เรียน จป.วิชาชีพ เสาร์ อาทิตย์ 2565 มสธ

ซึ่ง จป. แต่ละระดับ ก็มีคุณสมบัติ และหน้าที่แตกต่างกันออกไป หากอยากศึกษาอย่างระเอียดสามารถดูได้จาก “กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549” 

ที่จะพูดถึงต่อไปนี้คือ  “จป.วิชาชีพ (Safety Officer Professional Level)”

อยากเป็น จป วิชาชีพ เริ่มต้นอย่างไร ?

หลายคนอยากเปลี่ยนสายงานมาทำงานสาย จป วิชาชีพไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรซึ่ง จป ทั้ง 5 ระดับนั้นมีเพียง จป วิชาชีพ ที่จะต้องเรียนจบสายตรงจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตร จป วิชาชีพ ปัจจุบัน จปว ไม่สามารถอบรมแล้วเป็น จป วิชาชีพได้เหมือนเมื่อก่อน ซึ่งย้อนกลับไปหลายปีก่อนนั้นสามารถอบรมได้แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้วใครที่จะเป็น จป วิชาชีพ จะต้องเรียนจบตรงจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น

ตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าจป.วิชาชีพต้องมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า (ซึ่งปัจจุบันมี

สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งเปิดสอนหลักสูตรนี้ สามารถเข้าไปตรวจสอบได้จาก  ข้อมูลสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า  หากตัดสินใจแล้วว่า จะเรียนสายนี้แบบจบตรง 4 ปี ต้องจบสายวิทย์ – คณิต ในระดับมัธยาศึกษาตอนปลาย

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการ

ทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด (ตอนนี้ยกเลิกแล้ว.. รอกฎหมายประกาศ)

  1. เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดีบวิชาชีพ ตามประกาศกระทรวง

แรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2540 

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก “กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549”

ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับงาน จป.วิชาชีพ ?

จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาการเป็นจป. วิชาชีพนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ได้ยากเสียทีเดียว งานจป. ต้องเตรียมพร้อมทุกสถานการณ์ บางคนอาจเข้าใจว่า จป. จะทำงานก็ต่อเมื่อมีอุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ต้องใช้คำว่า จป. ต้องทำงานมากขึ้น เมื่อมีอุบัติเหตุจากการทำงาน เพราะต้องสอบสวนอุบัติเหตุร่วมกับบุคคลอื่นๆ และต้องหาวิธีป้องกัน เพื่อไม่ให้อุบัติเหตุลักษณะเดิมเกิดขึ้นซ้ำอีก  บางคนบอกว่า จป. มีหน้าที่เดินไปเดินมา เดินจับผิดพนักงาน แต่การเดินไปเดินมาของ จป. คือ การ “ Walk Through Survey แปลว่า การเดินสำรวจเพื่อตรวจดูความปลอดภัย หรืออาจจะเรียกว่า Safety Patrol แปลว่า การสำรวจความปลอดภัย”  ซึ่งการเดินสำรวจหรือตรวจความปลอดภัยนั้น จป. จะทำทุกวัน เพื่อตรวจเช็คดูว่ามีอะไรผิดปกติ หรือมีจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับพนักงานหรือไม่ หากพบว่ามีจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ต้องรีบดำเนินการแก้ไข เพื่อป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุนั่นเอง

จากการทำงานของจป. ที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นจะเห็นว่าจป. ต้องทำงานหลายด้านเพราะฉนั้นคนที่ไม่เหมาะจะเป็นจป. คือ

  1. อยากเป็น จป วิชาชีพแต่ไม่ชอบลงหน้างาน ไม่ชอบความร้อน ชอบอยู่ใน office 

หากเราเป็น จป. วิชาชีพที่ต้องทำงานคนเดียวทั้งหมด คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องลงหน้างาน เพราะหากเรานั่งอยู่แต่บนออฟฟิศ เราก็จะไม่สามารถเห็นปัญหา หรือจุดที่อาจเกิดอันตรายได้ จป.วิชาชีพต้องรู้กระบวนการผลิตทุกขั้นตอน เพื่อทราบถึงอันตรายและนำมาวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA) แต่ละกระบวนการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ

  1. ไม่ชอบความวุ่นวาย ไม่ชอบการแก้ไขที่หลากหลาย ขอปัญหาแบบเดิมๆชิล ๆ ได้เปล่า…. ~~ เอ่อ อืม…

การเป็น จป. วิชาชีพมักมีอะไรให้ตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา หากเราชอบทำงานที่ชัดเจน แน่นอน ทำเหมือนเดิมทุกวัน การเป็น จป.วิชาชีพ ไม่น่าจะเหมาะกับคุณแน่นอน เพราะ จป.วิชาชีพต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วย ไม่ใช่แค่งานด้านความปลอดภัยเท่านั้น ที่ จป. ต้องรับผิดชอบ ยกตัวอย่าง เช่น หากมีสัตว์เข้าโรงงาน ไม่ว่าจะเป็น ลิง แมว หรืองู ก็เป็นหน้าที่ที่ จป. อย่างเรา ต้องหาวิธีไล่ และป้องกัน ไม่ให้สัตว์ทำร้ายพนักงานด้วย

ในการประชุมคปอ. ก็มักจะมีปัญหามาให้จป. ได้แก้และหามาตรการด้วยเช่นกัน

  1. ไม่ชอบการประสานงานก็แบบว่าฉันโลกส่วนตัวสูงรักสันโดด

การฝึกอบรม หรือฝึกซ้อม แผนฉุกเฉินต่างๆ หรือแม้แต่การประชุม คปอ. ประจำเดือน จป.วิชาชีพไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ต้องคอยประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆอยู่ตลอดเวลา เพื่อขอความร่วมมือและขอความช่วยเหลือ หาก จป. วิชาชีพไม่ชอบการประสานงานแล้ว ชีวิตการเป็น จป.วิชาชีพ คงจะทำงานได้ไม่ราบรื่นอย่างแน่นอน

  1. ไม่ชอบกฎระเบียบ 

เป็นที่รู้กันดีในวงการ จป. ว่า หนึ่งบุคคลสำคัญที่ออกกฎระเบียบมาเต็ม โรงงาน ก็คือท่าน จป นี่เองที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังระเบียบความปลอดภัยทั้งหมด ดังนั้นการเป็น จป. ยิ่งต้องทำให้เป็นตัวอย่างแบบเคร่งครัดสุดๆกันเลยทีเดียว ข้อนี้สำคัญมาก สำหรับการเป็น จป. ถ้า จป. เองยังไม่ทำตามกฎก็จะไม่สามารถไปบอกกับบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎได้ ผ่านมา 4 ข้อแล้ว เริ่มท้อกันหรือยังอย่าพึ่งถอดใจนะ 🙂

  1. ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอก คือเป็นคนขี้อายน่ะ 

งานหลักอีกอย่างของ จป. วิชาชีพ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ การอบรมให้ความรู้กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานใหม่ ผู้รับเหมา ลูกค้า หรืออบรมในเรื่องความปลอดภัยอื่นๆ ที่ จป.วิชาชีพสามารถอบรมเองได้ และคุณสมบัติที่สำคัญของ จป. วิชาชีพอีกข้อ คือ ต้องกล้าพูด กล้าบอก เพราะการเป็น จป.นั้น เมื่อพบสิ่งผิดปกติ หรือพบพนักงานไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ต้องบอกให้เค้ารู้ และทำตามกฎนั้นๆด้วย ที่สำคัฐต้องมีความมั่นใจในตัวเองค่อนข้างสูงจะดีเยี่ยมเลย

  1. ไม่ชอบกฎหมาย ไม่ชอบอ่านกฎหมาย มันเข้าใจย้ากยาก

หัวใจหลักของงาน จป. อีกข้อคือ “ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” จป. วิชาชีพจำเป็นต้องศึกษาข้อกำหนดของกฎหมายให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนที่จะนำเสนอแนะแก่นายจ้าง เพราะฉนั้น ถ้าเราไม่ชอบอ่าน และทำความเข้าใจกฎหมายแล้ว งาน จป. วิชาชีพก็ไม่น่าเหมาะกับเราเช่นกัน 

7. จป วิชาชีพ เงินเดือนเท่าไร

หลายคนสนใจย้ายสายงานหรือเปลี่ยนสายงานมาเป็นจปเหตุผลก็เพราะ จป วิชาชีพ ได้เงินเดือนดีโดยส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยของเงินเดือน จป วิชาชีพจะเริ่มตน 18,000 บาทสำหรับเด็กจบใหม่ และเมื่อมีประสบการณ์ 2-3 ปีขึ้นไป เงินเดือนก็จะเริ่มขึ้นไปที่ 22,000 – 25,000 บาทนี่จึงเป็นอีกสาเหตุที่ จป วิชาชีพ ส่วนใหญ่ที่จบใหม่ หรือทำงานได้ไม่เกิน 3 ปี เปลี่ยนงานกันเป็นว่าเล่นก็เพราะสายงาน จป วิชาชีพ เมื่อมีประสบการณ์ระดับนึงแล้วก็ต้อง up เงินเดือนกันหน่อย ทั้งนี้ยังไม่รวมถึง จป วิชาชีพ นั้นก็มีหลายฟิวล์เช่น จป ไซต์ก่อสร้าง จป สายโรงงานอุตสาหกรรม จป สาย ปิโตรเคมี จป สาย บลาๆๆๆ ใครเก่งภาษาอังกฤษก็ไม่ต้องพูดถึงส่วนใหญ่ก็ได้งานดีดีกันไปเช่นพวก บริษัท ปตท SCG และบริษัทชั้นนำต่าง ๆ 

สรุป:

รู้จักงานของ จป.วิชาชีพ กันบ้างแล้ว ก็ลองตัดสินใจดู ว่าเราเหมาะกับงานลักษณะนี้หรือไม่ หากมองแล้วว่า เราทำได้ เราชอบแบบนี้ ก็เหมาะที่จะเป็น จป. แต่หากอ่านดูแล้ว รู้สึกว่าไม่ใช่ทาง ก็ลองมองหาอาชีพอื่นที่เหมาะจะดีกว่า