ใส่ฟันปลอมเบิกจ่ายตรงได้ไหม

ใส่ฟันปลอมเบิกจ่ายตรงได้ไหม
ข้าราชการเฮ! เบิกค่าทำฟันได้เพิ่ม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.59


นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับอัตราค่าบริการสาธารณสุข ของส่วนค่าบริการทางทันตกรรม ฟันเทียมถอดได้และอุปกรณ์ เพื่อให้การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะ เศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องมาจากการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ถือเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว รวมถึงจะช่วยให้เข้าถึงการรับบริการทางทันตกรรมได้มากขึ้น โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.59 เป็นต้นไป

ทั้งนี้กรมบัญชีกลางได้ประกาศกำหนด รายการ อัตรา และเงื่อนไขการเบิกจ่ายอัตราค่าบริการทางทันตกรรม ฟันเทียมถอดได้และอุปกรณ์ สำหรับสถานพยาบาลของทางราชการ ประกอบด้วย เพิ่มรายการค่าบริการ 11 รายการ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อการรักษา และปรับเพิ่มอัตราค่าบริการ 46 รายการ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างต้นทุนของสถานพยาบาล และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว

สำหรับรายการและอัตราค่าบริการทางทันตกรรมใหม่ที่ให้เบิก เช่น ถอนฟันน้ำนมหรือฟันแท้ต่อซี่ จาก 170 บาท เป็น 200 บาท, ผ่าตัดฟันคุดหรือฟันฝัง โดยกรอกระดูกและฟันต่อซี่ละ 1,000 บาท จากเดิม 600 บาท, ผ่าตัดและอุดปลายราก ฟันหลังซี่ละ 1,480 บาท จากเดิม 860 บาท ,อุดฟันชั่วคราวซี่ละ 240 บาท จากเดิม 200 บาท, ขูดหินน้ำลายทั้งขากรรไกร บนหรือล่าง 140 บาท, เพดานเทียมพร้อมฟันปลอมบางส่วนถอดได้สำหรับผู้ใหญ่ชิ้นละ 6,210 บาท, เพดานเทียมพร้อมฟันปลอมถอดได้ทั้งปากสำหรับผู้ใหญ่ชิ้นละ 4,850 บาท และการจัดฟันในเด็กปากแหว่งเพดานโห่วครั้งละ 590 บาท

ใส่ฟันปลอมเบิกจ่ายตรงได้ไหม

สิทธิการรับบริการ ของโรงพยาบาลทันตกรรม

สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลด้วยบัตรประชาชน (ประเภทผู้ป่วยนอก)

ใส่ฟันปลอมเบิกจ่ายตรงได้ไหม

การใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาด้วยบัตรประชาชน สำหรับผู้มีสิทธิที่เบิกกับกรมบัญชีกลาง

ใส่ฟันปลอมเบิกจ่ายตรงได้ไหม

สิทธิประกันสังคม

กรณีทันตกรรม (อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุดและใส่ฟันเทียม)

ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี อุดฟัน ถอนฟัน  ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราปีละไม่เกิน 900 บาท/ปี (เงื่อนไขการเบิกเงินเป็นไปตามประกาศประกันสังคม) และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก (พลาสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท ตั้งแต่ 6 ซี่ขึ้นไปจะเบิกได้ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก ครึ่งปากบน 2,400 บาท ครึ่งปากล่าง 2,400 บาท ทั้งปาก 4,400 บาท

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์กรณีทันตกรรม

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม

2. ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรรับรองสิทธิฯ

4. กรณีขอรับเงินทางธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิการรักษาทางทันตกรรม

ใส่ฟันปลอมเบิกจ่ายตรงได้ไหม

ใส่ฟันปลอมเบิกจ่ายตรงได้ไหม

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง

สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือที่ถูกเรียกว่า ” บัตรทอง หรือ บัตร 30 บาท “ อันเป็นหลักประกันด้านสุขภาพภายใต้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยรัฐบาลให้มีการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้คนไทยได้เข้าถึงบริการ ด้านการเพทย์และสาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต

ผู้ที่สามารถใช้สิทธิบัตรทอง
  1. ผู้ที่มีสัญชาติไทย
  2. ผู้มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. ผู้ที่ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพอื่น เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนเข้ารับบริการ
  1. บัตรประจำตัวประชาชน กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้ใบเกิดหรือเอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง (เพื่อรับรองการใช้สิทธิ)
  2. บัตรโรงพยาบาลทันตกรรม หรือ บัตรนัดหมายตรวจ
  3. ใบส่งตัวจากสถานพยาบาล/หน่วยงานต้นสังกัด (ถ้ามี)
สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม

สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง) ผู้รับบริการจะได้รับการคุ้มครองในรายการรักษา มีดังนี้: อุดฟัน / ถอนฟัน / ขูดหินปูน / ผ่าฟันคุด / การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ / การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม/การเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และการใส่ฟันเทียม(ฐานพลาสติก)

เงื่อนไขการเข้ารับบริการ

ผู้รับบริการที่มีสิทธิบัตรทอง เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร – นำบัตรประชาชนเพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตนก่อนเข้ารับบริการ (ทุกครั้งที่รับบริการ) สามารถรับการรักษาตามสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมที่สปสช.กำหนด

ผู้รับบริการที่มีสิทธิบัตรทอง นอกเขตพื้นที่กรุงเทพฯ หรือ ต่างจังหวัด – นำบัตรประชาชนเพื่อตรวจสอบและยื่นหนังสือใบส่งตัวจากสถานพยาบาล/หน่วยงานต้นสังกัด(ก่อนเข้ารับบริการ) กรณีไม่มีหนังสือใบส่งตัว แต่มีความจำเป็นต้องรับการรักษาเร่งด่วน (ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถาม)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ศูนย์ประสานสิทธิการรักษาฯ ชั้น1อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 50 พรรษา  โทร.02-2007777 (เบอร์ภายใน1033)

การ ใส่ รากฟัน เทียม เบิกได้ไหม

การรักษารากฟันเพียงอย่างเดียวจะเบิกประกันสังคมไม่ได้ จะเบิกได้ก็ต่อเมื่อ เป็นการใส่ฟันปลอมเข้าไปด้วย และมีเงื่อนไขที่ขึ้นอยู่กับ จำนวนฟัน และ อายุ ของผู้เบิกด้วย ปัจจุบันเรื่องอายุนั้นถูกตัดทิ้งไปแล้ว แต่จำนวนฟัน ภายในระยะเวลา 5 ปีจะเบิกได้ 1,300 บาท ต่อไม่เกิน 5 ซี่ เกินกว่านั้นจ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 1,500 บาท

ฟันปลอม เบิกข้าราชการได้ไหม

เดิมการเบิกจ่ายค่าฟันปลอมหรือการครอบฟัน ไม่สามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้ เนื่องจากกรม บัญชีกลางถือว่าฟันปลอม และครอบฟัน เป็นอุปกรณ์ ที่ยังไม่ได้กำหนดอัตราให้เบิกจ่ายไว้ ดังนั้นสิทธิ ประโยชน์ที่เกี่ยวกับฟันจะเบิกได้เฉพาะในกรณีของ การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และรักษาคลองรากฟัน เท่านั้น ต่อมา กรมบัญชีกลางได้มีการประชุมร่วม

ฟันปลอมเบิกได้กี่บาท

ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม – ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม

ทําฟันเบิกจ่ายตรงได้ไหม

ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราปีละไม่เกิน 900 บาท/ปี (เงื่อนไขการเบิกเงินเป็นไปตามประกาศประกันสังคม) และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก (พลาสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,300 ...