ทัศนคติที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน

ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพ
      การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพให้ยาวนานเป็นเรื่องจำเป็น จะต้องมีการสื่อสารระหว่างกันอย่างไร เพราะในช่วงชีวิตของคนทุกคนต้องการคนที่เข้าใจและเห็นใจ ทุกคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบต่างสามารถเป็นครูที่ดีให้กับคุณได้ ดังนั้น การดำรงสัมพันธภาพให้ยั่งยืนและมีความรู้สึกที่ดีๆ ต่อกันจึงต้องประกอบไปด้วย

      ความเข้าใจผู้อื่น : ก่อนอื่นควรทราบว่า การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นเป็นการเปิดโอกาสให้คุณได้มีความสนใจในสิ่งใหม่ๆ และได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ถ้าเราได้รับมิตรภาพตอบแทน ก็จะเป็นการย้ำให้คุณเกิดความมั่นใจในการสานสัมพันธภาพต่อไป แต่หากได้รับการเพิกเฉยแล้วจะทำอย่างไร สิ่งที่คุณควรคิดก็คือคุณทำสิ่งใดผิดพลาดไปหรือไม่ ระหว่างความสัมพันธ์นั้นมีความผิดพลาดใดเกิดขึ้นบ้าง

      ปรับปรุงพฤติกรรม : ด้วยวิธีสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น พยายามเรียนรู้ เข้าใจ และอยู่กับผู้อื่นด้วยดี บ่อยครั้งที่อาจเกิดความรู้สึกขัดแย้งในตัวเอง เพราะการที่คุณมีแนวคิดและทัศนคติที่แตกต่างจากผู้อื่น อาจจะทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวด ณ เวลานั้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทั้งหลายจะเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของคุณเอง ในอันที่จะพัฒนา วุฒิภาวะของคุณให้เติบโตได้อย่างเต็มที่ นักสังคมวิทยาได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสัมพันธภาพที่ ดีดังต่อไปนี้

      1.การติดต่อพบปะกัน
      ขั้นแรกจะต้องมีการติดต่อพบปะพูดคุยกับคนที่เราต้องสร้าง สัมพันธภาพ อาจเคยมีบางคนที่เรารู้สึกถูกชะตาในการทำงานด้วย ชอบเขาและเจอเขาทุกวันในที่ทำงาน แต่ถ้าคุณไม่เคยที่จะติดต่อเขานอกเหนือจากเรื่องงาน มิตรภาพก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นหรือพัฒนาขึ้นเลย โดยปกติของคนส่วนใหญ่ เพื่อนที่ถูกใจที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนเรียนหรือเพื่อนร่วมงาน นั่นเพราะคุณมีกิจกรรมอื่นนอกเหนือเวลางาน ความสัมพันธ์ถึงแนบแน่นขึ้น ไม่ว่าการไปเที่ยว เล่นกีฬา หรือสันทนาการอื่นๆ การพบปะจึงเป็นการเรียนรู้เพิ่มเติม

      2.มีความสนใจและประสบการณ์ร่วมกัน
      คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมักมีหัวข้อสนทนา หรือเรื่องที่จะ นำมาพูดคุยกันได้อย่างง่ายดาย มีความสุขที่ได้พูดถึงสิ่งที่ตนชอบหรือมีประสบการณ์ร่วมกัน การร่วมกันแบ่งปันในสิ่งที่ชอบ เช่น งานอดิเรก สไตล์การทำงาน การเล่นกีฬา การใช้ชีวิตด้านอื่นๆ ด้วยกัน จะทำให้ทราบถึงความสนใจในเรื่องต่างๆ ของแต่ละฝ่ายได้เป็นอย่างดี และเป็นการง่ายที่จะรู้ลักษณะนิสัยซึ่งกันและกัน เพราะทั้งสองฝ่ายมีหัวข้อในการสนทนา ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งคู่รู้จักกันและกันได้ดีขึ้นกว่า เพื่อนร่วมงานทั่วไป

      3.ทัศนคติและความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน
      กับเพื่อนร่วมงานที่คุณชอบและสนิทสนมด้วย คุณสามารถสนทนาได้ในทุกเรื่อง สามารถเปิดใจกันได้อย่างมีความสุข คุณต้องการได้ร่วม แบ่งปันทัศนคติและความเชื่อของคุณให้เพื่อนร่วมงานคนนั้นได้รับฟัง แม้ว่าในการสนทนานั้นคุณอาจจะไม่เห็นด้วยกับหัวข้อในการนำมาสนทนานั้นทุก ครั้งก็ตาม

      ความใกล้ชิดระหว่างมิตรภาพของคุณกับเขาจะทำให้ทั้งสองคนได้ แลกเปลี่ยนกรอบความคิดที่นำมากล่าวอ้างอิง ซึ่งทำให้ความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ของคุณเป็นไปในแนวทางเดียวกัน มีความเชื่อว่าคนที่มีความคิดเห็นเหมือนกัน คนที่มีความคล้ายคลึงกันในหลักการทำงาน ในการดำเนินชีวิตเท่านั้นจึงจะเป็นมิตรที่ดีต่อกันได้ ความจริงก็คือคนทุกคนสามารถเป็นมิตรที่ดีกับคนที่มีความคิดแตกต่างจากเราได้ แต่คนส่วนใหญ่จะรู้สึกดีกว่ากับคนที่สนับสนุนความคิดของตน คนเราสามารถที่จะเรียนรู้ได้จากทั้งความเหมือนและความแตกต่างได้ดีเท่าๆ กัน ทั้งสิ่งที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย แล้วจะสร้างสัมพันธภาพที่ดีได้อย่างไร

ทัศนคติที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน

      จากการเรียนรู้วิธีการพัฒนาสัมพันธภาพที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น ก่อนอื่นคุณต้องรู้ว่าใครคือเพื่อนร่วมงานที่ดีของคุณ 4 สุดยอดเพื่อนร่วมงาน ที่คุณไม่ควรมองข้าม มิตรภาพกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น ได้แก่

      1.ความใส่ใจและเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน  นอกเหนือจากมิตรภาพในที่ทำงานแล้ว อาจมีความต้องการที่จะรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างระหว่างเพื่อนร่วมงานของเรา มีความคิดและความรู้สึกของเขาบ้างในบางครั้ง เพราะไม่มีใครอยากจะคบเพื่อนร่วมงานที่สนใจแต่เรื่องของตนเอง ไม่สนใจผู้อื่นเลย คนทุกคนชอบที่จะให้ความสนใจในเรื่องราวของตัวเขาอย่างจริงใจ มีความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ใช่แต่เรื่องงานเพียงอย่างเดียว เพราะการใส่ใจในสัมพันธภาพกับผู้อื่นก็เหมือนกับการใส่ใจตนเองด้วยเช่นกัน และเป็นประโยชน์ที่คุณจะได้รับ บางครั้งมิตรภาพในที่ทำงานก็ต้องรู้จักที่จะทั้งให้และปฏิเสธ

      2.ความไว้เนื้อเชื่อใจการอยู่กับเพื่อนร่วมงานอย่างมีความสุขนั้น คุณจำเป็นต้องให้เพื่อนร่วมงานส่วนใหญ่ไว้วางใจ รวมทั้งเจ้านายวางใจในตัวคุณด้วย เช่น เรื่องการตรงต่อเวลา คุณภาพของงาน การรักษาสัญญาและเรื่องอื่นๆ ความไว้วางใจในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องส่วนตัวที่คุณเล่าให้เขาฟังนอกรอบ หรือความลับในเรื่องงานบางอย่างที่คุณไม่อยากให้ใครรู้

      3.การยอมรับนับถือคนทุกคนต้องรู้จักการนับถือตนเอง แต่ก่อนที่เราจะรู้จักนับถือตนเอง เราควรที่จะต้องรู้จักนับถือผู้อื่นก่อน ซึ่งคุณจะเรียนรู้การนับถือตนเองได้จากการที่มีใครสักคนบอกว่า มีใครรู้สึกชื่นชอบคุณหรืองานของคุณ ยินดีกับงานของคุณที่สำเร็จออกมา และเพื่อนร่วมงานก็เป็นตัวกระตุ้นให้คุณได้พัฒนาความสามารถของคุณเพื่อให้ เพื่อนร่วมงานยอมรับนับถือในตัวคุณ บ่อยครั้งที่คุณอาจจะประหลาดใจที่เพื่อนร่วมงานมองว่า คุณเป็นคนที่มีความสามารถ ในขณะที่คุณไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นเลย การรู้จักที่จะแสดงความชื่นชมและนิยมยินดีกับเพื่อนร่วมงานหรือคนอื่นๆ ก็เป็นการแสดงถึงความเติบโตทางวุฒิภาวะด้วยเช่นกัน

      4.การมีส่วนร่วมและการแบ่งปัน สัมพันธภาพที่ดีที่สุดคือการได้มีส่วนร่วมและแบ่งปันในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในประสบการณ์ ในงาน การรับฟังปัญหาของเพื่อนร่วมงาน สิ่งที่เขาวาดหวัง ความใฝ่ฝันของเขาในเรื่องงาน ความเป็นจริงแล้วคนส่วนมากมักจะลังเลที่จะมีส่วนแบ่งปัน เพราะกลัวการถูกปฏิเสธหรือถูกมองอย่างผิดๆ แต่ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างเพื่อนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทั้งสอง ฝ่ายต่างได้มีส่วนร่วมในเรื่องงานและเรื่องความคิดของกันและกัน คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะเกิดการแบ่งปันทางความคิด ความรู้สึกดีๆ ระหว่างเพื่อนร่วมงาน

      5.การมีความยืดหยุ่นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนสองคนควรมีความยืดหยุ่นไว้สำหรับความบกพร่อง ความผิดพลาด และความแตกต่างกัน ไว้ด้วย คุณอาจจะมีคำถามว่าจะต้องมีความยืดหยุ่นเท่าใดสำหรับ เพื่อนร่วมงาน ควรมีระยะเท่าใดระหว่างกัน ความยืดหยุ่นหมายถึงการ ที่คนคนนั้นสามารถยอมรับและปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ คนที่มีความยืดหยุ่นจะเป็นคนที่สามารถมีความสุขได้ แม้จะอยู่กับคนที่มีความคิดเห็นต่างกัน หรือมีสไตล์การทำงานที่แตกต่างกัน โดยปราศจากความรู้สึกกดดัน หรือต้องเลียนแบบเพื่อนเพื่อที่จะเข้ากับเพื่อนในองค์กรให้ได้ ในคนที่ไม่มีความมั่นคง ไม่มั่นใจในตนเอง พบว่าเขาไม่สามารถจะ ยอมรับเพื่อน หรือคนที่มีแนวความคิดแตกต่างจากเขาได้ การพัฒนาความสามารถในการยอมรับ และปรับตัวเข้ากับเพื่อนที่มีความต่างจาก คุณด้วยความเหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายสำหรับคุณ ถ้าคุณ ทำได้ก็จะทำให้คุณเพิ่มความเชื่อมั่นในเอกลักษณ์และความเป็นตัวของ ตัวเองมากขึ้น

      6.ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นคือความสามารถในการใส่ความรู้สึกของตัวคุณในขอบเขตความ รู้สึกของคนอื่น การจะ เข้าใจความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของผู้อื่นได้นั้น ต้องมาจากการได้พิจารณาและสังเกตอย่างใกล้ชิด คุณสามารถที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจกับคนทุกคนได้ แม้ว่าการแสดงความเห็นใจเพื่อนร่วมงานที่คุณ ชื่นชอบจะเป็นการง่ายกว่า แต่ก็เป็นความจำเป็นที่คุณจะต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจได้กับคนที่มีความแตก ต่างจากคุณ การแสดงความเห็น อกเห็นใจจะทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ถ้ามีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เพราะจะไม่เกิดความเข้าใจผิดต่อกัน ถ้าคุณไม่เข้าใจว่า ทำไมบางคนจึงมีอาการประหลาดๆ กับคุณ จนคุณคิดว่าตัวเองมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า ความเห็นอกเห็นใจเปรียบเสมือนการที่คุณรับรู้และเข้าใจถึงความรู้สึก ภายในที่แฝงอยู่ของเพื่อนร่วมงาน

      7.รู้จักฟังให้เป็นทักษะการฟังมีความสำคัญมากในกระบวนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อใครสักคนให้ความสนใจในสิ่งที่อีกคนหนึ่งกำลังพูดและมี ปฏิกิริยาโต้ตอบ การติดต่อสื่อสารครั้งนั้นจะลื่นไหลอย่างอิสระระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เมื่อคุณมีทักษะในการฟังเป็นอย่างดีแล้ว วิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นรู้ว่าคุณได้ยินในสิ่งที่เขาพูด

      ขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้นเป็นข้อแนะนำที่ดีในการที่จะทำ ให้คุณอยู่ในองค์กรได้อย่างมีความสุข เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้เป็น อย่างดี หากคุณนำเคล็ดลับนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แล้วคุณจะพบว่า ชีวิตการทำงานของคุณนั้นมีความสุขมากขึ้นจริงๆ