บทความ การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุ วัฒนธรรม

ชื่อหนังสือ/บทความ: การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ชื่อผู้เขียน: สุไรยา วานิ และมะรอนิง สาแลมิง
ตีพิมพ์เมื่อ: 2557
ดาวน์โหลดเอกสาร

จำนวนการดาวน์โหลดเอกสาร : 277 ครั้ง

1601201731029no4-1-10

การจัดการกับความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ให้ผู้คนที่มีความแตกต่างสามารถอยู่ร่วมกันได้บนหลักการของความเท่าเทียม มีสิทธิในการดำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของกลุ่มตน ซึ่งการได้รับสิทธิดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนสำคัญหนึ่งของประชาธิปไตย

Advertisment

จึงกล่าวได้ว่าพหุวัฒนธรรมนิยมมีความเชื่อมโยงกับประชาธิปไตยอย่างแนบแน่น หรือพหุวัฒนธรรมนิยมเป็นแนวคิดที่เรียกร้องและส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยนั่นเองหากพิจารณาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอดีตจึนถึงปัจจุบันก็ยอมรับในวิถีการดำเนินชีวิตแบบพหุวัฒนธรรมตลอดมาและในอดีตประชาชนก็อยู่ร่วมกันในสังคมแบบพหุวัฒนธรรมแบบสันติสุข

ภาพของการอยู่ร่วมกันในชุมชน กิจกรรมต่างๆ คนไทยพุทธก็มีไทยมุสลิมก็เข้าร่วมในกิจกรรม กรณีกิจกรรมคนไทยมุสลิมก็มีคนไทยพุทธก็เข้าร่วมกิจกรรมเป็นเรื่องปกติในพื้นที่ ดังนั้น การลอบฆ่าอิหม่าม การลอบฆ่าพระ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากสถานการณ์เบาบางไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นการส่งสัญญาณของผู้ก่อความไม่สงบเรียบร้อยให้เห็นว่าเค้าต้องการเรียกร้องอะไรบางอย่าง เพราะการก่อความไม่สงบเรียบร้อยในเหตุการณ์ที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการกระทำของกลุ่มคน ซึ่งมีการวางแผนมีการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ ส่งผลเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความหวาดกลัว เกิดความปั่นปวน และเกิดความเกลียดชังกันในกลุ่มชนที่มีความแตกต่างในส่วนของอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรม ในทางกฎหมาย คือ ฐานความผิดก่อการร้ายนั้นเอง

Advertisement

ในส่วนของอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรม พิจารณาออกเป็นสองส่วน คือ วัฒนธรรมที่มีรูปร่างตัวตน เรียกว่า วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) และวัฒนธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตนและเป็นนามธรรม เรียกว่า วัฒนธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน หรือวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ (non material culture)

วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) การธำรงอัตลักษณ์วัฒนธรรมทางวัตถุนั้นจะปรากฏเด่นชัดในงานสถาปัตยกรรม ชาวไทยมุสลิม มิสยิด สุเหล่า ส่วนชาวไทยพุทธ อุโบสถ วิหาร พระพุทธรูป และวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ หรือวัฒนธรรมทางจิตใจ (non material culture) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวไทยมุสลิมนับถือ คือ อิหม่าม ส่วนชาวไทยพุทธนับถือ คือ พระภิกษุ

วิถีไทยมุสลิมเป็นวิถีที่ยึดโยงกับแก่นของอิสลามสามประการ อันได้แก่หลักศรัทธา หลักศาสนบัญญัติ ตลอดจนหลักคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่ต้องทำความเข้าใจ

Advertisement

วิถีไทยพุทธเป็นวิถีที่ยึดโยงกับประเพณี คติความเชื่อ ค่านิยมความคิดความเชื่อทั้งในส่วนประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

ที่ผ่านมาภาครัฐก็ทุ่มเทกับพื้นที่จังหวัดแดนภาคใต้เป็นจำนวนมาก ในหลายๆ ด้าน แม้ภาครัฐเองจะมีเครื่องมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยคือกฎหมายพิเศษหรือกฎหมายความมั่นคง แต่ก็ไม่ได้ใช้อำนาจอย่างเต็มที่เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเดือดร้อน ใช้ชีวิตไม่สะดวก และมีการใช้นโยบายเชิงการพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ ที่ประชาชนในพื้นที่เกิดความรู้สึกถูกกดทับมาเช่นอดีต สิทธิต่างๆ ในพื้นที่กลับได้รับมากกว่าพื้นที่อื่นๆ แต่มีเพียงกลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มเพียงไม่กี่คนกลับปลุกฝังให้พวกเขาเหล่านั้นสร้างความปั่นป่วนในพื้นที่ ให้ประชาชนหวาดกลัวจากการกระทำของกลุ่มตน เพื่อแสดงให้เห็นสัญลักษณ์บางอย่างที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเรียบร้อยคิดว่าทำไปแล้วเกิดความหวาดกลัวของประชาชนในพื้นที่มีที่มีความแตกต่างในศาสนาและวัฒนธรรมแต่ทุกคนก็เป็นคนไทย และกฎหมายก็รองรับความเสมอภาคของคนไทยทุกคน

หากพิจารณาถึงหลักคำสอนทุกศาสนา ปฎิเสธความรุนแรงและการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ อิสลามและพุทธเรียกร้อง การให้อภัย การประนีประนอม การให้ความร่วมมือช่วยเหลือ การทำความรู้จักเชื่อมสัมพันธ์ต่อกัน และความยุติธรรม ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ ชาวมุสลิม ชาวพุทธ เชื่อว่าการสทนาคือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการสร้างความสัมพันธ์และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือความบาดหมางระหว่างกัน เพราะประชาชาติมุสลิมเป็นผู้มีศรัทธาในอัลลอฮ์ หรือประชาชาติพุทธเป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า ให้ความสำคัญกับการสนทนาเพื่อหาข้อยุติ

การประณามการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบหรือก่อการร้ายโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือก็เป็นวิธีหนึ่ง แต่การก่อการร้ายหรือเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะหมดไปได้ก็เมื่อได้รับการพิเคราะห์พิจารณาอย่างรอบทุกด้านอย่างถูกต้อง ประกอบกับประชาชนในพื้นที่ไม่ว่านับถือศาสนาใดให้ความร่วมมือ คอยเฝ้าระวัง การแจ้งเบาะแส การไม่นิ่งเฉยต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ก็ทำให้สถานการณ์ในภาคใต้เปลี่ยนแปลงไปได้

และเมื่อถึงเวลานั้นกฎหมายความมั่นคงต่างๆ ในพื้นที่ก็ต้องยกเลิกใช้ในที่สุด เพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ

การปฎิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อกัน คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยเฉพาะสังคมที่มีลักษณะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เช่นสังคมไทยนั้น สมาชิกในสังคม ยิ่งจำเป็นต้องเรียนรู้การปฎิบัติตน ให้กลมกลืนไปกับความแตกต่าง เพื่อป้องกันความแตกแยกที่อาจเกิดขึ้นตามมา


  1. คุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาอาศัยกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้


      1. ทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และรู้สึกปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ

      2. มีผู้คอยให้ความช่วยเหลือเมื่อตกยาก หรือประสบกับความยากลำบากจากเหตุการณ์ต่างๆ และทำให้ไม่รู้สึกโดเดี่ยว หรือไร้ที่พึ่งเมื่อเจอปัญหา

      3. ประสบความสำเร็จในการประกอบหน้าที่การงาน เพราะได้รับความช่วยเหลือเกื้อกูลจากบุคคลรอบข้าง

    1. ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

      1. สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข ปราศจากปัญหาความแตกแยกขัดแย้งใดๆ

      2. เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วและยั่งยืน เพราะความสงบสุขในสังคม จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้ประเทศชาติมีรายได้เพิ่มขึ้น เพียงพอต่อการนำมาปรับปรุงโครงสร้างทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ และพร้อมรับมือกับความเสี่ยงหรือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์

      3. ความสุขของคนในชาติเพิ่มมากขึ้น เพราะมีความอยู่ดีกินดี รู้สึกปลอดภัยในการดำเนินชีวิต มีหน้าที่การงานและรายได้ที่มั่นคง


  1. แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และการพึ่งพาอาศัยกัน การเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและแตกต่าง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับบุคคลรอบข้าง จะก่อให้เกิดความสุขในการอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของสมาชิกทุกคน โดยยึดแนวทางการปฎิบัติ ดังนี้