ผลของอารมณ์และความเครียดต่อสุขภาพ

ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ
           ความเครียดที่มีไม่มากนัก จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนเราเกิดแรงมุมานะที่จะเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้ คนที่มีความรับผิดชอบสูงจึงมึกหนีความเครียดไปไม่พ้น

ความเครียดที่เป็นอันตราย คือ ความเครียดในระดับสูงที่คงอยู่เป็นเวลานาน จะส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต พฤติกรรม ครอบครัว การทำงาน และสังคมได้
           ดังนั้น เราจึงควรรู้จักการผ่อนคลายความเครียดที่ถูกวิธี เพื่อให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นสุข

ความเครียดเกิดจากสาเหตุ 3 ประการ คือ

           1. สาเหตุทางด้านจิตใจ ได้แก่ ความกลัวว่าจะไม่สมหวังกลัวจะไม่สำเร็จ หนักใจในงาน หรือภาระต่าง ๆ รู้สึกว่าตัวเองต้องทำสิ่งที่ยากเกินความสามารถ มีความวิตกกังวลล่วงหน้ากับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
           2. สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ได้แก่ การเปลี่ยนช่วงวัย การแต่งงาน การตั้งครรภ์ การเริ่มเข้าทำงาน การเปลี่ยนงาน การเกษียณอายุ การย้ายบ้าน การสูญเสียคนรัก เป็นต้น
           3. สาเหตุจากการเจ็บป่วยทางกาย ได้แก่ การเจ็บไข้ ไม่สบายที่ไม่รุนแรง ตลอดไปจนถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคที่รุนแรงและเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็ง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

ที่มา : //www.vcharkarn.com

ความเครียดถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งความเครียดมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัย ทั้งจากปัจจัยภายนอก เช่น ครอบครัว สิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการเงิน ความกดดันในที่ทำงาน เหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ และจากปัจจัยภายใน ที่อาจเกี่ยวข้องกับอุปนิสัย ความคิด เช่น มีความคาดหวังสูง ต้องการความสำเร็จสูง มีความอ่อนไหวง่าย เป็นคนปรับตัวยาก ฯลฯ เป็นต้น

ความเครียด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. Acute Stress เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันที โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายและฮอร์โมนจะกลับสู่ปกติ

2. Chronic Stress เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น เมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง


ผลพวงจากความเครียด มีอะไรบ้าง?

1. การแสดงออกทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย โมโหร้าย ระงับอารมณ์ไม่ค่อยอยู่ ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เบื่อซึม ท้อแท้ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น

2. การแสดงออกทางด้านพฤติกรรม เช่น กัดเล็บ ดึงผม แยกตัว ไม่เข้าสังคม พูดจาก้าวร้าวขึ้นหรือพูดน้อยลง เป็นต้น

3. การแสดงออกทางร่างกาย โดยเมื่อเกิดภาวะเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนสารทุกข์ออกมาคือ อะดรีนาลิน สตีรอยด์ เมื่อฮอร์โมนเหล่านี้เข้าสู่กระแสหมุนเวียนเลือดจะนำไปสู่อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะสำคัญๆ แปรปรวนไป เช่น นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก อ่อนเพลีย กินเก่งหรือเบื่ออาหาร ท้องผูก สมรรถภาพทางเพศลดลง ปวดท้อง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดศีรษะ มึนงง หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ฯลฯ

โดยความเครียดอาจนำไปสู่โรคต่างๆ ได้ เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคไมเกรน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคมะเร็ง เป็นต้น

วิธีขจัดความเครียดด้วยตัวเอง

- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
- ออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือพูดคุยกับครอบครัว
- ผ่อนคลายความเครียดด้วยตัวเอง เช่น ฝึกสมาธิ ออกเดินทางท่องเที่ยว
- หางานอดิเรกทำในยามว่าง เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง ฯลฯ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ทั้งนี้ หากคุณรู้สึกว่าความเครียดเริ่มมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น การนอน การรับประทานอาหาร การงาน และความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนรอบข้าง ควรเข้าพบและปรึกษาจิตแพทย์เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป เพราะผู้ที่เกิดความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานาน หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้
     เห็นเเล้วใช่ไหม? ว่าความเครียดน่ากลัวกว่าที่คิด เพราะต่างมีผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ฉะนั้นควรหมั่นสังเกตตัวเองว่าตกอยู่ในภาวะความเครียดหรือไม่ และหากพบว่าเรากำลังเผชิญกับความเครียดเราก็ต้องหาวิธีจัดการอย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนนอกสถานที่ ฟังเพลง ระบายความทุกข์ที่อยู่ในใจ ซึ่งการผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีดังกล่าว สามารถช่วยให้ผลกระทบต่อความเครียดลดน้อยลงได้ ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบน>>เลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

อารมณ์และความเครียด

                   1.  อารมณ์และความเครียดที่มีผลต่อสุขภาพ
                   อารมณ์  หมายถึง  กระบวนการของความรู้สึกตอบสนองขั้นต้นของจิตต่อสิ่งเร้าที่กระตุ้น ทางร่างกาย
                   ความเครียด  เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อจิตใจถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่ทำให้ตื่นเต้นหรือวิตกกังวล
                         1.1 ลักษณะอารมณ์และความเครียดของวัยรุ่น
                                วัยรุ่นอารมณ์จะแปรปรวนมาก  เนื่องจากวัยรุ่นมักจะมีอารมณ์รุนแรง  มีความเชื่อมั่นในตนเอง  และอาจมีความคิดขัดแย้งต่อผู้ใหญ่หรือบุคคลอื่นได้  โดยอาจมีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง   ดังนั้น  การรู้จักปรับตนเอง การเผชิญปัญหากับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งตั้งแต่วัยเด็ก  เพื่อเป็นการ ระงับ  บรรเทา  หรือขจัดความเครียด
                         1.2 สาเหตุของความเครียด
                                1) ภาวะด้านร่างกาย  เช่น  สุขภาพอ่อนแอ  ความเจ็บป่วย  ความพิการ
                                2) ภาวะด้านจิตใจ  เช่น  การสูญเสียสิ่งที่มีค่า  สิ่งที่รัก  ความคับข้องใจ
                                3) ภาวะด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น  สภาพอุณหภูมิ  เสียงดังมากเกินไป  การสอบ
                         1.3 ลักษณะที่บ่งบอกเมื่อเกิดความเครียด
                                1) ด้านร่างกาย  เช่น  หายใจไม่ออก  เหนื่อยง่าย  นอนไม่หลับ
                                2) ด้านจิตใจ  เช่น  อาการหงุดหงิด  รำคาญ  เบื่อหน่าย  ท้อถอย
                         1.4 ผลของอารมณ์และความเครียดต่อสุขภาพ
                                ตามปกติควมเครียดภายในจิตใจจะส่งผลให้เกิดอาการทางร่างกาย  ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน  คือ  ปวดศีรษะ  นอนไม่หลับ  เหนื่อยง่าย  เป็นต้น  หากมีอาการผิดปกติดังกล่าว  ควรหาสาเหตุและรีบแก้ไขทันที    หากปล่อยให้ตนเองมีความเครียดสะสมไว้เป็นเวลานาน  โดยไม่ได้ผ่อนคลายจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้
                   2.ลักษณะอาการเบื้องตนของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต
                          ผู้มี “ สุขภาพจิต” หรือ “สุขภาพจิตปกติ”  จะมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
                                1.  รู้จักและเข้าใจตนเอง
                                2.  รู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น
                                3.  สามารถเผชิญปัญหาและความเป็นจริงของชีวิตได้ดี
                   ในขณะเดียวกัน   หากบุคคลใดมีอาการพฤติกรรม  หรือมีความรู้สึกตรงข้ามกับผู้ที่มีสุขภาพจิตดังกล่าวไปแล้วข้างตน  ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นมีภาวะความเครียดสูง
                   3.วิธีปฏิบัติตนเพื่อจัดการกับอารมณ์และความเครียด
                         3.1 การพักผ่อน   การพักผ่อนเปรียบเสมือนการทำให้สมองของเราได้ผ่อนคลาย  ถือว่าเป็นการฝึกจิตอย่างหนึ่งจะทำให้จิตใจสดชื่น   เกิดความสบายใจ   คลายความวิตกกังล
                         3.2 การนอนหลับ   การนอนหลับมีความสำคัญและจำเป็นต่อสุขภาพ  โดยผู้ใหญ่ต้องการเวลานอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมง   สำหรับเด็กนั้นต้องการเวลานอนประมาณ 8-1o  ชั่วโมง
                                1) การประเมินพฤติกรรมในการนอนหลับ
                                      ถ้าง่วงนอนบ่อยๆแม้ว่าจะนอนมากเท่าไรก็ยังง่วง  ควรไปพบแพทย์  เพราะอาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพทางกายหรือจิตใจได้
                                2)  ข้อแนะนำเพื่อการนอนหลับที่ดี
                                      1. ก่อนเข้านอนควรทำจิตใจให้สงบ  และควรเข้านอนให้เป็นเวลา
                                      2. เข้านอนเพื่อการนอนหลับโดยตรง  ไม่ใช่เพื่ออ่านหนังสือ  เพื่อคิดเกี่ยวกับสิ่งที่กังวลอยู่  และห้องนอนควรจะเงียบปราศจากเสียงรบกวน
                                      3. หลีกเลี่ยงสารหรือสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว
                                      4.การดื่มนม 1 แก้ว ก่อนเข้านอนจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
                                      5.ก่อนจะเข้านอนควรจะทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง
                         3.3 การออกกำลังกาย
                                การออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ช่วยลดความเครียด  และส่งเสริมความสามารถทางด้านสติปัญญาด้วย
                         3.4 การผ่อนคลาย
                                การผ่อนคลาย  หมายถึง  การหยุดพักชั่วคราวจากกิจกรรมประจำวันที่ปฏิบัติอยู่
                                      1) หลักการผ่อนคลาย  คือ  การพยายามที่จะให้กลุ่มกล้ามเนื้อบางกลุ่มของร่างกายตึงและหย่อนอย่างเป็นระบบ
                                      2) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                            2.1) การเตรียมตัว  ให้นอนหงายหรือนั่งโดยมีบรรยากาศของสิ่งแวดล้อม
                                                  1) เงียบ และไม่ถูกรบกวน
                                                  2) พยายามฝึกปฏิบัติวันละ  2 – 3 ครั้ง
                                                  3)ให้แน่ใจว่าอยู่ในท่าที่สบาย
                                                  4) ให้ความคิดต่างๆ อยู่ในสภาวะของการผ่อนคลาย
                                            2.2) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                                         1. การทำให้กล้ามเนื้อตึงโดยการบีบหรือเพิ่มความตึงไปสู่บริเวณกล้ามเนื้อ
                                                         2.การผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงนั้นอย่างรวดเร็ว
                                            2.3) การหายใจ  ควรทำให้การหายใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ
                                      3) การฝึกปฏิบัติการผ่อนคลาย  คือ  กระบวนการหรือขั้นตอนของการฝึก ปฏิบัติการผ่อนคลาย
                                            1. นั่งบนเก้าอี้สบายหรืออยู่ในท่าที่รู้สึกสบาย  และหลับตา
                                            2. ระบายความเครียดให้เกิดขึนที่มือขวา
                                            3.ให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงเป็นเวลาประมาณ 5- 7 วินาที
                                            4.ลดความตึงของกล้ามเนื้อขึ้นลงเร็วๆ
                                            5.ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณแขนซ้ายตึงขึ้น
                                            6. ให้ความตึงของแขนซ้ายคงอยู่ประมาณ 5 – 7 วินาที
                                            7. ลดความตึงของกล้ามเนื้อแขนซ้ายลง   และทำกิจกรรมข้อ 5 – 7 ซ้ำอีก
                                            8. ทำให้ความตึงเกิดขึ้นที่บริเวณกล้ามเนื้อส่วนหน้าอก  หลัง  และไหล่
                                            9. ให้ความตึงของหน้าอกคงอยู่ประมาณ 5 – 7 วินาที
                                            1o. ค่อยๆ ผ่อนคลายส่วนกล้ามเนื้อที่ตึงนั้น
                                      4) หลักในการปฎิบัติเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                            1. ใช้ห้องหรือบริเวณที่รู้สึกสบายและเงียบสงบ
                                            2.นั่งหรือนอน  จากนั้นหายใจเข้าให้ลึกๆ  และหายใจออกอย่างเป็นระบบ
                                            3. ให้ความตึงของกล้ามเนื้อเกิดบริเวณแขน ขา
                                            4. ปฏิบัติการทำให้กล้ามเนื้อตึงและหย่อน
                                            5. มุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกของตน
                                            6.หายใจออกในช่วงผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                                            7. ฝึกปฏิบัติกับกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ เรียงตามลำดับ
                                            8.ประเมินสภาวะของร่างกาย
                                      3.5 การหัวเราะเพื่อคลายเครียด
                                            1. หัวเราะแบบธรรมชาติ  เกิดจากการกระตุ้นให้หัวเราะ
                                            2. หัวเราะแบบบำบัด  เป็นการหัวเราะแบบรู้ตัว
                                      3.6 การฝึกบริหารจิต
                                            1.กำหนดให้ร่างกายอยู่นิ่งๆในท่าใดก็ได้
                                            2.หลับตาพอสบาย
                                            3.ตั้งศูนย์กลางของจิตใจไว้ที่ลมหายใจโดยการจินตนาการ
                                            4.ให้ทำซ้ำตามที่กล่าวในข้อ 3 ไปเรื่อยๆ

กลับสู่ด้านบน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน