปิด และเป็นมดั 11. เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หมายถึง อุปกรณ์ซ่ึงออกแบบให้ปิดและเปิดวงจร โดยไม่อัตโนมัติ หรือให้เปิดวงจรโดยอัตโนมัติเม่ือมีกระแสไหลผ่านเกินกําหนด โดยเซอร์กิตเบรกเกอร์ไม่ เสยี หายเมือ่ ใชง้ านภายในพกิ ดั 12. ตวั นํา (Conductor) ตวั นําเปลอื ย (Bare Conductor) หมายถึง ตวั นาํ ที่ไม่มกี ารหุ้ม หรือไม่มฉี นวนไฟฟา้ ใด ๆ ตัวนําหุ้มฉนวน (Insulated Conductor) หมายถึง ตัวนําที่หุ้มด้วยวัสดุท่ีมีส่วนประกอบ และมีความหนาเป็นทยี่ อมรบั วา่ เป็นฉนวนไฟฟ้า เคเบิล (Cable) หมายถึง กลุ่มของตัวนําตั้งแต่หนึ่งเส้นขึ้นไป โดยมีวัสดุฉนวนและเปลือก ป้องกัน อาจเป็นตัวนําเดี่ยวหรือตัวนําชนิดตีเกลียว (Stranded) ท่ีมีฉนวนและมีเปลือก (เคเบิลตัวนําเดี่ยว) หรือกลุม่ ของตัวนาํ มฉี นวนแยกจากตัวนําอนื่ และมีเปลือก (เคเบิลหลายตวั นาํ )

8 13. โหลดต่อเน่ือง (Continuous Load) หมายถึง โหลดท่ีคาดว่ากระแสสูงสุดท่ีคงท่ีติดต่อกัน ต้ังแต่ 3 ชวั่ โมงขึ้นไป 14. ดีมานแฟกเตอร์ (Demand Factor) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความต้องการสูงสุดของ ระบบหรอื สว่ นของระบบกบั โหลดท้งั หมด ทต่ี อ่ เขา้ กบั ระบบหรือสว่ นของระบบทีพ่ จิ ารณา 15. ป้ายไฟฟ้า (Electric Sign) หมายถึง บริภัณฑ์ที่ติดยึดอยู่กับที่ ประจําท่ีหรือหยิบยกได้ ท่ีมี การส่องสวา่ งทางไฟฟา้ โดยมขี อ้ ความ หรอื สญั ลักษณท์ ่อี อกแบบ เพอ่ื แสดงให้ทราบหรือเพือ่ ดงึ ดูดความสนใจ 16. บริภัณฑ์ (Equipment) หมายถึง สิ่งซึ่งรวมท้ังวัสดุ เครื่องประกอบ อุปกรณ์ เคร่ืองใช้– ไฟฟ้า ดวงโคม เคร่ืองสาํ เร็จและสง่ิ อื่นทคี่ ล้ายกนั ทเ่ี ป็นส่วนหนึ่งหรือใช้ต่อเขา้ กบั การตดิ ตง้ั ทางไฟฟ้า 17. สายป้อน (Feeder) หมายถึง ตัวนําของวงจรระหว่างบริภัณฑ์ประธาน หรือแหล่งจ่ายไฟ ของระบบตดิ ตั้งแยกต่างหากกบั อปุ กรณ์ปอ้ งกนั กระแสเกนิ ของวงจรยอ่ ยตวั สุดทา้ ย 18. เครอื่ งประกอบ (Fitting) หมายถงึ สว่ นประกอบ เชน่ แป้นเกลียวกันคลาย บุชชิง หรือส่วน อ่ืน ๆ ของระบบการเดินสายท่ใี ชง้ านเพ่อื วตั ถปุ ระสงค์หลกั ทางกลมากกวา่ ทางไฟฟ้า 19. ลงดินหรือการต่อลงดิน (Ground) หมายถึง การต่อตัวนําไม่ว่าโดยตั้งใจหรือบังเอิญ ระหวา่ งวงจรไฟฟา้ หรอื บรภิ ัณฑ์กบั ดินหรือส่วนท่ีเปน็ ตวั นําซงึ่ ทําหน้าท่ีแทนดิน 20. ตอ่ ลงดนิ (Grounded) หมายถึง ต่อลงดินหรือตอ่ กับสว่ นทเ่ี ปน็ ตวั นาํ ซงึ่ ทําหนา้ ท่แี ทนดนิ 21. ตัวนําสําหรับต่อลงดินหรือสายดิน (Grounding Conductor) หมายถึง ตัวนําท่ีใช้ต่อ บรภิ ณั ฑห์ รอื วงจรท่ีตอ้ งต่อลงดนิ ของระบบการเดินสายเขา้ กบั หลกั ดิน 22. ตัวนําสําหรับต่อลงดินหรือสายดินของบริภัณฑ์ (Grounding Conductor, Equipment) หมายถึง ตัวนําที่ใช้ต่อส่วนโลหะที่ไม่นํากระแสของบริภัณฑ์ ช่องเดินสาย ที่ล้อมเข้ากับตัวนําท่ีมีการต่อลงดิน ของระบบ/หรือตัวนาํ ตอ่ หลักดินทีบ่ ริภณั ฑ์ประธาน หรือทแี่ หล่งจ่ายไฟของระบบจา่ ยแยกตา่ งหาก 23. ตัวนําต่อหลักดินหรือสายต่อหลักดิน (Grounding Electrode Conductor) หมายถึง ตัวนําท่ีใช้ต่อหลักดิน กับตัวนําสําหรับต่อลงดินของบริภัณฑ์ และ/หรือ กับตัวนําที่มีการต่อลงดินของวงจรที่ บริภัณฑป์ ระธาน หรือทแ่ี หล่งจา่ ยไฟของระบบจา่ ยแยกต่างหาก 24. เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อกระแสร่ัวลงดิน (Ground–Fault Circuit–Interrupter) หรือ เครอื่ งตัดไฟรัว่ (Residual Current Device หรอื RCD) หมายถึง อุปกรณ์ที่มุ่งหมายสําหรับป้องกันบุคคล โดย ทําหน้าที่ตัดวงจรหรือส่วนของวงจรภายในเวลาท่ีกําหนด เม่ือกระแสร่ัวลงดินเกินค่าท่ีกําหนดไว้แต่น้อยกว่า ค่าทอ่ี ุปกรณป์ ้องกันกระแสเกินของวงจรแหลง่ จ่ายไฟจะทํางาน ตามมาตรฐาน วสท. ใช้คําว่า “เคร่ืองตัดไฟรั่ว” แตกต่างจาก มอก. 909–2548 ซ่ึงใช้คําว่า “เครือ่ งตดั วงจรกระแสเหลือ”

9 25. ระบบแรงสูง (High Voltage System) หมายถึง ระบบไฟฟ้าท่ีมีแรงดันระหว่างเฟส (Phase to Phase) เกิน 1,000 โวลต์ หรอื แรงดันเทียบดินเกิน 600 โวลต์ 26. ระบบแรงตํ่า (Low Voltage System) หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างเฟส (Phase to Phase) ไมเ่ กนิ 1,000 โวลต์ หรือแรงดนั เทียบดนิ ไม่เกนิ 600 โวลต์ 27. จดุ จ่ายไฟ (Outlet) หมายถึง จดุ ในระบบการเดินสายท่ีนาํ กระแสมาใช้กบั บรภิ ณั ฑ์ใช้สอย 28. กระแสเกิน (Overcurrent) หมายถึง กระแสที่เกินค่าพิกัดกระแสของบริภัณฑ์หรือขนาด กระแสของตวั นํา ซึง่ อาจมผี ลมาจากโหลดเกนิ การลัดวงจร หรือการมกี ระแสรวั่ ลงดิน 29. โหลดเกิน (Overload) หมายถึง การใช้งานเกินพิกัดปกติของบริภัณฑ์หรือใช้กระแสเกิน ขนาดกระแสของตัวนํา ซึ่งหากเป็นอยู่ระยะเวลาหนึ่งจะทําให้เกิดความเสียหายและอันตรายเนื่องจากความ รอ้ นเกนิ ขนาด การลัดวงจรหรอื การมีกระแสร่วั ลงดินไม่ถอื เป็นโหลดเกิน 30. แผงย่อย (Panelboard) หมายถึง แผงเด่ียวหรือกลุ่มของแผงเด่ียวท่ีออกแบบให้ประกอบ รวมกันเป็นแผงเดียวกัน ประกอบด้วย บัส อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินอัตโนมัติและมีหรือไม่มีสวิตช์สําหรับ ควบคุมแสงสว่าง ความร้อนหรอื วงจรไฟฟ้ากําลัง แผงย่อยเป็นแผงท่ีออกแบบให้ติดต้ังไว้ในตู้หรือกล่องคัตเอาต์ ท่ีตดิ บนผนงั ซึ่งสามารถเขา้ ถงึ ด้านหน้าไดเ้ ทา่ นัน้ 31. เต้ารับ (Receptacle) หมายถึง อุปกรณ์หน้าสัมผัสซ่ึงติดต้ังที่จุดจ่ายไฟ ใช้สําหรับการต่อ กับเตา้ เสียบ เต้ารบั ทางเดยี วคอื อปุ กรณห์ น้าสมั ผัสที่ไมม่ อี ปุ กรณห์ น้าสมั ผัสอื่นอยูใ่ นโครงเดียวกัน เต้ารับหลาย ทางคือ อุปกรณ์หนา้ สัมผัสตัง้ แต่ 2 ชุดขึน้ ไปทีอ่ ยใู่ นโครงเดียวกัน 32. ระบบประธาน (Service) หมายถึง บริภัณฑ์และตัวนําสําหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากระบบ ไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ไปยังระบบสายภายใน 33. ตัวนําประธาน (Service Conductor) หรอื สายเมน หมายถึง ตวั นาํ ที่ต่อระหวา่ งเครื่องวัด หน่วยไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ กับบริภัณฑ์ประธาน (ท้ังระบบแสงสูงและแรงต่ํา) แบ่งเป็นตัวนําประธานเข้า อาคารระบบสายอากาศและตวั นําประธานเขา้ อาคารระบบสายใต้ดนิ 34. บริภัณฑ์ประธาน (Service Equipment) หรือเมนสวิตช์ หมายถึง บริภัณฑ์จําเป็นโดย ปกติประกอบด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสวิตช์และฟิวส์ และเคร่ืองประกอบต่าง ๆ ต้ังอยู่ใกล้กับจุดทางเข้า ของตัวนําประธานเขา้ อาคาร โดยมีจุดประสงค์เพอ่ื ควบคุมและตัดวงจรท้ังหมดของระบบจ่ายไฟ 35. แผงสวิตช์ (Switchboard) หมายถึง แผงเด่ียวขนาดใหญ่หรือหลายแผงประกอบเข้า ด้วยกัน เพื่อใช้ติดตั้งสวิตช์ อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน อุปกรณ์ป้องกันอ่ืน ๆ บัส และเครื่องวัดต่าง ๆ ทั้ง ด้านหนา้ ดา้ นหลัง หรอื ทงั้ สองดา้ น โดยท่ัวไปแผงสวติ ชเ์ ขา้ ถงึ ได้ท้ังทางดา้ นหน้าและดา้ นหลงั

10 1.4.2 ขอ้ กาํ หนดทัว่ ไปสําหรบั การติดตัง้ ทางไฟฟ้า 1. การต่อทางไฟฟ้า (Electrical Connection) การตอ่ สายตัวนาํ ตอ้ งใช้อปุ กรณ์ต่อสายและ วธิ ีการตอ่ สายทเ่ี หมาะสม โดยเฉพาะการตอ่ ตัวนําท่เี ป็นโลหะตา่ งชนิดกัน ตอ้ งใช้อุปกรณ์ต่อสายท่ีสามารถใช้ต่อ ตัวนาํ ตา่ งชนดิ กนั ได้ (1) ข้ัวต่อสาย (Terminals) การต่อตัวนําเข้ากับข้ัวต่อสาย ต้องเป็นการต่อที่ดีและไม่ทําให้ ตัวนําเสียหาย ขว้ั ต่อสายต้องเป็นแบบบบี หรือแบบขันแน่นด้วยหมุดเกลียวหรือแป้นเกลียว ในกรณีสายไม่ใหญ่ กวา่ 6 ตร.มม. อนุญาตให้ใชส้ ายพนั รอบหมดุ เกลียว หรอื เดอื ย เกลียว (Stud) ได้แล้วขนั ใหแ้ น่น (2) การต่อสาย (Splices) ต้องใช้อุปกรณ์สําหรับการต่อสายท่ีเหมาะสมกับงานหรือโดยการ เช่ือมประสาน (Brazing) การเชื่อม (Welding) เพื่อการบัดกรี (Soldering) ท่ีเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน หากใชว้ ธิ ีการบัดกรีต้องต่อใหแ้ น่นทัง้ ทางกลและทางไฟฟ้าเสียกอ่ นแลว้ จงึ บัดกรีทบั รอยตอ่ ปลายสายที่ตัดท้ิงไว้ ต้องมีการหุ้มฉนวนด้วยเทปหรืออุปกรณ์ที่ทนแรงดันไฟฟ้าได้เทียบเท่ากับฉนวนของสาย และเหมาะสมกับการ ใช้งาน 2. ทว่ี า่ งเพื่อปฏิบัติงานสําหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้า ต้องจัดให้มีที่ว่างและทางเข้าออกอย่างเพียงพอ เพอื่ ปฏบิ ตั ิงานและบาํ รงุ รักษาบริภัณฑ์ไฟฟา้ ได้สะดวกและปลอดภยั ทั้งน้ที ่วี ่างดังกล่าวหา้ มใชส้ ําหรบั เกบ็ ของ สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพเส้นเดียว (One Line Diagram) ของแบบระบบไฟฟ้าอาจมีความแตกต่างกัน ตามมาตรฐานท่ีผู้ออกแบบอ้างอิง ในหัวข้อน้ีเป็นตัวอย่างสัญลักษณ์ที่อ้างอิงที่ใช้ในแผนภาพเส้นเดียว ตาม มาตรฐาน IEC 60617 เพอ่ื ใชเ้ ป็นความรู้พื้นฐานในการศึกษาตอ่ ไป ดังตารางท่ี 1.1 ตารางท่ี 1.1 สญั ลักษณ์ทางไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEC 60617 ลําดับ สัญลักษณท์ างไฟฟา้ คาํ อธบิ าย รูปประกอบ 1 หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)

ตารางที่ 1.1 สญั ลกั ษณ์ทางไฟฟา้ ตามมาตรฐาน IEC 60617 (ต่อ) 11 ลําดบั สญั ลักษณท์ างไฟฟ้า คําอธบิ าย รูปประกอบ หม้อแปลงแรงดนั 2 (Potential Transformer: PT) หมอ้ แปลงกระแส 3 (Current Transformer: CT) 4 เซอรก์ ิตเบรกเกอร์ 5 เครอ่ื งปลดวงจร 6 เซอรก์ ิตเบรกเกอร์ท่สี ามารถ ใชป้ ลดวงจร

12 ตารางท่ี 1.1 สัญลกั ษณ์ทางไฟฟา้ ตามมาตรฐาน IEC 60617 (ตอ่ ) ลําดบั สัญลักษณท์ างไฟฟ้า คําอธบิ าย รูปประกอบ 7 ฟิวส์ 8 ฟวิ ส์ขาดตก (Drop-out Fuse) หรือ สวิตช์ 9 แอมมเิ ตอร์ 10 A 11 V โวลตม์ ิเตอร์ 12 W หรอื วตั ตม์ ิเตอร์

ตารางท่ี 1.1 สญั ลกั ษณท์ างไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEC 60617 (ตอ่ ) 13 ลาํ ดบั สญั ลกั ษณ์ทางไฟฟา้ คาํ อธบิ าย รูปประกอบ 14 หรอื kWh กโิ ลวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 15 หลอดไฟฟา้ แสดงภาวะ 16 กับดกั ฟ้าผา่ (Lightning Arrester)

14 ตวั อยา่ งการใชส้ ัญลกั ษณ์ในแบบไฟฟา้ ดงั รูปที่ 1.3 สายอากาศแรงดนั ปานกลาง การไฟฟา้ ฯ รับผดิ ชอบ kWh ผู้ใช้ไฟรับผิดชอบ หม้อแปลงไฟฟา้ เมนสวติ ช์ สายเมน VS V AS A แผงยอ่ ย สายปอ้ น วงจรยอ่ ย รูปที่ 1.3 ตัวอยา่ งการใชส้ ัญลักษณท์ างไฟฟา้ ในแบบไฟฟา้

15 ตําแหน่งของบริภัณฑ์ไฟฟา้ ตามทกี่ ําหนดในนยิ าม อธิบายเปน็ ตวั อยา่ งดว้ ยรปู ที่ 1.4 ดงั น้ี บริภณั ฑ์ประธาน (เมนสวิตช์) กโิ ลวตั ต์ฮาวร์ มเิ ตอร์ ตวั นําประธาน (สายเมน) ระบบสายใต้ดนิ ก) ตวั นาํ ประธานเข้าอาคารระบบสายใตด้ ินและบริภัณฑป์ ระธาน (เมนสวติ ช)์ ข) ตวั นาํ ประธานเข้าอาคารระบบสายอากาศและบรภิ ณั ฑป์ ระธาน (เมนสวติ ช์) รปู ท่ี 1.4 ตัวนําประธานและบริภณั ฑ์ประธานของบ้านพกั อาศยั

16 1. มาตรฐานแบ่งตามผู้กําหนด ออกเป็น 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานประจําชาติ (National Standard) และมาตรฐานสากล (International Standard) 2. มาตรฐานทางไฟฟ้าท่ีเก่ียวข้องกับการติดตั้งทางไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานวัสดุ อปุ กรณไ์ ฟฟา้ (Product Standard) และมาตรฐานการตดิ ตัง้ ไฟฟ้า (Installation Standard) 3. มาตรฐานที่เก่ียวข้องกับไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฯ ยอมรับ เช่น มาตรฐาน IEC, BS, ANSI, NEMA, DIN, VDE, UL, JIS, AS เป็นตน้ 4. สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้นํากฎการเดินสายและ ติดต้ังอุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ. 2538 ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และแนวปฏิบัติในการเดินสายและติดต้ัง อุปกรณ์ไฟฟ้า พ.ศ. 2537 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มาพิจารณาเพ่ือรวมเป็นมาตรฐานเดียว เรียกว่า “มาตรฐานการตดิ ต้งั ทางไฟฟา้ สําหรับประเทศไทย” หรอื เรียกวา่ มาตรฐาน วสท. 5. คํานิยามที่ใช้งานทั่วไปทางไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า (Appliance) เต้าเสียบ (Attachment Plug) วงจรย่อย (Branch Circuit) เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ตัวนํา (Conductor) บริภัณฑ์ (Equipment) ลงดินหรือการต่อลงดิน (Ground) ระบบแรงต่ํา (Low Voltage System) โหลดเกิน (Overload) แผงย่อย (Panelboard) และเต้ารับ (Receptacle) เป็นตน้ คาํ ศพั ท์ประจําหนว่ ย มาตรฐานไออซี ี มาตรฐานสากล International Electrotechnical Commission มาตรฐานการตดิ ตงั้ ไฟฟา้ International Standard การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) Installation Standard มาตรฐานประจําชาติ Metropolitan Electricity Authority: MEA มาตรฐานวสั ดอุ ปุ กรณไ์ ฟฟ้า National Standard การไฟฟา้ สว่ นภมู ิภาค (กฟภ.) Product Standard สมาคมวศิ วกรรมสถานแหง่ ประเทศไทย Provincial Electricity Authority: PEA ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ (วสท.) The Engineering Institute of Thailand: EIT สาํ นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม ของประเทศไทย (สมอ.) Thai Industrial Standards Institute: TISI