วิธีคํานวณ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

          จะเห็นว่าในปี 2564 กลุ่มสายงานไอที-ดิจิทัล เป็นสายงานที่มีเงินเดือนสูงในทุกระดับ สอดรับกับโลกที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ขณะที่สายงานโทรคมนาคม และสายงานธนาคาร จัดเป็นอาชีพที่น่าจับตามองและมีโอกาสเติบโตตามเทคโนโลยีดิจิทัลเช่นกัน เนื่องจากธนาคารต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านไอที การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างบริการใหม่ ๆ มาช่วยพัฒนาระบบ Digital Banking มากขึ้น

กรอบแนวคิดฯ กําหนดว่า รายการที่ถือเป็นรายได้ต้องเป็นไปตามคํานิยามของรายได้ตามที่ระบุไว้ข้างต้น ซึ่งรวมถึงรายการกําไร และรายได้ที่เกิดจากการดําเนินกิจกรรมตามปกติของกิจการ เช่น รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ รายได้ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยรับรายได้ค่าสิทธิ รายได้เงินปันผล รายการกําไรจากอัตรา แลกเปลี่ยน รายการกําไรจากการจําหน่ายสินทรัพย์ เป็นต้น

revenue แปล

รายได้ คือ (Revenue) กระแสรับของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ(ก่อนหักค่าใช้จ่าย) ในรอบระยะเวลา บัญชี ซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการ เมื่อกระแสรับนั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้ง ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของตามคำนิยามกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินหรือแม่บทบัญชี

วิธีคํานวณ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
income กับ revenue

ข้อสังเกตความแตกต่างระหว่าง รายได้ ( Income ) กับ รายได้ ( Revenue )

รายได้ (Income)รายได้ (revenue)รายได้ (Income) ประกอบด้วย รายได้ ( revenue ) และรายการหรือผลกำไรรายได้ (revenue) เป็นรายได้ขั้นต้นที่เกิดจากกิจกรรมหลักของการดำเนินงานตามปกติ จึงแสดงด้วยมุลค่าขั้นตั้น (Gross Value) หรือรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย

รายได้ในทางการบัญชีแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ รายได้โดยตรง และรายได้อื่น 

  • รายได้โดยตรง ( Direct Revenues ) หมายถึง รายได้ที่เกิดขึ้นตามวิถีทางการค้าโดยปกติ ของกิจการ ถ้าเป็นกิจการซื้อขายสินค้ารายได้โดยตรงของกิจการนี้คือ รายได้จากการขายสินค้า ถ้า เป็นกิจการที่ให้บริการ เช่น ธนาคาร รายได้โดยตรงของธนาคารคือ ดอกเบียค่าธรรมเนียม เป็นต้น ทั้งนี้ กิจการอาจมีรายได้โดยตรงได้หลายประเภทตามวิถีการค้าโดยปกติของกิจการ
  • รายได้อื่น ( Other Revenues ) หมายถึง รายได้ที่มิได้เกิดขึ้นตามวิถีทางการค้าโดยปกติ ของกิจการ ส่วนใหญ่เป็นรายได้อันเกิดจากการนําเงินที่เหลือจากการใช้ในการดําเนินงานไปลงทุนซื้อ หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือซื้อหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ โดยผลประโยชน์ที่ได้รับคือเงินปันผล รับหรือดอกเบี้ยรับ เป็นต้น

รายได้ ที่กิจการได้รับไม่จําเป็นต้องได้เป็นเงินสดเสมอไป อาจได้มาในรูปสินทรัพย์อย่างอื่น เช่น ลูกหนี้การค้าหรือตั๋วเงินรับ ทั้งนี้เงินสดที่กิจการได้รับทุกรายการ ไม่จําเป็นต้องเป็นรายได้ของกิจการ เสมอไป

วิธีคํานวณ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
ประเภทของรายได้

ตัวอย่างเช่น บริษัท กิติ จํากัด ขายสินค้าให้บริษัทสันติ จํากัด จํานวนเงิน 100,000 บาท บริษัทกิติจ่ายเงินสดให้ทันที 70,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชําระให้ในงวดถัดไป ดังนั้น รายได้ของ บริษัทสันติในงวดบัญชีนี้คือ 100,000 บาท ซึ่งได้มาในรูปของเงินสด 70,000 บาท และลูกหนี้การค้า 30,000 บาท ครั้นเมื่อลูกค้าน้ําเงินสดมาชําระหนี้จํานวน 30,000 บาทในงวดถัดไป บริษัทจะไม่ ถือว่าเป็นรายได้ของงวดบัญชีที่รับชําระ แต่ให้ถือเป็นการรับชําระหนี้จากลูกค้าอันเนื่องจากรายได้ที่ เกิดขึ้นแล้วในงวดก่อน เป็นต้น

ลักษณะของรายได้ 

ลักษณะของรายได้ ( Nature of Revenues ) ถือเป็นผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับจากการขายสินค้าและ/ หรือบริการให้กับลูกค้า ซึ่งคำนวนได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน และรวมถึงกำไรที่ได้จากการซื้อขายสินทรัพย์ รายได้ดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยรับ) รายได้ค่าเช่า รายได้เงินปันผล

ชนิดของรายได้

ชนิดของบัญชีรายได้ ( Type of Revenue Accounts ) บัญชีรายได้แต่ละกิจการไม่จําเป็นต้องมีเหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ ซึ่งอาจมี การแบ่งรายได้ไม่เหมือนกัน บางกิจการอาจมีรายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการบริการและ/หรือ รายได้อื่น ๆ ด้วย เป็นต้น

  • บัญชีขาย ( Sales Account ) ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดจากการส่งมอบสินค้า สินทรัพย์ สิทธิ หรือบริการ เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสด สิทธิเรียกร้องให้ชําระเงิน หรือสิ่งอื่นที่มีมูลค่าคิดเป็นเงินได้
  • บัญชีรายได้จากการบริการ ( Service Revenue Account ) ใช้บันทึกรายการค้าอันเกิดจาก การบริการ เช่น ธุรกิจการบิน รายได้ คือ ค่าขายตั๋วโดยสาร รายได้ค่ารับส่งสินค้า
  • บัญชีรายได้ดอกเบี้ย ( Interest Revenue Account ) ใช้บันทึกรายได้อันเกิดจากการให้บริการ เงินกู้ หรือการฝากเงิน หากเป็นสถาบันการเงินดอกเบี้ยรับจากการให้บริการเงินกู้ถือเป็นรายได้หลัก ของกิจการ
  • บัญชีรายได้ค่าธรรมเนียม ( Fees Revenue Account ) ใช้บันทึกรายได้ของกิจการที่มีรายได้ จากวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ และผู้สอบบัญชี
  • บัญชีรายได้อื่น ๆ ( Other Revenues Account ) ใช้บันทึกรายได้ที่มิใช่รายได้โดยปกติของ กิจการ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นนาน ๆ ครั้งในแต่ละงวด เช่น กําไรจากการขายสินทรัพย์

ความหมายของธุรกิจ

รายได้สำหรับธุรกิจทั่วไป กิจการที่ขายสินค้า ให้บริการ และให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการจะมีรายได้จากการขายสินค้ารายได้จากการให้บริการ และรายได้จากดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล

วิธีคํานวณ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
รายได้ทางธุรกิจ

รายได้ทางธุรกิจมีอะไรบ้าง

  • รายได้จากการขายสินค้า
  • รายได้จากการให้บริการ
  • รายได้ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล
  • รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า

  • รายได้สำรับธุรกิจเฉพาะ
  • รายได้จากสัญญาเช่า
  • รายได้จากสัญญาก่อนสร้าง
  • รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ตัวอย่างรายได้

1.รายได้ จากการขายสินค้า

การขายสินค้า ประกอบด้วยกิจกรรมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อของลุกค้าการออกคำสั่งขาย การส่งมอบสินค้า และการรับชำระเงินค่าสินค้า ประเด็นที่ควรพิจารณาในเรื่องการรับรู้ได้จากการขายสินค้า ก็คือจุดใดหรือวันใดที่กิจการควรรับรู้  ดังนี้

วิธีคํานวณ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน
รายได้จากการขายสินค้า

เงื่อนไขการรับรู้รายได้

  • กิจการได้โอนความเสี่ยง และผลตอบแทน ที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของในสินค้านั้นให้กับผู้ซื้อแล้ว
  • กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่อง หรือควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งหมดทั้งทางตรง และทางอ้อม
  • กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้แล้วอย่างน่าเชื่อถือ
  • มีความเป็นไปได้แน่นอนที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
  • กิจการสามารถวัดมูลค่าต้นทุนที่เกิดนขึ้นรืออาจจะเกิด อันเนื่องมาจากรายการบัญชีนั้น ได้อย่างน่าเชื่อถือ เป็นต้น

ตัวอย่าง รายได้จากการขายสินค้า

  • การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
  • การนำสินค้าไปฝากขาย และขายได้แล้ว
  • การขายสินค้าได้แล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบ เนื่องจากลุกค้ายังไม่พร้อมรับ
  • การขายสินค้าอย่างมีเงื่อนไขได้รับเงินแล้ว เช่น การซื้อแอร์ แต่ยังไม่ได้ไม่ติดตั้ง แต่ลูกค้าชำระเงินแล้ว เป็นต้น

2.รายได้ จากการให้บริการ

กิจการต้องรับรู้รายได้จากการให้บริการหากกิจการสามารถเมิณผลของรายการบัญชีนั้ได้อย่างน่าเชื่อถือ ตามขั้นความสำเร็จของงาน จากรายการบัญชีนั้น ๆ ตามมาตรฐานการบัญชีดังนี้