ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายพาณิชย์

เพราะข้อมูลเหล่านี้เปรียบเสมือน “ร่องรอยดิจิทัล” ที่อาจจะถูกผู้ไม่หวังดี หรือมิจฉาชีพ หาช่องโหว่เข้าไป “ขุดค้น-ขุดคุ้ย” แล้ว นำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง ขณะที่ตอนนี้ในไทยกำลังจะถึงวัน “ดีเดย์กฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้”ในวันที่ “1 มิ.ย. 2565” โดยกฎหมายฉบับนี้มีชื่อว่า…

“พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562”

จาก “ร่องรอยดิจิทัล” ก็มาถึงเรื่อง “กฎหมาย”

ที่มี “บทวิเคราะห์นักวิชาการ” กรณีกฎหมายนี้…

ทั้งนี้ วันนี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อมุมวิเคราะห์-โฟกัสกรณีนี้ จากที่นักวิชาการ ภาควิชากฎหมายพาณิชย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คืออาจารย์ ปิยากร เลี่ยนกัตวา สะท้อนไว้ใน รายการ Ram Talk เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ “กฎหมาย PDPA”  ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ โดยทาง อาจารย์ปิยากร ระบุไว้ว่า…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถือเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย แต่เรื่องนี้ก็ ถือว่ามีความสำคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้นในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะในทุกวันนี้ ที่ชีวิตของผู้คนนั้นล้วนเกี่ยวพันกับโลกดิจิทัล สื่อโซเชียล จนแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว และด้วยเหตุนี้เอง…ที่ทำให้ผู้คนทั่วไปจึงต้องเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มการใช้งานต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ และก็หลีกเลี่ยงไม่ได้…ที่ผู้ที่ใช้งานระบบเหล่านี้จะต้องยินยอมให้ประมวลผล “ข้อมูลส่วนบุคคล” ในรูปแบบต่าง ๆ

“ยกตัวอย่างเช่น การสั่งซื้อของทางออนไลน์ ที่จำเป็นต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่น… ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ผู้ขายสินค้าส่งสินค้ามาให้” …ทางอาจารย์ปิยากรได้ยกตัวอย่างของ “ความจำเป็น” ที่ทำให้ผู้ใช้งานระบบออนไลน์ “ต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล”ให้กับทางเจ้าของแพลตฟอร์ม …ซึ่งนี่ก็ฉายภาพว่า…

“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” นี่ “สำคัญ”

ถามว่า… ถ้าเช่นนั้นเราจะรู้ได้อย่างไร?? ว่า… ข้อมูลที่ให้ไปถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นหรือไม่?? รวมไปถึง… จะเชื่อมั่นได้อย่างไร?? ว่า… ข้อมูลจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ได้ให้ความยินยอมไว้?? …ซึ่งทาง อาจารย์ปิยากร ก็ได้ระบุไว้อีกว่า… ด้วยความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ “กฎหมาย PDPA” ดังกล่าวถูกนำมาใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะช่วยทำให้ทุกคน หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น มีสิทธิในการปกป้องข้อมูลของตนได้ดียิ่งขึ้น

แล้ว… “ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร??” …ซึ่งเรื่องนี้ทางอาจารย์ท่านเดิมก็ได้อธิบายไว้ว่า… ข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ เช่น… ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, เลขบัตรประชาชน เป็นต้น โดยในกรณีของ “ข้อมูลส่วนบุคคลทางดิจิทัล” นั้น กรณีนี้ยังอาจ รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของรสนิยม และความชื่นชอบ ด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักมีการนำเอาไปใช้ นำเอาไปประมวลผล หรือนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์ถึง “พฤติกรรม” ด้านต่าง ๆ…

โดยเฉพาะการ “นำเอาไปใช้ทางด้านการตลาด”

องค์กรภาคธุรกิจต้องการ “นำไปใช้เพื่อวางแผน”

อนึ่ง นอกจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปแล้ว ก็ยังมีอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญ นั่นคือ… “ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ” ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะต้องได้รับการคุ้มครองมากกว่าข้อมูลทั่วไป ได้แก่… ข้อมูลด้านเชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น …ซึ่งถ้าหากจะประมวลผลข้อมูลประเภทนี้ จะต้องมีการยินยอมจากบุคคลนั้น ๆ เสียก่อน ผู้ดูแลระบบจึงจะสามารถนำเอาข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษเหล่านี้ไปใช้ประมวลผลหรือวิเคราะห์ได้…

“ดังนั้น ต้องพึงระลึกเสมอว่า… ผู้ที่จะนำข้อมูลกลุ่มนี้ไปใช้ต้องระวังเป็นพิเศษ!!! และเรื่องความยินยอม กับสิทธิที่เกี่ยวข้องกับความยินยอม จะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่นี้ เพราะเป็นหัวใจของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”…เป็นการระบุเชิง  “เตือน” ไว้โดยอาจารย์ปิยากร ที่เตือนผู้จะนำข้อมูลส่วนบุคคลกลุ่มนี้ไปใช้

ขณะที่เรื่อง “สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” นั้น อาจารย์ปิยากร ระบุไว้ว่า… ภายใต้กฎหมายใหม่ฉบับนี้ ทางเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีหลากหลายสิทธิ เช่น… ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ก่อนจะนำเอาข้อมูลไปใช้เพื่อประมวลผล, ต้องแจ้งถึงวัตถุประสงค์ ว่าต้องการจะนำไปใช้เพื่ออะไร, ต้องแจ้งสิทธิการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ได้รับความยินยอมเสียก่อน จึงจะมีสิทธิเข้าถึงข้อมูล และก็ ต้องให้สิทธิในการลบข้อมูล กับทางเจ้าของข้อมูล ที่สามารถแจ้งลบข้อมูลออกจากระบบได้

…นี่เป็นข้อมูลและคำอธิบายประเด็นหลัก ๆ โดยสังเขป จากที่นักวิชาการ ภาควิชากฎหมายพาณิชย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สะท้อนผ่านทาง รายการ Ram Talk ไว้เกี่ยวกับ “กฎหมาย PDPA”  หรือ “พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562”ที่จะบังคับใช้ 1 มิ.ย. 2565 นี้ ที่ก็เป็น “กฎหมายใกล้ตัวคนไทย”คนไทยต้องศึกษาทำความเข้าใจไว้

แต่ถึงมีกฎหมาย…ก็ “ต้องเท่าทันกรณีข้อมูลส่วนตัว”

แม้มีกฎหมายคุ้มครอง…ก็ “ยังต้องระวังมิจฉาชีพ”

กรณี “ร่องรอยดิจิทัล”…ก็ “ยังต้องระวังให้มาก!!!”.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน