แนวข้อสอบงานสารบรรณ พร้อมเฉลย pdf

แนวข้อสอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 เป็นระเบียบที่ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านเอกสารของทางราชการ ที่เรียกกันว่า “งานสารบรรณ” คือ งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทํา การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม และการทําลายเอกสาร

2. ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ดำเนินการอย่างไร
1. ทำหนังสือขออนุญาตหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
2. ให้ขอทำความตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบนี้
3.ทำหนังสือชี้แจงเหตุผลต่อคณะกรรมการ
4. ทำรายงานขอความเห็นชอบเสนอต่อผู้บังคับบัญชา
ตอบ 2. ให้ขอทำความตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบนี้

3. ในกรณีที่กฎหมาย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับงานสารบรรณไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการอย่างไร
1. ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
2. ปฏิบัติตามระเบียบงานสารบรรณ
3. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
4. ปฏิบัติตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
ตอบ 1. ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบว่าด้วยการนั้น

4. ในกรณีที่กฎหมาย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับงานสารบรรณไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการอย่างไร
1. ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
2. ปฏิบัติตามระเบียบงานสารบรรณ
3. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
4. ปฏิบัติตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
ตอบ 1. ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือระเบียบว่าด้วยการนั้น

5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า “งานสารบรรณ” หมายความว่าอย่างไร
1. งานที่เกี่ยวกับการบริการงานเอกสาร
2.งานที่เกี่ยวกับการดำเนินการงานเอกสาร
3.งานที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานเอกสาร
4.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร
ตอบ 4.งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร

6. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสารตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณคือข้อใด
1.การร่าง การจัดพิมพ์ การตรวจทาน
2.การจัดทำ การรับ การส่ง การบันทึก การจัดเก็บ
3.การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม การทำลาย
4.การพิมพ์ การพิสูจน์อักษร การทำรายงาน การเก็บรักษา การยืม
ตอบ 3.การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม การทำลาย

7. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า “หนังสือ” หมายความว่าอย่างไร
1. หนังสือราชการ 2.เอกสารราชการ
3. รายงานราชการ 4. ทะเบียนราชการ
ตอบ 1. หนังสือราชการ

8. “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณมีขั้นตอนใด
1. การรับ การส่ง 2. การบันทึก การจัดเก็บ
3. การติดตาม การตรวจสอบ 4. การร่าง การพิมพ์
ตอบ 1. การรับ การส่ง

9. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่าอย่างไร
1. การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทาง airmail
2. การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
3. การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางไปรษณีย์
4. การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางเครือข่ายฐานข้อมูล
ตอบ 2. การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

10. “ส่วนราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ หมายถึงข้อใด
1. กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน 2. ราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
3. คณะกรรมการ 4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ

11. ข้อใดไม่ใช่ “ส่วนราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. รัฐวิสาหกิจ 2. กระทรวง ทบวง กรม
3. คณะกรรมการ 4. ราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
ตอบ 1. รัฐวิสาหกิจ

12. ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณตำแหน่งใดคือผู้รักษาการ
1. รัฐมนตรี 2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. ปลัดกระทรวง 4. ผู้ช่วยรัฐมนตรี
ตอบ 2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

13.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ มีหน้าที่อย่างไร
1. ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
2. ปรับปรุงแก้ไขระเบียบงานสารบรรณ
3. จัดทำงบประมาณงานสารบรรณ
4. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1. ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ

14.ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. ตีความและวินิจฉัยปัญหา 2. การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับระเบียบ
3. จัดทำคำอธิบาย 4. ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
ตอบ 3. การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับระเบียบ

15.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะขอความเห็นจากคณะกรรมการใดในการการตีความ การวินิจฉัยปัญหา และการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก และจัดทำคำอธิบาย
1. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
2. คณะกรรมการอุทธรณ์และข้อร้องเรียนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
3. คณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาและแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
4. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ตอบ 1. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

16.“หนังสือราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ หมายถึงข้อใด
1. เอกสารรับรองในราชการ
2. เอกสารสำคัญในราชการ
3. เอกสารที่ใช้ปฏิบัติงานในราชการ
4. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
ตอบ 4. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ

17.ข้อใดไม่ใช่ “หนังสือราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักปฏิบัติการทำงานในราชการ
2. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
3. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
4. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
ตอบ 1. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักปฏิบัติการทำงานในราชการ

18.ข้อใดไม่ใช่ “หนังสือราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นนอกเหนือกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
ตอบ 4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นนอกเหนือกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ

19.ข้อใดไม่ใช่ “หนังสือราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
2. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
3. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบอินเตอร์เน็ต
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
ตอบ 3. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบอินเตอร์เน็ต

20.ข้อใดไม่ใช่ “หนังสือราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
2. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
3. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
4. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงหน่วยงานเอกชน
ตอบ 4. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงหน่วยงานเอกชน

21.ข้อใดไม่ใช่ “หนังสือราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
2. หนังสือที่มีไปมาระหว่างหน่วยงานเอกชน
3. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
4. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ 2. หนังสือที่มีไปมาระหว่างหน่วยงานเอกชน

22.“หนังสือราชการ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ มีกี่ชนิด
1. 4 ชนิด 2. 5 ชนิด
3. 6 ชนิด 4. 7 ชนิด
ตอบ 3. 6 ชนิด

23.ข้อใดไม่ใช่ชนิดของหนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. หนังสือภายนอก 2. หนังสือภายใน
3. หนังสือติดต่อราชการ 4. หนังสือประทับตรา
ตอบ 3. หนังสือติดต่อราชการ

24.ข้อใดไม่ใช่ชนิดของหนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. หนังสือประทับตรา 2. หนังสือสั่งการ
3. หนังสือประชาสัมพันธ์ 4. หนังสือรายงาน
ตอบ 4. หนังสือรายงาน

25.ข้อใดไม่ใช่ชนิดของหนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. หนังสือภายนอก 2. หนังสือภายใน
3. หนังสือชี้แจง 4. หนังสือประทับตรา
ตอบ 3. หนังสือชี้แจง

26.ข้อใดไม่ใช่ชนิดของหนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. หนังสือประชาสัมพันธ์ 2. หนังสือสั่งการ
3. หนังสือประทับตรา 4. หนังสือเสนอผู้บังคับบัญชา
ตอบ 4. หนังสือเสนอผู้บังคับบัญชา

27.ข้อใดไม่ใช่ชนิดของหนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
1. หนังสือร้องเรียน 2. หนังสือภายนอก
3. หนังสือภายใน 4. หนังสือประทับตรา
ตอบ 1. หนังสือร้องเรียน

28.หนังสือภายนอกมีลักษณะอย่างไร
1. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี
2. ใช้กระดาษตราครุฑ
3. ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการ
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ

29.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสือภายนอก
1. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี
2. ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
3. ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการ
4. ส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก
ตอบ 2. ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

30.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสือภายนอก
1. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี
2. ใช้กระดาษตราครุฑ
3. ใช้ติดต่อภายในส่วนราชการ
4. ส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก
ตอบ 3. ใช้ติดต่อภายในส่วนราชการ

31.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสือภายนอก
1. หนังสือติดต่อราชการที่ไม่เป็นแบบพิธี
2. ใช้กระดาษตราครุฑ
3. ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการ
4. ส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก
ตอบ 1. หนังสือติดต่อราชการที่ไม่เป็นแบบพิธี

32.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสือภายนอก
1. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี
2. ใช้กระดาษตราครุฑ
3. ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการ
4. ใช้การประทับตราแทนการลงชื่อ
ตอบ 4. ใช้การประทับตราแทนการลงชื่อ

33.ส่วนใดของหนังสือภายนอกไม่จำเป็นต้องมี
1. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ 2. วัน เดือน ปี
3. อ้างถึง 4. คำขึ้นต้น
ตอบ 3. อ้างถึง

34.ส่วนใดของหนังสือภายนอกไม่จำเป็นต้องมี
1. สิ่งที่ส่งมาด้วย 2. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ
2. คำขึ้นต้น 4. คำลงท้าย
ตอบ 1. สิ่งที่ส่งมาด้วย

35.การลง “เรื่อง” สำหรับหนังสือภายนอกต้องลงอย่างไร
1. ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือ
2. ให้ลงเรื่องที่ใจความครอบคลุมที่สุดของหนังสือ
3. ให้ลงเรื่องเต็มตามใจความหนังสือ
4. ให้ลงเฉพาะหัวข้อของหนังสือ
ตอบ 1. ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือ

36.การใช้ “คำขึ้นต้น” สำหรับหนังสือภายนอกต้องลงอย่างไร
1. ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้ส่งหนังสือ
2. ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ
3. ใช้คำขึ้นต้นตามตำแหน่งของผู้เป็นเจ้าของหนังสือ
4. ใช้คำขึ้นต้นตามตำแหน่งของหัวหน้าส่วนราชการ
ตอบ 2. ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ

37.การลง “อ้างถึง” สำหรับหนังสือภายนอกใช้ในกรณีใด
1. อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว
2. อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือไม่เคยได้รับมาก่อน
3. . อ้างถึงหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับเป็นฉบับแรก
4. . อ้างถึงหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้จัดทำขึ้นมาก่อนแล้ว
ตอบ 1. อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว

38.การลง “อ้างถึง” สำหรับหนังสือภายนอกต้องมีรายละเอียดอย่างไร
1. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ
2. เลขที่หนังสือ
3. วันที่ เดือน ปีพุทธศักราชของหนังสือ
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ

39.การลง “อ้างถึง” สำหรับหนังสือภายนอกข้อใดไม่จำเป็นต้องมี
1. เจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือ
2. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ
3. เลขที่หนังสือ
4. วันที่ เดือน ปีพุทธศักราชของหนังสือ
ตอบ 1. เจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือ

40.การลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือและชื่อเต็มของเจ้าของหนังสือต้องลงอย่างไร
1. พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือลายมือชื่อไว้บนลายมือชื่อ
2. พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
3. พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ด้านซ้ายลายมือชื่อ
4. พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ด้านขวาลายมือชื่อ
ตอบ 2. พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ

41.ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับการะทรวงหรือทบวงสำหรับหนังสือภายนอกให้ลงอย่างไร
1. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องระดับกรม
2. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องระดับกอง
3. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง
4. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเฉพาะหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ตอบ 3. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง

42.ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมลงมาสำหรับหนังสือภายนอกให้ลงอย่างไร
1. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องระดับกรม
3. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องระดับกอง
4. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง
ตอบ 1. ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ

43.หนังสือภายในมีลักษณะอย่างไร
1. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก
2. เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวงทบวงกรมหรือจังหวัดเดียวกัน
3. ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ

44.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหนังสือภายใน
1. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก
2. . เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวงทบวงกรมเดียวกัน
3. เป็นหนังสือติดต่อภายในจังหวัดเดียวกัน
4. ใช้กระดาษตราครุฑ
ตอบ 4. ใช้กระดาษตราครุฑ

45.หนังสือประทับตรามีลักษณะอย่างไร
1. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
2. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป
3. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป
4.หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงขึ้นไป
ตอบ 1. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป

46.ตำแหน่งใดเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตราในหนังสือประทับตรา
1. หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง
2. ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป
3.หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
4. ถูกทั้ง 1 และ 2
ตอบ 4. ถูกทั้ง 1 และ 2

47.หนังสือประทับตราใช้ในกรณีใด
1. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
2. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
3. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ

48.หนังสือประทับตราห้ามใช้ในกรณีใด
1. การตอบรับทราบที่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน
2. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
3. การเตือนเรื่องที่ค้าง
4. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
ตอบ 1. การตอบรับทราบที่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน

49.การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร ให้ใช้หนังสือประเภทใด
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ
ตอบ 3. หนังสือประทับตรา

50.หนังสือประทับตราต้องใช้กระดาษประเภทใด
1. กระดาษบันทึกข้อความ
2. กระดาษตราครุฑ
3. กระดาษ A4
4. กระดาษ A5
ตอบ 2. กระดาษตราครุฑ

51.ให้ประทับตราชื่อส่วนราชการในหนังสือประทับตราด้วยหมึกสีอะไร
1. สีน้ำเงิน
2. สีดำ
3. สีแดง
4. สีที่เห็นเด่นชัด
ตอบ 3. สีแดง

52.หนังสือสั่งการมีกี่ชนิด
1. 3 ชนิด
2. 4 ชนิด
3. 5 ชนิด
4. 6 ชนิด
ตอบ 1. 3 ชนิด

53.ข้อใดไม่ใช่หนังสือสั่งการ
1. คำสั่ง
2. ระเบียบ
3. ข้อบังคับ
4. ประกาศ
ตอบ 4. ประกาศ

54.หนังสือสั่งการประเภท “คำสั่ง” มีความหมายตามข้อใด
1. บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ
2. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้
3. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
4. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 4. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย

55.บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย คือหนังสือสั่งการชนิดใด
1. คำสั่ง
2. ระเบียบ
3. ข้อบังคับ
4. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 1. คำสั่ง

56.การลง “คำสั่ง” ในหนังสือสั่งการชนิด “คำสั่ง” ให้ลงอย่างไร
1. ให้ลงชื่อส่วนราชการหรือตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกคำสั่ง
2. ให้ลงชื่อบุคคลหรือตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกคำสั่ง
3. ให้ลงชื่อส่วนราชการหรือที่อยู่ของหน่วยงานที่ออกคำสั่ง
4.ให้ลงชื่อส่วนราชการและเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่ออกคำสั่ง
ตอบ 1. ให้ลงชื่อส่วนราชการหรือตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกคำสั่ง

57.การลง “ที่” ในหนังสือสั่งการชนิด “คำสั่ง” ให้ลงอย่างไร
1. ให้เริ่มฉบับแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีงบประมาณ ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
2. ให้เริ่มฉบับแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
3. ให้ลงเป็น ฉบับที่ 1 และที่ถัดๆ ไปตามลำดับจนสิ้นปีงบประมาณ
4. ให้ลงเป็น ฉบับที่ 1 และที่ถัดๆ ไปตามลำดับสิ้นปีปฏิทิน
ตอบ 2. ให้เริ่มฉบับแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง

58.การลง “ข้อความ” ในหนังสือสั่งการชนิด “คำสั่ง” ให้ลงอย่างไร
1. ให้อ้างเหตุที่ออกคำสั่ง และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง (ถ้ามี)
2. ให้อ้างผลที่ออกคำสั่ง และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง (ถ้ามี)
3. ให้อ้างความเห็นที่ออกคำสั่ง และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง (ถ้ามี)
4. ให้อ้างสถานการณ์ที่ออกคำสั่ง และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง (ถ้ามี)
ตอบ 1. ให้อ้างเหตุที่ออกคำสั่ง และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง (ถ้ามี)

59.การลงวันที่มีคำสั่งในหนังสือสั่งการชนิด “คำสั่ง” ให้ลงหลังข้อความใดข้อใด
1. สั่งการ ณ วันที่
2. สั่งการวันที่
3. สั่งวันที่
4. สั่ง ณ วันที่
ตอบ 4. สั่ง ณ วันที่

60.หนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” คือข้อใด
1. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้กำหนดไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
2. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้กำหนดไว้ โดยต้องอาศัยอำนาจของกฎหมาย
3. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
4. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยต้องอาศัยอำนาจของกฎหมาย
ตอบ 3. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้

61.หนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” จัดทำเพื่อถือเป็นหลักใด
1. เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราว
2. เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะกิจ
3. เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ
4. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ 3. เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ

62.บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ คือหนังสือสั่งการประเภทใด
1. คำสั่ง
2. ระเบียบ
3. ข้อบังคับ
4. ประกาศ
ตอบ 2. ระเบียบ

63.หนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” ต้องใช้กระดาษประเภทใด
1. กระดาษบันทึกข้อความ
2. กระดาษตราครุฑ
3. กระดาษ A4
4. กระดาษ A5
ตอบ 2. กระดาษตราครุฑ

64.การลง “ระเบียบ” ในหนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” ให้ลงอย่างไร
1. ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกระเบียบ
2. ให้ลงชื่อของระเบียบ
3. ให้ลงชื่อผู้มีอำนาจออกระเบียบ
4. ให้ลงตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกระเบียบ
ตอบ 1. ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกระเบียบ

65.การลง “ว่าด้วย” ในหนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” ให้ลงอย่างไร
1. ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกระเบียบ
2. ให้ลงชื่อของระเบียบ
3. ให้ลงชื่อผู้มีอำนาจออกระเบียบ
4. ให้ลงตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกระเบียบ
ตอบ 2. ให้ลงชื่อของระเบียบ

66.การลง “ฉบับที่” ในหนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ”เป็นเรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ให้ลงอย่างไร
1. ให้เริ่มฉบับแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีงบประมาณ ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
2. ให้เริ่มฉบับแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
3. ให้ลงเป็น ฉบับที่ 1 และที่ถัดๆ ไปตามลำดับทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
4. ฉบับแรกไม่ต้องลงฉบับที่ ฉบับต่อมา ให้ลงเป็นฉบับที่ 2 และที่ถัดๆ ไปตามลำดับ
ตอบ 4. ฉบับแรกไม่ต้องลงฉบับที่ ฉบับต่อมา ให้ลงเป็นฉบับที่ 2 และที่ถัดๆ ไปตามลำดับ

67.ข้อความที่ใช้ในหนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” ข้อ 1 มีรายละเอียดอย่างไร
1. ชื่อระเบียบ
2. วันใช้บังคับ
3. ผู้รักษาการ
4. ผู้มีอำนาจออกระเบียบ
ตอบ 1. ชื่อระเบียบ

68.ข้อความที่ใช้ในหนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” ข้อ 2 มีรายละเอียดอย่างไร
1. ชื่อระเบียบ
2. วันใช้บังคับ
3. ผู้รักษาการ
4. ผู้มีอำนาจออกระเบียบ
ตอบ 2. วันใช้บังคับ

69.ข้อความที่ใช้ในหนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” ข้อสุดท้าย มีรายละเอียดอย่างไร
1. ชื่อระเบียบ
2. วันใช้บังคับ
3. ผู้รักษาการ
4. ผู้มีอำนาจออกระเบียบ
ตอบ 3. ผู้รักษาการ

70.การลงวันที่ประกาศในหนังสือสั่งการชนิด “ระเบียบ” ให้ลงหลังข้อความใด
1. ประกาศ ณ วันที่
2. ประกาศวันที่
3. วันที่ประกาศ
4. ประกาศเมื่อวันที่
ตอบ 1. ประกาศ ณ วันที่

71.หนังสือสั่งการประเภท “ข้อบังคับ” มีความหมายตามข้อใด
1. บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ
2. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้
3. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
4. บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตอบ 2. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้

72.บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ คือหนังสือสั่งการชนิดใด
1. คำสั่ง
2. ระเบียบ
3. ข้อบังคับ
4. ประกาศ
ตอบ 3. ข้อบังคับ

73.หนังสือสั่งการชนิด “ข้อบังคับ” ต้องใช้กระดาษประเภทใด
1. กระดาษบันทึกข้อความ
2. กระดาษตราครุฑ
3. กระดาษ A4
4. กระดาษ A5
ตอบ 2. กระดาษตราครุฑ

74.การลง “ข้อบังคับ” ในหนังสือสั่งการชนิด “ข้อบังคับ” ให้ลงอย่างไร
1. ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข้อบังคับ
2. ให้ลงชื่อของข้อบังคับ
3. ให้ลงชื่อผู้มีอำนาจออกข้อบังคับ
4. ให้ลงตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกข้อบังคับ
ตอบ 1. ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข้อบังคับ

75.การลง “ว่าด้วย” ในหนังสือสั่งการชนิด “ข้อบังคับ” ให้ลงอย่างไร
1. ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข้อบังคับ
2. ให้ลงชื่อของข้อบังคับ
3. ให้ลงชื่อผู้มีอำนาจออกข้อบังคับ
4. ให้ลงตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกข้อบังคับ
ตอบ 2. ให้ลงชื่อของข้อบังคับ

76.การลง “ฉบับที่” ในหนังสือสั่งการชนิด “ข้อบังคับ”เป็นเรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ให้ลงอย่างไร
1. ให้เริ่มฉบับแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีงบประมาณ ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
2. ให้เริ่มฉบับแรกจากเลข 1 เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
3. ให้ลงเป็น ฉบับที่ 1 และที่ถัดๆ ไปตามลำดับทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
4. ฉบับแรกไม่ต้องลงฉบับที่ ฉบับต่อมา ให้ลงเป็นฉบับที่ 2 และที่ถัดๆ ไปตามลำดับ
ตอบ 4. ฉบับแรกไม่ต้องลงฉบับที่ ฉบับต่อมา ให้ลงเป็นฉบับที่ 2 และที่ถัดๆ ไปตามลำดับ

77.ข้อความที่ใช้ในหนังสือสั่งการชนิด “ข้อบังคับ” ข้อ 1 มีรายละเอียดอย่างไร
1. ชื่อข้อบังคับ
2. วันใช้บังคับ
3. ผู้รักษาการ
4. ผู้มีอำนาจออกระเบียบ
ตอบ 1. ชื่อข้อบังคับ

78.ข้อความที่ใช้ในหนังสือสั่งการชนิด “ข้อบังคับ” ข้อ 2 มีรายละเอียดอย่างไร
1. ชื่อข้อบังคับ
2. วันใช้บังคับ
3. ผู้รักษาการ
4. ผู้มีอำนาจออกระเบียบ
ตอบ 2. วันใช้บังคับ

79.ข้อความที่ใช้ในหนังสือสั่งการชนิด “ข้อบังคับ” ข้อสุดท้าย มีรายละเอียดอย่างไร
1. ชื่อข้อบังคับ
2. วันใช้บังคับ
3. ผู้รักษาการ
4. ผู้มีอำนาจออกระเบียบ
ตอบ 3. ผู้รักษาการ

80.การลงวันที่ประกาศในหนังสือสั่งการชนิด “ข้อบังคับ” ให้ลงหลังข้อความใด
1. ประกาศ ณ วันที่
2. ประกาศวันที่
3. วันที่ประกาศ
4. ประกาศเมื่อวันที่
ตอบ 1. ประกาศ ณ วันที่

81.หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด
1. 2 ชนิด
2. 3 ชนิด
3. 4 ชนิด
4. 5 ชนิด
ตอบ 2. 3 ชนิด

82.ข้อใดคือประเภทของหนังสือประชาสัมพันธ์
1. ประกาศ
2. แถลงการณ์
3. ข่าว
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ

83.ข้อใดไม่ใช่ประเภทของหนังสือประชาสัมพันธ์
1.ระเบียบ
2. ประกาศ
3. แถลงการณ์
4. ข่าว
ตอบ 1.ระเบียบ

84.หนังสือประชาสัมพันธ์ประเภท “ประกาศ” มีความหมายตามข้อใด
1. บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ
2. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆ ให้ทราบขัดเจนโดยทั่วกัน