Asian cup 2023 ถ ายทอดสด 29 ม.ค 2562

กระทรวงสาธารณสุข ได้เดินหน้านโยบายปลดล็อก “กัญชา-กัญชง” ให้เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่มาต่อเนื่อง เพื่อนำบางส่วนมาใช้ประโยชน์โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด ส่วนหลักๆ คือ 1.ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่ง ก้าน ราก ไม่ถือเป็นยาเสพติด 2.เมล็ดกัญชง น้ำมัน สารสกัด 3.สารสกัดแคนนาบิไดออล (CBD) และสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ไม่เกิน 0.2% โดยส่วนของช่อดอกกัญชาและกัญชง รวมทั้งเมล็ดกัญชา ยังไม่ปลดล็อกจากยาเสพติด

รู้จัก “กัญชา-กัญชง”

มาทำความรู้จัก “กัญชาและกัญชง” กันก่อนว่าต่างกันอย่างไร พืชกัญชา (Cannabis) กับกัญชง (Hemp) มีถิ่นกำเนิดเดียวกัน อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ Cannabaceae และสกุลเดียวกันคือ Cannabis แต่ต่างสายพันธุ์ย่อย และ กัญชง มีต่อมน้ำมันที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์น้อยกว่าพืชกัญชา ตั้งแต่อดีตมีการใช้ต้นกัญชง ซึ่งให้เส้นใยเป็นวัสดุสิ่งทอ ปัจจุบันมีการนำเมล็ดกัญชงในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง กัญชงมีสาร Cannabinoid ชนิด CBD สูง แต่มี THC (สารเมา) ต่ำมาก อยู่ที่ 0.1-1% แต่หากเป็นกัญชาจะอยู่ที่ 1-10%

ใครปลูกกัญชาได้บ้าง? ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ระบุว่าผู้ที่สามารถปลูกกัญชาได้ ได้แก่ 1.หน่ายงานของรัฐ 2.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีการสอน วิจัย ทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ 3.ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจสังคม ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา 4. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (เภสัชกรรม ทันตกรรม การแพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมาย) ทั้งนี้ระยะ 5 ปี แรก การขออนุญาตปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ โดยผู้ขออนุญาต กลุ่ม 3 4 และ 5 ต้องดำเนินการร่วมกับผู้ขออนุญาตกลุ่ม 1 หรือ 2

จะเห็นได้ว่าการขออนุญาตปลูกและใช้ประโยชน์จาก “กัญชา” ในขณะนี้กฎหมายรองรับสำหรับใช้ทางการแพทย์และการศึกษาเท่านั้น ตัวอย่าง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ศึกษาเรื่องกัญชาทางการแพทย์ ได้รับอนุญาตให้ปลูก และผลิตยาจากกัญชา ทั้งยาแผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย ก็ได้ทดลองทำเมนูอาหารจากกัญชา ด้วยเช่นกัน

เปิดขออนุญาตปลูก-ใช้ประโยชน์ “กัญชง” เพื่อการค้า

สำหรับ “กัญชา” การปลูกและใช้ประโยชน์ยังอยู่ในวงจำกัด แต่ความเคลื่อนไหวการปลดล็อกล่าสุดในฝั่ง “กัญชง” ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564 เป็นต้นไป คือ กฎกระทรวง เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ.2563 มีสาระสำคัญดังนี้

– เปิดให้ทุกภาคส่วนทั้ง เกษตรกร ภาครัฐและเอกชน ประชาชนทั่วไป ขออนุญาตและอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp)

– สามารถนำกัญชง ไปใช้ในทุกวัตถุประสงค์ ทั้ง การแพทย์ การศึกษา วิจัย การค้า

– เปิดให้นำส่วนต่างๆ ของ กัญชง ไปแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ช่อดอกนำไปผลิตยา สารสกัดจากกัญชง ใบนำไปผลิตอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง น้ำมันจากเมล็ดกัญชงนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง สารสกัดจากกัญชงนำไปผลิตเป็นเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น (การผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่ายจะต้องขออนุญาตตามกฎหมายของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วย)

– เปิดให้สามารถส่งออกกัญชงได้ภายใน 5 ปี นับแต่กฎกระทรวงใช้บังคับ

เปิดขั้นตอนวิธีขออนุญาตปลูกกัญชง

กฎกระทรวงฉบับนี้ เปิดให้ทุกกลุ่มขออนุญาตปลูกกัญชงได้ ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ประชาชนทั่วไป นิติบุคคลสัญชาติไทย หรือ หน่วยงานรัฐ-เอกชน โดยต้องสายพันธุ์ที่ได้รับอนุญาต เพื่อส่งเสริมการปลูกและการพัฒนาสายพันธุ์กัญชงของไทย ขั้นตอนการขออนุญาตปลูก “กัญชง” มีดังนี้

1. เตรียมเอกสาร

– แบบคำขอรับอนุญาต (แบบกัญชง 1) แผนการผลิต แผนการใช้ประโยชน์

– แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ปลูกและเส้นทางการเข้าถึง

– หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือ สิทธิครอบครอง

– แบบแปลนอาคารโรงเรือนและภาพถ่าย

– เอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่นๆ

2. ยื่นคำขอรับอนุญาต ยึดตามสถานที่ปลูกตั้งอยู่

– กรุงเทพฯ ที่ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

– ต่างจังหวัด ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

3. ตรวจสอบคำขอและสถานที่

4. เสนอคณะกรรมการพิจารณา

– คณะกรรมการจังหวัด

– คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

5. ออกใบอนุญาต

โอกาสธุรกิจ F&B เกาะกระแสแรง

จากการปลดล็อกปลูกและใช้ประโยชน์จาก “กัญชง” ในทุกวัตถุประสงค์นี้ รวมทั้ง “การค้า” ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (food & beverage) หรือ F&B เพิ่มเติมจากกลุ่มเครื่องสำอางที่ได้รับอนุญาตให้ใช้น้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดกัญชง มาก่อนแล้ว

การปลดล็อกให้นำกัญชงมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งการปลูก ผลิต จำหน่ายและนำเข้า สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอางได้ ภายใต้การขออนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ดังนี้

  1. การใช้เมล็ดกัญชง หรือ น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed/ Hemp seed oil) เป็นวัตถุดิบ
  2. การใช้น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed extract) เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตเป็นเครื่องสำอาง โดยต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง
  3. การใช้สารสกัดจากกัญชง หรือผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชง ที่มี CBD เป็นส่วนประกอบหลัก และมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC สารเมา) ไม่เกิน 0.2% โดยน้ำหนัก

หลังจากเริ่มเปิดให้ขออนุญาตปลูกและผลิตกัญชงได้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564 ตามขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตของ อย. น่าจะอนุมัติในราวเดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป

คุณสรพล วีระเมธีกุล นักกลยุทธ์ลงทุน บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย และ คุณหมิ่นหลิง หวัง นักวิเคราะห์ บมจ.หลักทรัพย์กสิกรไทย มองว่ากระแสกัญชง จะทำให้หุ้นในกลุ่ม F&B ได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งในธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

เริ่มจากต้นน้ำ คือ กลุ่มที่จะขออนุญาตปลูกกัญชง กลางน้ำ กลุ่มที่นำพืชกัญชงไปสกัดสาร CBD และ THC และปลายน้ำ นำสารสกัด มาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง

ดูจากไทม์ไลน์การเปิดให้ยื่นขอใบอนุญาตปลูกและผลิตสารสกัดกัญชง เริ่มในวันที่ 29 ม.ค.2564 ระยะเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 3-4 เดือน ดังนั้น ช่วงไตรมาส 3-4 จะเห็นความเคลื่อนไหวการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากกัญชง

แต่ก็จะเห็นได้ว่าหุ้นในกลุ่ม F&B ที่สามารถเกาะกระแสกัญชง ได้ปรับตัวขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF ที่ทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ พื้นที่ปลูก และกลางน้ำ ทำสารสกัด บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค จำกัด (มหาชน) หรือ DOD ที่สามารถนำมาใช้ในเครื่องสำอาง สกินแคร์

ส่วนปลายน้ำ ธุรกิจที่จะนำสารสกัดกัญชง มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม มีหุ้นที่สามารถเกาะเทรนด์นี้ได้ อย่าง คาราบาวกรุ๊ป หรือ CBG แม้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวเรื่องการขออนุญาตผลิต แต่ราคาหุ้นวิ่งนำไปก่อนจากทั้งปัจจัยผลประกอบการไตรมาส 4 และทั้งปี 2563 เติบโตสูง ทำให้ราคาหุ้นสัปดาห์นี้วิ่งแบบ All time high

นอกจากนี้มองว่าหุ้นที่ได้ประโยชน์กับกระแสกัญชงก็มี โอสถสภา กลุ่มไทยเบฟ อิชิตัน MEGA

จากข้อมูลตลาดกัญชง ทั่วโลกในปี 2027 คาดการณ์มูลค่าอยู่ที่ 5 แสนล้านบาท โดยหลายอุตสาหกรรมมีการใช้ประโยชน์จากพืชเศรษฐกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การใช้เส้นใย ในกลุ่มสิ่งทอ การใช้สารสกัด ในกลุ่มเครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน