ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย 13 ข้อ

ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ from ห้องเรียน ภาษาไทยออนไลน์

ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย 13 ข้อ

❝ ลักษณะเด่นของภาษาไทย ❞

ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย 13 ข้อ

ลักษณะเด่นของภาษาไทย
            1. เป็นคำภาษาโดด มีคำใช้โดยอิสระ ไม่ต้องเปลี่ยนรูปเพื่อบอก เพศ,พจน์,กาล เช่น พ่อ, แม่, เขย, ลุง, พระ เป็นคำแสดงเพศในตัว ฝูง,กอง,เดียว,เหล่า,เด็กๆ เป็นคำแสดงพจน์(จำนวน)ในตัว กำลัง, จะ, แล้ว, เพิ่ง, เมื่อวาน เป็นคำแสดงกาล (เวลา) ในตัว
            2. คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว เป็นคำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว เข้าใจได้ทันที เช่น แมว, กบ,แม่,นอน,สวย,พ่อ,นา
            3. สะกดตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา และไม่มีคำใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์
            เช่น มาตราแม่กก สะกดด้วย ก: ปาก,มาก,นัก,จัก,บอก
            มาตราแม่กด สะกดด้วย ด: ปาด,ลด,สอด,ปิด,จุด
            มาตราแม่กบ สะกดด้วย บ: รบ,พบ,จับ,สิบ,งบ
            มาตราแม่กง สะกดด้วย ง: ลง,ราง,พุ่ง,ว่าง,รอง,
            มาตราแม่กน สะกดด้วย น: ฝัน,ปีน,กิน,ตน,นอน
            มาตราแม่กม สะกดด้วย ม: นม,ตูม,นิ่ม,ขม,ซ้อม
            มาตราแม่เกย สะกดด้วย ย: ย้าย,เฉย,รวย,หาย,สวย
            มาตราแม่เกอว สะกดด้วย ว: ดาว,เลว,ชาว,ทิว,กิ่ว
            4. มีเสียงวรรณยุกต์ทำให้ระดับเสียงต่างกัน,มีคำใช้กันมากขึ้น ,เกิดความไพเราะดังเสียง
ดนตรีและสามารถเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างไกล้เคียง เช่น โฮ่งๆ, กุ๊กๆ, เจี๊ยบๆ, ฉ่าๆ, ตุ้มๆ, วรรณยุกต์สร้างคำเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง นอง, น่อง, น้อง ไร,ไร่,ไร้ วรรณยุกต์ทำให้มีเสียงต่างกัน
            5. การสร้างคำ ภาษาไทยมีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้และมีการสร้างคำใหม่โดย
การประสมคำ,ซ้ำคำ,ซ้อนคำ,การสมาส-สนธิ ฯลฯ เช่น พ่อมด, แม่น้ำ, วิ่งราว คือการนำคำไทยมาประสมกับคำไทย
รางชอล์ก,เพลงเชียร์,ของฟรี, คือการนำคำไทยมาประสมกับคำในภาษาอังกฤษ มนุษย์+ศาสตร์ = มนุษยศาสตร์ ,ศิลป์+กรรม = ศิลปกรรม คือการนำคำจาก ภาษาสันสกฤตสมาสกับคำภาษาสันสกฤต ราช + โอวาท = ราโชวาท ,อิฐ + อารมณ์ = อิฏฐารมณ์ คือการนำคำจากภาษา บาลีสนธิกับคำภาษาบาลี
            6. การเรียงคำในประโยค ภาษาไทยเรียงเป็นประโยคแบบ ประธาน + กริยา + กรรม
(ฉันกินไก่) ส่วนคำขยายจะเรียงไว้หลังที่ถูกขยายเสมอ เว้นแต่บอกปริมาณบางคำจะวางไว้ข้างหน้าหรือ ข้างหลังที่ถูกขยายก็ได้ เช่น เธอวิ่งช้า, ฉันเขียนสวย คำขยายอยู่หลังคำถูกขยายมากคนมากความ, มีหลายเรื่องที่อยากบอก คำบอกปริมาณอยู่หลังคำที่ถูกขยายเดินคนเดียวล้มคนเดียว,เรือนสามน้ำสี่ คำบอกจำนวนอยู่หลังคำที่ถูกขยาย ส่วนคำขยายกริยา และมีกรรมมารับ คำขยายจะอยู่หลังกรรม
เช่น ฉันอ่านหนังสือมากมาย
           

 7. มีลักษณะนาม
            ก. คำลักษณะนามจะอยู่ข้างหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับ เช่น ฉันรักแมวทั้ง 10 ตัว เข้าได้รับบ้าน 1 หลัง ที่ดิน 2 แปลงเป็นมรดก
*ถ้าใช้คำว่า "เดียว" เป็นจำนวนนับ คำลักษณะนามจะอยู่หน้าคำว่าเดียว เช่น ขวดเดียวก็เกินพอ
            ข. คำลักษณะนามตามหลังคำนามเพื่อลักษณะของนามนั้น เช่น ปลาตัวใหญ่นี้แพงมาก, ที่ดินแปลงนี้สวยจริง ๆ ,เทียนเล่มแดงหายไปไหน
            8. ภาษาไทยมีการแบ่งวรรคตอนเป็นจังหวะ การเขียนภาษาไทยจำเป็นต้องแบ่งวรรค
ตอน ส่วนการพูดภาษาไทยก็จำเป็นต้องเว้นจังหวะให้ถูกต้อง เพื่อความชัดเจนของข้อความ
ที่จะพูดและเขียนนั้น เช่น ยานี้กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน หมายความว่า ยานี้กินแล้วดี
ยานี้กินแล้วแข็ง แรงไม่มีโรค โรคภัยเบียดเบียน หมายความว่า ยานี้กินแล้วไม่ดี
            9. ภาษาไทยมีคำเลือกใช้ตามกาลเทศะ การเลือกใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคคล
แสดงถึงลักษณะของวัฒนธรรมทางภาษา สังคมไทยเป็นสังคมที่นับถืออาวุโส ทั้งคุณวุฒิ
วัยวุฒิ ชาติวุฒิ จึงมีคำใช้ตามฐานะของบุคคลเพื่อแสดงถึงความยกย่องกันและกัน ภาษา
จึงมี "คำราชาศัพท์" ใช้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย


ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะของตนเองแตกต่างจากภาษาอื่นการใช้ภาษาไทยให้ได้ผลตรงตาม จุดมุ่งหมายจะต้องรู้จักหลักเกณฑ์ของภาษาไทยอย่างถ่องแท้ ดังนี้
   ๑. ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเองภาษาไทยมีรูปตัวอักษรใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวอักษรมาหลายยุคสมัย ทำให้ปัจจุบันเรามีรูปพยัญชนะรูปสระและรูปวรรณยุกต์ใช้แทนเสียงพูดในภาษาของเราเอง  ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจยิ่งเพราะบางชาติไม่มีภาษาของตนเองใช้และยังต้องใช้ภาษาของชาติอื่นอยู่
   ๒. ภาษาไทยแท้มักเป็นคำที่มีพยางค์เดียว โดยคำพยางค์เดียวจะออกเสียงชัดเจนและมีความหมายที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ทันที เช่น พ่อ แม่ นั่ง นอน เดิน เสือ ลิง ฯลฯ
   ๓. ภาษาไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา มาตราตัวสะกดมี ๘ มาตรา คือแม่กก แม่กด แม่กบ แม่กง
แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว คำไทยแท้จะมีตัวสะกดตามมาตราและไม่มีการันต์ เช่น มาก ขาด นับ ของ โยม คน ร่วงโรยขาว ฯลฯ ส่วนคำไทยแท้ที่ไม่มีตัวสะกด เราเรียกว่า มาตราแม่ ก กา เช่นคำว่า ตา ดี งู โต
ฯลฯ
   ๔. ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตะาแหน่ง เช่น ข้างหน้าพยัญชนะ ในคำว่าเสแสร้ง เฉไฉไป แพ โมโห ข้างหลังพยัญชนะ  เช่น จะ มา รา ปอ ข้างบนพยัญชนะ เช่น ดี กัน บีบ คิด ข้างล่างพยัญชนะ เช่น
ครู สู้ ขุด ทรุด ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง เช่น เขา เธอ เละเทะ เกาะ ทั้งข้างหน้าและข้างบนพยัญชนะ เช่น เป็นเสียง เมีย เกลือ
   ๕. ภาษาไทยหนึ่งคำมีหลายความหมาย จะสังเกตได้จากข้อความที่ประกอบแวดล้อมหรือบริบทถ้าคำทำหน้าที่ต่างกันความหมายก็ต่างกัน เช่น "เขาสนุกสนานกันในห้องนั้น แต่น่าแปลกใจว่าทำไมเขากันไมาให้กันเข้าไปในห้อง"  คำว่า "กัน" ทั้ง ๓ คำ มีความหมายต่างกันดังนี้
                         "กัน" คำที่หนึ่ง เป็นสรรพนามแสดงจำนวนมากกว่าหนึ่ง
                         "กัน" คำที่สอง เป็นกริยา  หมายถึง การขัดขวางไม่ให้กระทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง
                         "กัน" คำที่สาม เป็นสรรพนามแสดงถึงผู้พูดแทนคำว่า " ฉัน " (ชื่อคน)
   ๖.  ภาษามีความหมายประณีตมีคำที่มีความหมายหลักเหมือนกัน แต่มีความหมายเฉพาะต่างกัน
เช่น      การทำให้ขาดจากกัน มีคำว่า ตัด หั่น แล่ เชือด เฉือน สับ ฯลฯ
             การทำให้อาหารสุก มีคำว่า ปิ้ง ย่าง ต้ม ตุ๋น ทอด ฯลฯ
             บุพบทบอกสถานที่ (ที่ติดกัน) มีคำว่า ใกล้ ชิด แนบ ข้าง ฯลฯ
   ๗.  ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำการเรียงคำในภาษาไทยเป็นเรื่องสำคัญ การเปลี่ยนตำแหน่งของคำจะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย เช่น "พ่อแม่ เลี้ยง ลูก" กับ "ลูก เลี้ยงพ่อแม่" มีความหมายที่ต่างกัน
    ๘.  ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรีคือ การเปลี่ยนระดับเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ
เอก โท ตรี จัตวา ทำให้ภาษาไทยมีคำเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อเปลี่ยนระดับเสียงความหมายของคำก็จะเปลี่ยน เช่น "ขาว" หมายถึง สีชนิดหนึ่งหรือกระจ่างแจ้ง เมื่อเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็น "ข่าว" หมายถึงคำบอกเล่าเรื่องราว หากเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็น "ข้าว" หมายถึง พืชที่ใช้เมล็ดเป็นอาหาร
   ๙.  ภาษาไทยมีวรรคตอน ด้วยเหตุที่ภาษาไทยมีวิธีเขียนคำต่อกันไม่มีการเว้นระยะระหว่างคำเมื่อจบความ การใช้วรรคตอนจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะใช้แบ่งความหมายถ้าเว้นวรรคตอนผิด ความหมายก็จะเปลี่ยนไปการพูดก็ต้องเว้นจังหวะให้ถูกที่เช่นเดียวกัน ถ้าหยุดผิดจังหวะความหมายก็จะเปลี่ยนไป เช่น พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียพันตำลึงทอง หมายถึง นิ่งเสียดีกว่าพูด
 ส่วน พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง  เสียพันตำลึงทอง หมายถึงยิ่งนิ่งยิ่งเสียหายมาก
   ๑๐. ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนามคำลักษณนามจะปรากฏอยู่หลังคำนามและจำนวนนับ ซึ่งตรงกับความหมายของลักษณนามว่า คือ คำที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่นเพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาดของนามนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ปลา ๒ ตัว เรือ ๔ ลำ พระพุทธรูป ๘ องค์ พระสงฆ์ ๙ รูป บ้าน ๓ หลัง ปี่ ๕ เลา
ลักษณนามทำให้เราเข้าใจลักษณะการมองเห็นของนามข้างหน้า
  ๑๑. ภาษไทยเป็นภาษาที่มีระดับของคำได้แก่ คำราชาศัพท์ ชาติไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาแต่โบราณได้รับการยกย่องไปในนานาประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับไทยโดยเฉพาะในเรื่องการคารวะผู้อาวุโสซึ่งแสดงออกทั้งทางกิริยามารยาทและการใช้ภาษา
  ๑๒.  ภาษาไทยมีคำพ้องเสียงพ้องรูปภาษาไทยรับภาษาต่างประเทศมาใช้ก็นำมาปรับให้เข้ากับเสียงในภาษาไทยในคำพ้องเสียง คือ มีเสียงพ้องกันแต่ความหมานต่างกัน จึงต้องเขียนให้ถูก มิฉะนั้นความหมายจะเปลี่ยนไปเช่น  กาฬ-ดำ, กาล-เวลา ส่วนคำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน
รูปคำเหมือนกันแต่ความหมายต่างกันต้องเข้าใจความจึงจะใช้ได้ เช่น เพลา อ่านว่า เพ-ลา หมายถึง เวลา,เพลา อ่านว่า เพลา หมายถึง เบา ๆ หรือส่วนประกอบของยานพาหนะ






ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยคืออะไร

ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยที่มีความแตกต่างไปจากภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการท าความเข้าใจ และถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องในกรณีของการแปลเอกสารทางวิชาการ ประกอบด้วย 1) ภาษาไทยไม่มี การใช้ค าน าหน้านามเพื่อบ่งชี้เฉพาะหรือกล่าวโดยทั่วไป 2) ประโยคภาษาไทยสามารถละประธานของ ประโยคได้ 3) ภาษาไทยมีค าก ากวม และ 4) ภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนรูปค า ...

ลักษณะของภาษาไทย 10 ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง

ลักษณะของภาษาไทย.
ภาษาคำโดด.
การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม.
ภาษาวรรณยุกต์.
เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา.
การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก.
การลงเสียงหนักเบาของคำ.
การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ.

ลักษณะสำคัญของภาษามีอะไรบ้าง

ลักษณะทั่วไปของภาษา 1. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย 2. หน่วยในภาษาประกอบกันเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น 3. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง

ลักษณะภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ...