ชีวะ ม.4 เทอม 1 เรียนอะไรบ้าง

- ชีวะ -
'บทที่1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต'
'บทที่2 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต'
'บทที่3 การย่อยอาหาร'
'บทที่4 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์'
'บทที่5 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์'
//อันนี้คือเทอม1ที่รร.เราเรียนมานะ

ชีวะ ม.4 เทอม 1 เรียนอะไรบ้าง

Pinlaly

มากกว่า 5 ปีที่แล้ว

1 เซลล์
2 เอนไซม์
3 หายใจระดับเซลล์
4 ระบบย่อยอาหาร

1

ชีวะ ม.4 เทอม 1 เรียนอะไรบ้าง

ny♡ มากกว่า 5 ปีที่แล้ว

ขอบคุณค่า💘

0

ชีวะ ม.4 เทอม 1 เรียนอะไรบ้าง

ncp มากกว่า 5 ปีที่แล้ว

ของเราเรียน
-เซลล์
-ระบบนิเวศน์
-พันธุกรรม
-ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
-เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
-อาณาจักรพืชสัตว์ฟังไจโพรติสตามอเนอรา

0

ชีวะ ม.4 เทอม 1 เรียนอะไรบ้าง

ncp มากกว่า 5 ปีที่แล้ว

#รวมทั้งเทอม1เทอม2นะ สามอันแรกเทอม1ที่เหลือเทอม2

0

แสดงความคิดเห็น

ชีววิทยา เป็นอีกหนึ่งบทที่เนื้อหาค่อนข้างเยอะพอสมควรเมื่อเทียบกับวิทยาศาสตร์สาระอื่น ๆ อีกทั้งยังมีหลายบทอีกด้วย เพื่อการเตรียมพร้อมที่ดีก่อนเข้าห้องเรียนและการเตรียมสอบ พี่ ๆ ATHOME อยากชวนน้อง ๆ ทุกคนมาดูว่าชีวะในแต่ละชั้นเขาเรียนอะไรกันบ้าง พร้อมดูความแตกต่างของชีวะม.ต้นกับชีวะม.ปลาย ว่าระดับยากง่ายต่างกันยังไงบ้าง

ชีววิทยาคืออะไร

ชีววิทยา คือ แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน

ชีววิทยา ม.4 เรียนอะไรบ้าง

เนื้อหา ชีววิทยา ม.4 เทอม 1

บทที่ 1 การศึกษาชีววิทยา

  1. ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
  2. การศึกษาชีววิทยาและวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  3. กิจกรรมสะเต็มศึกษษและกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

บทที่ 2 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

  1. อะตอม ธาตุและสารประกอบ
  2. น้ำ
  3. สารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต
  4. ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

บทที่ 3 เซลล์และการทำงานของเซลล์

  1. กล้องจุลทรรศน์
  2. โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
  3. การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
  4. การหายใจระดับเซลล์
  5. การแบ่งเซลล์

เนื้อหา ชีววิทยา ม.4 เทอม 2

บทที่ 4 โครโมโซมและสารพันธุกรรม

  1. โครโมโซม
  2. สารพันธุกรรม
  3. สมบัติของสารพันธุกรรม
  4. มิวเทชัน

บทที่ 5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

  1. การศึกษาพันธุกรรมของเมนเดล
  2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล
  3. ยีนบนโครโมโซมเดียวกัน

บทที่ 6 เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

  1. พันธุวิศวกรรมและการโคลนยีน
  2. การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์
  3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
  4. เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอกับความปลอดภัยทางชีวภาพและชีวจริยธรรม

บทที่ 7 วิวัฒนาการ

  1. หลักฐานและข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
  2. แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
  3. พันธุศาสตร์ประชากร
  4. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล
  5. กำเนิดสปีชีส์

ตัวอย่างแบบทดสอบ ชีววิทยา ม.ปลาย ชั้น ม.4

  1. บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ คือข้อใด
  1.  กาลิเลโอ
  2. เกรเกอร์ เมนเดล
  3. หลุย ปาสเตอร์
  4.  เซอร์ ไอแซคนิวตัน

เฉลย (2)  เกรเกอร์ เมนเดล


2. จากผลการทดลองของเมลเดล ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น 1 แต่ปรากฏในรุ่น 2 (หลาน) เช่น ต้นเตี้ย เมลเดลเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าอย่างไร

  1. ลักษณะเด่น
  2. ลักษณะด้อย
  3. ลักษณะปรากฏ 
  4. ลักษณะแท้

เฉลย  (2) ลักษณะด้อย


3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการศึกษา

พันธุศาสตร์ของเมนเดล

  1. ลักษณะของถั่วลันเตาที่เมนเดลเลือกมาศึกษามีทั้งหมด 9 ลักษณะ
  2. ลักษณะของถั่วลันเตาที่เมนเดลศึกษามีแอลลีลควบคุมเพียง 1 แอลลีลเท่านั้น
  3. ลักษณะฟีโนไทป์ของรุ่น F2 จะมีอัตราส่วนลักษณะเด่น: ลักษณะด้อย เท่ากับ 1:1
  4. การถ่ายทอดลักษณะของรุ่น F1 พบว่า ลักษณะเด่นจะข่มลักษณะด้อยอย่างสมบูรณ์

เฉลย (4) การถ่ายทอดลักษณะของรุ่น F1 พบว่า ลักษณะเด่นจะข่มลักษณะด้อยอย่างสมบูรณ์


4. ลักษณะในข้อใดไม่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม

  1. ติ่งหู
  2. ลักยิ้ม
  3. ความสูง
  4. รอยแผลเป็น

เฉลย (4) รอยแผลเป็น


5.  แอลลีล (Allele) หมายถึงข้อใด

  1. ยีนต่างชนิดกันอยู่บนตำแหน่งเดียวกันของ ฮอมอโลกัสโครโมโซม
  2.  ยีนเหมือนกันควบคุมพันธุกรรมเดียวกัน
  3. ยีนที่เป็นฮอมอไซกัสกันบนตำแหน่งเดียวกันของฮอมอไซกัสโครโมโซม
  4. หน่วยพันธุกรรมที่อยู่เป็นคู่กันบนฮอมอโลกัสโครโมโซม

เฉลย (1)  ยีนต่างชนิดกันอยู่บนตำแหน่งเดียวกันของ ฮอมอโลกัสโครโมโซม


ชีววิทยา ม.5 เรียนอะไรบ้าง

เนื้อหา ชีววิทยา ม.5 เทอม 1

บทที่ 8 การสืบพันธุ์ของพืชดอก

  1. โครงสร้างของดอกและชนิดของผล
  2. วัฏจักรชีวิตแบบสลับของพืชดอก
  3. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก
  4. การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างต่าง ๆ ของผลและเมล็ด

บบที่ 9 โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก

  1. เนื้อเยื่อพืช
  2. โครงสร้างและการเจริญเติบโตของราก
  3. โครงสร้างและการเจริญเติบโตของลำต้น
  4. โครงสร้างและการเจริญเติบโตของใบ

บทที่ 10 การลำเลียงของพืช

  1. การลำเลียงน้ำ
  2. การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ
  3. การลำเลียงธาตุอาหาร
  4. การลำเลียงอาหาร

บทที่ 11 การสังเคราะห์ด้วยแสง

  1. การศึกษาที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
  2. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
  3. โฟโตเรสไพเรชัน
  4. การเพิ่มความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  5. ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง

บทที่ 12 การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

  1. ฮอร์โมนพืช
  2. ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
  3. การตอบสนองของพืชในลักษณะการเคลื่อนไหว
  4. การตอบสนองต่อภาวะเครียด

เนื้อหา ชีววิทยา ม.5 เทอม 2

บทที่ 13 ระบบย่อยอาหาร

  1. การย่อยอาหารของสัตว์
  2. การย่อยอาหารของมนุษย์

บทที่ 14 ระบบหายใจ

  1. การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์
  2. อวัยวะและโครงสร้างในระบบหายใจของมนุษย์
  3. การแลกเปลี่ยนแก๊สและการลำเลียงแก๊ส
  4. การหายใจ

บทที่ 15 ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง

  1. การลำเลียงสารในร่างกายของสัตว์
  2. การลำเลียงสารในร่างกายของมนุษย์
  3. ระบบน้ำเหลือง

บทที่ 16 ระบบภูมิคุ้มกัน

  1. กลไกการต่อต้านหรือทำลาสิ่งแปลกปลอม
  2. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
  3. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

บทที่ 17 ระบบขับถ่าย

  1. การขับถ่ายของสัตว์
  2. การขับถ่ายของมนุษย์
  3. การทำงานของหน่วยไต
  4. ไตกับการรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่าง ๆ ในร่างกาย
  5. ความผิดปกติของระบบขับถ่าย

ตัวอย่าง แบบทดสอบ ชีววิทยา ม.5 

  1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นลักษณะของเนื้อเยื้อเจริญ
  1. เป็นเซลล์ที่เจริญเต็มที่
  2. มีการแบ่งเซลล์ตลอดเวลา
  3. มีรูปร่างคงที่
  4.  เซลล์ส่วนใหญ่ไม่สามารถแบ่งเซลล์ได้อีก

เฉลย (2) มีการแบ่งเซลล์ตลอดเวลา


2.  ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของเนื้อเยื้อพืช

  1. มิดเดิลลาเมลลา
  2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิ
  3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิ
  4. ไซเลม

เฉลย (4) ไซเลม


3. ข้อใต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของเนื้อเยื้อเจริญส่วนปลาย

  1. ทำให้รากและลำต้นขยายขนาดใหญ่ขึ้น
  2. สร้างลำต้น กิ่งใบ
  3. แบ่งเซลล์ให้รากยาวขึ้น
  4. ลำต้น กิ่ง ยาวขึ้น

เฉลย (1) ทำให้รากและลำต้นขยายขนาดใหญ่ขึ้น


4. เนื้อเยื้อเจริญถาวรแบ่งแยกออกเป็น 3 ระบบ อะไรบ้าง

  1. ระบบไซเล็ม ระบบโฟลเอ็ม ระบบน้ำ-อาหาร
  2. ระบบพาเรงไคมา ระบบคอลเลงไคมา ระบบสเกลอเรงไคมา
  3. ระบบเนื้อเยื้อพื้น ระบบเนื้อเยื้อผิว ระบบเนื้อเยื้อท่อลำเลียง
  4. ระบบเอพิเดอร์มิส ระบบเพริเดริ์ม ระบบเวสเซล

เฉลย (3)  ระบบเนื้อเยื้อพื้น ระบบเนื้อเยื้อผิว ระบบเนื้อเยื้อท่อลำเลียง


5.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของ Xylem

  1. ลำเลียงอาหารที่สังเคราะห์ได้จากใบสู่ส่วนต่างๆ
  2. ลำเลียงอาหารที่ได้จากรากสู่ส่วนต่างๆ
  3. ลำเลียงน้ำ-ธาตุอาหารจากรากสู่ลำต้น
  4. ลำเลียงน้ำ-ธาตุอาหารที่สังเคราะห์ได้จากใบสู่ส่วนต่างๆ

เฉลย (3)  ลำเลียงน้ำ-ธาตุอาหารจากรากสู่ลำต้น


ชีววิทยา ม.6 เรียนอะไรบ้าง

เนื้อหา ชีววิทยา ม.6 เทอม 1

บทที่ 18 ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก

  1. การรับรู้และการตอบสนองของสัตว์
  2. โครงสร้างและการทำงานของเซลล์ประสาท
  3. ศูนย์ควบคุมระบบประสาทของมนุษย์
  4. การทำงานของระบบประสาท z 
  5. อวัยวะรับความรู้สึก

บทที่ 19 การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

  1. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
  2. การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
  3. การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
  4. การเคลื่อนที่ของมนุษย์

บทที่ 20 ระบบต่อมไร้ท่อ

  1. การทำงานร่วมกันของระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาท
  2. ต่อมไร้ท่อ
  3. ฮอร์โมนและการทำงานของฮอร์โมน
  4. การรักษาสมดุลของฮอร์โมน

บทที่ 21 ระบบสืบพันธุ์แและการเจริญเติบโต

  1. การสืบพันธุ์ของสัตว์
  2. การสืบพันธุ์ของมนุษย์
  3. การเจริญเติบโตของสัตว์

บทที่ 22 พฤติกรรมของสัตว์

  1. การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์
  2. กลไกการเกิดพฤติกรรม
  3. ประเภทพฤติกรรมของสัตว์
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและวิวัฒนาการของระบบประสาท
  5. การสื่อสารระหว่างสัตว์

เนื้อหา ชีววิทยา ม.6 เทอม 2

บทที่ 23 ความหลากหลายทางชีวภาพ

  1. ความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
  3. การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

บทที่ 24 ระบบนิเวศและประชากร

  1. ระบบนิเวศ
  2. ไบโอม
  3. การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
  4. ประชากร

บทที่ 25 มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  1. ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
  2. การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาและการจัดการ
  3. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ตัวอย่าง แบบทดสอบ ชีววิทยา ม.6

  1. ขณะที่อมีบาเคลื่อนที่ โครงสร้างภายในจะมีลักษณะของการทำงานเช่นเดียวกับสิ่งใด
  1. ลำเลียงอาหารที่สังเคราะห์ได้จากใบสู่ส่วนต่างๆ
  2. ลำเลียงอาหารที่ได้จากรากสู่ส่วนต่างๆ
  3. ลำเลียงน้ำ-ธาตุอาหารจากรากสู่ลำต้น
  4. ลำเลียงน้ำ-ธาตุอาหารที่สังเคราะห์ได้จากใบสู่ส่วนต่างๆ

เฉลย (3) ลำเลียงน้ำ-ธาตุอาหารจากรากสู่ลำต้น


2. สัตว์กลุ่มที่อาศัยระบบน้ำช่วยในการเคลื่อนที่ ได้แก่

  1. พารามีเซียม ไฮดรา หวีวุ้น
  2. ยูกลีนา ฟองน้ำ พลานาเรีย
  3. แมงกะพรุน ปลาดาว หอยสองฝา
  4. ปลาหมึก ปลาฉลาม ปลาดาว

เฉลย (3) แมงกะพรุน ปลาดาว หอยสองฝา


3. ในระหว่างการวิ่งของสุนัข สุนัขเคลื่อนที่ไปได้โดยอาศัยการทำงานของระบบอวัยวะอะไรบ้าง

  1. ระบบกล้ามเนื้อเรียบ
  2. ระบบกล้ามเนื้อลาย
  3. ระบบกล้ามเนื้อที่ยึดกับกระดูก
  4. ระบบกล้ามเนื้อที่อยู่นอกการควบคุมของจิตใจ

เฉลย (3) ระบบกล้ามเนื้อที่ยึดกับกระดูก


4. ข้อความใดอธิบายถึงลิกาเมนต์ได้อย่างถูกต้อง

  1. ไม่มีการยืดหยุ่นและยึดกล้ามเนื้อกับกระดูก
  2. มีการยืดหยุ่น และยึดกล้ามเนื้อกับกระดูก
  3. ไม่มีการยืดหยุ่นและยึดกระดูกกับกระดูก
  4. มีการยืดหยุ่นและยึดกระดูกกับกระดูก

เฉลย (4) มีการยืดหยุ่นและยึดกระดูกกับกระดูก


5.  เหตุการณ์ใดจะไม่เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อลายหดตัว

  1. แรงดันในเทนดอนเพิ่มขึ้น
  2. กล้ามเนื้อมีปริมาตรลดลง
  3. มีพลังงานความร้อนเกิดขึ้น
  4. มีการสลาย ATP

เฉลย (2) กล้ามเนื้อมีปริมาตรลดลง


ความเหมือน-ความต่าง ชีวะม.ต้น VS ชีวะม.ปลาย

เนื้อหา ชีววิทยา ม.1 

บทที่ 1 หน่วยของชีวิตและพืช

1. หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

2. ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

3. การลำเลียงในพืช การแพร่และการออสโมซิส

4. การสืบพันธุ์ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

5. การสังเคราะห์ด้วยแสง

6. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชในท้องถิ่น

บทที่ 2 สารในชีวิตประจำวัน

1. ความหมายและสมบัติของสาร

2. ประเภทของสารและการจำแนกประเภท

3. การแยกสารเนื้อผสม และสารเนื้อเดียว

4. การแยกสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 

เนื้อหา ชีววิทยา ม.2 

บทที่ 1 ชีวิตสัตว์

1. โครงสร้างและหน้าที่ของระบบอวัยวะ

2. การปรับตัวและพฤติกรรมของสัตว์

3. การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธ์สัตว์

4. เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตของสัตว์

บทที่ 2 ร่างกายของเรา

1. ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา

2. ความสัมพันธ์ของระบบอวัยวะในร่างกายของเรา

3. อาหารและสารอาหาร

4. ผลของการใช้สารต่อร่างกายของเรา

บทที่ 3 ธาตุและสารประกอบ

1. ความหมายของธาตุและสมบัติบางประการของธาตุ

2. อะตอมและโมเลกุลของสาร

3. ความหมายของสารประกอบ

4. ธาตุและสารประกอบที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

เนื้อหา ชีววิทยา ม.3 

บทที่ 1 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1. ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

2. การใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากร

3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม

4. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

บทที่ 2 ระบบนิเวศ

1. สิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่

2. ประเภทของระบบนิเวศ

3. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

4. การถ่ายทอดพลังงาน

บทที่ 3 พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

1. กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

2. โครโมโซมและสารพันธุกรรม

3. ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น

4. ความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน

บทที่ ชีวะ ม.ต้น เหมือนกับ ชีวะ ม.ปลาย

  1. หน่วยของชีวิตและพืช (ม.ต้น) – เซลล์ในการทำงานของเซลล์ (ม.ปลาย)-การสืบพันธุ์ของพืชดอก (ม.ปลาย)-โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก (ม.ปลาย)-การลำเลียงของพืช (ม.ปลาย)-การสังเคราะห์ด้วยแสง (ม.ปลาย)

เนื้อหาม.ต้น จะเป็นการเกริ่นเรื่องเซลล์และพืชเพียงเบื้องต้น 

เนื้อหาม.ปลาย จะมีการลงลึกในบทนั้น ๆ มากกว่าและละเอียดกว่า

เช่น การสังเคราะห์ด้วยแสงของ ม.ต้น จะไม่ได้เรียนเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแบบละเอียด แต่เน้นที่สมการการสังเคราะห์ด้วยแสง และเข้าใจเรื่องสิ่งที่ต้องใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง และผลิตภัณฑ์เป็นหลัก


  1.  ชีวิตสัตว์ (ม.ต้น) – พฤติกรรมของสัตว์ (ม.ปลาย) -ระบบย่อยอาหาร (ม.ปลาย) – ระบบหายใจ (ม.ปลาย) – ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง (ม.ปลาย) – ระบบขับถ่าย(ม.ปลาย) – ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก (ม.ปลาย) -การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต (ม.ปลาย) – ระบบสืบพันธุ์แและการเจริญเติบโต (ม.ปลาย) 

เนื้อหาม.ต้น  บทชีวิตสัตว์ในม.ต้นจะบอกเกี่ยวกับการโครงสร้างและระบบอวัยวะต่าง ๆ แบบคร่าว ๆ และพฤติกรรมของสัตว์ 

เนื้อหาม.ปลาย  แต่ในบทม.ปลายนั้นจะบอกเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ทั้งของมนุษย์และของสัตว์แบบละเอียดมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตที่บอกถึงที่มาของพฤติกรรม และรูปแบบของพฤติกรรมนั้น


  1. ร่างกายของเรา (ม.ต้น) – ระบบย่อยอาหาร (ม.ปลาย) – ระบบหายใจ (ม.ปลาย) – ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง (ม.ปลาย) – ระบบขับถ่าย(ม.ปลาย) – ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก (ม.ปลาย) -การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต (ม.ปลาย) – ระบบสืบพันธุ์แและการเจริญเติบโต (ม.ปลาย)-ระบบต่อมไร้ท่อ(ม.ปลาย)- ระบบสืบพันธุ์แและการเจริญเติบโต(ม.ปลาย)

เนื้อหาม.ต้น   จะเรียนเกี่ยวกับระบบร่างกายมนุษย์และความสัมพันธ์ของระบบอวัยวะ และสารอาหาร รวมถึงความผิดปกติของร่างกายมนุษย์เมื่อได้รับสารเคมีต่าง ๆ 

เนื้อหาม.ปลาย   เรียนเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เกี่ยวกับอวัยวะและกลไกการทำงานของระบบต่าง ๆ อย่างละเอียดมากขึ้น


  1.  ธาตุและสารประกอบ(ม.ต้น) – เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต(ม.ปลาย)

เนื้อหาม.ต้น  ธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน แยกระหว่างธาตุและสารประกอบ รู้จักอะตอมและธาตุต่าง ๆ แบบพื้นฐาน

เนื้อหาม.ปลาย  เรียนเกี่ยวกับสารประกอบต่าง ๆ หมู่ฟังก์ชันต่าง ๆ และปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิต


  1. ชีวิตและสิ่งแวดล้อม (ม.ต้น) – มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ม.ปลาย)

เนื้อหาม.ต้น  เรียนเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

เนื้อหาม.ปลาย  เรียนเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมากขึ้น


  1. ระบบนิเวศ (ม.ต้น) –  ระบบนิเวศและประชากร (ม.ปลาย)

เนื้อหาม.ต้น  เรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต การถ่ายทอดพลังงาน เรื่องห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหาร

เนื้อหาม.ปลาย  เรียนเกี่ยวกับระบบนิเวศ ไบโอม ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่กว้างใหญ่ระดับโลก รวมถึงการแทนที่ในระบบนิเวศซึ่งไม่มีในระดับชั้น ม.ต้น


  1. พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต (ม.ต้น) – โครโมโซมและสารพันธุกรรม (ม.ปลาย) – การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (ม.ปลาย) –  เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ (ม.ปลาย) – ความหลากหลายทางชีวภาพ (ม.ปลาย)

เนื้อหาม.ต้น  เรียนเกี่ยวกับพันธุกรรม และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมพื้นฐาน รู้จักกับคำศัพท์ต่าง ๆ และรู้ว่าลักษณะต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดถูกกำหนดด้วยกฎของเมนเดล และกฎทางพันธุศาสตร์

เนื้อหาม.ปลาย  เรียนรู้ในระดับที่ลึกกว่าม.ปลาย และขยายการศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับประชากร ซึ่งกว้างกว่าระดับม.ต้น รวมถึงการเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการตัดแต่งยีน การโคลนยีน


คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

เนื้อหาชีววิทยา ม.ปลาย เรียนเรื่องอะไรบ้าง?

การศึกษาชีววิทยา 
เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต 
เซลล์และการทำงานของเซลล์ 
โครโมโซมและสารพันธุกรรม 
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม 
เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 
วิวัฒนาการ 
การสืบพันธุ์ของพืชดอก 
โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก 
การลำเลียงของพืช 
การสังเคราะห์ด้วยแสง 
การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช 
ระบบย่อยอาหาร 
ระบบหายใจ 
ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง 
ระบบภูมิคุ้มกัน 
ระบบขับถ่าย 
ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก 
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต 
ระบบต่อมไร้ท่อ 
ระบบสืบพันธุ์แและการเจริญเติบโต 
พฤติกรรมของสัตว์  
ความหลากหลายทางชีวภาพ 
ระบบนิเวศและประชากร 
มนุษย์กับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  

ชีวะ มอต้น-มอปลาย ต่างกันยังไง 

วิชาชีววิทยาระดับม.ต้นนั้นเน้นเป็นการเรียนเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยเป็นระดับพื้นฐานคร่าว ๆ จะเน้นไปที่สิ่งแวดล้อมค่อนข้างเยอะ ในระบบร่างกายต่าง ๆ อาจจะไม่ได้ลงถึงรายละเอียดมากนัก เมื่อเทียบกับชีวะระดับม.ปลายที่เน้นไปที่เนื้อหาของระบบการทำงานของร่างกายมากกว่าสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ แต่จะมีรายละเอียดที่เยอะและละเอียดกว่า

ชีววิทยา ม.ต้น เรียนอะไรบ้าง

ตัวอย่างคอร์สชีวะ ม.ต้น.
เซลล์.
กล้องจุลทรรศน์.
ระบบไหลเวียนโลหิต.
ระบบขับถ่าย.
ระบบย่อยอาหาร.
ระบบนิเวศ.
ระบบสืบพันธุ์.

ชีววิทยา ม.ปลาย เรียนเรื่องอะไรบ้าง

เนื้อหาชีววิทยา ม. ปลาย (สายวิทย์).
บทเรียนเรื่อง ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ... .
บทเรียนเรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ... .
บทเรียนเรื่อง ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ... .
บทเรียนเรื่อง การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์ ... .
บทเรียนเรื่อง การรักษาดุลยภาพในร่างกาย ... .
บทเรียนเรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก.

ชีวะมอสี่เทอมสองเรียอะไรบ้าง

ชีววิทยา ม.4 เทอม 2 รวมทุกบท (กลุ่มพันธุศาสตร์ และวิวัฒนาการ) (LON94H42_2).
โครโมโซม และสารพันธุกรรม.
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม.
เทคโนโลยีชีวภาพ.
วิวัฒนาการ.

ชีววิทยาเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

ชีววิทยา คือ แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน