ซื้อปากกา 1 ด้าม ราคาด้ามละ 12 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.ฉันนำเงิน 48 บาทไปตลาด พบว่า ถ้าซื้อมะม่วง ผล และสับปะรด ผล จะขาดเงินไป บาทแต่ถ้าซื้อมะม่วง ผล และสับปะรด ผล จะเหลือเงิน บาท สับปะรดราคาแพงกว่ามะม่วงเท่าใด

2.ซื้อปากกาขายองชนิด ชนิดหนึ่งจำนวน 25 ด้าม อีกชนิดหนึ่งจำนวน 20 ด้าม รวมเป็นเงิน 275 บาท ขายปากกาชนิดแรกได้กำไร 20% และขายชนิดที่สองได้กำไร 15%   รวมเป็นกำไรทั้งสิน 50 บาท ปากกาสองชนิดนี้ราคาด้ามละเท่าไร

3.เลขจำนวนหนึ่งประกอบด้วยสองหลัก    เลขหน่วยมากกว่าเลขหลักสิบอยู่  ผลบวกของเลขจำนวนนี้กับจำนวนเลขที่มีเลขสับหลักกั้นกับจำนวนเดิมเป็น 143   จงหาเลขจำนวนเติม

4. เมื่อ 10 ปีล่วงมาแล้ว บิดามีอายุเป็น เท่าของบุตร ต่อจากปัจจุบันนี้ไปอีก ปี บิดาจะมีอายุเป็น 2เท่าของบุตร ปัจจุบันทั้งสองมีอายุคนละกี่ปี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) คือ ภาษี ประเภทหนึ่งตาม ประมวลรัษฎากร ซึ่งจัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือการให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้บริโภค แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที

คำนวณ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

โปรแกรมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย

กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยปกติ กฎหมายไทยกำหนดให้ 3 กิจการต่อไปนี้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ1
  2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ2 ซึ่งจะครอบคลุมถึงการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร (เช่น การให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์จากบริษัทต่างประเทศที่ใช้ในไทย) และบริการที่ได้ทำในราชอาณาจักรแต่ใช้บริการจริงเกิดขึ้นในต่างประเทศ (เช่น รับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ให้บริษัทต่างชาติไปใช้ในต่างประเทศ)
  3. การนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผู้นำเข้า3

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

โดยปกติ เราจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในอัตราคงที่ 7% (ซึ่งคำนวณมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7%)4

ผู้ประกอบการที่มียอดขายทั้งปีเกิน ฿1,800,000 (เฉลี่ยเดือนละ ฿150,000) โดยปกติจะถูกบังคับให้จดทะเบียน VAT ตามกฎหมายภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกิน ฿1,800,0005 แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้น ก็จะไม่ต้องเสีย VAT6 เช่น ขายเนื้อสัตว์ ผักสด เป็นต้น

โดยทั่วไปผู้ประกอบการจะต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป7 และมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี รวมถึงจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขาย8 ด้วย

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มและวิธีคำนวณภาษี

ภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้มูลค่าของสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) เป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม9 

มูลค่าสินค้า/บริการ x อัตราภาษี = ค่าภาษี VAT

เช่น สินค้าตั้งราคาขาย ฿100 ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา 7% จะคำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่มได้ดังนี้

มูลค่าสินค้า/บริการ ฿100 x อัตราภาษี 7% = ค่าภาษี VAT ฿7

ดังนั้น เมื่อขายสินค้าจะต้องเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 107 บาท (ค่าสินค้า 100 บาท + VAT 7 บาท) โดยค่าสินค้าจะทำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ส่วน VAT 7 บาท จะต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปโดยไม่ต้องนำไปคำนวณเป็นเงินได้ของกิจการ โดยภาษีที่เรียกเก็บจากตอนขายจะเรียกสั้นๆ ว่า ภาษีขาย10

ในทางกลับกัน ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนซื้อสินค้ามาในราคา 107 บาท แสดงว่าสินค้านั้นจริงๆ ราคาเพียง 100 บาท แต่อีก 7 บาทนั้นคือ VAT ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจ่ายตอนซื้อสินค้า ซึ่งค่าภาษี 7 บาทที่จ่ายไปตอนซื้อสินค้าเข้ามา เรียกสั้นๆ ว่า ภาษีซื้อ11

การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีเพิ่มแล้วจะมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือน (เดือนภาษี) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องนำส่งหรือไม่ก็ตาม12 ซึ่งในแต่ละเดือนอาจเกิดผลลัพธ์แตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. ภาษีขาย มากกว่า ภาษีซื้อ

กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายมากกว่ายอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) มากกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป (ภาษีซื้อ) ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำส่วนต่างนี้มานำส่งให้กรมสรรพากรพร้อมกับการยื่นภาษีรายเดือน13

2. ภาษีขาย เท่ากับ ภาษีซื้อ

กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายเท่ากับยอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป เช่นนี้ ผู้ประกอบการจึงไม่มีภาระต้องนำส่วนต่างนี้ แต่ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีรายเดือนอยู่ดี

3. ภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ

กรณีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดขายน้อยยอดซื้อ ดังนั้น จึงมีการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มน้อยกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนจ่ายออกไป เช่นนี้ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ แต่ไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษี เพราะตนจ่ายออกไปมากกว่าที่เรียกเก็บได้

ภาษีซื้อที่เหลืออยู่เนื่องจากหักออกจากภาษีขายไม่หมดนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถเลือกใช้ประโยชน์เป็นเครดิตภาษีสำหรับการยื่นภาษีครั้งต่อไป หรือขอเงินคืนภาษีก็ได้14

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT แล้ว จะได้ประโยชน์จากการซื้อขายสินค้าและบริการ คือ สามารถนำ VAT ที่ตัวเองจ่ายไปในฐานะภาษีซื้อมาหักกลบกับภาษีขาย ทำให้ภาระต้นทุนต่ำลงได้

เช่น จากเดิมต้นทุน 107 บาทจะเหลือเพียง 100 บาท เพราะลูกค้าของผู้ประกอบการจะเป็นผู้แบกรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาทให้แทน

อย่างไรก็ดี แม้ต้นทุนเรื่องสินค้าหรือบริการจะลดลง แต่การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะมีต้นทุนค่าทำบัญชีเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อม ผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว (ผู้ประกอบการจดทะเบียน) เป็นผู้ทำหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้บริโภค15 แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรเป็นรายเดือน โดยต้องยื่นภาษีทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าผู้ประกอบการฯ จะมีภาษีต้องชำระหรือไม่ก็ตาม16 

ความหมายของ ‘ผู้ประกอบการ’

ผู้ประกอบการ หมายถึง บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่17 ซึ่งอาจเป็นผู้ประกอบการไทยหรือต่างชาติก็ได้

อย่างไรก็ดี หากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้นไม่ได้ทำในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ก็จะไม่ใช่ผู้ประกอบการ และไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแม้จะมีการขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นก็ตาม เช่น ขายรถยนต์มือสองที่ใช้ส่วนตัว ช่วยคนรู้จักทาสีบ้าน เป็นต้น

และเมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะเรียกว่า “ผู้ประกอบการจดทะเบียน”18

การเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียน

1. กิจการกลุ่มที่ถูกบังคับให้ต้องจดทะเบียน VAT

โดยทั่วไป การขายสินค้าหรือบริการในประเทศที่ไม่มีกฎหมายเขียนยกเว้นเอาไว้จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งถ้ายอดขายระหว่างปีเกิน 1,800,000 บาท (เฉลี่ยยอดขายเกินเดือนละ 150,000 บาท) กิจการจะถูกบังคับให้ต้องจดทะเบียน VAT ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อยอดขายเกิน 1,800,000 บาท เมื่อใด ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่ต้องรีบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ฐานยอดขายเกิน19

อย่างไรก็ดี การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะยอดขายเกิน 1,800,000 บาทนั้น แม้ผู้ประกอบการจะไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีขายจากยอดขายที่เกิดขึ้นก่อนจดทะเบียนก็จริง แต่ผู้ประกอบการก็เสียสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นก่อนเวลาที่ตนจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมาขอคืนหรือเครดิตได้ เพราะภาษีซื้อนั้นจ่ายก่อนจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม20

2. กิจการกลุ่มที่ถูกไม่บังคับให้ต้องจดทะเบียน VAT

ข้อยกเว้นกรณียอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาท

กรณียอดขายตลอดทั้งปีไม่เกิน 1,800,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่บังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ เพราะกฎหมายจัดว่าเป็นกิจการขนาดย่อม21 (ถ้ายอดขายตลอดทั้งปี 1,800,000 บาท พอดี จะยังไม่ถูกบังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

แต่ถึงแม้ยอดขายตลอดทั้งปีจะไม่เกิน 1,800,000 บาท ผู้ประกอบการก็สามารถเลือกเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยความสมัครใจเมื่อไหร่ก็ได้

ข้อยกเว้นกรณีกิจการได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

การขายสินค้าหรือบริการบางประเภท กฎหมายได้ยกเว้น VAT ให้อยู่แล้ว ดังนั้น แม้ยอดขายสินค้าหรือบริการเหล่านั้นตลอดปีจะเกิน 1,800,000 บาท ก็ไม่มีภาระต้องจดทะเบียน VAT แต่อย่างใด เช่น การขายสินค้าเกษตร หรือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน การแพทย์ เป็นต้น22

จุดความรับผิดของภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax point) 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าจะมีความรับผิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเรียกว่าเกิด “จุดความรับผิด” (Tax point) เพื่อเกิดกิจกรรมบางอย่างขึ้นในเดือนภาษีนั้นๆ โดยแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมดังนี้

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้า

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้าจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นในเดือนภาษีใดๆ23

  1. มีการส่งมอบสินค้า
  2. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
  3. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
  4. ได้ออกใบกำกับภาษี

โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี

เทคนิคการตั้งตัวแทนกรณีฝากขาย เพื่อแก้ปัญหาจุดความรับผิดเกิดก่อนผู้ผลิตได้รับชำระเงิน

ในบางกรณี ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นผู้ผลิตตกลงนำสินค้าไปฝากขายตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ โดยยังไม่ได้รับชำระค่าสินค้าจนกว่าสินค้าดังกล่าวจะขายได้ ดังนั้น เมื่อผู้ผลิตสินค้าส่งมอบสินค้าให้แก่ห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ จึงเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า24 ทำให้ผู้ผลิตสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม25 เพราะเกิดจุดความรับผิดแล้ว และผู้ผลิตสินค้ามีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น26 และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนที่ตนจะได้รับชำระเงิน

เพื่อบรรเทาปัญหากรณีฝากขายดังกล่าว ผู้ผลิตสามารถทำสัญญาแต่งตั้งให้ห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อเป็นตัวแทนของผู้ผลิตได้27 ซึ่งจะส่งผลให้เลื่อนจุดความรับผิดจากเดิมที่เกิดขึ้น ณ เวลาส่งมอบ เป็น ณ เวลาที่ตัวแทนได้รับชำระเงินได้ โดยการตั้งตัวแทนต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้28

  1. ต้องเป็นสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าโดยตัวแทนได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากตัวการตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน
  2. สัญญาตามข้อ 1 ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นสัญญาที่ตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภทก็ได้
  3. ทั้งตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ตัวการและตัวแทนต้องเก็บรักษาต้นฉบับสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา
  5. ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่“
  6. ตัวแทนต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้จัดทำแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของตน

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการ

ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นในเดือนภาษีใดๆ29

  1. ได้รับชำระราคาค่าบริการ
  2. มีการให้บริการ หรือ
  3. ได้ออกใบกำกับภาษี

โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้นๆ แล้วแต่กรณี

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

  • อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆ แล้วกฎหมายบัญญัติไว้ที่ 10% แต่เนื่องจากประเทศไทยมีการออกกฎหมายพิเศษมาลดให้เหลือ 7% เป็นการชั่วคราวแบบปีต่อปี แล้วใช้วิธีต่ออายุเอาเรื่อยๆ มาหลายปี จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าการกลับไปใช้อัตรา 10% เป็นการปรับขึ้นภาษี ทั้งที่จริงตามกฎหมายใช้อัตรา 10% ตั้งแต่แรกแล้ว

  • เวลาเห็นข่าวว่ารัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 6.3% คนมักเข้าใจผิดว่ารัฐบาลประกาศลด VAT จาก 7% เหลือ 6.3% ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะที่จริงแล้ว เรายังต้องเสียอัตราภาษีท้องถิ่นอีก 1/9 ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม30 อีกด้วย (VAT 6.3% × 1/9 = 0.7%) สรุป เราเสีย VAT 7% เหมือนเดิมนั่นเอง (ภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7%) ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น

  • ในกรณีที่คุณไม่ได้จดทะเบียน VAT มาก่อนในปีนั้น แล้วต่อมาในช่วงปลายปีคุณมียอดขายเกิน ฿1,800,000 แบบคาดไม่ถึง หลายคนมักเข้าใจผิดว่าจะต้องย้อนหลังกลับมาเสีย VAT จากรายได้จำนวนที่เกิดขึ้นตลอดปีตั้งแต่บาทแรกเลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะที่จริงแล้วในเดือนที่คุณมียอดขายเกิน ฿1,800,000 แม้คุณมีหน้าที่จดทะเบียน VAT ภายใน 30 วันก็จริง แต่คุณก็มีเพียงหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม + เฉพาะส่วนที่เกินกว่า + ฿1,800,000 เท่านั้น31 โดยไม่ต้องย้อนกลับไปคำนวณ VAT ย้อนหลังไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว

อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 77/2 (1) ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 77/2 (1) ประมวลรัษฎากร

  3. ^

    มาตรา 77/2 (2) ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 646) พ.ศ. 2560, มาตรา 12 ทวิ พ.ร.บ. รายได้เทศบาล พ.ศ. 2497, มาตรา 80 ประมวลรัษฎากร

  5. ^

    มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548, มาตรา 81/1 และ 85/1 ประมวลรัษฎากร

  6. ^

    มาตรา 81/2 ประมวลรัษฎากร

  7. ^

    มาตรา 83 ประมวลรัษฎากร

  8. ^

    มาตรา 87 ประมวลรัษฎากร

  9. ^

    มาตรา 79 ประมวลรัษฎากร

  10. ^

    มาตรา 77/1 (17) ประมวลรัษฎากร

  11. ^

    มาตรา 77/1 (18) ประมวลรัษฎากร

  12. ^

    มาตรา 83 ประมวลรัษฎากร

  13. ^

    มาตรา 82/3 วรรคสอง ประมวลรัษฎากร

  14. ^

    มาตรา 82/3 วรรคสาม ประมวลรัษฎากร

  15. ^

    มาตรา 82/4 ประมวลรัษฎากร

  16. ^

    มาตรา 83 ประมวลรัษฎากร

  17. ^

    มาตรา 77/1 (5) ประมวลรัษฎากร

  18. ^

    มาตรา 77/1 (6) ประมวลรัษฎากร

  19. ^

    มาตรา 85/1(1) ประมวลรัษฎากร

  20. ^

    มาตรา 77/1(18) ประมวลรัษฎากร

  21. ^

    มาตรา 81/1 ประมวลรัษฎากร และมาตรา 4 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2548

  22. ^

    มาตรา 81 ประมวลรัษฎากร

  23. ^

    มาตรา 78 (1) ประมวลรัษฎากร

  24. ^

    มาตรา 77/1 (8) (ข) ประมวลรัษฎากร

  25. ^

    มาตรา 77/2 (1) ประมวลรัษฎากร

  26. ^

    มาตรา 86 ประมวลรัษฎากร

  27. ^

    มาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร

  28. ^

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร

  29. ^

    มาตรา 78/1 (1) ประมวลรัษฎากร

  30. ^

    มาตรา 12 ทวิ พ.ร.บ. รายได้เทศบาล พ.ศ. 2497

  31. ^

    ข้อหารือภาษีอากร เลขที่ กค 0702/3397 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2551

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน