G tower grand rama 9 ม อะไรขายบ าง

เมื่อวิเคราะห์ทำเล จะพบว่าอาคาร จี ทาวเวอร์ ( G Tower) เป็นอาคารสำนักงานที่อยู่ในทำเลที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง บนเส้นรัชดาภิเษก จึงไม่น่าแปลกใจที่มีหลากหลายองค์กร อยากจะเช่าสำนักงานที่นี่

ข้อมูลเกี่ยวกับอาคาร

  • อาคาร จี ทาวเวอร์ ( G Tower ) แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งเหนือ ความสูง 39 ชั้น และฝั่งทิศใต้ ความสูง 27 ชั้น
  • พื้นที่เช่าทั้งอาคาร รวม 66,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น พื้นที่ ฝั่งเหนือ 41,000 ตารางเมตร, ฝั่งใต้ 21,500 ตารางเมตร และโพเดียม 3,500 ตารางเมตร
  • พื้นที่เช่า ต่อ ชั้น ราว 1,430 – 1,510 ตารางเมตร
  • ลักษณะการออกแบบโครงสร้างแบบ Column Free Design ไม่มีเสาโครงสร้างกลางห้อง ทำให้ผู้เช่าสามารถ ออกแบบเพื่อใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ความสูงจากพื้นถึงฝ้า 3.00 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่สุดของพื้นที่มาตรฐานของอาคารสำนักงานเกรด เอ ให้ความ รู้สึกโปร่งสบาย สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
  • อาคารยังใช้ระบบปรับอากาศที่คำนึงถึงผู้ใช้งานในห้อง คือ แบ่งแอร์ออกเป็น 2 โซน ปรับอุณภูมิภายในห้อง และ บริเวณที่ใกล้แผงหน้าต่าง ทำให้อุณภูมิภายในห้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • มีระบบปรับอากาศ 24 ชั่วโมง สำหรับห้อง Server Room ของผู้เช่า
  • Generator สำหรับรองรับการเชื่อมต่อการสำรองไฟฟ้า เพื่อให้ผู้เช่ามั่นใจในการดำเนินธุรกิจ

  • มีรถรับ-ส่ง (Shuttle Bus) ให้บริการภายในโครงการ
  • ความสูงของ Lobby 7 เมตร ทำให้รู้สึกโปร่ง เหมือน อยู่โรงแรมหรูๆ
  • พื้นรับน้ำหนักได้ 250 กิโลกรัม ต่อ ตารางเมตร
  • ฝ้าเป็นฝ้า T-bar โดยใช้แผ่นยิปซัม หนา 12 มิลลิเมตร ขนาด 120 เซนติเมตร คูณ 60 เซนติเมตร
  • กระจกที่ใช้เป็นกระจกลามิเนต
  • ระบบป้องกันน้ำท่วม ได้ถึง 2.2 เมตร จากความสูงของถนนรัชดาภิเษก
  • ลิฟท์ ภายในอาคาร ทั้งสิ้น 19 ตัว แบ่งเป็น ลิฟท์ฝั่งเหนือ ทั้งสิ้น 9 ตัว พร้อมลิฟท์เซอร์วิส อีก 1 ตัว, ลิฟท์ฝั่งมิศใต้ 5 ตัว พร้อมลิฟท์เซอร์วิสอีก 1 ตัว และลิฟท์ลานจอดรถอีก 3 ตัว
  • พื้นที่จอดรถกว่า 1,048 คัน

Office Hello พาทัวร์อาคาร G Tower

ส่วนของ Lobby ก็จะประมาณ นี้ตกแต่งด้วยแผ่นหินอ่อน สีขาว พร้อมไฟสีส้ม ความสูง 7 เมตร ดูแกรนด์ ขึ้นมาทีเดียว

มาดูอีกด้าน ฝั่งทิศเหนือ

ด้านล่างเมื่อลงบันไดเลื่อน จะเจอร้านอาหาร ต่างๆพร้อมจุดเชื่อมต่อ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพระราม 9 เรียกว่าสะดวกสบายมากๆเลยค่ะ

ร้านอาหารที่อยู่ภายในอาคาร จี ทาวเวอร์ ( G Tower) มีเยอะมากๆ นี่ก็เป็นอีกร้าน ที่ส่วนตัวชอบมาทาน บิงซู ของ Hollys Coffee

ร้านซูชิ ก็มีน้า

เรียกได้ว่าเป็น สำนักงาน ที่น่ามาทำงานมากๆ ร้านอาหารก็เยอะ ใกล้ห้าง แถมเดินทางสะดวกอีกต่างหาก หากสนใจเช่าพื้นที่สำนักงาน อาคาร จีทาวเวอร์ (G tower) ติดต่อได้เลย ที่ info@officehello.com

CPN กำลังเป็นข่าวอยู่ในความสนใจอีกครั้ง เมื่อประกาศเข้าซื้อหุ้น GLNAD ในวงเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท และทาง Marketing Oops! จะพาไปหาคำตอบว่า CPN ได้อะไรจากการซื้อ GLAND

ส่วน GLNAD เป็นใครกันล่ะ..? ทาง Marketing Oops! จะพาไปหาคำตอบเช่นกัน และเชื่อว่าทุกคนจะต้องรู้จัก หรือเคยได้ยินชื่อบริษัทแห่งนี้มาก่อน

CPN มีชื่อบริษัทแบบเต็มๆ ว่า บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มีบริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำกัด และบุคคลในตระกูลจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538

CPN เป็นผู้ประกอบการพัฒนา และบริหารศูนย์การค้าขนาดใหญ่ แบบครบวงจร

และยังทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น ที่เกี่ยวเนื่องในรูปแบบโครงการ อสังหาริมทรัพย์แบบผสม หรือที่เรียกกันว่า Mixed-use Development

ซึ่งคนในวงการอสังหาริมทรัพย์จะเรียกชื่อกันสั้นๆ ว่า “มิกซ์ยูส”

กางพอร์ต CPN

ปัจจุบัน CPN มีอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การบริหาร ประกอบด้วยศูนย์การค้า 32 แห่ง โดยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 14 แห่ง ต่างจังหวัด 18 แห่ง

มีอาคารสำนักงาน 7 แห่ง ในกรุงเทพฯ

โรงแรม 2 แห่ง คือ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี และโรงแรมฮิลตัน พัทยา และโครงการที่พักอาศัย 1 แห่งในกรุงเทพฯ

CPN ยังมีการลงทุนในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท (CPNREIT)

และกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG)

เป้าหมายของ CPN คือ การขยายธุรกิจออกไปแบบไร้ขีดจำกัด แต่อยู่บนความถนัดของตนเอง นั่นคือ เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าในระดับภูมิภาค ที่ได้รับการชื่นชมสูงสุด และไม่หยุดนิ่งในการสร้างประสบการณ์ที่เป็น “ความสุขระดับโลก”

ณ 30 มิถุนายน 2561 รายได้กว่า 79% ของ CPN จะมาจากมาจากการพัฒนา และให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าเป็นธุรกิจหลัก

สำหรับการขยายธุรกิจของ CPN มีทั้ง การลงทุนด้วยตนเอง และการเข้าซื้อกิจการ หรือการเข้าไปซื้อหุ้นที่เป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ และสัดส่วนการถือครองหุ้น (หลังการซื้อ) จะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ ต่อการส่ง “ทีมงาน” เข้าไปบริหารจัดการ

หากจำกันได้ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2561 CPN ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มใน บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC เจ้าของโรงแรมดุสิตธานี และภายหลังการซื้อหุ้นดังกล่าวทำให้ CPN จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ใน DTC โดยถือหุ้นรวม 194,926,920 หุ้น หรือคิดเป็น 22.93%

ขณะที่ DTC มีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมา 1 แห่ง เพื่อพลิกโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ บนถนนสีลม ให้กลายเป็นโครงการ “Mixed-use Project” มูลค่ากว่า 36,700 ล้านบาท ประกอบด้วยโรงแรม, อาคารที่พักอาศัย และอาคารสำนักงาน

ล่าสุด CPN ได้ทุ่มเงิน (กู้เงิน) กว่า 2 หมื่นล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นใน GLAND หรือ บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน)

การซื้อหุ้นในครั้งนี้ CPN ได้ตั้งบริษัทย่อยขึ้นมา 1 แห่ง ใช้ชื่อว่า “ซีพีเอ็น พัทยา” และให้บริษัทแห่งนี้ เป็นผู้เข้าไปซื้อหุ้น GLAND สัดส่วน 50.43% ในราคาซื้อขายหุ้นละ 3.10 บาท มูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ ซีพีเอ็น พัทยา จะมีหน้าที่ทำ Tender offer (ซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อยอื่นๆ) ในสัดส่วนที่เหลือ 49.57% ใช้เงินอีกประมาณ 9.99 พันล้านบาท

เจาะกลุ่ม แกรนด์ คาแนล แลนด์

แล้ว GLAND ใครถือหุ้นอยู่ และทำธุรกิจอะไรบ้าง

GLAND มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มตระกูล “รัตนรักษ์” เจ้าของสัมปทานช่อง 7 และอีกหลายๆ ธุรกิจ

กลุ่มตระกูลรัตนรักษ์ จะหุ้นใน GLAND ผ่านบริษัทต่าง เช่น บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด , บริษัท ทุนมหาลาภ จำกัด , บริษัท บีบีทีวี แอสเซตแมเนจเมนท์ จำกัด และอีกหลายบริษัท

GLAND ก่อตั้งขึ้นวันที่ 22 เมษายน 2528 โดยใช้ชื่อว่า “บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน)” ซึ่งขณะนั้นประกอบธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ และจำหน่ายเวลาโฆษณาในรายการโทรทัศน์

ต่อมาในปี 2552 ได้เปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจ โดย “กลุ่มเจริญกฤษ” จาก บริษัท แกรนด์คาแนล จำกัด เข้ามาถือหุ้นใน มีเดีย ออฟ มีเดียส์ พร้อมกับนำบริษัทแกรนด์คาแนล เข้าตลาดหุ้นทางอ้อม และเริ่มย้ายหมวดธุรกิจจากหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ไปสู่หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND นั่นเอง

GLAND เป็นเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง ทว่า หนึ่งในนั้นที่ทุกคนรู้จักกันดีคือ โครงการเดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์พระราม 9 พื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ที่อาคารเป็นรูปตัว “G “, โครงการ The Shoppes @ the Ninth และอยู่ในระหว่างดำเนินการพัฒนาโครงการอาคารสูง Super Tower ที่มีความสูง 125 ชั้น และเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะสูงสุดในอาเซียน

GLAND เป็นผู้พัฒนาอสังหาฯ เน้นโครงการที่อยู่อาศัย และโครงการเชิงพาณิชย์ ประมาณ 90% ของมูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทอยู่ที่โครงการ The Grand Rama 9 ประกอบด้วย ที่ดินเปล่าขนาด 13.7 ไร่ หลังเซ็นทรัล พระราม 9 (จะพัฒนาเป็นตึกสูงขนาด 125 ชั้น หรือ Super Tower ที่มีความสูง 125 ชั้น และเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะสูงสุดในอาเซียน)

ที่ดิน 5.9 ไร่ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นโครงการ Arcade ซึ่งจะเป็นพื้นที่ค้าปลีกให้เช่า ที่ดินขนาด 4 ไร่ที่เป็นที่ตั้งของ Unilever House

ที่ดินขนาด 7.7 ไร่ที่เป็นที่ตั้งของ The Nine Tower อาคารสำนักงาน G Tower สิทธิเช่าระยะยาวที่ดินตึก G Tower และ ถือหุ้น 15% ใน GLANDRT ซึ่งมีสิทธิเช่าระยะยาวพื้นที่ออฟฟิศตึก The Nine Tower จนถึงปี 2590 และ Unilever House จนถึงปี 2577

มาดูผลประกอบการของ GLAND กันบ้างว่าเป็นอย่างไร

ปี 2558 มีมูลค่าสินทรัพย์ 24,431 ล้านบาท รายได้ 5,160 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,732 ล้านบาท

ปี 2559 มีมูลค่าสินทรัพย์ 26,397 ล้านบาท รายได้ 3,603 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,112 ล้านบาท

ปี 2560 มีมูลค่าสินทรัพย์ 29,056 ล้านบาท รายได้ 2,855 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,069 ล้านบาท

และ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 มีมูลค่าสินทรัพย์ 29,711 ล้านบาท รายได้ 919 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 94.83 ล้านบาท

การที่ CPN ซื้อหุ้น GLAND ที่เป็นของที่ดิน อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย พื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในกรุงเทพที่เป็นเขต new CBD หรือ พระราม 9, ดอนเมือง และพหลโยธิน

ทำให้ถูกมองว่า จะช่วยต่อยอดทางธุรกิจให้กับ CPN อย่างมาก เดิมนั้น CPN ต้องการจะซื้อที่ดินในย่านพระรามเก้า และอีกหลายแห่งของ GLAND

แต่การซื้อที่ดินนั้นจะมีความยุ่งยาก และซับซ้อน

ฉะนั้น แนวทางแก้ปัญหา และน่าจะง่ายที่สุดคือ “การซื้อหุ้น” ในบริษัท ที่เป็นเจ้าของที่ดินที่ตนเองต้องการ โดยเฉพาะที่ดินตรงแยกรัชดา-พระราม 9 ที่ CPN หมายมั่นปั้นมืออย่างมาก

สถานีต่อไป CPN

มีคำถามต่อว่า แล้ว CPN มีแผนต่อไปอย่างไร กับที่ดินของ GLAND และในขณะนี้เป็นของตนเองไปแล้ว

คำตอบคือ 1.พระราม 9 ซึ่งมีโครงการ The Grand Rama 9 พื้นที่ 70 กว่าไร่ ถือเป็น new CBD มีทั้งอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย พื้นที่ค้าปลีกให้เช่า และมีที่ดินเหลือให้พัฒนาต่อได้

2.ดอนเมือง แถวบางเขน-กำแพงเพชร มีคอนโด 1 โครงการ และบ้านเดี่ยว 2 เฟส และมีที่ดินเปล่า 60 กว่าไร่ ซึ่งสามารถทำเป็น Mixed use ที่ CPN มีความถนัดอย่างมากได้

3.ที่ดินเปล่าบริเวณพหลโยธินราว 48 ไร่ โดยร่วมทุนกับ BTS คนละครึ่ง สามารถพัฒนาเป็น “มิกซ์ยูส” (Mixed use) ได้อีกเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า ที่ดินของ GLAND และ CPN จะอยู่ใกล้เคียงกันในหลายพื้นที่ ทำให้หากเกิดการ Synergy จะเป็นโอกาสที่ดี ที่จะมีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน