มิเตอร์ 15 45 ใช้ เบรก เกอร์ 63 แอ ม ป์ ได้ไหม




ของราคาถูก ร้านค้าคุณภาพ ชำระเงินปลายทางได้



ซื้ออะไหล่ของกินของใช้ ราคาถูก ชำระเงินปลายทางได้




ขอไฟฟ้า มาตรฐานใหม่ การไฟฟ้า ต้องมีเบรกเกอร์กันดูด RCD จึงจะผ่านการตรวจสอบ

18/1/2561 SONGCHAI PRAPATRUNGSEE

ขอไฟฟ้า มาตรฐานใหม่ การไฟฟ้า ต้องมีเบรกเกอร์กันดูด RCD จึงจะผ่านการตรวจสอบ


ข้อมูลนี้ใช้ในการเรียนรู้เบื้องต้น

เป็นข้อมูลที่จะคุยกับเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า

การขอไฟฟ้า ต้องเป็นเจ้าหน้าที่กำหนด

เป็นใบรายการติดตั้ง ณ.ขณะติดตั้งจึงจะผ่าน


สายเมนเดินลอย หมายถึง เดินสายผ่านอากาศ

สายเมนร้อยท่อ หมายถึง เดินสายเข้าไปในท่อแล้วยึดติดผนัง

สายเมนเดินลอย และสายเมนร้อยท่อ ใช้สายชนิด THW

สายเมนฝังดินร้อยท่อ ต้องใช้สายชนิด NYY


สายร้อยท่อ ทำไมต้องใช้สายขนาดที่ใหญ่กว่า สายเดินลอย

เพราะว่า สายที่ร้อยท่อ จะมีความร้อนสะสมสูงกว่าสายเดินลอย


ตามมาตรฐานใหม่

การไฟฟ้าบังคับต้องมีเบรกเกอร์ลูกย่อยกันดูด (RCBO)

ป้องกันไฟดูด และป้องกันไฟเกินไฟลัดวงจร

ใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่น ปัมพ์น้ำ ไฟกริ่ง ไฟนอกบ้าน และเต้ารับ

ส่วน2กลุ่มที่ไม่ต้องใช้ คือ ไฟส่องสว่างภายในบ้านกับแอร์

หรือจะติดเบรกเกอร์กันดูด(RCBO) ที่เมนสวิทช์ตัวเดียวก็ได้

แต่ข้อเสียคือจะดับทั้งบ้าน


การทำงานของเบรกเกอร์กันดูด (RCBO) คือ

การตรวจจับกระแสไหลไปและกลับ

ถ้าไม่เท่ากัน ก็แสดงว่าไฟดูดคน หรือไฟรั่วลงดิน ก็จะตัดทันที

เพื่อป้องกันการเสียชีวิต


         มิเตอร์ไฟฟ้า 5A (15A)

เดินลอย สายเมนขั้นต่ำ         

6 ตารางมิล

ร้อยท่อ สายเมนขั้นต่ำ

6 ตารางมิล

ฝังดินร้อยท่อ สายเมนขั้นต่ำ  

10 ตารางมิล

สายหลักดิน ไม่ต่ำกว่า             

10 ตารางมิล

เมนเบรกเกอร์ไม่เกิน               

16 Amp



         มิเตอร์ไฟฟ้า 15A  (45A)

เดินลอย สายเมนขั้นต่ำ         

10 - 16 ตารางมิล

ร้อยท่อ สายเมนขั้นต่ำ

16 ตารางมิล

ฝังดินร้อยท่อ สายเมนขั้นต่ำ  

10 - 16 ตารางมิล

สายหลักดิน ไม่ต่ำกว่า             

10 ตารางมิล

เมนเบรกเกอร์ไม่เกิน               

40 - 50 Amp



          มิเตอร์ไฟฟ้า 30(100A)

เดินลอย สายเมนขั้นต่ำ         

16 – 35  ตารางมิล

ร้อยท่อ สายเมนขั้นต่ำ

25 - 50  ตารางมิล

ฝังดินร้อยท่อ สายเมนขั้นต่ำ  

25 - 50 ตารางมิล

สายหลักดิน ไม่ต่ำกว่า             

16 ตารางมิล

เมนเบรกเกอร์ไม่เกิน               

63 – 100 Amp


หลักดิน ใช้เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 16มิลลิเมตร

ขนาดความยาว ไม่ต่ำกว่า 2.4 เมตร

และส่วนจัมพ์สายกับแท่งทองแดงหลักดิน(Ground rod)

ต้องโบกปูนกันน็อตเคลื่อน และกันความสกปรกหรือตะกรันด้วย

สายแท่งทองแดงหลักดิน จะต้องล็อคน็อทให้แน่นทุกจุด

สายแท่งทองแดงหลักดิน ต้องมีโอมห์ใกล้เคียง0โอมห์มากที่สุด

เพราะจุดนี้เวลาช็อทจะมีกระแสระดับร้อยแอมป์

เพราะถ้าน็อตเคลื่อนหรือเกิดความสกปรกหรือตะกรัน

จะทำให้เกิดความต้านทาน

เมื่อเกิดความต้านทานสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย

ก็จะทำให้ไฟไหลลงดินไม่เต็มที่

และจะทำให้เกิดอันตรายอาจถึงชีวิต เพราะจุดนี้มีความสำคัญมาก

คือถ้ามีช่างมาทำไฟหน้าบ้าน

แล้วเกิดสลับสายLมีไฟ กับสาย Nไม่มีไฟ

หรือสายนิวทรอลหลวมหลุดหรือขาด

ไฟก็จะถูกดึงลงแท่งทองแดงหลักดิน

ทำให้ไฟ220Vตกต่ำกว่า30V

ทำให้เกิดความปลอดภัย ไม่เสียขีวิตนั่นเอง

เพราะสายดินสีเขียวจะเดินมากับสายLและN

มาที่เต้ารับ3รู เมื่อเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้ที่มีปลั๊กตัวผู้แบบ3ขา

สายดินก็จะวิ่งมาที่โครงเหล็กของเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น เครื่องซักผ้า

และอีกอย่างที่ต้องรู้ไว้ในกรณีช่างกลับไฟหน้าบ้าน

หรือสายนิวทรอลหลวมหลุดหรือขาด

เมื่อเราปิดเมนเบรคเกอร์ สายดินจะไม่ถูกตัดออก

ดังนั้นเวลาช่วยคนถูกไฟช็อตก็ต้องป้องกันตัวเองด้วย

ไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิตทั้งคู่

และอีกอย่างคือ เบรกเกอร์กันดูดจะไม่ทำงานในกรณีนี้

เนื่องจากไฟตกเหลือระดับสิบโวลท์


แต่ถ้าย้ายสายดินสีเขียวมาทีบัสบาร์นิวทรอล

เวลาปิดเมนเบรกเกอร์ ก็จะเป็นการตัดทั้ง3เส้นคือ

L N และสายสีเขียว

แต่ถ้าเกิดสายN หลุด หรือเมนเบรกเกอร์มีปัญหาเส้นทางขาด

สายN ก็จะมีไฟทันที และไฟก็จะไหลเข้าสายสีเขียวไปยังเต้ารับ3รู

และผ่านเข้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีปลั๊ก3ขา

ไปรอที่โครงเหล็กของเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่น เครื่องซักผ้า

เมื่อสัมผัสก็มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าสายดินสีเขียวต่อกับบัสบาร์กราวด์

สรุป สายแท่งทองแดงหลักดินกับสายดินสีเขียวที่ไปยังเต้ารับ3รู

จะต้องจั๊มพ์กันหรืออยู่ในบัสบาร์เดียวกันตลอดเวลาจึงจะปลอดภัยที่สุด


แต่ถ้าย้ายสายหลักดินกับสายสีเขียว ต่อเข้ากับบัสบาร์นิวทรอล

(วิธีนี้ทางการไฟฟ้าเคยใช้ในอดีต แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)

วิธีนี้เมื่อปิดเมนเบรกเกอร์ก็จะเป็นการตัดทั้ง3เส้น L N และสายดินสีเขียว

แต่ก็มีข้อเสียคือ เวลาเกิดฟ้าผ่าก็จะทำให้เมนเบรกเกอร์ตัด

และอาจทำให้เมนเบรกเกอร์เสียหาย

เพราะเมื่อฟ้าผ่าเข้ามาจะทำให้เกิดไฟที่สูงมาก


ถ้าไม่ต่อสายดินสีเขียวก็จะปลอดภัยจากสิ่งที่กล่าวข้างต้น

แต่เมื่อเราซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีปลั๊ก3ขา

แล้วไม่ต่อสายดินที่เครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินไป ก็จะเกิดอันตรายได้เช่นกัน


ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุด การไฟฟ้าจึงบังคับ

ให้ใส่สายหลักดินกับสายสีเขียวร่วมกันที่บัสบาร์กราวด์เท่านั้น

และสายN ของการไฟฟ้า จะต้องจั๊มพ์เข้ากับบัสบาร์กราวด์ด้วย


แต่ถ้าต้องการความปลอดภัยสูงสุด

ผมก็มีวิธีแต่ยังไม่ได้ทดสอบ เป็นเพียงความคิด

คือเพิ่มคัทเอ๊าท์หรือสะพานไฟ อีก1ตัว ต่ออยู่หน้าตู้คอนซูมเมอร์

เมื่อเกิดเหตุการณ์คนโดนไฟดูด เราสามารถสับคัทเอาท์ออก

ก็จะเป็นการตัดสายLและN ออกจากการไฟฟ้า

ทำให้ไม่มีสายL และN เข้ามายังตู้คอนซูมเมอร์ได้เลยทั้ง2เส้น


การต่อสายแท่งทองแดงหลักดิน ประโยชน์อีกอย่างคือ

เมื่อมีฟ้าผ่าเข้ามาจะถูกดึงไฟที่สูงมาก จากการฟ้าผ่า

ดึงลงแท่งทองแดงหลักดินไป

ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านไม่เกิดความเสียหายนั่นเอง


มิเตอร์ไฟฟ้า 15(45) A  คือ การใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องได้15A

ถ้าใช้ 45A ห้ามใช้แบบต่อเนื่อง

ถ้าเกิน 45A ไฟฟ้าจะตก และมิเตอร์ไฟฟ้า จานจะหมุนเร็ว

ส่วนใหญ่คอยล์จะไหม้ จากนั้นคอยล์ขาด ไฟฟ้าก็จะดับ

มิเตอรไฟระเบิด มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย

ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องออกค่ามิเตอร์ไฟเอง


RCD ย่อมาจาก Residual Current Device

แปลว่า อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด

มี2แบบคือ

1 RCBO ย่อมาจาก

Residual Current Circuit Breakers with Overload protection

แปลว่า อุปกรณ์ตัดไฟรั่วไฟดูด และตัดไฟเกินไฟลัดวงจร

2 RCCB ย่อมาจาก Residual Current Circuit Breakers

แปลว่า อุปกรณ์ตัดไฟรั่วไฟดูด แต่ไม่ตัดไฟเกินไฟลัดวงจร

และต้องใช้ร่วมกับฟิวส์หรือเบรกเกอร์ด้วยทุกครั้ง





///////////////////////////////////////////////////////////

1991 Square D joining Schneider Electric

2011 The brand of Square D is becoming and fully operated under

Schneider Electric worldwide brand


Square D กับ Schneider คือยี่ห้อเดียวกัน


ตู้คอนซูมเมอร์ มี2แบบ คือ แบบราง กับแบบPLUG ON

1 แบบราง จะต้องมีการติดรางตัวนำเพิ่ม หรือเรียกว่า BUSBAR LINE

เพื่อให้ เบรคเกอร์ย่อย มายึดติดกับBUSBAR LINEด้วยนัท

และถ้าขันนัทไม่แน่นก็จะเกิดความต้านทานระหว่างจุดสัมผัส

ทำให้เกิดความร้อน จนเกิดไฟไหม้ได้

ถ้าขันนัทหลวม ก็จะเกิดไฟแลบหรือสปาร์ค

ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ เช่นกัน

และการติดตั้งยากกว่าแบบPLUG ON

ดังนันจึงไม่เป็นที่นิยมของช่าง

2 แบบ PLUG ON จะมีBUSBAR LINE อยู่ในตัวไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม

ด้านหลังเบรคเกอร์จะเป็นทองแดงลักษณะเป็นก้ามปู

สามารถนำเบรคเกอร์ย่อยเสียบเข้ากับบัสบาร์ไลน์(BUSBAR LINE)

ภายในตัวกล่องคอนซูมเมอร์ได้เลย

ทำงานสะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญ เมื่อมีการกินกระแสมาก

ทำให้หน้าสัมผัสหลังเบรคเกอร์ที่เสียบร้อน

ก็จะทำให้เกิดการเกาะแน่นกับบัสบาร์มากยิ่งขึ้น

เนื่องจากออกแบบการเกาะติดแบบสนามแม่เหล็ก


เบรคเกอร์ก็จะมี2แบบคือ

1 เบรคเกอร์เมน = Main breaker

2 เบรคเกอร์ย่อย = Miniature Circuit Breaker

ทำหน้าที่พื้นฐานอย่างน้อยสุด2อย่าง คือ

1 ตัดเมื่อกระแสเกิน หรือ OVERLOAD เช่น

ถ้าสายไฟทนกระแสได้ที่ 10แอมป์

เบรคเกอร์ก็ต้องใช้ขนาด10แอมป์ ถ้าใช้ไฟเกินจาก10แอมป์

ก็จะทำให้เบรคเกอร์ตัด เพื่อป้องกันสายไฟไหม้นั่นเอง

2 ตัดเมื่อมีการลัดวงจร เช่น เรานำสายLine กับสายNeutral

มาจี้กัน เบรคเกอร์ก็จะตัดทันที

เพราะเวลาลัดวงจรกระแสจะพุ่งขึ้นหลักร้อยแอมป์เลยทีเดียว


เบรคเกอร์ที่ใช้ภายในบ้าน ต้องผ่านมาตรฐาน IEC 60898

เบรคเกอร์ที่ใช้ภายในโรงงาน ช่างสามารถซ่อมบำรุงได้

ก็จะต้องผ่านมาตรฐาน IEC 60947-2


ขนาดเบรคเกอร์ย่อย ใช้กับโหลดแบบต่างๆ

รูปแบบโหลดไฟฟ้า

 เบรคเกอร์-แอมป์

วงจร ไฟส่องสว่าง

    10-20

เต้ารับ

    16-20

เครื่องปรับอากาศ (BTU)


9000

10

12000

16

18000

20

24000

25

30000

32

36000

40

50000

50

60000

63

เครื่องทำความร้อน(Watt)


1800

10

2500

16

3500

20

4500

25

6000

32

9000

50



ระดับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านร่างกายมนุษย์

จากการทดสอบ ตามมาตรฐาน IEC60479-1

80mA - 1A

บาดเจ็บสาหัส,หัวใจล้มเหลว

AC4-3

50mA - 80mA

เนื้อเยื่อไหม้

AC4-2

40mA - 50mA

หายใจติดขัด,อวัยวะต่างๆยังไม่เสียหาย

AC4-1

10mA - 40mA

กล้ามเนื้อกระตุก แต่ยังไม่เป็นอันตราย

AC3

0.5mA - 10mA

รู้สึกว่าไฟรั่ว แต่ไม่เป็นอันตราย

AC2

0mA – 0.5mA

เริ่มรู้สึกว่าไฟรั่ว แต่ไม่เป็นอันตราย

AC1


คนที่มีผิวหนังหยาบความต้านทานจะสูง

ถ้าความต้านทานสูงมากอาจสัมผัสไฟได้โดยไม่เป็นอันตราย

คนที่มีผิวบางก็จะมีความต้านทานต่ำ

ถ้าสัมผัสไฟก็จะมีอันตรายมากกว่าคนที่มีผิวหยาบ

ส่วนการเสียชีวิตจะขึ้นอยู่กับกระแสไฟที่ไหลผ่าน

และระยะเวลาที่กระแสไหลผ่านตัวเรา


ถ้าในกรณีน้ำท่วมอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นปั๊มน้ำ

ระยะห่าง3เมตรขึ้นไปถือว่าปลอดภัย

ถ้าเข้าใกล้ปั๊มน้ำในระยะ3เมตรจะทำให้เสียชีวิตได้


ตัวป้องกันไฟดูดไฟรั่ว

มาตรฐานใหม่ IEC 61008

และ มอก.2425-2552

RCCB ตัดกระแสรั่ว แต่ไม่ตัดกระแสเกิน


มาตรฐานใหม่ IEC 61009

และ มอก.909-2548

RCBO ตัดกระแสรั่ว และตัดกระแสเกิน

ความเร็วในการตัด จะต้องไม่เกิน 0.04 วินาที (40 mS)


เชิญชมวีดีโอประกอบครับ!