การจ่ายค่าบัตรเครดิตขั้นต่ำเสียเครดิตไหม

“หนี้บัตรเครดิต” หากเราจ่ายแค่ขั้นต่ำ เราจะกลายเป็นหนี้ก้อนโต แบบคาดไม่ถึง เมื่อย้อนดูวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ที่คิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้คงค้าง ให้เรามีดอกเบี้ยพอกพูนไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรจะกลายเป็นหนี้ก้อนโตได้ง่ายๆ ข้อสำคัญอย่า “เบี้ยวหนี้” เพียงเพราะคิดว่าเจ้าหนี้จะตามตัวเราไม่ได้ มาดูกันว่า เมื่อเริ่มใช้บัตรเครดิตแล้วเป็นหนี้เพราะเหตุใดเราจึงไม่ควรจ่ายหนี้แบบจ่ายแค่ขั้นต่ำ 

ปรับเกณฑ์บัตรเครดิตลดหนี้ได้จริงหรือไม่ ?

เริ่มพรุ่งนี้! ธปท.คุมวงเงินบัตรเครดิต "หั่นดอกเบี้ย" เหลือ 18%

การจ่ายค่าบัตรเครดิตขั้นต่ำเสียเครดิตไหม

เมื่อเริ่มเป็นเจ้าของบัตรเครดิต สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การศึกษาเงื่อนไขการใช้บัตร และ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึง และ ตระหนักรู้อยู่เสมอ เมื่อเราต้องเริ่มจ่ายหนี้จากการรูดปรื๊ดไป

1. จ่ายแค่ขั้นต่ำ จนกลายเป็นภาระหนี้ก้อนโต ตัวอย่างเช่น

5 มีนาคม 2564 นาย A ใช้บัตรเครดิตซื้อของ 20,000 บาท ทุกวันที่ 25 เป็นวันปิดยอดของทุกเดือน ถ้าวันที่ 27 มีนาคม 2564 จ่ายขั้นต่ำ 10% เท่ากับ 2,000 บาท ในรอบบัญชีแรกจะยังไม่คิดดอกเบี้ย แต่ในรอบบัญชีถัดไป คือ 25 เมษายน 2564 ธนาคารจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ โดยมีรายละเอียดยอดคงค้าง และดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่ง

ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่ในใบแจ้งหนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน

ส่วนแรก ดอกเบี้ยที่คิดจากจำนวนเงินที่รูดซื้อสินค้า คือ 20,000 บาท โดยเริ่มนับจากวันที่รูดซื้อสินค้าจนถึงวันที่สรุปยอดรายการรวม 20 วัน (5 – 25 มีนาคม) ถ้าคิดที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 16% เป็นเงิน 175.34 บาท

ส่วนที่สอง ดอกเบี้ยที่คิดจากยอดเงินต้นค้างชำระ คือ 18,000 บาท (20,000 บาท หัก 2,000 บาทที่จ่ายขั้นต่ำไปแล้ว) โดยคิดจากวันที่เราชำระไปคือ 27 มีนาคม ถึงวันปิดยอดรอบล่าสุดคือ 25 เมษายน รวม 29 วัน ถ้าคิดที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 16% จะเป็นเงิน 228.82 บาท

หมายความว่า ในการผ่อนขั้นต่ำครั้งนี้ เราจะมีภาระหนี้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 404.16 บาท และถ้าไม่ทำอะไร เชื่อหรือไม่ว่า เพียงเวลาไม่กี่ปี ดอกเบี้ยส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเท่ากับเงินที่รูดซื้อของเลยทีเดียว

2. ไม่จ่ายเพราะประเมินเจ้าหนี้ผิดไป คิดว่า เจ้าหนี้มีแค่สลิปเงินเดือนเป็นหลักฐาน ตอนนี้ออกจากงาน ใครจะติดตามหนี้ได้ ถ้าไม่รับโทรศัพท์ เปลี่ยนเบอร์โทร-ชื่อ-เปลี่ยนที่อยู่ แม้มีจดหมายทวงถามหนี้ไปที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ถ้าไม่รับรู้เสียอย่าง ใครจะทำอะไรได้ ... จริงหรือ?

เราต้องไม่ลืมว่า เจ้าหนี้บัตรเครดิตมีฐานข้อมูลลูกหนี้ เห็นพฤติกรรมการเบี้ยวหนี้ของลูกหนี้มานับไม่ถ้วน มีนักกฎหมายและหน่วยงานติดตามทวงหนี้ และสืบทรัพย์โดยเฉพาะ สุดท้ายเมื่อเจ้าหนี้สืบทรัพย์จนเจอ นำมาสู่การฟ้องร้องและยึดบ้านในที่สุด โดยลูกหนี้อาจไม่เคยรู้ว่า มีทรัพย์ที่เป็นชื่อตัวหรือทรัพย์มรดก เช่น ที่นาของพ่อแม่ ก็ถูกยึดได้ทั้งนั้น

บทสรุปที่ไม่สวยงามย่อมไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น กลับเกิดขึ้นจนได้ ผลจากการประมาทศักยภาพเจ้าหนี้เกินไป อาจทำให้ครอบครัว คนที่รัก ได้รับความเดือดร้อน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่มีที่ทำมาหากิน

ดังนั้นเมื่อเป็นหนี้ควรจ่ายหนี้ให้ครบถ้วน หากรู้ตัวว่าเริ่มที่จะชำระไม่ไหว ให้รีบเข้าคุยกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อเจรจาขอความช่วยเหลือและหาทางออกในการแก้ไขหนี้ร่วมกัน สุดท้ายนี้ ขอให้เชื่อมั่นว่า ทุกปัญหามีทางออก เพียงท่านมีความตั้งใจและจริงใจที่จะชำระหนี้คืน หากมีข้อสงสัย โทรไปได้ที่ 1213

การใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด หากเลือกใช้ได้อย่างถูกวิธี เราจะได้ประโยชน์ต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็น โปรโมชั่นแบ่งจ่าย 0% หรือสิทธิประโยชน์ส่วนลดต่าง ๆ ที่ติดมากับบัตรเครดิตใบนั้น หรือระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย หากชำระตามวันที่กำหนด แต่สำหรับใครที่ใช้บัตรเครดิต และชอบจ่ายขั้นต่ำ 10% ลองมาดูกันว่า การจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำบ่อย ๆ จะมีผลอย่างไรกับเราบ้าง


ดอกเบี้ยเริ่มเดินตั้งแต่วันที่ใช้จ่าย

หลังจากการรูดบัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายแล้ว หากเราจ่ายบัตรเครดิตในจำนวนขั้นต่ำ จะถูกคิดดอกเบี้ย 2 ยอด ยอดแรกจะคิดจากยอดรูดบัตรนับตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่ครบกำหนดชำระ และยอดที่ 2 คือ การคิดดอกเบี้ยจากยอดคงเหลือหลังการจ่ายขั้นต่ำตั้งแต่วันที่เราจ่ายขั้นต่ำจนถึงวันสรุปยอดบัญชีในเดือนถัดไป  ซึ่งหากเราจ่ายขั้นต่ำเป็นประจำ แน่นอนว่าดอกเบี้ยจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างปฏิเสธไม่ได้ ทั้งนี้ หลายคนยังมีความเข้าใจว่า ดอกเบี้ยจะถูกคิดตั้งแต่วันที่เริ่มจ่ายขั้นต่ำ แต่จริง ๆ แล้วดอกเบี้ยเริ่มเดินตั้งแต่วันที่เราใช้จ่ายเลย


ไม่มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย

ตามปกติผู้ให้บริการบัตรเครดิตจะมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยให้ผู้ถือบัตรเครดิต ตั้งแต่วันแรกที่ใช้จ่ายจนถึงวันที่ครบกำหนดชำระเงิน ซึ่งหากเราวางแผนกันเงินไว้สำหรับจ่ายบัตรเครดิตให้เต็มจำนวน เราจะได้ประโยชน์จากระยะเวลาช่วงนี้ เป็นการใช้เครดิตแทนเงินสด ช่วยเพิ่มสภาพคล่องโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่หากครบกำหนดเราเลือกจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ สิทธิในการใช้ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยจะหมดลงทันที และเราต้องจ่ายดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันแรกที่รูดใช้จ่าย ทำให้ดอกเบี้ยในรอบบัญชีนั้นเพิ่มมากขึ้น

ปัญหาหนึ่ง (ที่พี่ทุยขอเรียกว่าว่า ‘เป็นปัญหา’) ก็คือพฤติกรรม “จ่ายขั้นต่ำ” ชำระบิลบัตรเครดิตในแต่ละเดือน อาจจะด้วยเหตุผลใดใด เช่น หาเงินมาหมุนไม่ทัน หรืออะไรก็ตาม แต่การชำระบิลบัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำ นั่นสร้างหนี้ให้มากกว่าที่หลายคิดไว้มากนัก

ต้องบอกก่อนว่า ถ้าเราไม่นับเฉพาะหนี้ในระบบหนี้ หนี้ที่มีดอกเบี้ยที่สูงอันดับต้น ๆ และเป็นที่นิยมมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น ‘หนี้บัตรเครดิต’ ส่วนตัวพี่ทุยชอบใช้บัตรเครดิตมาก ๆ เพราะช่วยทำให้การใช้จ่ายง่าย สะดวก คล่องมือมากขึ้น

แต่พี่ทุยย้ำว่า ‘บัตรเครดิต’ เหมาะกับคนที่ใช้เป็นเท่านั้น ถ้าหากใช้ไม่เป็นแนะนำว่าหักบัตรเครดิตทิ้งไปเลยน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

เพราะหากเราใช้ไม่เป็น จ่ายเงินไม่ตรงตามงวดที่กำหนดไว้จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘ดอกเบี้ย’ แล้วดอกเบี้ยที่ถูกเรียกเก็บจากบัตรเครดิตก็อยู่ในระดับที่สูงกว่า 20%++ ซะอีก

รู้กันมั้ยว่าทำไม ‘หนี้บัตรเครดิต’ ถึงขึ้นเร็วมาก ๆ ? เพราะนอกจากดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะสูงแล้ว เมื่อถึงวันครบกำหนดชำระแล้วเราแค่จ่ายขั้นต่ำ วิธีการคิดดอกเบี้ยของบัตรเครดิตจะแตกต่างออกไปจากแบบปกติ

เช่น รอบบัตรเราตัดทุกวันที่ 10 ของเดือน แล้วถ้ารูดวันที่ 15 เราก็จะได้มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย 25 วันโดยประมาณ แต่ถ้าเดือนไหนเริ่ม “ชำระขั้นต่ำ” เมื่อไหร่ เราจะไม่มีระยะ “เวลาปลอดดอกเบี้ย” อีกต่อไป รูดเมื่อไหร่ดอกเบี้ยก็จะวิ่งทันที ทุกการใช้จ่ายหลังจากนั้นก็จะถูกคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน

สำหรับใครก็ตามที่จะใช้บัตรเครดิต ต้องจำให้ขึ้นใจ บัตรเครดิตคิดดอกเบี้ยแบบนี้ ฉะนั้นสิ่งที่ห้ามทำเลยเวลาเป็น ‘หนี้บัตรเครดิต’  ก็คือ ห้ามจ่ายขั้นต่ำเด็ดขาด เพราะ สมมติวันที่ 15 ก.ค. เรารูดบัตรไป 10,000 บาท ครบกำหนดชำระวันที่ 10 ส.ค. แต่เราจ่ายแค่ขั้นต่ำแค่ 1,000 บาท ยอดหนี้ก็จะเหลือ 9,000 บาท

แต่ดอกเบี้ยที่ทางบัตรเครดิตเขาคิดจะมาจากเงินทั้งจำนวน เท่ากับเราเป็นหนี้ 10,000 บาท และธนาคารก็จะเอาเงิน 10,000 บาทตรงนี้ ไปคิดดอกเบี้ยทันที แถมคิดย้อนหลังด้วย นับวันตั้งแต่ที่เราจ่ายเงินก้อน 10,000 บาทนี้ไป

ร้ายกาจกว่านั้นจำนวนเงินที่เราค้างชำระจะกลายเป็นเงินต้น และธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยของเงินก้อนนี้เป็นรายวันไปจนกว่าถึงครบกำหนดชำระบัตรเครดิตรอบหน้า เช่น หลังจากชำระขั้นต่ำ 1,000 บาท เราจะเป็นหนี้ธนาคาร 9,000 บาท และเงิน 9,000 บาทนี้จะถูกคิดดอกเบี้ยจนถึงรอบบัตรครั้งถัดไป

ถ้าเรา ‘จ่ายขั้นต่ำ’ ไปเรื่อย ๆ กลายเป็นว่าเราจะเป็นหนี้ทบหนี้ไปเรื่อย ๆ จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนที่จ่ายขั้นต่ำแล้ว โอกาสชำระเต็มจะยากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่นานขึ้นเรื่อย ๆ

“ดอกเบี้ยทบต้น” ทำให้เรารวยเวลาที่เราลงทุนได้ฉันใด มันก็ทำให้เราจนเวลาที่เราเป็นหนี้ได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้นจะใช้บัตรเครดิตต้องมั่นใจได้ว่าเราสามารถจ่ายเงินสด ณ เวลาที่เราจะรูดบัตรเครดิตได้

ถ้าใครที่อยากใช้บัตรเครดิต พี่ทุยแนะนำกฎเหล็กการใช้บัตรเครดิตให้ลองไปปรับใช้กันดูเลยก็คือ ถ้าเราไม่สามารถจ่ายเงินสด ณ เวลานั้นได้ ห้ามใช้เด็ดขาด

สำหรับพี่ทุยแล้วการเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องทื่ผิด ถ้าผ่านการประเมินมาเป็นอย่างดีแล้วว่าการเป็นหนี้ครั้งนี้ “จำเป็น” และเราสามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเรื่องดอกเบี้ยและจ่ายคืนเงินต้นได้ แต่จะเป็นเรื่องผิดถ้าเราไม่ได้ประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้เราไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ได้ตามงวดหรือตามที่ตั้งใจไว้

แต่ก็อาจจะมีบางกรณีที่คิดไว้อย่างเกิดเหตุไม่คาดคิดทำให้เราไม่สามารถจ่ายได้ตามที่ตั้งใจไว้ เช่นได้รับผลกระทบจากระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้รายได้ลดลดงหรือรายได้ขาดหายไปเลย ถ้าเกิดเจอสถานการณ์แบบนี้ พี่ทุยแนะนำว่าให้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องวิธีการปลดหนี้อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบได้ที่นี่