ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564

การจดจัดตั้งบริษัทเต็มไปด้วยรายละเอียดและขั้นตอนมากมาย ซึ่งเราเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกท่านที่กำลังมีโครงการจดทะเบียนบริษัทคงต้องมีการหาและศึกษาข้อมูลกันมามากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนจดทะเบียนบริษัท เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนบริษัท เงื่อนไขต่าง ๆ แต่ในครั้งนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญนั่นก็คือ “ทุนจดทะเบียนบริษัท” ให้มากขึ้น ซึ่งเราเชื่อว่าผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านน่าจะยังคงมีข้อสงสัยหลายประการ ดังนั้น ไปรู้จักกับทุนจดเบียนบริษัทให้มากขึ้นกันดีกว่า

ทุนจดทะเบียนบริษัท คืออะไร ?

ทุนจดทะเบียนบริษัท คือจำนวนเงินที่ผู้ก่อการเห็นชอบและตกลงกันว่าจะใช้ในการแจ้งจดทะเบียนบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อเริ่มต้นธุรกิจตามกฎหมายโดยจำนวนทุนจดทะเบียนของแต่ละบริษัทจะมีปรากฎอยู่บนหนังสือรับรองบริษัทและหนังสือบริคณฑ์สนธิซึ่งตามกฎหมายระบุไว้ว่าผู้เริ่มก่อการจะต้องประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 คนขึ้นไปจึงจะสามารถจดทะเบียนบริษัทได้

ความสำคัญของทุนจดทะเบียนบริษัท กับ ความน่าเชื่อถือ ?

ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564
ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564

ทุนจดทะเบียนบริษัทมีผลโดยตรงกับความน่าเชื่อถือของบริษัทนั้น ๆ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียนแล้ว ยังมีผลต่อการรับงานชิ้นใหญ่ ๆ ของบริษัท ยิ่งทุนจดทะเบียนสูงเท่าไร ก็ยิ่งช่วยสร้างความมั่นใจและความอุ่นใจให้กับผู้ว่าจ้างได้มากเท่านั้น และยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทในขอบเขตงานเดียวกันที่มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า ผู้ว่าจ้างย่อมพิจารณาเลือกบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนหนากว่าแน่นอน เนื่องจากเวลาเกิดปัญหาฟ้องร้องและบริษัทต้องชดใช้ค่าเสียหาย บริษัทที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่าย่อมมีศักยภาพในการชำระหนี้ได้มากกว่า

ทุนจดทะเบียนบริษัท มีขั้นต่ำเท่าไหร่ ? มีวิธีการชำระอย่างไร

ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564
ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564

หากพิจารณาในแง่ของกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ว่าในการจดบริษัทจะต้องมีมูลค่าหุ้น หุ้นละ 5 บาทขึ้นไป และ ในการจดจัดตั้งบริษัทจะต้องมีผู้ร่วมก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน หากผู้ก่อการถือหุ้นคนละ 1 หุ้น และหุ้นขั้นต่ำอยู่ที่หุ้นละ 5 บาท ดังนั้น หากว่ากันตามกฎหมาย ทุนจดทะเบียนบริษัท จึงมีขั้นต่ำอยู่ที่ 15 บาทเท่านั้น

ในปัจจุบัน กฎหมายระบุให้บริษัทต้องมีการชำระค่าหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน ดังนั้น หากบริษัทกำหนดทุนจดทะเบียนเป็น 1,000,000 บาท ก็จะต้องมีการชำระทุนจดทะเบียน 250,000 บาท โดยการชำระค่าทุนจดทะเบียนนั้น ผู้ประกอบการไม่ต้องจ่ายเงินให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแต่อย่างใด เพียงแค่ให้ผู้ถือหุ้นแต่ละรายชำระค่าหุ้นกันเข้ามาจริง ๆ ให้แก่บริษัทเพื่อให้บริษัทนำเงินทุนดังกล่าวไปใช้ในการดำเนินกิจการ

ทุนจดทะเบียนบริษัทเท่าไหร่ดี ?

หากลองนึกในมุมมองของลูกค้าหรือคู่ค้า หากเราต้องทำธุรกิจกับบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 15 บาท คงดูไม่น่าเชื่อถือเป็นแน่ เพราะอย่าลืมว่าทุนที่ใช้จดทะเบียนบริษัทนั้นเป็นปัจจัยที่สามารถส่งเสริมความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง และภาพลักษณ์ของบริษัทได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถแสดงถึงงบประมาณที่ใช้ในการทำธุรกิจและบ่งบอกถึงความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทนั้น ๆ ได้ ดังนั้น ธุรกิจส่วนใหญ่จึงวางทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 100,000 บาท – 5,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ ซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว เพราะแต่ละบริษัทก็มีปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เช่น มูลค่าของงานที่รับ ความสามารถในการชำระค่าหุ้น จำนวนเงินที่บริษัทมีอยู่จริง เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้จดที่ 5,000,000 ล้านบาท เพราะไม่ว่าจะจดด้วยทุน 100,000 บาท หรือ 5,000,000 บาทก็มีค่าธรรมเนียมเท่ากันคือ 6,500 บาท อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการบังคับใช้เงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทุนจดทะเบียน เช่น

  • ในกรณีที่มีการว่าจ้างพนักงานชาวต่างชาติที่ถือใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ต้องมีทุนจดทะเบียน 2,000,000 บาท ต่อชาวต่างชาติ 1 คน
  • ทุนจดทะเบียนเป็นหนึ่งในเกณฑ์พิจารณาสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจในด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ
  • กิจการที่ต้องทำธุรกิจหรือประมูลงานกับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจจะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำอย่างน้อย 5,000,000 บาท
  • สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินในอนาคต จำนวนเงินทุนจดทะเบียนถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของสถาบันทางการเงิน เพราะสามารถแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการรับผิดชอบต่อหนี้สินได้

ข้อควรระวังเมื่อแจ้งทุนจดทะเบียนบริษัท

ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564
ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564

ข้อควรระวังเมื่อแจ้งทุนจดทะเบียนบริษัทที่ผู้ประกอบการมักมองข้ามมากที่สุด คือ การแจ้งจำนวนเงินค่าหุ้นที่ชำระแล้วในขั้นตอนการแจ้งจดทะเบียน ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องแจ้งจำนวนเงินที่ชำระค่าหุ้นตามความเป็นจริง เช่น หากผู้ประกอบแจ้งทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท และมีการชำระค่าหุ้นตามขั้นต่ำที่ 25% ก็ควรแจ้งกรมธุรกิจการค้าว่ามีการชำระแล้วที่ 250,000 บาท ไม่ใช่แจ้งว่า 1,000,000 บาท เพราะหากสรรพากรเข้าไปตรวจสอบ และเห็นว่าบริษัทมีเงินในบัญชีเพียง 250,000 บาท ซึ่งยังขาดอยู่อีก 750,000 บาท ผู้ประกอบการจะต้องทำเรื่องชี้แจงถึงจำนวนเงินที่ขาดหายไป และหากหลีกเลี่ยงด้วยการให้เหตุผลว่าเงินก้อนนั้นอยู่ที่กรรมการของบริษัท สรรพากรจะถือว่าเป็นการกู้ยืมจากบริษัท ซึ่งหมายถึงว่าบริษัทจะต้องมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากการกู้ยืมนั้น และเมื่อถึงเวลาจ่ายภาษีของบริษัทในช่วงสิ้นปี ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมนี้จะต้องถูกนำไปคำนวณเป็นรายได้ของบริษัท ซึ่งแน่นอนว่าย่อมทำให้บริษัทเสียภาษีเพิ่มขึ้นนั่นเอง

จดทะเบียนธุรกิจ สร้างความได้เปรียบ กับ PMP Serve (Thailand) ครบจบในที่เดียว

PMP SERVE (THAILAND) รับจดทะเบียนบริษัทอย่างครบวงจรเพื่อช่วยดำเนินการจดทะเบียนบริษัทแทนผู้ประกอบการทุกท่านที่ต้องการจัดตั้งบริษัทตั้งแต่ขั้นตอนการให้คำปรึกษา จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ รวมถึงช่วยดำเนินการขั้นตอนทั้งหมดแทนท่านเพื่อให้ท่านสามารถนำเวลาอันมีค่าไปใช้ในการวางแผนธุรกิจ ดำเนินธุรกิจ รวมถึงพัฒนาธุรกิจให้เจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น

ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564
ทุนจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ํา 2564

PMP SERVE (THAILAND) บริการรับจดทะเบียนธุรกิจ รับจดบริษัทที่ได้มาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมายอย่างครบวงจร ครอบคลุมธุรกิจที่หลากหลายในราคาเหมาะสม บริการรับจดทะเบียนบริษัท โดยทีมงานมืออาชีพที่มีทั้งความเชี่ยวชาญและชำนาญการ มีประสบการณ์ในการรับจดทะเบียนบริษัท ราคายุติธรรมและเหมาะสม ให้กับธุรกิจหลากหลายประเภทมาอย่างยาวนาน มั่นใจได้ถึงมาตรฐานและความถูกต้อง พร้อมให้บริการท่านด้วยความรวดเร็ว กระชับ ฉับไว พร้อมให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ตรงต่อเวลา และทันต่อเวลา การันตีมาตรฐานคุณภาพในการให้บริการรับจดทะเบียนบริษัท ราคาที่ยุติธรรมต่อทุกธุรกิจ ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงเพิ่มเติม ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการจดทะเบียนธุรกิจทุกประเภท