กิจการขายสินค้าหรือบริการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทในข้อใดที่จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7

นำเข้าผลิตจำหน่ายส่งออก
จดทะเบียนพาณิชย์
ขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
ขออนุญาตประกอบกิจการค้าข้าว
ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และ/หรือต้องการเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก)
ลงทะเบียน Paperless ออกใบกำกับภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ลงทะเบียน Paperless
ขั้นตอนพิธีการนำเข้า จัดทำรายงานภาษี
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขั้นตอนพิธีการส่งออก
ชำระอากรขาเข้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ / ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ขอยกเว้น/ขอคืนภาษี
จัดทำรายงานภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
จัดทำรายงานภาษี
ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี   ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี

ประเภทกิจการและภาษีที่เกี่ยวข้อง

ประเภทกิจกรรม
ที่กิจการเกี่ยวข้องกรมสรรพากรกรมศุลกากรกรมสรรพสามิต
ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ การนำเข้า การส่งออก  
กิจการโรงสีข้าว บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย
1. นำเข้าเครื่องจักรเพื่อผลิตและส่งออก และเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก - - -
2. สีข้าวบรรจุถุงขายในประเทศ - - - - -
3. การขายผลพลอยได้จากการ สีข้าว , รับจ้างบรรทุก , เช่าโกดัง - - - - -
4. รายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ยรับ - - - - - -

ภาษี "โรงสีข้าว" กระดูกสันหลังของประเทศ

โรงสีข้าวเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ได้หลายทาง โดยมีรายได้หลักมาจาก

  • การขายข้าวเปลือก
  • ขายข้าวสารบรรจุถุง
  • ส่งออกข้าวสาร
  • การรับจ้างสีข้าว
  • การเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว

นอกจากนี้ ยังมีรายได้ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ ได้แก่ ค่าเช่าโกดังหรือคลังสินค้า การรับจ้างบรรทุกขนส่ง การขายผลพลอยได้จากการสีข้าว และรายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ยรับ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับ "ภาษี" ที่สอดแทรกอยู่ในการทำธุรกิจแต่ละขั้น ซึ่งคุณสามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

ตั้งต้นธุรกิจ "โรงสีข้าว"

การเริ่มต้นธุรกิจโรงสีข้าวมีขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวต้องจดพาณิชย์) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเป็นกิจการในฐานะบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรืออาจรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ก็ได้

ขั้นที่ 2 ขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ขั้นที่ 3 ขออนุญาตประกอบกิจการค้าข้าว กับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

เรื่องนี้ต้องขยาย

การแบ่งขนาดโรงสีข้าว

การแบ่งขนาดโรงสีข้าว สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ดูแล ดังนี้

  1. กำหนดจากกำลังการผลิต (ตัน/ชั่วโมง) หน่วยงานที่ดูแลคือ สำนักรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
  2. กำหนดจากแรงม้าเครื่องจักรรวม หน่วยงานที่ดูแลคือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

เมื่อคุณดำเนินการทั้ง 3 ขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว อีกขั้นหนึ่งที่จะทำให้คุณมีธุรกิจโรงสีที่ถูกต้องตามกฎหมายและสามารถเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของรัฐรวมถึงรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างสะดวกก็คือ

  • ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กับกรมสรรพากร ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นจดทะเบียนได้ 3 แบบ ได้แก่ บุคคลธรรมดา นิติบุคคลไทยและนิติบุคคลต่างประเทศ คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล โดยยื่นจดตามหน่วยงานที่กรมสรรพากรกำหนด
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ปกติหากผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แน่นอนว่าคุณต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (หากไม่เกินก็ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้)

แต่กรณีกิจการโรงสีข้าวนั้นคุณจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ยกเว้นกรณีนำเข้าเครื่องจักรเพื่อผลิตและส่งออก และเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก) เว้นแต่คุณต้องการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อประโยชน์ในการนำเข้า-ส่งออก หรือเพื่อสามารถนำภาษีซื้อที่คุณต้องจ่ายเมื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิต ก็สามารถทำได้เช่นกัน

เพียงเท่านี้ ไม่ว่าคุณจะสีข้าวเพื่อจำหน่ายในประเทศ ส่งออก หรือประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ก็สามารถทำได้แล้ว

เรื่องนี้ต้องขยาย

โรงสีข้าวกับ "การนำเข้า"

หากธุรกิจโรงสีข้าวของคุณต้องเกี่ยวข้องกับการนำเข้า หลังจากที่คุณมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้วก็สามารถเริ่มขั้นตอนแรกของการนำเข้ากับกรมศุลกากรได้เลย นั่นคือ การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) ซึ่งลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า โดยต้องศึกษาพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าขาเข้าให้ดีเพื่อประโยชน์ในการคำนวณอัตราอากรขาเข้า เช่น การนำเข้าเครื่องจักร หรือการนำเข้าข้าวเปลือก

รายการพิกัดศุลกากรอัตราอากรขาเข้า
ข้าวเปลือก 1006.10.00 2.75 บาท/กิโลกรัม
ข้าวกล้อง (ข้าวหอมมะลิไทย) 1006.20.10 2.75 บาท/กิโลกรัม
ข้าวหอม (ข้าวหอมมะลิไทย) 1006.30.40 2.75 บาท/กิโลกรัม

**ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากรเพิ่มเติมได้ที่ //igtf.customs.go.th/igtf/th/main_frame.jsp

เปลี่ยนข้าวเป็นเงิน

เมื่อผ่านขั้นตอนตั้งต้นธุรกิจโรงสีข้าว และติดตั้งเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตหรือสีข้าว เพื่อจำหน่ายข้าวสาร รวมทั้งรับรู้รายได้อื่นๆ ที่อยู่ภายใต้ธุรกิจโรงสี ไม่ว่าจะเป็นการขายข้าวเปลือก ขายข้าวสารบรรจุถุง รับจ้างสีข้าว เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว หรือให้เช่าโกดัง รับจ้างบรรทุกขนส่ง ตลอดจนการขายผลพลอยได้จากการสีข้าว

ส่วนขั้นตอนทางภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อคุณมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งคุณมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อรายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (กรณีคุณเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/ภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้ คุณสามารถบรรเทาภาระภาษีได้ด้วยการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

โดยเมื่อมีรายได้จากกิจการโรงสีข้าว ไม่ว่าจะเป็นการขายข้าวเปลือก ขายข้าวสารบรรจุถุง รับจ้างสีข้าว เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว หรือให้เช่าโกดัง รับจ้างบรรทุกขนส่ง ตลอดจนการขายผลพลอยได้อื่นๆ คุณจะมีความเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ ดังนี้

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้จากกิจการโรงสีข้าว คุณก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามรูปแบบธุรกิจ คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
  • ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในกระบวนผลิตของกิจการโรงสีข้าว หรือขั้นตอนอื่นๆ คุณต้องมีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง กระบวนการด้านภาษีที่ต้องดำเนินการคือ เมื่อคุณจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการให้กับพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน คุณต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทุกครั้ง
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากคุณต้องซื้อวัตถุดิบ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตของกิจการโรงสีข้าว ราคาที่คุณซื้อจะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว เท่ากับว่าคุณเป็นผู้เสียภาษีในส่วนนี้ และเมื่อถึงคราวที่จะต้องขายผลผลิตจากโรงสีข้าวของคุณบ้าง การตั้งราคาขายอาจมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าของคุณจะกลายเป็นผู้เสียภาษีนี้แทน แต่ที่สำคัญคือคุณต้องออกใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐานด้วย

(สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ)

เรื่องนี้ต้องขยาย

การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับโรงสี

  • กรณีสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร แล้วจำหน่ายในประเทศ: ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • กรณีเข้าร่วมโครงการรับจำนำ รับจ้างสี: ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • กรณีเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก รายได้จากการรับฝากเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี: อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

ทั้งนี้ คุณสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่ หรือง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Click

ซึ่งนอกจากการเสียภาษีให้แก่ภาครัฐแล้ว คุณยังสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย ถือเป็นประโยชน์ส่วนหนึ่งจากการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตรงตามกำหนดเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ผลิต” “จำหน่าย”

ภาษี "โรงสีข้าว" เบื้องหลังความสำเร็จระดับโลก

ประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ซึ่งเบื้องหลังที่สำคัญคือธุรกิจ "โรงสีข้าว" นั่นเอง และเมื่อจะส่งออกข้าว คุณต้องดำเนินการเหมือนขั้นตอนการนำเข้า โดยเฉพาะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน (ยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) และไม่ต้องลงทะเบียน Paperless หากเคยทำการลงทะเบียนแล้ว (หากยังไม่เคยลงทะเบียน Paperless คุณต้องลงทะเบียนก่อน)

แล้วจึงเข้าสู่พิธีการส่งออกสินค้า การผ่านพิธีการใบขนสินค้าขาออกในระบบ e-Export ซึ่งจะต้องมีการจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ด้วย

เรื่องนี้ต้องขยาย

ภาษีซื้อและภาษีขายในธุรกิจส่งออกข้าว

กิจการโรงสีที่เป็นผู้ส่งออกข้าว ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องจดก่อนเริ่มประกอบกิจการ เพื่อประโยชน์ในการขอคืนภาษีซื้อ

ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มให้คำนวณจาก ภาษีขาย หักด้วย ภาษีซื้อ ในแต่ละเดือนภาษี

  • ภาษีขาย: กรณีส่งออก เมื่อออกใบขนสินค้า มาตรา 78(4) ให้ถือ Invoice เป็นใบกำกับภาษี
  • ภาษีซื้อ: ภาษีที่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการเรียกเก็บจากโรงสี ซึ่งภาษีซื้อส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก เช่น ค่ารับจ้างของตัวแทนดำเนินการส่งออก (Shipping) ค่าบรรจุภัณฑ์ สามารถนำมาหักในการคำนวณภาษี และขอคืนภาษีได้ แต่ต้องเข้าเงื่อนไขมาตรา 77/1 (18)

โดยหากมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ภาษีที่เหลือมีสิทธิขอคืนพร้อมกับการยื่นแบบฯ โดยอาจขอคืนเงินสด หรือขอคืนเครดิตยกยอดไปใช้ในเดือนภาษีถัดไป

ทั้งนี้ ข้าวเป็นสินค้าควบคุมการส่งออก ต้องมีใบอนุญาตและ/หรือหนังสือรับรองการส่งออกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงพาณิชย์)

ซึ่งมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ให้ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ทั้งที่เป็นข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวนึ่ง และรำ เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวทุกชนิด)

**ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมที่ “ส่งออก”

เมื่อ "โรงสีข้าว" มีภาษีธุรกิจเฉพาะ

ในบางครั้งโรงสีข้าวอาจมีรายได้อื่นๆ เช่น รายได้ดอกเบี้ยรับ ซึ่งมาจากการให้กู้ยืมเป็นครั้งคราว แต่ไม่ได้เป็นการประกอบกิจการกู้ยืมอย่างจริงจัง ในกรณีนี้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3

นอกจากนี้ หากคุณเป็นกิจการโรงสีข้าวที่มีการทำตราสาร เช่น ทำสัญญาจ้างก่อสร้าง ต่อเติมโรงสีข้าว การให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงิน หรือให้เช่าทรัพย์สิน ฯลฯ คุณมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ด้วย

เรื่องนี้ต้องขยาย

ตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์

อากรแสตมป์สำหรับโรงสีข้าว ยกตัวอย่างเช่น สัญญาจ้าง จำนวนเงินทุก 1,000 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท กรณีอื่นๆ ดูรายละเอียดตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์

ข่าวดีภาษีน่ารู้

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นกรณีพิเศษ เพื่อช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจรายย่อยในอีกทางหนึ่ง

ติดตามได้ที่ "คู่มือภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชน"

** สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจ SMEs

ทำตาม "หน้าที่" ช่วยกัน "เสียภาษี" เพื่อพัฒนาประเทศ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน