เอกสารจดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดา

การจดทะเบียนการค้า ถือเป็นหลักฐานสำคัญทางการค้า ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีความน่าเชื่อถือ ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ธุรกิจของเรามีตัวตนอยู่จริง ลูกค้าสามารถที่จะติดต่อรับ คืนหรือเปลี่ยนสินค้าได้ เมื่อสินค้าชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ในช่วงเวลาที่รับประกัน นอกจากนี้ การจดทะเบียนการค้ายังใช้เป็นหลักฐานในด้านธุรกรรมทางการเงินได้ด้วย เช่น ยื่นขอกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ เป็นต้น

ข้อควรรู้ : การจดทะเบียนการค้า เจ้าของกิจการต้องขอจดทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบธุรกิจหรือกิจการ

ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้า

ปัจจุบันการจดทะเบียนการค้า สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง เพียงเข้าเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ www.dbd.go.th ก็สามารถดำเนินการจดทะเบียนการค้าแบบออนไลน์ได้แล้ว

1. ลงทะเบียนในระบบเพื่อใช้งาน

2. จองชื่อนิติบุคคล

3. ทำรายการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์

4. ลงรายมือชื่อ

5. ชำระค่าธรรมเนียม

6. พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน และรอรับเอกสาร

 

เอกสารที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนการค้า

1. แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (ทพ.) ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf

2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

3. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชย์ (กรณีมอบอำนาจให้จดทะเบียน)

4. หนังสือแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการของนิติบุคคล (ถ้ามี)

5. กรณีผู้ประกอบการพาณิชย์เป็นเจ้าบ้าน ให้แสดงทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียน เว้นแต่มิได้เป็นเจ้าบ้านต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่

– หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ หรือ

– สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่

6. แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชย์และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป

7. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

ใครบ้างที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนการค้า

1. บุคคลธรรมดา (ผู้ประกอบการคนเดียว)

2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดา)

3. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต่างกันที่ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ทุกคนรับผิดชอบในส่วนของหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีบุคคลที่จำกัดความรับผิดและมีบุคคลที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้สินทั้งหมด)

4. บริษัทจำกัด และบริษัทที่เป็นมหาชนจำกัด

5. บริษัทต่างชาติที่เข้ามาเปิด หรือขยายสาขาในประเทศไทย

จดทะเบียนการค้าได้ที่ไหนบ้าง?

สถานที่ในการยื่นขอจดทะเบียนการค้าจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ในเขตกรุงเทพฯ

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานเขตทุกเขต ที่มีสำนักงานใหญ่รับจดทะเบียนการค้า

ในเขตภูมิภาค

  • เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา ที่มีสำนักงานใหญ่รับจดทะเบียนพาณิชย์

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการค้า

การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

– จดทะเบียนการค้าตั้งใหม่ 50 บาท

– จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท

– จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท

– ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท

– ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท

– ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น หนึ่งฉบับ)

มีหลายธุรกิจที่เปิดตัวมาโดยที่ไม่รู้ว่าต้องจดทะเบียนการค้าก่อน จนกระทั่งสรรพากรต้องเป็นฝ่ายติดต่อมาหาเราเองถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ดังนั้นในเมื่อเราเริ่มกิจการและมุ่งหวังให้ธุรกิจของเรายั่งยืนในระยะยาวแล้ว จะให้ดีก็ควรรู้ข้อกฏหมายควบคู่ไปด้วยเพื่อไม่ให้เสียค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยไม่จำเป็น ซึ่งในสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกของการเริ่มต้นทำธุรกิจนั้น คือหาข้อมูลเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ดังนี้

            มีหลายธุรกิจที่เปิดตัวมาโดยที่ไม่รู้ว่าต้องจดทะเบียนการค้าก่อน จนกระทั่งสรรพากรต้องเป็นฝ่ายติดต่อมาหาเราเองถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ดังนั้นในเมื่อเราเริ่มกิจการและมุ่งหวังให้ธุรกิจของเรายั่งยืนในระยะยาวแล้ว จะให้ดีก็ควรรู้ข้อกฏหมายควบคู่ไปด้วยเพื่อไม่ให้เสียค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยไม่จำเป็น ซึ่งในสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกของการเริ่มต้นทำธุรกิจนั้น คือหาข้อมูลเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ดังนี้

เอกสารจดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดา

 

การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคลรวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการ อันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด

พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
 ถ้ามีประเภท หรือรายละเอียดการทำธุรกิจตรงตามรูปแบบด้านล่างนี้ จำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์
          1. การขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
          2. การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
          3. การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          4 การบริการอินเทอร์เน็ต
          5. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
          6. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          7. การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
          8. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
          9. การให้บริการฟังเพลง และร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
          10 การให้บริการเครื่องเล่มเกมส์
          11. การให้บริการตู้เพลง
          12. โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
          13. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
          14. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
          15. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และ ขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมี สินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
          16. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การ รับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแร
          แต่ในกรณืที่เป็นธุรกิจการบริการนอกเหนือจากประเภทที่ว่านั้น เราก็สามารถตั้งชื่อที่เราต้องการ และเริ่มต้นดำเนินการธุรกิจได้เลย ซึ่งเมื่อครบหนึ่งปี ก็ให้ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีให้กับสรรพากร ส่วนในปีต่อไป ก็ต้องยื่นภาษี 2 ครั้งต่อปีตามปกติ (ภงด.94 ภาษีครึ่งปี, ภงด. 90 ภาษีทั้งปี) โดยลักษณะของภาษีก็จะมีให้เลือกทั้งแบบตามปกติ และแบบเหมาจ่ายซึ่งก็ควรดูตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจว่าแบบใดจะเสียน้อยกว่า

พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
   มีพาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
          1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
          2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
          3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
          4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
          5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
          6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่
                  6.1 พาณิชยกิจซึ่งผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนที่เป็นนิตบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทและ ได้ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ของ ห้างหุ้นส่วนบริษัทไว้แล้วต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ยกเว้นพาณิชยกิจต่อไปนี้ ซึ่งผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน จำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ได้แก่
                            (1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี
หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
                            (2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
                            (3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระเบบเครื่องข่าย
อินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ตให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขาย
สินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                            (4) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
                            (5) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
                            (6) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
                            (7) การให้บริการตู้เพลง
                            (8) โรงงานแปรสภาพ และสลักและการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่ง งาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
                  6.2 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
          7. พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนตาม 1-5 ซึ่งผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด

เอกสารจดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดา

 

การจดทะเบียนตั้งใหม่ มีเอกสารดังนี้
        1. คำขอจดทะเบียน :แบบ ทพ. (Print – out 2 แผ่น)
        2. หลักฐานประกอบคำขอ
                2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบดำเนิน กิจการในประเทศไทย (กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ) ซึ่งรับรองความถูกต้องโดยเจ้าของบัตรประจำตัว
                2.2 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
                2.3 กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
                2.4 สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีรายการเกี่ยวกับชื่อ วัตถุที่ประสงค์ ทุน ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการ และอำนาจกรรมการ
                2.5 หนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการในประเทศ
                2.6 ใบอนุญาตทำงานของผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการในประเทศ (กรณีเป็นบุคคลต่างด้าว)
                2.7 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการใช้สิทธิตามสนธิสัญญา (ถ้ามี)
เอกสารตามข้อ 2.4 และข้อ 2.5 หากทำขึ้นในต่างประเทศ จะต้องมีคำรับรองของโนตารีพับลิคหรือบุคคลซึ่ง
กฎหมายของประเทศนั้น ๆ ตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจรับรองเอกสาร พร้อมด้วยคำรับรองของเจ้าหน้าที่กงสุล หรือสถานฑูตไทย

ในกรณีประกอบพาณิชยกิจการขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่น วีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ต้องแจ้งข้อมูลและส่งเอกสารประกอบเพิ่มเติม ดังนี้
        1. แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจเป็นปกติ
        2. สำเนาหนังสืออนุญาต หรือ หนังสือรับรองให้เป็นผู้จำหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของ สินค้าที่ขายหรือให้เช่า หรือ สำเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากร หรือหลักฐานการซื้อขาย จากต่างประเทศ

ในกรณีประกอบพาณิชยกิจการค้าอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี ต้องดำเนินการและ ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
        1. ตรวจสอบและเรียกหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุน (กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยกเว้น เนื่องจากนาย ทะเบียน สามารถตรวจสอบหลักฐานแสดงจำนวนเงินทุนของนิติบุคคลได้จากระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้วสำหรับ
บุคคลธรรมดา ให้เชิญผู้ประกอบพาณิชยกิจมาให้ข้อเท็จจริงของแหล่งที่มาของเงินทุน หรือชี้แจงเป็นหนังสือพร้อมแนบหลักฐานดังกล่าวแทนก็ได้)
        2. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบพาณิชยกิจ หลักฐานการประกอบอาชีพหุ้นส่วนจำพวก
ไม่จำกัดความรับผิดหรือกรรมการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี

กรณีประกอบพาณิชยกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
        1. ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือกรรมการ ผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี
        2. รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (1 เว็บไซต์ : 1 แผ่น)

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีเอกสารดังนี้
        1. คำขอจดทะเบียน : แบบ ทพ. (Print - out 2 แผ่น)
        2. หลักฐานประกอบคำขอ
                2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบดำเนิน กิจการในประเทศไทย (กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ) ซึ่งรับรองความถูกต้องโดยเจ้าของบัตรประจำตัว
                2.2 ใบทะเบียนพาณิชย์ เฉพาะกรณีแก้ไขเพิ่มเติมชื่อตัวหรือชื่อสกุลของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
ชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ ชนิดพาณิชยกิจ และ / หรือสำนักงานแห่งใหญ่
                2.3 สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการในประเทศ กรณีนิติบุคคลต่างประเทศขอ
เปลี่ยนแปลงผู้จัดการสาขาในประเทศ
                2.4 สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวและหรือชื่อสกุล (ถ้ามี)
                2.5 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

รายการที่ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีดังนี้
        1. เลิกชนิดประกอบพาณิชกิจบางส่วน และ/หรือเพิ่มใหม่
        2. เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ
        3. ย้ายสำนักงานใหญ่
        4. เปลี่ยนผู้จัดการ
        5. เจ้าของหรือผู้จัดการย้ายที่อยู่
        6. เพิ่มหรือลดเงินทุน
        7. ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
        8. อื่น ๆ เช่น เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือรายการที่จดทะเบียนไว้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง

หมายเหตุ หากต้องการเปลี่ยนแปลงรายการใด ให้กรอกรายละเอียดเฉพาะรายการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

การจดทะเบียนเลิก มีเอกสารดังนี้
        1. คำขอจดทะเบียน : แบบ ทพ. (Print – out 2 แผ่น)
        2. หลักฐานประกอบคำขอ
                2.1 สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ หรือทายาทที่ยื่นคำขอแทนหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบดำเนินการในประเทศไทย (กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ) ซึ่งรับรองความถูกต้องโดยเจ้าของ บัตรประจำตัว
                2.2 ใบทะเบียนพาณิชย์
                2.3 หนังสือรับฝากบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี (ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล)
                2.4 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
                2.5 สำเนาใบมรณบัตรของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (กรณีถึงแก่กรรม)
                2.6 สำเนาหลักฐานแสดงความเป็นทายาทของทายาทผู้ลงชื่อแทนผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่ง ถึงแก่กรรม
ท่านสามารถ Download แบบพิมพ์ไปใช้ในการจดทะเบียนได้ ที่นี่ หรือขอรับแบบพิมพ์ได้ที่

     1. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร
     2. สำนักงานเขตทุกเขต
     3. เทศบาล
     4. องค์การบริหารส่วนตำบล
     5. เมืองพัทยา

สถานที่จดทะเบียน
     1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ :
          (1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
          (2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์  www.bangkok.go.th/finance
     2 ในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่ : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนบริหารการจดทะเบียน สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด

กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์
     1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
     2 การเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามรายการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
           2.1 เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ
           2.2 เลิกประกอบพาณิชยกิจบางส่วน หรือเพิ่มใหม่
           2.3 เพิ่มหรือลดเงินทุน
           2.4 ย้ายสำนักงานใหญ่
           2.5 เปลี่ยนผู้จัดการ
           2.6 เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่
           2.7 ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
           2.8 แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (หุ้นส่วนเข้า/ออก) เงินลงหุ้น จำนวนเงินลงทุนของห้าง
           2.9 จำนวนเงินทุน จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นของบริษัทจำกัด จำนวนและมูลค่าหุ้นที่บุคคลแต่ละสัญชาติถืออยู่
           2.10 รายการอื่นๆ เช่น แก้ไขชื่อเว็บไซต์ ชื่ออักษรโรมัน ฯลฯ
     3 เลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ
     4 ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย

หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
     1 ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามแต่กรณี
     2 ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
     3 ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า "สาขา" ไว้ด้วย
     4 ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหาย หรือชำรุด
     5 ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
     6 ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

บทกำหนดโทษ
- ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่อง
ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
- ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงาน ที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
- ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
- ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์
การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
- จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
- จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
- จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
- ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
- ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
- ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น หนึ่งฉบับ)
 

ทำไมต้องจดทะเบียนการค้า

เอกสารจดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดา

ประโยชน์ของเรา การจดทะเบียนพาณิชย์นั้นคือหลักฐานทางการค้า ที่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าของเรา ทำให้ลูกค้าของเรานั้นสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับสินค้าและการบริการของเราจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับร้านค้าออนไลน์ หรือร้านค้าที่มีการส่งของมาให้จากต่างจังหวัด ซึ่งลูกค้าอาจไม่มีโอกาสได้พบหน้าเจ้าของร้านเลย แต่ถ้าพวกเขารับรู้ว่าร้านของเรามีการจดทะเบียนพาณิชย์แล้วก็จะสร้างความน่าเขื่อถือได้มากขึ้น รวมถึงการจดทะเบียนพาณชย์นั้นยังช่วยให้เราสามารถใช้ประกอบใบ Statement ในการขอกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือหาเงินทุนต่างๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ประโยชน์ของประเทศ การจดทะเบียนพาณิชย์นั้นยังสามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศได้จากการที่รัฐบาลสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปจัดทำสถิติของธุรกิจแต่ละประเภทว่ามีจำนวนเท่าไร มีทำเลตั้งอยู่ที่ไหนเป็นส่วนใหญ่ เจ้าของหรือหุ้นส่วนเป็นคนสัญชาติอะไร มีทุนเท่าไร ซึ่งการจัดระเบียบข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความสะดวกในการติดต่อค้าขาย อีกทั้งยังช่วยให้รัฐบาลตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรควบคุมและส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมประเภทไหนมากกว่า ถึงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคนในประเทศ รวมถึงยังเป็นการช่วยลดงบประมาณทั้งด้านการเงินและเวลาในการจัดทำแบบสำรวจที่จะต้องรวบรวมข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอ

ซึ่งข้อมูลที่ได้เหล่านี้นอกจากจะเป็นผลประโยชน์สำหรับรัฐบาลแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีในการตรวจดูรายละเอียดข้อมูลทางการค้าต่างๆ เพื่อดูแนวโน้มของธุรกิจว่าในขณะนี้ ธุรกิจใดที่กำลังเป็นที่นิยม และตั้งอยู่ที่ไหนกันเยอะ เพื่อให้คนทั่วไปได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายขึ้น

จดทะเบียนการค้าใช้เอกสารอะไรบ้าง 2564

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนการค้า.
คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) โดยสามารถเข้าไป Download แบบฟอร์มได้ที่ www.dbd.go.th /ดาวน์แบบฟอร์ม/ทะเบียนพาณิชย์.
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน.
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ.
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี).
สำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี).

จดทะเบียนการค้าบุคคลธรรมดา ที่ไหน

(1) สานักงานเศรษฐกิจการคลัง สานักการคลัง กรุงเทพมหานคร สาหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ฝ่ายปกครอง สานักงานเขตทุกแห่ง

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนแบ่งเป็น 4 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง

๑. เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน ได้แก่ ได้แก่ (๑) คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) (๒) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (๓) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (๔) สำเนาหลักฐานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ใช้ในกรณีแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่)

ใบทะเบียนการค้าเป็นแบบไหน

ทะเบียนพาณิชย์ คือ ทะเบียนที่คนที่ค้าขายที่มีหน้าร้านต้องจดตามที่พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กำหนด แต่ปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ต่อมาจึงได้มีการจดทะเบียนธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งเกิดขึ้น นั่นคือ ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์