Liquid in glass thermometer ท ง3แบบ ม อะไรบ าง

เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำคือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำ มีหลายประเภทได้แก่แบบดิจิตอล แอนะล็อก เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตอลมีความแม่นยำและใช้งานง่ายที่สุดอย่างไรก็ตามมีราคาแพงและต้องใช้แบตเตอรี่ แบบอนาล็อกมีราคาไม่แพงและไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ มีความแม่นยำน้อยกว่าแบบดิจิตอล แต่ก็ยังมีประโยชน์

สินค้าเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำ

1.แบบดิจิตอลโพรบติดอยู่กับตัวเครื่องวัด

อ่านค่าอุณหภูมิของอาหาร ของเหลว และตัวอย่างกึ่งของแข็งได้ทันที หัววัดมักมีปลายแหลมทำให้เหมาะสำหรับการเจาะและการจุ่ม เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการวัดอุณหภูมิของน้ำ น้ำร้อน และในอุตสาหกรรมอาหารสำหรับการทดสอบสุขอนามัย ร้านค้าปลีก และห้องปฏิบัติการ

2.แบบดิจิตอลโพรบแยกจากตัวเครื่อง

เหมาะสำหรับการใช้งานมีโพรบแยกจากตัวเครื่อง สายโพรบวัดยาวมากกว่า 1เมตร ง่ายต่อการใช้งานในวัดอุณหภูมิน้ำ อาหาร นม และใช้ในห้องปฎิบัติการ มหาวิทยาลัย

3.แบบอนาล็อก

แบบอนาล็อกใช้หลักการทำงานแบบไบเมทัลลิก (Bimetallic) เป็นอุปกรณ์วัดอุณหภูมิ โดยจะแปลงอุณหภูมิของสื่อให้กลายเป็นการกระจัดทางกลโดยใช้แถบไบเมทัลลิก แถบ bimetallic ประกอบด้วยโลหะสองชนิดที่มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่างกัน

นิยมใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าเช่นเครื่องปรับอากาศ เตาอบ และอุปกรณ์อุตสาหกรรมเช่นเครื่องทำความร้อน ลวดร้อน โรงกลั่น เป็นต้น เทอร์มอมิเตอร์แบบไบเมทัลลิกเป็นวิธีการวัดอุณหภูมิที่เรียบง่าย ทนทาน และประหยัดต้นทุน

4.แบบอินฟราเรด

เครื่องวัดแบบอินฟราเรดสามารถใช้ตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำได้ แต่เครื่องมือวัดนี้วัดได้เฉพาะบริเวณพื้นผิวของน้ำได้เท่านั้น แต่ก็มีข้อดีคือลดอันตรายจากความร้อน หรือน้ำร้อนกระเด็นใส่ผู้ตรวจวัด มีสินค้าหลายรุ่นหลายช่วงการวัด

หน่วยวัดอุณหภูมิของน้ำ

อุณหภูมิของน้ำวัดเป็นองศาเซลเซียส (C) และองศาฟาเรนไฮต์ (°F) อุณหภูมิของน้ำจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณความร้อนที่น้ำนั้นได้รับซึ่งจะทำให้น้ำอุ่นขึ้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น

หน่วยอุณหภูมิเป็นตัววัดว่าสิ่งใดร้อนหรือเย็นเพียงใด ในทางวิทยาศาสตร์ เราใช้องศาเซลเซียส (°C) เพื่ออธิบายอุณหภูมิ เราใช้ฟาเรนไฮต์ (F) เพื่ออธิบายอุณหภูมิในชีวิตประจำวัน

ยังมีหน่วยการวัดอื่นๆ อีกหลายหน่วยดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความหน่วยวัดอุณหภูมิ

วิธีการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิน้ำ

ในการวัดอุณหภูมิของน้ำ ให้เติมน้ำลงในภาชนะ จากนั้นวางเทอร์มอมิเตอร์ไว้ในภาชนะ รอจนกว่าจะอ่านค่าอุณหภูมิที่ถูกต้อง คุณควรรออย่างน้อย 20-50 วินาทีเพื่อให้ค่าอูณหภูมินิ่งก่อนที่จะอ่านค่า

ความแม่นยำ

ความแม่นยำคือระดับที่วัดได้ตรงกับค่าจริง ในกรณีนี้ ความแม่นยำหมายถึงค่าอุณหภูมิที่อ่านได้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิจริงมากน้อยเพียงใด โดยปรกติจะแสดงเป็นค่าบวกและค่าลบ ± 1.5% หรือ ±1.5°C ขึ้นอยู่กับรุ่นของสินค้า เราสามารถยืนยันความแม่นยำได้โดยดูได้จากใบรับรองการสอบเทียบ Certificate of Calibration

ตัวอย่างใบรับรองการสอบเทียบ Certificate of Calibration

บริษัท นีโอนิคส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ดำเนินกิจการด้านจัดจำหน่ายเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และสินค้าเครื่องมือวัดอื่นๆ เครื่องมือวัดทุกชิ้นสามารถออกใบรับรอง (Certificate of Calibration) ตามมาตรฐาน ISO17025

เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก เมื่อแบ่งเครื่องมือวัดอุณหภูมิตามหลักการวัด จะแบ่งออกเป็น 4 แบบ ด้วยกัน คือ

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อ..คลิ๊ก!

■ การใช้ของเหลวบรรจุในหลอดแก้วปิด โดยของเหลวที่ใช้จะเป็นปรอทหรือแอลกอฮอล์ ■ หลักการขยายตัวของของเหลว ไอ หรือก๊าซ เป็นค่าความดัน (Filled Thermal) ■ ใช้หลักการแถบโลหะคู่ (Bi-metal)

■ อาร์ทีดี จะเปลี่ยนแปลงค่าอุณหภูมิเป็นค่าความต้านทาน ■ เทอร์โมคัปเปิล จะเปลี่ยนแปลงค่าอุณหภูมิเป็นค่าแรงดันทางไฟฟ้า

ออปติคอลไพโรมิเตอร์ อาศัยการเปลี่ยนแปลงของความเข้มแสง ไพโรมิเตอร์แบบอินฟราเรด

อาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงสีของสารเคมีเมื่อได้รับความร้อนหรือหลอมละลาย

1.หลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงกล

▼ เทอร์มอมิเตอร์แบบหลอดแก้วเปิด

หลักการวัดของเทอร์มอมิเตอร์แบบหลอดแก้วปิด คือ เมื่อของเหลวประเภทปรอทหรือแอลกอฮอล์ได้รับความร้อนหรือความเย็นแล้ว ของเหลวนั้นจะเกิดการขยายหรือหดตัว โดยเครื่องมือวัดนี้จะบรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ลงในหลอดแก้วปิด ขณะที่ข้างในหลอดแก้วเป็นสุญญากาศ โดยในหลอดแก้วจะมีขนาดทางเดินเป็นรูเล็กๆ สำหรับให้ของเหลวขยายหรือหดตัว ส่วนข้างนอกของหลอดแก้วจะมีแถบสเกลสำหรับอ่านค่าอุณหภูมิ ซึ่งอาจเป็นองศาเซลเซียส (°C) หรือฟาเรนไฮต์ (°F) โดยวิธีการอ่านค่าสามารถอ่านได้จากการที่ของเหลวขยายตัวหรือหดตัวเป็นความดันที่ขีดต่างๆในการใช้งานเครื่องมือวัดนี้โดยทั่วไปแล้ว ถ้าไม่มีส่วนป้องกันหลอดแก้วจะนิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) แต่ถ้าต้องการนำไปติดตั้งในกระบวนการผลิต (ตามท่อหรือถังที่ต้องการวัดอุณหภูมิ) จำเป็นจะต้องมีส่วนป้องกันการเสียหายต่อหลอดแก้ว (Metal Guard)

สำหรับแนวทางการเลือกใช้งาน (Selection) สามารถพิจารณาได้จาก

■ ย่านวัด (Range) ของการใช้งาน ■ ความยาว (Length) ของส่วนที่สัมผัสกับของไหล (Fluid) ■ ขนาด (Diameter) ของหัววัดที่สัมผัสของไหล ■ Process connection จุดที่ต้องการวัด อาจเป็นแบบเกลียวหรือแบบใช้หน้าแปลน ■ ขนาดและแบบของเกลียวหรือขนาดความกว้างของหน้าแปลน (Flange) ■ วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างที่ห่อหุ้มกระเปราะวัด เช่น ทองเหลือง หรือ บรอนซ์ ■ Accuracy Class มีอยู่ในช่วง ±0.5 ถึง 2 Scale Division ■ ราคาในการจัดซื้อและจุดคุ้มทุน

เทอร์มอมิเตอร์แบบอาศัยการเปลี่ยนแปลงความดัน (Filled Thermal System)

skSATO SK-3050-L LB-75S Remote Sensing Dial Thermometer (Made to Order)

เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบนี้ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในระบบนิวเมติก โดยใช้เป็นตัวแสดงค่าของสัญญาณอุณหภูมิหรือเป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณอุณหภูมิซึ่งเป็นสัญญาณลมมาตรฐานด้วยในตัว ส่วนใหญ่อุปกรณ์ประเภทนี้จะใช้งานในการแสดงค่าเป็นจุดในงานสนาม (Local Instrument) หรือใช้เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Area)

หลักการทำงานของเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบนี้ จะอาศัยหลักการขยายตัวหรือหดตัวของของไหลซึ่งอาจอยู่ในรูปของของเหลว (Liquid) ไอน้ำ (Vapour) หรือก๊าซ (Gas) ก็ได้ โดยที่ของไหลจะเกิดการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน แต่ถ้าของไหลได้รับความเย็นจะเกิดการหดตัวซึ่งเหมือนกับหลักการของเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบหลอดแก้วปิดนั่นเอง เมื่อกำหนดให้ของไหลอยู่ในปริมาตรที่จำกัด เมื่อของไหลมีการขยายตัวหรือหดตัวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความดันขึ้นโดยค่าความดันที่เปลี่ยนแปลงจะสัมพันธ์กับค่าของอุณหภูมิที่เกิดขึ้น

หลักการเครื่องวัดอุณหภูมิเแบบอาศัยการเปลี่ยนแปลงความดัน (Filled Thermal System)

โครงสร้างของเครื่องวัดอุณหภูมิเแบบอาศัยการเปลี่ยนแปลงความดัน (Filled Thermal System) ที่มา //benvalle.com/Temperature.html

การเลือกใช้งานสำหรับเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบ Filled Thermal System สามารถพิจารณาได้จาก

■ อุณหภูมิช่วงใช้งาน ควรเลือกใช้งานตามประเภทของของไหล (Liquid, Vapour, Gas) บรรจุอยู่ภายในกระเปราะวัดตามมาตรฐาน SAMA ■ ความยาวของกระเปราะวัดอุณหภูมิ ■ วัสดุที่ใช้ทำกระเปราะวัด ■ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของกระเปราะวัด ■ ความยาวของท่อแคปพิลลารี่ ■ ขนาดหน้าปัดของสเกลแสดงกระเปราวัด ■ Process Connection จุดต่อที่ต้องการยึด Buld กับกระบวนการผลิตที่ต้องการวัด ■ Accuracy Class มีอยู่ในช่วง ±0.5% ถึง 2% ของค่าเต็มสเกล ■ ราคาในการจัดซื้อและจุดคุ้มทุน

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบแถบโลหะคู่

เครื่องมือวัดอุณหภูมิชนิดนี้จะมีแถบโลหะคู่ ซึ่งเป็นโลหะ 2 ชนิด ที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนไม่เท่ากันซึ่งยึดติดกัน เมื่อได้รับความร้อนโลหะทั้งสองชนิดจะขยายตัวไม่เท่ากันจึงทำให้แถบโลหะโก่งตัว ถ้ายึดปลายด้านหนึ่งไว้แล้วปลายอีกด้านหนึ่งจะเบี่ยงเบนไปตามค่าของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง โดยระยะการโก่งตัวของโลหะคู่นี้จะขึ้นอยู่กับ

1.ความแตกต่างของสัมประสิทธิ์การขยายตัวของแถบโลหะทั้งสอง 2.ความยาวของแถบโลหะคู่ 3.ความร้อนที่เกิดจากระดับอุณหภูมิ

จากตัวแปรทั้ง 3 ข้อนี้จะใช้เป็นค่าที่กำหนดความไว (Sensitivity) ของเครื่องมือวัดอุณหภูมิด้วย

BM Series Bimetal Thermometer (Made to order) สั่งทำแบบพิเศษตามต้องการ

โครงสร้างของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบแถบโลหะคู่ ที่มา //goo.gl/y1o5g6

การเลือกโลหะผสมที่มีความแตกต่างของค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อน ในปัจจุบันใช้ Invar ซึ่งเป็นโลหะที่มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวมากจะเป็นโลหะผสมระหว่างนิกเกิล เหล็ก โครเมียม และแมงกานีส การเพิ่มความยาวของแถบโลหะคู่สามารถเพิ่มได้โดยการขดขึ้นรูปในลักษณะเป็นขดซ้อน (Multiple Helix)

เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบแถบโลหะคู่เหมาะสำหรับการแสดงค่าอุณหภูมิ ณ จุดที่ติดตั้งสำหรับส่วนของขดสำหรับส่วนของขด Helix ที่มีผลโดยตรงต่อการวัดอุณหภูมิจะอยู่ตรงส่วนปลายของ Sheath ที่สอดหรือจุ่มอยู่ในของไหลที่ต้องการทราบอุณหภูมิ ย่านใช้งานของเครื่องมือวัดนี้จะอยู่ในช่วง -180 °C ถึง 550 °C แต่ที่อุณหภูมิต่ำๆ อัตราการเบี่ยงเบนของเข็มจะตกลงอย่างรวดเร็ว เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบนี้จะมีราคาถูก หลักการง่าย และให้ความไวในการวัดที่ดี แต่การสอบเทียบและปรับเทียบทำได้ค่อนข้างยาก แต่โดยทั่วไปควรเลือกย่านวัดให้แสดงค่าอยู่ที่ประมาณ 75% ของค่าเต็มสเกล (Full scale) ขึ้นไป

ข้อพิจารณาสำหรับการเลอกใช้งานเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบโลหะคู่คือ

1. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าปัด (Dial Size) 2.ย่านอุณหภูมิที่ต้องการวัด 3.Process Connection 4.รูปแบบการใช้งาน (Type) 5.ความยาวของกระเปราะการวัด (Length) 6.วัสดุที่ใช้ทำกระเปราะวัดและเคส 7.Accuracy Class มีอยู่ในช่วง ±0.5% ถึง 2% ของค่าเต็มสเกล (Full scale) 8.ราคาในการจัดซื้อ

//

2.หลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางไฟฟ้า

อาร์ทีดี (Resistor Temperature Detector : RTD)

Ebro TPX-330 โพรบวัดอุณหภูมิ Blunt glass coated probe | (Pt 100)

อาร์ทีดีเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานโดยอาศัยหลัการเปลี่ยนค่าความต้านทานของขดลวดโลหะที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ โดยอาร์ทีดีที่ใช้งานในอุตสาหกรรมที่เรียกว่า Platinum Resistance Thermometer (พีอาร์ที) มีแบบ 2 แบบด้วยกัน คือ Pt50 และ Pt100 โดยที่

■ อาร์ทีดีแบบ Pt50 หมายถึง ค่าความต้านทาน Rt = 50 Ω ที่อุณหภูมิ 0˚C ■ อาร์ทีดีแบบ Pt100 หมายถึง ค่าความต้านทาน Rt = 100 Ω ที่อุณหภูมิ 0˚C

โดยทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะนิยมใช้อาร์ทีดีแบบ Pt100 มากที่สุด และ เป็นแบบสาย

โครงสร้างของอาร์ทีดี ประกอบด้วยลวดโลหะที่มีความยาวค่าหนึ่งพันอยู่บนแกนที่เป็นฉนวนไฟฟ้าซึ่งมีคุณสมบัติทนต่อความร้อน โดยแกนที่ใช้เป็นสารประเภทเซรามิก หรือแก้ว เช่น อะลูมินาบริสุทธิ์ สภาพภายนอกของอาร์ทีดีจะดูคล้ายกับเทอร์โมคัปเปิล

โครงสร้างภายในของอาร์ทีดี ที่มา //www.tutco.com/temperature_sensors/rtds.php

เนื่องจากอาร์ทีดีเป็นอุปกรณ์ประเภทงานเฉื่อยงาน (Passive Element) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีค่ากำลังเอาต์พุตน้อยกว่าอินพุต ดังนั้นการนำเอาอาร์ทีดีไปประยุกต์ใช้งานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือทรานสมิตเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่ใช้ในการแปลงค่าความต้านทาน Rt เป็นสัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานเพื่อใช้ในการส่งสัญญาณต่อไป (ในปัจจุบันได้มีการนำอาร์ทีดีกับทรานสมิตเตอร์ต่ออยู่ร่วมกันภายในเครื่องมือวัดแล้ว)

การเลือกใช้อาร์ทีดีมีข้อพิจารณาดังนี้

1. รูปแบบของตัวเซนเซอร์ เช่น Pt100 หรือ Pt50 2.ความยาวเทอร์มอเวลล์ (Thermowell) และเซนเซอร์ที่ต้องการสัมผัสกับของไหลที่ต้องการวัด 3.ขนาดเส้นผ่านศูนยกลางของเซนเซอร์รและรูปแบบเซนเซอร์ว่าเป็นแลลเดี่ยวหรือแบบคู่ 4.ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเทอร์มอเวลล์ทั้งด้านนอกและด้านใน (โดยเฉพาะด้านในขนาดจะต้องพอดีกับขนาดขนาดเซนเซอร์ด้วย เนื่องจากตัวเซนเซอร์จะต้องสอดใส่เข้าไปในเทอร์มอเวลล์) 5.Process Connection เป็นส่วนที่ใช้ยึดกับสิ่งที่ต้องการวัด เช่น ที่ท่อ หรือถัง เป็นต้น โดยอาจเป็นแบบเกลียว หรือ หน้าแปลน 6.กระแสไฟฟ้าที่ต้องการไหลผ่านตัวเซนเซอร์ เช่น 1 mA, 2 mA หรือ 5 mA 7.รูปแบบของ Terminal Box เช่น แบบ Weather proof, Flame Proof, หรือ intrinsically Safe เป็นต้น 8.Tolerance (Accuracy) Class โดยแบ่งเป็น Grade A และ Grade B (ตามมาตรฐาน ASTM) 9.ราคาในการจัดซื้อและจุดคุ้มทุน

เทอร์มอเวลล์เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กับเซนเซอร์วัดอุณหภูมิแบบอาร์ทีดีและเทอร์มอคัปเปิล เพื่อเสริมความแข็งแรงทนทานให้แก่ตัวเซนเซอร์และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับตัวเซนเซอร์จากสภาวะการใช้งาน และเป็นตัวกลางไม่ให้ของไหลที่ต้องการวัดค่าอุณหภูมิมาสัมผัสโดยตรงกับเซนเซอร์ เพื่อลดการกัดกร่อนจากของไหล อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสะดวกในการซ่อมบำรุงรักษาเมื่อต้องเปลี่ยนตัวเซนเซอร์อีกด้วย

ชนิดของเทอร์มอเวลล์แบบต่างๆ ที่มา //www.jms-se.com/thermowell.php

เทอร์มอเวลล์อาจมีทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ ในทางปฏิบัติอาจเรียกชื่อต่างกันไป ดังเช่น อาจเรียกว่า “Protecting Well” หรือ “Bulb” เป็นต้น โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 4 แบบ

■ แบบ Lagging เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป ■ แบบ Taped เป็นแบบเรียวมีด้านโคนโต เหมาะสำหรับงานวัดของไหลที่มีความเร็วของการไหลสูง ■ แบบ flange จะใช้ต่อกับกระบวนการด้วยหน้าแปลน เหมาะสำหรับการวัดที่ของไหลที่เป็นสารกัดกร่อน ■ แบบเสริมโคนให้แข็งแรงเป็นพิเศษ โดยที่ด้านโคนจะโตและลดขนาดที่ปลายของเทอร์มอเวลล์ลง เพื่อให้ผลการวัดรวดเร็วขึ้น

สำหรับโลหะที่ใช้ทำเทอร์มอเวลล์มีอยู่หลายชนิด เช่น คาร์บอนสตีล สแตนเลสสตีล นิกเกิล อัลลอย เป็นต้น

การเลือกใช้งานเทอร์มอเวลล์ทั่วไปมีข้อพิจารณา ดังนี้

1.ขนาดของรูและความลึก (Bores & Depth) 2.การเลือกวัสดุที่ใช้ทำเทอร์มอเวลล์ต้องคำนึงถึงผลกระทบของของไหลที่จะสัผัสกับเทอร์มอเวลล์เป็นหลัก ว่าจะเกิดการกัดกร่อนหรือไม่และทนต่อความดันได้หรือไม่ โดยทั่วไปจะใช้วิธีการเปิดตารางคุณสมบัติของวัสดุ ตัวอย่างเช่น คาร์บอนสตีล สามารถใช้ได้กับงานที่มีอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 700 °C และ stainless Steel เช่น SS304 SS316 สามารถใช้ได้กับงานอุณหภูมิสูงที่อยู่ในช่วง 900 °C ถึง 1000 °C ได้ดีและทนต่อการกัดกร่อนสูงกว่าแบบที่ทำจากคาร์บอนสตีล

เทอร์มอคัปเปิล (Thermocouple)

Lutron TP-02A โพรบวัดอุณหภูมิทั่วไป Max. 900℃ (Type K)

Rixen GK-03 โพรบวัดอุณหภูมิทั่วไป Max. 250℃ (General Type) 1M

หลักการของเทอร์มอคัปเปิล ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1821 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน โธมัส ซีเบ็ค (Thomas Seebeck) ที่พบว่าเมื่อนำลวดโลหะ 2 เส้น ที่ทำด้วยโลหะต่างชนิดกันมาเชื่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกัน ถ้าปลายจุดที่ต่อทั้งสองได้รับอุณหภูมิที่ต่างกันจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรเส้นลวดทั้งสอง และถ้าเปิดปลายจุดต่อด้านหนึ่งออก จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นที่ปลายด้านเปิดจะเป็นสัดส่วนกับผลต่างของอุณหภูมิที่จุดต่างทั้งสอง

e AB \= α∆T เมื่อ e AB คือ แรงดันไฟฟ้าที่วัดได้ หน่อยเป็น V α คือ ค่าสัมประสิทธิ์ของซีเบ็ค ∆T คือ ผลต่างของอุณหภูมิ หน่อยเป็น K

การทดลองของซีเบ็ค ที่มา //goo.gl/8hEDuH

หลักการของเทอร์มอคัปเปิล

เทอร์มอคัปเปิลที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรรมนั้นมีอยู่หลายแบบด้วยกัน คือ แบบ S, R, B, T, E, K และ J สำหรับ K, J เป็นแบบที่ได้รับการยอมรับและนิยมนำไปประยุกต์ใช้งานมาก

ข้อพิจารณาสำหรับการเลือกใช้เทอร์มอคัปเปิลจะเป็นเช่นเดียวกับกรณีของอาร์ทีดี แต่โดยทั่วไป ถ้าต้องการเลือกใช้ระหว่างอาร์ทีดีและเทอร์มอคัปเปิลนั้น จะพิจารณาไว้ว่า ถ้าอุณหภูมิที่ต้องการวัดมีค่าต่ำกว่า 550 °C และไม่คำนึงถึงความไวในการวัด จะนิยมเลือกใช้อาร์ทีดีมากกว่า เนื่องจากราคาติดตั้งเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบเทอร์มอคัปเปิลในการใช้งานมีราคาแพงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับราคาค่าติดตั้งกับเครื่องมือวัดทั้งแบบอาร์ทีดีและแบบเทอร์มอคัปเปิลได้รับความนิยมมากที่สุด

3.หลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงแสงและการแผ่รังสี

การวัดอุณหภูมิแบบนี้เป็นการวัดโดยไม่มีการสัมผัสโดยตรงกับวัตถุที่ต้องการวัดค่าอุณหภูมิ เพราะใช้วิธีการวัดโดยอาศัยการแผ่รังสีความร้อนและแสงของวัตถุเพื่อบอกค่าอุณหภูมิของวัตถุแทน ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของการแผ่รังสีกับการเปลี่ยนแปลงของความยาวคลื่นและอุณหภูมิด้านล่างนี้ โดยความยาวคลื่นจะอยู่ในย่านไมครอน (x 10-6)

คุณสมบัติทั่วไปของการแผ่รังสีในช่วงอุณหภูมิ 1000 °F ถึง 2800 °F พลังงานที่แผ่ออกมาเป็นรูปแสง แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 1000 °F จนถึงอุณหภูมิห้อง พลังงานที่แผ่ออกมาจะอยู่ในรูปของการแผ่รังสีความร้อน (Thermal Radiation) โดยที่ ณ จุดอุณหภูมิที่แตกต่างกัน จะมีความยาวคลื่นหรือความถี่ของพลังงานแตกต่างกันออกไปด้วย

ความเข้มข้นการแผ่รังสีกับการเปลี่ยนแปลงความยาวคลื่นและอุณหภูมิที่มา //www.optotherm.com/infrared-planck.htm

ระดับความยาวคลื่น ที่มา //goo.gl/9m6KWs

เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่อาศัยการแผ่รังสีความร้อนและแสงของวัตถุ จะถูกเรียกว่า “ไพโรมิเตอร์” (Pyrometer) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดที่มีการวัดคลื่นรังสีที่ตามนุษย์มองเห็น (Optical Pyrometer) และชนิดที่มีการวัดคลื่นรังสีอินฟราเรด (Infrared Pyrometer) โดยปกติความยาวคลื่นของแสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้อยู่ในช่วงประมาณ 0.3 µm ถึง 0.7 µm เท่านั้น แต่อินฟราเรดมีความยาวคลื่นสูงกว่าในย่านที่ตามนุษย์มองเห็นได้ โดยอยู่ในช่วง 0.75 µm ถึง 1000 µm ที่มีความยาวคลื่นสูงกว่านี้จะเป็นย่าน Radar และ Ultrasonic, X-Ray และ Gramma-Ray เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นและความเข้มข้นของการแผ่รังสีที่อุณหภูมิต่างๆจะขึ้นอยู่กับสภาพผิวของวัตถุด้วย โดยผิวสีดำจะแผ่รังสีออกมาดีที่สุด ในปัจจุบันหลักการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงแสงและการแผ่รังสีที่นิยมใช้มากที่สุด คือ ไพโรมิเตอร์แบบอินฟราเรด ส่วนไพโรมิเตอร์แบบอื่นๆ มีการใช้น้อยมากในการควบคุมประบวนการทางอุตสาหกรรม

ไพโรมิเตอร์แบบอินฟราเรด

จากรูปด้านล่าง เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบนี้ นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการวัดค่าอุณหภูมิเป็นครั้งคราว ซึ่งเป็นการตรวจสอบสภาพเฉพาะจุด เช่น การตรวจสอบความร้อนขากข้อต่อสายไฟ หรือต้องการหาจุด Hot-spot ที่ตัวหม้อแปลง โดยที่เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบอื่น ไม่สามารถทำได้เครื่องมือวัดแบบอนฟราเรดจะมีตัวตรวจวัดอุณหภูมิซึ่งเป็นสารประเภทกึ่งตัวนำที่เรียกว่า “โฟตอน” (Photon) หรือใช้เทอร์มอไพล์เป็นตัวรับคลื่นแสง เมื่อโฟตอนหรือเทอร์มอไพล์ได้รับพลังงานความร้อนที่อยู่ในรูปของการแผ่รังสีความร้อน จะเกิดเป็นแรงดันไฟฟ้ามากขึ้น ทำให้สามารถวัดค่าอุณหภูมิของวัตถุต่างๆได้ สำหรับการเลือกใช้งานจะพิจารณาจากย่านวัด และ Accuracy Class เท่านั้น

LEGA LT-400G เครื่องวัดอุณหภูมิ IR

Hioki FT3701-20 เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด

//

4.หลักการวัดอุณหภูมิโดยวิธีการทางเคมี

การวัดอุณหภูมิโดยวิธีการทางเคมี จะอาศัยการเปลี่ยนแปลงสีของสารเคมีเมื่อได้รับความร้อนหรือหลอมละลาย การวัดอุณหภูมิด้วยหลักการนี้ จะนิยมใช้เฉพาะแต่ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) หรือใช้ทดสอบชิ้นงานเท่านั้น

ดินสอ (Crayons)

ดินสอใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของชิ้นงาน ที่มา //goo.gl/qtSUDb

ดินสอใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของชิ้นงานดังรูปด้านล่าง ทำได้โดยขีดเป็นแนวบนชิ้นงาน เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่แต่ละสีระบุไว้ แนวที่ขีดจะละลาย สามารถเลือกใช้งานเพื่อวัดค่าได้ที่จุดอุณหภูมิต่างๆตั้งแต่ 30 °C ถึง 1250 °C ส่วนวิธีการใช้งานควรระวังผิวของชิ้นงานมีความสกปรก

แล็กเกอร์ (Lacquer)

แล็กเกอร์ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของชิ้นงาน ที่มา //www.essexparts.com/temperature-paint-kit

แล็กเกอร์ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิที่ผิวของชิ้นงานดังรูปด้านล่าง เป็นการใช้สารเคมีทาหรือพ่นไว้บางๆลงพื้นผิวของชิ้นงาน แล็กเกอร์จะแห้งในเวลาอันรวดเร็ว เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ระบุไว้ บริเวณผิวส่วนที่ถูกเคลือบด้วยแล็กเกอร์จะละลายอย่างรวดเร็ว สามารถเลือกใช้งานเพื่อวัดค่าที่มีอุณหภูมิต่างๆตั้งแต่ 30 °C ถึง 1250 °C สำหรับข้อควรระวังในการใช้งานก็คล้ายกับแบบดินสอ

แบบ Pellet

แบบ Pellet ที่มา //www.omega.com/pptst/STK_PLT_LAQ.html

แบบ Pellet ดังรูปด้านล่าง เป็นแบบแรกของเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบสารเคมีที่นำมาใช้งานในกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งมีลักษณะเหมือนเป็นเม็ดยา การบอกค่าอุณหภูมิตามจุดต่างๆจะใช้ช่วงเวลายาวกว่าสองแบบแรก ดังเช่น ใช้บอกอุณหภูมิตามจุดต่างๆเพื่อกำหนด Heat Zone ในเตาเผา (Furnace) การใช้งานเมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ระบุจะเปลี่ยนสี สามารถเลือกใช้งานเพื่อวัดค่าที่อุณหภูมิต่างๆตั้งแต่ 30 °C ถึง 1800 °C

แบบแผ่น (Labels)

Asey 3IC Series ที่วัดอุณหภูมิแบบ 3 จุด

Asey LC50 แถบวัดอุณหภูมิ (50 to 100 °C)

แบบแผ่น ดังรูปด้านล่าง จะมีสารเคมีฉาบอยู่บนแผ่นกระดาษเป็นวงๆพร้อมทั้งระบุจุดอุณหภูมิสำหรับแต่ละวง โดยค่าอุณหภูมิสำหรับแต่ละวง โดยค่าอุณหภูมิที่ระบุไว้จะมีค่าเดียวกันหรือหลายค่าก็ได้ ด้านหลังจะมีกาวสำหรับใช้ปะลงในที่ๆต้องการทราบย่านอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงค่าใดที่ได้ระบุไว้สารเคมีที่ฉาบอยู่ภายในวงจรเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีอื่นๆ หลังจากทราบค่าแล้วสามารถเก็บกระดาษที่ใช้วัดไว้เป็นข้อมูลของการวัดได้ด้วย โดยปกติในแต่ละแผ่นจะมีอยู่หลายจุดอุณหภูมิโดยเปลี่ยนค่าจุดละ 10 °F หรือบางแบบเปลี่ยนค่าจุดละ 25 °F สามารถเลือกใช้งานเพื่อวัดค่าที่อุณหภูมิต่างๆ ตั้งแต่ 100 °F ถึง 400 °F เหมาะสำหรับงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า

วิธีการวัดค่าอุณหภูมิโดยวธีการทางเคมีเป็นวิธีที่เหมาะสมวิธีหนึ่ง เนื่องจากค่าที่วัดได้ถูกต้อง รวดเร็ว ประหยัด สะดวกกว่าวิธีอื่นๆ อีกทั้งผู้ใช้งานไม่ต้องมีประสบการณ์มากนัก

อุณหภูมิน้ำในแก้วใช้อะไรวัด

1. เทอร์มอมิเตอร์ (Thermometer) เทอร์มอมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิ โดยสามารถวัดได้ทั้งอุณหภูมิของแข็ง เช่น อาหาร ของเหลว เช่น น้ำ หรือก๊าซ เช่น อากาศ หน่วยของอุณหภูมิที่ใช้กันโดยทั่วได้ ได้แก่ องศาเซลเซียส องศาฟาห์เรนไฮต์ และเคลวิน

เทอร์มอมิเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

  1. เทอร์มอมิเตอร์แบบโพรบ (Probe type thermometer) ... .
  1. เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิอินฟราเรด (Infrared Thermometer) ... .
  1. เทอร์มอมิเตอร์แบบเทอร์โมคับเปิล ... .
  1. เครื่องบันทึกข้อมูลอุณหภูมิ Data Logger. ... .
  1. เทอร์โมสแกนหรือกล้องถ่ายภาพความร้อน ... .
  1. เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิ-ความชื้นอากาศ.

ปรอทวัดไข้แบบแก้วใช้ยังไง

- วางปรอทไว้ที่รักแร้ หรือ อมใต้ลิ้น อ่านค่า - ทำจากแก้ว ให้วางไว้ห่างพ่นมือเด็ก ***ได้มาตรฐาน CE มีกล่องพลาสติกบรรจุกันกระแทก***

เทอร์มอมิเตอร์แบบปรอทมีหลักการทำงานอย่างไร

หลักการวัดของเทอร์มอมิเตอร์แบบหลอดแก้วปิด คือ เมื่อของเหลวประเภทปรอทหรือแอลกอฮอล์ได้รับความร้อนหรือความเย็นแล้ว ของเหลวนั้นจะเกิดการขยายหรือหดตัว โดยเครื่องมือวัดนี้จะบรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ลงในหลอดแก้วปิด ขณะที่ข้างในหลอดแก้วเป็นสุญญากาศ โดยในหลอดแก้วจะมีขนาดทางเดินเป็นรูเล็กๆ สำหรับให้ของเหลวขยายหรือหดตัว ส่วนข้างนอก ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน