การเลือกหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์

                การวิเคราะห์โครงงานอาจพิจารณาหัวข้อต่าง  ๆ  จากรายการข้างล่างนี้  โดยตัวนักเรียนหรือกลุ่มที่จะทำโครงงาน  เป็นผู้วิเคราะห์จากโครงงานที่ตนเอง  หรือกลุ่มกำหนดไว้อย่างหลากหลายโครงงาน  แล้วเลือกเอาโครงงานที่ตนเองเห็นว่าน่าจะทำที่สุด  โดยให้คะแนน  1,  2,  3  หรือ  4  ตามความเห็นชอบแล้วนำมารวมตัวเลขหากคะแนนที่ได้ที่จำนวนสูงกว่าโครงงานอื่น  ก็ควรพิจารณาจัดทำต่อ

การคิดเลือกหัวข้อ เป็นขั้นตอนแรกของการทำโครงงาน  หัวเรื่องที่ศึกษา   ควรเป็นเรื่องที่เกิดจากความสนใจ  ความสงสัย  ของนักเรียนในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ครูสอนในห้องเรียน  ที่อยากค้นหาคำตอบ หัวข้อเรื่องของโครงงาน  ควรเฉพาะเจาะจงและมีความชัดเจน บ่งชัดว่าจะศึกษาสิ่งใด และถ้าเป็นเรื่องแปลกใหม่ หรือมีแนวการศึกษาทดลองที่แปลกใหม่ ก็เป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย นอกจากนั้นเรื่องที่เป็นประโยชน์ก็จะทำให้โครงงานนั้นมีคุณค่ายิ่งขึ้น

เทคนิคการคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน

สังเกตจากปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบตัว  โดยการแก้ปัญหา

มีน้อย……………………………………………………... มีมาก

ไม่มีประโยชน์……………………………………………..ทำให้มีประโยชน์

มีประโยชน์……………………………………………….. ทำให้มีประโยชน์ที่มากขึ้น

ไม่สะดวก………………………………………………….สะดวก

ไม่ปลอดภัย………………………………………………..ปลอดภัย

ยุ่งยาก………………………………………………….…..ทำให้ง่าย

   รักษา/ป้องกัน..................กำจัด........ทำใหม่..ฯลฯ

   สำรวจ.............................จากอาชีพในท้องถิ่น/ชุมชน....ปรับปรุง/พัฒนา

   จากงานอดิเรก/อาชีพเสริมของครอบครัว   เช่น เลี้ยงปลาตู้,เลี้ยงนกขาย,เลี้ยงหมู,

เลี้ยงไก่ฯลฯ..................................ปรับปรุง/พัฒนา

   ศึกษาค้นคว้า...........................เอกสาร,วารสาร,หนังสือพิมพ์, อินเตอร์เน็ตฯลฯ

   จากรายการวิทยุ,โทรทัศน์......ข่าวเกษตร,คนไทยวันนี้ฯลฯ

   ศึกษาจากโครงงานต่างๆ........หัวเรื่อง,บทคัดย่อ,รายงาน

   ใช้คำถามนำกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ/ความต้องการ/ความอยากรู้จนต้องการ

พิสูจน์ค้นหา...............เนื้อหา/เรื่องที่น่าสนใจ/สิ่งแปลกใหม่/เทคโนโลยีฯลฯ

จะได้เรื่องที่น่าสนใจไปทำโครงงาน

ข้อควรคำนึงในการเลือกหัวข้อเรื่อง มีดังต่อไปนี้

      1.  นักเรียนเป็นผู้เลือกอย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ศึกษาค้นคว้าตามความถนัด  และคำนึงความพร้อม   ความสนใจของตนเองหรือของกลุ่ม  ใช้ระยะเวลาสั้นๆหนึ่งภาคเรียนหรือมากกว่านั้นก็ได้  

2.  เลือกโครงงานที่มีคุณค่าและเป็นปัญหาใหม่ๆตรงกับความสามารถและความรู้ของตนเอง

3.  คำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่อง  ความปลอดภัย  เวลา  งบประมาณ  และกำลังของตน

4.  คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำโครงงาน ได้แก่  ความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง มีแหล่งทรัพยากร และแหล่งเรียนรู้หรือเอกสารเพียงพอที่จะค้นคว้า

5.  สามารถวางแผนการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆไว้ล่วงหน้า  เห็นลู่ทางที่จะทำได้สำเร็จ

6.  สามารถหาคำตอบได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์   หาข้อมูลมาตรวจสอบสมมุติฐานเพื่อหาข้อ สรุปหรือยุติปัญหาได้

7.  สามารถหาเครื่องมือหรือสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อรวบรวมข้อมูลได้

8.  มีความตั้งใจที่จะทำโครงงานให้ประสบผลสำเร็จ  ได้ผลงานที่นำไปใช้ได้จริง          

9.  เป็นเรื่องที่มีอยู่จริงและเป็นไปได้ มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

10.     นักเรียนมีประสบการณ์อยู่บ้างและเป็นเรื่องที่มีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

11.     เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมมือกันในการทำโครงงาน

12.     สอดคล้องกับหลักสูตรนักเรียนได้พัฒนาการครบทุกด้านตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

13.     เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในโครงงาน

14.     เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวไม่กว้างเกินไป จนทำให้ไม่สามารถศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดได้

15.     ผู้ทำมีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์พื้นฐาน    และทักษะในเทคนิควิธีอย่างเพียงพอในเรื่องที่จะค้นคว้าหรือ

ขอคำปรึกษา   ตลอดจนมีครูหรือผู้ทรงคุณวุฒิรับเป็นที่ปรึกษา                                                                       

16.     สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นหรือจัดทำขึ้นมาได้                                                                                                                                                                                                                                                                        

17.     เป็นเรื่องที่นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมอื่นๆ                                                                                        

18.     เป็นกิจกรรมการศึกษาที่ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหา

โครงงานนั้นๆหรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่างๆที่ได้พบเห็นมาแล้ว                                

19.     นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงาน และการแปลผลรายงานผลต่อครูที่ปรึกษา

เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้                                                

20.     เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งค่าใช้จ่าย

ในการดำเนินงานด้วย

การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการเลือกหัวข้อเรื่อง

1.  การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลในการเลือกโครงงาน

ในการพิจารณาเลือกโครงงาน ผู้เรียนจะต้องคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ โดยการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการผิดพลาดทั้งก่อนการปฏิบัติงาน ขณะปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน โดยมีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1.1    การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลของตนเอง    หมายถึง  การพิจารณาตนเองว่ามีความถนัด ความพร้อมและความสนใจ   ในด้านความรู้  ทักษะ  อยู่ในระดับใดของโครงงานนั้นๆ ตลอดจนสิ่งอื่นๆที่จำเป็นต่อการทำโครงงานที่ตนเองกำลังตัดสินใจเลือกทำ มีความรักชอบ ที่จะทำโครงงานในเรื่องใดอย่างแท้จริง เช่น   เคยชอบและรักที่จะทำเรื่องใดมาบ้าง หรือเมื่อทำแล้ว ได้รับความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวในงานที่ทำหรือไม่  ตนเองมีความรู้ในหลักการ ทฤษฎีพื้นฐานที่จะนำมาช่วยให้ทำโครงงานที่คิดไว้สำเร็จลุล่วงเพียงใด เคยได้ทราบแนวทางปรับปรุงโครงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  หรือไม่  เคยเรียนวิชาใด หรือมีความรู้ในวิชาต่างๆที่จะทำโครงงานหรือไม่  มีประสบการณ์อย่างไรบ้าง   หรือมีการปรึกษาครูประจำชั้น ครูฝ่ายแนะแนว หรือครูในวิชานั้นๆ เพื่อขอทราบรายละเอียดความชอบ ความถนัด หรือข้อบกพร่องมากน้อยเพียงใด   นอกจากนี้ยังต้องสำรวจตนเองว่ามีความมานะอดทน ขยัน ประณีต รอบคอบ มีความใส่ใจที่จะทำโครงงานนั้นๆอีกด้วย

1.2    การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก  เป็นการสำรวจในเรื่องของเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่าย และการร่วมมือของผู้ร่วมงาน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้โครงงานดำเนินไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จด้วยดี

1.3    การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสภาพแวดล้อม เป็นการสำรวจข้อมูลต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ความเห็นชอบของครูที่ปรึกษาโครงงาน ความเห็นชอบของผู้ปกครอง  เพื่อนร่วมงาน ความต้องการของสังคมและท้องถิ่นในชุมชน มีสถานประกอบการและผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาหรือไม่ ตลอดจนการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เช่น สาธารณูปโภคที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง แหล่งจัดหาวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

1.4    การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยงกับโครงงาน เป็นการหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้โครงงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทำให้เกิดแนวคิดและประสบการณ์ที่หลากหลาย ทำได้หลายวิธี ดังนี้

1.4.1     การศึกษาดูงานจากแหล่งการเรียนรู้ สถานประกอบการณ์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ร้านค้าต่างๆ ศูนย์วิจัยผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

1.4.2     การศึกษาผลผลิตหรือผลงานของบุคคลอื่น รวมถึงการสนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการกับเจ้าของผลผลิตนั้นๆ

1.4.3     การเข้าชมงานแสดงผลงานหรือผลผลิตตามที่หน่วยงานเอกชนหรือรัฐบาลจัด

1.4.4     การสำรวจจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา และสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ

ตัวอย่างตารางวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเลือกปฏิบัติงาน

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจมา    5   หัวข้อ  แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ  โดยให้คะแนน  1-5  ตามความสนใจถ้าคะแนนเท่ากันให้ตัดสินใจเลือกมาเพียง  1  โครงงาน

รายละเอียด

โครงงานที่จะปฏิบัติ

1

2

3

4

5

ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

1.ความสนใจ ความถนัด  ความตั้งใจ  และจริงใจ

2.ความรู้และประสบการณ์เดิม

3.ความพร้อมด้านเงินทุน   งบประมาณ

4.ความพร้อมวัสดุ   อุปกรณ์   เครื่องมือ

5.ความพร้อมด้านเวลา/แรงงาน

ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

6.มีประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว

7.คนในครอบครัวให้การสนับสนุน

8.เพื่อนในกลุ่มสนับสนุน

9.มีแหล่งความรู้ให้ศึกษา

10.สถานที่ปฏิบัติงานเหมาะสม  สะดวก

11.ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

12.ใช้วัสดุในท้องถิ่น  มีความประหยัด

ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางวิชาการ

13.มีความรู้เกี่ยวกับงาน

14.ขั้นตอนการปฏิบัติไม่ซับซ้อน

15.ความรู้ที่ได้รับนำไปปฏิบัติงานอื่นได้

รวมคะแนน

สรุปโครงงานที่เลือกคือ.....................................................................................................

ตัวอย่างแบบวิเคราะห์โครงงาน

โรงเรียน.........................................................อำเภอ...................................จังหวัด.........................

1.ชื่อโครงงาน.............................................................................................................................................

2.โครงงานนี้ทำขึ้นเพื่อตอบปัญหา   ข้อสงสัย  หรือคำถาม  หรือจุดมุ่งหมายของงานนี้

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

3.ที่มาหรือเหตุผลหรือแรงบันดาลใจที่ทำให้ผู้ทำโครงงานเลือกทำโครงงานนี้คือ

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

4.ตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องในโครงงานนี้คืออะไร

3.1ตัวแปรต้นคือ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 3.2ตัวแปรตามคือ

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................

3.3ตัวแปรที่ควบคุมคือ

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

4.โครงงานประเภท

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

5.ความแปลกใหม่หรือความคิดริเริ่มของโครงงานนี้คือ

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

6.จากการศึกษาวิเคราะห์โครงงาน นักเรียนเห็นว่าจะปรับปรุงโครงงานให้ดีขึ้นด้านใดได้บ้าง

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

7.มีตัวแปรอื่นใดบ้างที่น่าจะศึกษาเพิ่มเติม

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

...............................................................................................................................................................

8.จากการศึกษาโครงงาน  นักเรียนเห็นว่าโครงงานนี้น่าจะศึกษาหรือทำหรือประดิษฐ์หรือสร้างในเรื่องใดได้อีก

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ชื่อผู้วิเคราะห์

1.  ................................................................ชั้น.........................................เลขที่........................

2.  ................................................................ชั้น.........................................เลขที่........................

3.  ................................................................ชั้น.........................................เลขที่........................

ชื่อครูที่ปรึกษา............................................................................................................................................

แนวทางดำเนินการแต่ละขั้นตอน

ขั้นตอน

กิจกรรมของผู้เรียน

กิจกรรมสนับสนุนของผู้สอน

ผลที่ได้รับ

1.การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา

1.   สำรวจความสนใจของตนเองโดย

1.1 สังเกตและศึกษาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือชุมชนเพื่อศึกษาว่ามีเรื่องใดเป็นประเด็นที่น่าสนใจศึกษา

1.2 ติดตามข่าว เหตุการณ์สำคัญๆและสำรวจตนเองว่าสนใจจะศึกษาเรื่องใดเป็นพิเศษ

1.3 คิดเชื่อมโยงจากเรื่องที่เรียนปกติว่ามีเรื่องใดที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง

1.4  ร่วมกันคิดหาความเชื่อมโยงโดยใช้ web

หรือ  Mind Mapping

1. กำหนดให้มีกิจกรรมสำรวจความสนใจของตนเองเพื่อ

1.1 ชี้ชวน ชักชวนจัดกิจกรรมให้มีการศึกษาสภาพแวดล้อมรอบตัวเองหรือชุมชน       เพื่อ

จุดประกายความสงสัยใคร่รู้ให้กับนักเรียนไปสู่แรงจูงใจ  ที่จะศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งในเชิงลึก

1.2 ใช้คำถามเชื่อมโยงจากข่าว  เหตุการณ์หรือปัญหาจากชุมชน

  กระตุ้นนักเรียนอยากติดตาม

1.3 ใช้คำถามเชื่อมโยงจากบทเรียนปกติ  เช่น  “มีเรื่องอะไรที่นักเรียนต้องการรู้”

1.4ใช้สื่อแบบอื่นๆเช่นภาพนิ่ง  ป้ายนิเทศ  วีดิทัศน์  ฯลฯ และสื่อที่ใช้    ควรทิ้งปัญหาให้นักเรียนคิดที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป

1.5 ช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเลือกเรื่อง/ปัญหา/ประเด็นที่ตนเองสนใจที่จะรู้เพิ่มเติมได้มากขึ้นเพื่อจัดทำเป็นโครงงาน

1.6 ร่วมคิดหาความเชื่อมโยงโดยใช้ web หรือ  Mind Mapping

นักเรียนได้เรื่อง/ปัญหาประเด็นที่จะจัดทำเป็นโครงงาน

1.1การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

เข้าห้องสมุดหรืออกค้นคว้าโดยนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ห้องสมุด

ให้คำแนะนำเทคนิคและวิธีการต่างๆ

ได้เอกสารประกอบการทำโครงงาน

2.การวางแผน

2.1การกำหนดจุดประสงค์

1. คิดทบทวนไตร่ตรองหาเหตุผลประกอบกาตัดสินใจ

ว่า“ต้องการอะไรจากการกระทำโครงงานครั้งนี้”

2. เขียนสิ่งที่ตนเองต้องการ

3.พูดคุยกับเพื่อนให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น

1.ใช้คำถามให้นักเรียนคิดถึงความต้องการหรือประเด็นที่ต้องการศึกษาจากเรื่องที่เลือกได้แล้ว

2. วิเคราะห์ความเป็นไปของจุดประสงค์ของนักเรียนและให้ความคิดเห็น  เสนอแนะให้คิดอย่างรอบคอบ

3. ให้กำลังใจ

จุดประสงค์ของโครงงาน

2.2การตั้งสมมุติ

ฐาน(การคาดคะเนคำตอบเฉพาะของโครงงานที่สามารถตั้งสมมุติฐานได้

เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากขั้นที่ 1-2.1โดยเฉพาะโครงงานวิทยาศาสตร์ดังนั้นนักเรียนควรดำเนินการดังนี้

1. พูดคุยกับเพื่อนเพื่อกำหนดคำตอบล่วงหน้าซึ่งอาจมีหลายคำตอบ

2. เลือกคำตอบที่คาดเดาว่าจะเหมาะสมและมีความเป็นไปได้มากที่สุดและ 

สอดคล้องกับปัญหา  ประเด็นและจุดประสงค์

3. เขียนสิ่งที่คาดเดาไว้เพื่อรอการพิสูจน์

1. ใช้คำถามที่กระตุ้นให้คาดเดาคำตอบล่วงหน้า  เช่น  “นักเรียนคิดว่าน่าจะเป็นอย่างไร”

“นักเรียนคิดว่าจะมีผลต่อ….

.......................อย่างไร”

2. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ละความคิดเห็น

3. ถามย้ำเพื่อให้นักเรียนคิด อย่างรอบคอบ

2.3การกำหนด

วิธีการศึกษา

1. คิดต่อเนื่องจากขั้นตอนที่ 2.1 และ 2.2  (ถ้ามี)

ว่าจะศึกษาเรื่องนั้นอย่างไรโดย

1.1 ถามตนเองว่ามีวิธใดบ้าง

ที่จะศึกษาเรื่องนั้นๆได้

1.2 เลือกวิธีการที่เหมาะสมและทำได้ในข้อจำกัดที่มีอยู่

1.3 กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการศึกษาและระยะเวลาหรือ

Ø            ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง

Ø            กำหนดวิธีการที่จะศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ

Ø            กำหนดระยะเวลา

Ø            กำหนดวิธีการนำเสนอผลงาน

2. นำข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1-2 มาเรียบเรียงจัดทำเค้าโครงของโครงงาน

1. กระตุ้น/ส่งเสริม/ให้คำปรึกษาในการ

1.1 คิดวิธีการศึกษาที่หลากหลาย

1.2  เลือกวิธีการศึกษาที่ทำได้

1.3 เลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม

1.4 จัดทำเค้าโครงของโครงงาน

2. เตรียมประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกตลอดจนดูแลความปลอดภัยในการศึกษาตามขั้นตอนของโครงงาน

เค้าโครงงาน

3.การลงมือปฏิบัติ

1. ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด

2. บันทึกข้อมูลทุกขั้นตอน

3. ปรึกษาหารือกับเพื่อนหรือครูเป็นระยะเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

4. ร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติตามโครงงาน

1. สังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน

2. ช่วยเหลือหรือช่วยแก้ปัญหาเมื่อต้องการ

3. ให้คำแนะนำให้นักเรียนมีการศึกษาที่กว้างขวางขึ้น  เช่นแนะนำแหล่งความรู้เพิ่มเติม

4. จัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นระยะ

5. ให้การเสริมแรงหรือให้กำลังใจ

6. อำนวยความสะดวกต่างๆแก่นักเรียน

กระบวนการศึกษาและผลที่ได้จากการศึกษาขั้นที่กำหนดไว้ในเค้าโครงของโครงงาน

4.การเขียนรายงาน

1. ศึกษารูปแบบหรือวิธีการเขียนรายงานในลักษณะที่หลากหลาย

2. เลือกวิธีการเขียนรายงานที่เหมาะสม

3. เขียนรายงานตามหัวข้อ

4. จัดทำเป็นเอกสารรูปเล่ม

1. ให้คำปรึกษาในการเลือกรูปแบบหรือวิธีการเขียนรายงาน

2. แนะนำและให้ข้อติชมการเขียนรายงาน

เอกสารายงานที่เป็นรูปเล่ม

5.นำเสนอผลงาน

1. ศึกษาวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย

2. เลือกวิธีที่เหมาะสม

3. เตรียมการนำเสนอผลที่ได้จากการทำโครงงานในหัวข้อ

v   กระบวนการศึกษา

v   ผลที่ได้จากการศึกษา

1. ให้คำปรึกษาในการเลือกวิธีการนำเสนอ

2. จัดบรรยากาศ/เวทีการนำเสนอ

3. ประเมินผลการทำโครงงานของผู้เรียน

4. ส่งผลงานของผู้เรียนเข้าร่วมแสดงหรือประกวด

รูปแบบการนำเสนอผลงาน

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้นักเรียนได้แนวความคิดที่จะกำหนดขอบข่ายของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น และได้ความรู้ในเรื่องที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นจนสามารถออกแบบ และวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ประการที่สำคัญคือ นักเรียนควรลงมือทำโครงงานหลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องเหล่านั้น จากเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอเสียก่อน โดยนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ห้องสมุด ถ้านักเรียนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ จะต้องขอคำแนะนำเทคนิคและวิธีการต่างๆ จากครูที่ปรึกษาหรือปรึกษากับบรรณารักษ์ห้องสมุดก็ได้ ในบางครั้งนักเรียนอาจมีความจำเป็นที่จะขอความช่วยเหลือเพื่อการติดต่อห้องสมุดอื่นๆ ก็ควรปรึกษากับครูที่ปรึกษาเพื่อขอความร่วมมือต่อไป

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเราจะศึกษาได้ดังนี้                                             

1.  จากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารเผยแพร่ เป็นต้น                       

2.  จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆเช่นวนอุทยาน สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โรงงาน เป็นต้น

3.  จากการฟังบรรยายทางวิชาการการฟังและชมรายการทางวิทยุและโทรทัศน์                                      

4.  จากกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน                                                                                            

5.  จากงานอดิเรกของนักเรียนเอง                                                                                                               

6.  จากการเข้าชมนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงาน                                                                            

7.  จากการศึกษาโครงงานที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว                                                                                              

8.  จากการสนทนากับครู    เพื่อนๆ หรือสัมภาษณ์บุคคลอื่นๆ                                                                          

9.  จากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆรอบตัว                 

10.     สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ  เช่น  อินเตอร์เน็ต  ฯลฯ                                                                            

การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องในที่นี้ ยังรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิและการสำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย   หลังจากที่นักเรียนได้หัวข้อเรื่องกว้างๆ ที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ แหล่งที่นักเรียนจะสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่นักเรียนสามารถขอคำปรึกษา ซึ่งการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒินี้ นักเรียนต้องรู้จักจดบันทึกไว้ในสมุดหรือถ่ายเอกสารให้เป็นหลักฐานเรียบร้อย เพื่อนำไปแสดงในการแสดงโครงงานด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน