ประกันสังคม ผ่าตัดมดลูกได้ไหม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
     ปัญหาสุขภาพทางนรีเวช บางรายอาจสามารถรักษาด้วยการรับประทานยา แต่บางรายจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดซึ่งการผ่าตัดอาจจะทิ้งรอยแผลขนาดใหญ่ อีกทั้ง ยังใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นนาน แต่ปัจจุบันมีเทคนิค “ผ่าตัดแบบผ่านกล้อง” สามารถช่วยลดขนาดของแผล อาการบาดเจ็บให้น้อยลง จึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่ผ่านมา

วินาทีแรกเมื่อตรวจพบเนื้องอกมดลูก

คุณชนันเนตร์ จิรจรัสพร ผู้เข้ารับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกผ่านกล้อง เล่าว่า “โดยปกติค่อนข้างใส่ใจเรื่องของสุขภาพ และมั่นใจว่าตนเองสุขภาพดี เพราะเข้ารับการตรวจร่างกายและตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี ถ้ามีอะไรผิดปกติแพทย์ต้องแจ้งให้ทราบ แต่ด้วยเวลาตรวจสุขภาพประจำปีครั้งล่าสุด เป็นช่วงเดียวที่มีประจำเดือนพอดีจึงไม่ได้เข้ารับการตรวจเช่นเดิม และคิดว่าเว้นไปแค่ปีเดียวคงไม่เป็นอะไร เพราะปกติก็ตรวจเป็นประจำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป รู้สึกได้เองว่าตัวเองอ้วนขึ้น มีพุงแบบไม่เคยมีมาก่อน”

“นึกว่าตัวเองอ้วนลงพุง แต่จริงๆ แล้ว คือเนื้องอกมดลูก”

“สิ่งเดียวที่คิดในตอนนั้น คือเราอ้วนขึ้น ต้องพยายามลดพุง ต้องใส่เสื้อผ้าไซส์เดิมให้ได้ จะไม่ยอมเปลี่ยนไซส์เสื้อผ้าให้ใหญ่ขึ้น จึงเริ่มออกกำลังกาย จำกัดอาหารเพื่อให้พุงยุบ แต่ทำเท่าไรก็ไม่ยุบเสียที ลองเอามือกดหน้าท้องก็รู้สึกได้ว่ามีก้อนแข็งๆ นูนขึ้นมา หน้าท้องเราไม่นิ่มเหมือนเดิม เมื่อครบกำหนดตรวจสุขภาพประจำปีอีกครั้ง ปรากฎว่าคุณหมอตรวจพบ “เนื้องอกในมดลูก” จากผลการตรวจคุณหมอแจ้งว่าขนาดของก้อนเนื้องอกที่มดลูกค่อนข้างใหญ่มาก จึงแนะนำการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง”


 
“เมื่อได้ยินว่าต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ตอนนั้นเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ว่าแค่ปีเดียวเนื้องอกโตและมีขนาดใหญ่ได้ ทั้งยังรู้สึกไม่ไว้ใจกลัวว่ามันจะพัฒนาไปเป็นอย่างอื่นหรือไม่ รู้แต่ว่าถ้าเป็นเนื้องอกจริงต้องรีบรักษาและกำจัดเนื้องอกนี้ออกไป เราไม่กลัวเรื่องการรักษา แต่สิ่งที่เป็นกังวล คือกลัวเจ็บ แล้วต้องพักรักษาตัวนานเพราะการผ่าตัดเปิดหน้าท้องจะต้องมีแผลใหญ่จะใช้ชีวิตประจำวันลำบาก แต่เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าการแพทย์ในปัจจุบัน โรคบางโรคสามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้ ซึ่งมีขนาดแผลเล็ก เจ็บตัวน้อยกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่า จึงแจ้งคุณหมอขอเวลาศึกษาหาข้อมูลเพิ่ม รวมถึงไปขอคำปรึกษากับคุณหมอท่านอื่นอีกหลายโรงพยาบาลก่อนตัดสินใจ”

สุดท้ายตัดสินใจเลือกผ่าตัดผ่านกล้อง เพราะไม่อยากเจ็บตัวนาน

“เราไปมาหลายที่ คุณหมอให้ความเห็นไม่ต่างกัน คือมีเนื้องอกในมดลูก ให้ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่ ขนาดของเนื้องอก และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด แต่เราก็ยังไม่ทิ้งความพยายามค้นหาข้อมูลการรักษาจากหลายๆ แห่ง ถามคนที่เคยมีประสบการณ์บ้าง ให้เขาช่วยแนะนำหมอเก่งๆ แนะนำโรงพยาบาลดีๆ และ Search ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเยอะมาก จนมาพบชื่อ คุณหมอสุวันชัย ชัยรัชนีบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ่าตัดผ่านกล้องโดยเฉพาะที่โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ก็เริ่มหาคอมเมนต์จากคนที่เคยรักษากับคุณหมอ พบหลายๆ คอมเมนต์ระบุว่าคุณหมอดูแลเอาใจใส่ดี ประสบการณ์ด้านนี้สูงจึงตัดสินใจเข้ามาตรวจใหม่ทั้งหมด เพราะอยากทราบความเห็นของคุณหมอว่าจะเหมือนท่านอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งก็พบว่าคุณหมอใจดีมาก ตรวจ ให้ความเห็น รวมถึงอธิบายขั้นตอนการรักษาที่เข้าใจง่าย ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบต่างๆ และด้วยความที่เราไม่อยากผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ที่ผ่านมาเรามีลูกมาสองคน ก็คลอดแบบธรรมชาติทั้งสองคน เพราะกลัวมีดมาก เรื่องรอยแผลผ่าตัดไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหา คือเรากลัวเจ็บ จึงถามคุณหมอไปว่า อยากผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะได้ไหม” ซึ่งคุณหมอก็ตอบสั้นๆ ว่า เดี๋ยวผมทำให้”ทำให้เรารู้สึกมั่นใจมากจนตัดสินใจรักษากับคุณหมอทันที”

รู้สึกตัดสินใจถูกแล้ว ที่เลือกผ่าตัดแบบผ่านกล้อง

“หลังจากที่คุณหมอตรวจอัลตร้าซาวด์ และทราบผล วันถัดมาก็นัดผ่าตัดเลย ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก หลังจากที่ฟื้นจากการดมยาสลบแค่วันเดียว รุ่งขึ้นเราก็ลุกเดินทันทีเนื่องจากแผลเล็กแค่ประมาณ 1 ซม.เท่านั้น รู้สึกดีมากๆ ที่สามารถเอาก้อนเนื้อออกไปได้ ลุกเดินเองและดูแลตัวเองได้ ไม่ต้องนอนติดเตียงเพื่อพักฟื้นจากแผลผ่าตัดนานๆ จากนั้นอีก 1วัน ก็กลับไปพักที่บ้านได้ ในระยะเวลาไม่ถึงสัปดาห์เราก็ขับรถไปใกล้ๆ บ้านได้เอง คุณหมอแนะนำไม่ให้เดินมาก และไม่ควรออกแรงยกของหนัก ในระยะเวลา 2 เดือนเท่านั้น เพียงแค่ 2 อาทิตย์ เราก็กลับไปทำงาน ใช้ชีวิตเราตามปกติ รู้สึกตัดสินใจถูกจริงๆ ที่มาพบและได้รักษากับคุณหมอ เพราะไม่ต้องทนทรมานจากแผลผ่าตัด”

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ศูนย์สุขภาพสตรี อาคาร 1 ชั้น 4
โทร. 0-2271-7000 ต่อ 10498-99

สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล เจ็บป่วยโรคไหน ใครใช้ได้บ้าง?

ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือเป็นผู้ประกันตนเอง รู้หรือไม่ว่าเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่จ่ายไปในแต่ละเดือนนั้น ให้สิทธิประโยชน์ทดแทนในด้านไหนบ้าง โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ ทั้งในกรณีเจ็บป่วยทั่วไป เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง และยังมีโรคอะไรที่เข้าข่ายได้รับการรักษาอีกบ้าง ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลที่นำมาฝากกันนี้ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดใช้สิทธิของตัวเอง

สิทธิประกันสังคม ตรวจรักษาอะไรได้บ้าง

สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ครอบคลุมการเจ็บป่วยปกติ เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ทันตกรรม บําบัดทดแทนไต ปลูกถ่ายไขกระดูก เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค ติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ คลอดบุตร รักษาโรคจากการทำงานหรือออฟฟิศซินโดรม และตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เจ็บป่วยปกติ

เจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น 14 โรคตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม เช่น เสริมสวย รักษาการมีบุตรยาก ผสมเทียม แว่นตา ใช้สารเสพติด เปลี่ยนเพศ หรือฆ่าตัวตาย จะไม่สามารถใช้สิทธิได้

เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ

กรณีที่เข้าข่ายการเจ็บป่วยฉุกเฉินจะมี 6 อาการด้วยกัน ได้แก่
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  • หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง
  • ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
  • เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  • แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  • มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

     แบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่ม
  • โรงพยาบาลรัฐบาล เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น เบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 72 ชั่วโมง ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท/วัน
  • โรงพยาบาลเอกชน กรณีผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง กรณีผู้ป่วยใน ไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกิน 700 บาท/วัน 

โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้ 

     กรณีอื่น ๆ เพิ่มเติม

  • ค่าห้อง (ICU) เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,500 บาท/วัน
  • ค่าห้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง 8,000-16,00 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงที่ได้รับการผ่าตัดกรณีฉุกเฉิน เบิกได้ไม่เกิน 4 ครั้ง/ปี (ผู้ป่วยนอก 2 ครั้ง ผู้ป่วยใน 2 ครั้ง) กรณีอุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • ค่าทำ CT Scan เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าทำ MRI เบิกได้ไม่เกิน 8,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง

ทันตกรรม

  • ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด 900 บาท/ครั้ง/ปี
  • ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
  • ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้

บําบัดทดแทนไต (โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย)

  • ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1,500 บาท/ครั้ง ไม่เกิน 4,500 บาท/สัปดาห์
  • เตรียมเส้นเลือดสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปี
  • ตรวจรักษาและน้ำยาล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/เดือน
  • วางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปี
  • ผ่าตัดปลูกถ่ายไต ก่อน-ระหว่าง-หลัง การปลูกถ่ายไต และรับยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต

ปลูกถ่ายไขกระดูก

  • ค่าบริการทางการแพทย์ นับแต่วันที่เริ่มต้นเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อทำการปลูกถ่ายไขกระดูก จนถึงวันที่ได้รับการไขกระดูก (stem cell) เหมาจ่าย 500,000 บาท
  • ค่าบริการทางการแพทย์นับตั้งแต่วันที่ได้รับไขกระดูก (stem cell) จนถึงวันที่ออกจากโรงพยาบาล เหมาจ่าย 250,000 บาท

เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา

  • ค่าบริการทางการแพทย์แก่โรงพยาบาล เหมาจ่าย 35,000 บาท
  • ค่าจัดเก็บและรักษาคุณภาพดวงตาแก่สภากาชาดไทย 15,000 บาท/ดวงตา

อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค

เบิกได้ตามรายการประกาศที่สำนักงานประกันสังคมกําหนด เช่น กะโหลกศีรษะเทียม กระดูกหูเทียม เท้าเทียม แขนเทียม ไม้ค้ำยัน รถนั่งคนพิการ ฯลฯ

ติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์

  • ค่าตรวจ CD4 เหมาจ่ายครั้งละ 500 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท/คน
  • ค่าตรวจ Viral Load เหมาจ่ายครั้งละ 2,500 บาท ปีละไม่เกิน 5,000 บาท/คน
  • ค่าตรวจ Drug resistance ครั้งละ 8,500 บาท/คน/ปี
  • ค่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4 สูตรยาต้านไวรัส ให้เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

    คลอดบุตร

    • เหมาจ่าย 13,000 บาท/การคลอดบุตร 1 ครั้ง
    • ใช้สิทธิได้ 2 คน
    • รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตรา 50% ของเงินเดือน (ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 90 วัน

    ค่าคลอดเหมาจ่าย 13,000 บาท จะรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ฝากครรภ์ การคลอด การดูแลหลังคลอดและการบริบาลทารกปกติ สามารถเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ แต่ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

    รักษาโรคจากการทำงาน/ออฟฟิศซินโดรม

    มีอาการป่วย เช่น อาการปวดหลัง บ่า ไหล่ ข้อมือ ปวดต้นคอ ปวดหัว หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก สามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษา


    ในกรณีที่รับการรักษาที่นอกเหนือจากคำสั่งของแพทย์ เช่น การฝังเข็ม หรือครอบแก้ว หากแพทย์วินิจฉัยว่าไม่จำเป็น ผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่ม ตามอัตราค่ารักษาจริง

    ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

    หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือจังหวัดที่มีการควบคุมในระดับสูงสุด สามารถขอตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ฟรี โดยประกันสังคมจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังนี้

    • ค่าบริการทางการแพทย์ซึ่งเป็นค่าตรวจคัดกรองเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคนิค Real Time PCR ประกันสังคมจะจ่ายให้ 1,600 บาท ตามระเบียบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
    • ค่ารักษาพยาบาลจนเสร็จสิ้นกระบวนการจนกระทั่งรักษาหายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    • ค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องแล็บในอัตราที่จ่ายจริงในราคาแบบเหมาจ่ายในอัตราครั้งละไม่เกิน 600 บาท

    สิทธิการรักษาตามมาตรา

    สิทธิการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้ประกันสังคม จะต้องเป็นผู้ประกันตนใน 3 มาตรา คือ มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งนอกจากสิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ยังได้รับสิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต

    มาตรา 33

    ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี

    โดยต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5% + นายจ้าง 5% + รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง ขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

    • เจ็บป่วย
    • คลอดบุตร 
    • สงเคราะห์บุตร 
    • ทุพพลภาพ 
    • ชราภาพ 
    • เสียชีวิต 
    • ว่างงาน

    มาตรา 39

    ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน

    การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
    • เจ็บป่วย
    • คลอดบุตร
    • สงเคราะห์บุตร
    • ทุพพลภาพ
    • ชราภาพ
    • เสียชีวิต

    มาตรา 40

    ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 นี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 
    โดยผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี มีสิทธิประโยชน์ให้เลือก 3 ทางเลือก ได้แก่  


    ทางเลือก 1 จ่าย 100 บาท ต่อเดือน  
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
    • เจ็บป่วย 
    • ทุพพลภาพ 
    • เสียชีวิต
    ทางเลือก 2 จ่าย 150 บาท ต่อเดือน  
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ  
    • เจ็บป่วย
    • ทุพพลภาพ 
    • เสียชีวิต 
    • ชราภาพ
    ทางเลือก 3 จ่าย 300 บาท ต่อเดือน  
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ 
    • เจ็บป่วย 
    • ทุพพลภาพ 
    • เสียชีวิต
    • ชราภาพ
    • สงเคราะห์บุตร

    ขั้นตอนการเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง

    การเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง สามารถทำได้ 3 ช่องทาง ตามขั้นตอน ดังนี้
    สำนักงานประกันสังคม
    • ดาวน์โหลดแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ (สปส.9-02) คลิกดาวน์โหลด
    • จากนั้นกรอกข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำไปยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ
    • ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม จะใช้แบบฟอร์ม สปส.9-02 และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

    เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

    • เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ทำการสมัครสมาชิกให้เรียบร้อย
    • เมื่อสมัครสมาชิกแล้ว ทำการ Login เข้าเว็บไซต์ แล้วคลิกที่ “ผู้ประกันตน”
    • ทำการคลิกที่ “ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล”
    • เลือกเหตุผลการเปลี่ยนสิทธิ “เปลี่ยนประจำปี” หลังจากนั้นคลิกที่ “เลือกสถานพยาบาลใหม่”
    • จากนั้นทำการเลือกสถานพยาบาลใหม่
    • เมื่อเลือกโรงพยาบาลได้แล้ว ติ๊กยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง แล้วกด “บันทึก” เป็นอันเรียบร้อย

              แอปพลิเคชัน SSO Connect

              • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect ของสำนักงานประกันสังคม
              • iOS : คลิกดาวน์โหลด Android : คลิกดาวน์โหลด
              • จากนั้นลงชื่อเข้าสู่ระบบ (ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนให้ลงทะเบียนก่อน)
              • เลือก “เปลี่ยนโรงพยาบาล”
              • กรอกข้อมูล และเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการเปลี่ยน
              • อ่านหลักเกณฑ์และรายละเอียดต่าง ๆ จากนั้นกด “ยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง” และ “ยืนยัน”

              เปลี่ยนสิทธิประกันสังคมได้เมื่อไหร่

              การเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมที่ใช้ในโรงพยาบาล สามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม ของทุกปี แต่สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม เป็นต้นไป
              ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ทำงานประจำ หรือพิสูจน์ทราบว่าผู้ประกันตนไม่ได้มีการเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง สามารถยื่นเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ภายใน 30 วันนับจากวันที่เกิดเหตุ

              เลือกโรงพยาบาลประกันสังคมอย่างไร ที่ไหนดี

              • คำนึงถึงความสะดวกในการเดินทาง เลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ทำงาน หรือใกล้ที่พักอาศัย เพื่อจะได้เดินทางสะดวก ไม่เสียเวลา
              • หากมีโรคประจำตัว ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางตามโรคที่เป็น หรือโรงพยาบาลที่สามารถส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงขึ้น
              • เลือกโรงพยาบาลที่มีสถานพยาบาลเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ที่สามารถเดินทางไปรักษาได้สะดวก และยิ่งถ้าโรงพยาบาลนั้นมีเครือข่ายจำนวนมาก ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นมีทางเลือกมากขึ้น
              โรงพยาบาลพีเอ็มจี ให้บริการผู้ใช้สิทธิประกันสังคม อย่างมีมาตรฐาน ให้การบริการอย่างรวดเร็ว มีบุคลากรทางการแพทย์คอยดูแล และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ พร้อมให้บริการ

              สิทธิพิเศษสำหรับ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลพีเอ็มจีนั้น สามารถใช้บริการโรงพยาบาลหรือคลินิกในเครือข่ายได้ถึง 11 แห่งดังนี้
              • โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ 02-0891111
              • โรงพยาบาลพีเอ็มจี บางขุนเทียน 02-4772290-3
              • พีเอ็มจีบางขุนเทียน 2 คลินิกเวชกรรม 02-8943713-4
              • สหคลินิก พีเอ็มจีบางขุนเทียน 5 02-4503650-1
              • พีเอ็มจีเทียนทะเล คลินิกเวชกรรม 02-8920145
              • พีเอ็มจีเพชรทองคำ คลินิกเวชกรรม 02-4521407
              • ภัทรคลินิกเวชกรรม 02-7185556
              • คลินิกเวชกรรมมหาชนพระประแดง 02-4631579
              • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (โพธิ์แจ้) 034-115377
              • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (วัดพันท้าย) 034-115071
              • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (เศรษฐกิจ 1) 034-115395

              โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 – 24:00 น.

              สรุป

              สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในแต่ละเดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านสุขภาพ รักษาอาการเจ็บป่วย คลอดบุตร และยังครอบคลุมด้านอื่น ๆ เช่น ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต
              สำหรับผู้ที่เป็นผู้ประกันตนและอยากเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมที่ใช้ในโรงพยาบาลปัจจุบัน สามารถทำได้ 3 ช่องทาง คือ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และแอปพลิเคชัน SSO Connect ในช่วงวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคมของทุกปี โดยควรเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ทำงาน ใกล้บ้าน และมีศักยภาพสูงในการให้บริการทางการแพทย์

              ผ่าตัดส่องกล้องใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ไหม

              A : กรณีสิทธิประกันสังคม สามารถผ่าตัดได้ค่ะ ซึ่งไม่สามารถเข้าแพคเกจได้ แต่จะต้องเข้าพบแพทย์ตามขั้นตอนประกันสังคม โดยจะต้องเข้าพบแพทย์ทางด้านอายุรกรรมเพื่อวินิจฉัย แล้วจะส่งต่อแพทย์เฉพาะทางอีกครั้ง และนัดหมายเข้ารับการผ่าตัดค่ะ

              ผ่าตัดใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม

              หากต้องมีการผ่าตัดใหญ่เราสามารถเบิกคืนจากประกันสังคมได้ดังนี้ การรักษาที่ใช้เวลาผ่าตัดไม่เกิน 1 ชั่วโมงสามารถเบิกได้ไม่เกิน 8,000 บาท การรักษาใช้เวลาผ่าตัดเกิน 1 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง สามารถเบิกได้ไม่เกิน 12,000 บาท การรักษาที่ใช้เวลาผ่าตัดเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไปสามารถเบิกได้ 16,000 บาท

              ผ่าตัดมดลูกอันตรายไหม

              ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง โดยรวมเกิดประมาณ 9.3% แบ่งออกเป็น เลือดออกในช่องท้อง เกิดประมาณ 1.8-3.4% ติดเชื้อจากการผ่าตัด เกิดประมาณ 0.8-4.0% การเกิดอันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง ได้แก่ ลำไส้ ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ เกิดประมาณ 1.5-1.8%

              ผ่าตัดส่องกล้องข้าราชการเบิกได้ไหม

              A : การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นการผ่าตัดด้วยวิธีพิเศษที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ตามระเบียบของศูนย์การแพทย์ฯผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าอุปกรณ์พิเศษ(หัวกล้องพร้อมอุปกรณ์) จำนวน 11,000 บาท ยกเว้น การผ่าตัดไส้เลื่อน การผ่าตัดลำไส้เล็ก/ใหญ่ การผ่าตัดปอด ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว Q : ค่าห้องพิเศษใช้สิทธิได้หรือไม่

              กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

              Toplist

              โพสต์ล่าสุด

              แท็ก

              แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน