น ำยาน ำยาเปอร ออกไซด ม ลต ข-เซอร เฟส คล นเนอร

ค้นหาตำแหน่งงานว่าง

ประเภทงาน

จังหวัด

เขต/อำเภอ (เลือกจากรหัสไปรษณีย์)

คำที่เกี่ยวข้อง ลงทะเบียนฝากประวัติ สมัครงาน เข้าระบบคนหางาน หางาน งานมาใหม่วันนี้

ค้นประวัติ หาคนทำงาน

สาขาอาชีพ / สาขาที่จบ

ประเภทงานที่อยากทำ

เพศ

ระดับการศึกษา

จังหวัด

เขต/อำเภอ

คำที่เกี่ยวข้อง

ลงประกาศรับสมัครงาน อัตราค่าโฆษณา

ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งซึ่งเป็นถิ่นที่ไวรัสตับอักเสบบีระบาดมาก โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงนับว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ จากหลักฐานการศึกษาในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดมะเร็งตับ ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทย

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี สามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง โดยสามารถรับเชื้อได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • การใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู
  • การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน ที่ตัดเล็บร่วมกัน
  • การติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ (ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90%)
  • การถูกเข็มตำจากการทำงาน
  • การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล

อย่างไรก็ดี เชื้อนี้จะไม่ติดต่อกันทางลมหายใจ อาหารหรือน้ำดื่ม การให้นม และการจูบกัน (ถ้าปากไม่มีแผล)

  • ตรวจเลือดประเมินดู HBeAg และ HBeAb ซึ่งเป็นตัวที่บ่งบอกว่าโรคอยู่ในระยะที่ไวรัสกำลังแบ่งตัวหรือผ่านระยะที่ไวรัสแบ่งตัวไปแล้ว
  • ตรวจ ALT (alanine aminotransferase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่อยู่ในเซลล์ตับ ถ้าค่าอยู่ในระดับปกติให้ติดตาม ALT ทุก 3-6 เดือน
  • ในกรณีที่ HBeAg เป็นลบแต่ผู้ป่วยมี ALT ผิดปกติ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ เช่น ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี มีภาวะตับแข็งและมะเร็งตับในครอบครัว ตรวจร่างกายพบลักษณะของการมีโรคตับเรื้อรัง ALT อยู่ในเกณฑ์มากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าปกติ อัลตราซาวนด์มีลักษณะผิดปกติของตับ ควรตรวจดูปริมาณไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

  1. ระยะเฉียบพลัน
  2. ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ดังนี้
    • อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา
    • อาการอื่นๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ
  3. ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้
  4. อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
  5. ระยะเรื้อรัง
  6. ระยะเรื้อรังแบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้นก่อนแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีก่อน
    • ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
  7. ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารได้
  8. การติดเชื้อแบบเรื้อรังพบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด
  • เจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ (liver function test)
  • เจาะเลือดตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    • HBsAg (แอนติเจนไวรัสตับอักเสบบี): ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยกำลังมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
    • Anti-HBS (ภูมิคุ้มกันต่อ HBsAg): ให้ผลบวก แปลว่า ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและหายจากโรคแล้ว ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันจึงไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น และไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอีก
    • การวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ต้องเจาะเลือดตรวจซ้ำอีกครั้งที่ 6 เดือนหลังจากวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน หากพบว่าร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ จึงจะวินิจฉัยว่าเป็น “โรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
  • การตัดชิ้นเนื้อจากตับไปตรวจ แพทย์จะใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังเพื่อเก็บชิ้นเนื้อจากตับ การตรวจนี้ไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกราย ทำเฉพาะในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังที่ต้องการติดตามการดำเนินไปของโรค เช่น ต้องการทราบภาวะพังผืดในตับและการอักเสบของเซลล์ตับ ซึ่งจะมีผลในการเริ่มต้นการรักษา หรือสงสัยมะเร็งตับ เป็นต้น

ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีที่สมควรได้รับการรักษา ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีลักษณะดังนี้

  • HBsAg ให้ผลบวกเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
  • มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าไวรัสกำลังมีการแบ่งตัวอย่างมาก คือ
    • HBeAg เป็นบวก ปริมาณไวรัสมากกว่าหรือเท่ากับ 20,000 IU/ml
    • HBeAg เป็นลบ ปริมาณไวรัสมากกว่าหรือเท่ากับ 2,000 IU/ml
  • ระดับ ALT มากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เท่าของค่าปกติอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน (ยกเว้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีหลักฐานว่ามีตับแข็งหรือภาวะตับวาย พิจารณาให้การรักษาถึงแม้จะมี ALT ปกติ ไม่จำเป็นต้องรอห่างกันเกิน 3 เดือน)
  • ต้องไม่มีโรคอื่นที่เป็นสาเหตุหลักของตับอักเสบ

ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่มี HBeAg เป็นบวกหรือเป็นลบ สามารถเลือกใช้ยาได้ทุกขนาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค แพทย์จะเป็นผู้อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงประโยชน์และข้อจำกัดของยาแต่ละชนิดเพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสร่วมในการตัดสินใจเลือกชนิดการรักษา โดยยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในปัจจุบันมีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน

สำหรับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการรักษา หรืออยู่ในช่วงที่ไวรัสไม่มีการแบ่งตัว ยังไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส แต่ควรได้รับการติดตาม ALT เป็นระยะๆ ทุกๆ 3-6 เดือน ก่อนที่ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังจะได้รับการรักษา ควรได้รับการประเมินและแนะนำอย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงภาวะของโรค โรคร่วม ข้อจำกัด หรือข้อห้ามในการใช้ยา การปฏิบัติตัว ค่าใช้จ่ายในการรักษา และการติดตามระยะยาว

ขณะรักษาผู้ป่วยควรได้รับการตรวจระดับ ALT อย่างน้อยทุก 3 เดือน และ HBeAg อย่างน้อยทุก 6 เดือน ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดควรได้รับการตรวจทุก 2 สัปดาห์ในช่วง 1-2 เดือนแรก หลังจากนั้นทุก 4-6 สัปดาห์ จนสิ้นสุดการรักษาเพื่อดูอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยา ซึ่งรวมถึงการตรวจนับเม็ดเลือด การตรวจการทำงานของไทรอยด์ และอาการข้างเคียงอื่นๆ ในผู้ป่วยที่ได้รับยารับประทานควรตรวจการทำงานของไตและระดับฟอสฟอรัสในเลือดร่วมด้วย

ภายหลังสิ้นสุดการรักษา ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามเช่นเดียวกับขณะให้การรักษา ซึ่งรวมถึงการตรวจ ALT ทุก 3 เดือนและ HBeAg/HBeAb (ในกรณีที่ผู้ป่วย HBeAg เป็นบวก) ปริมาณไวรัส อย่างน้อยทุก 6 เดือน ในผู้ป่วยที่การรักษาได้ผลดี คือ หลังหยุดการรักษาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนยังมีระดับ ALT ปกติ และมีระดับปริมาณไวรัสต่ำกว่า 2,000 IU/ml และควรติดตามต่อทุก 6 เดือน

ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีกลับซ้ำหรือไม่ได้ผลจากการรักษา ควรติดตามทุก 3-6 เดือน

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.65 of 10,จากจำนวนคนโหวต 545 คน

Related Health Blogs

ไวรัสตับอักเสบถือเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยอีกโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยโอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย

ไวรัสตับอักเสบเอไวรัสตับอักเสบซีไวรัสตับอักเสบดีไวรัสตับอักเสบบีไวรัสตับอักเสบอี

อ่านเพิ่มเติม

ในประเทศไทยพบว่าโรคไวรัสตับอักเสบบี มีอัตราการระบาดค่อนข้างสูง ซึ่งไวรัสตับอักเสบบีอาจทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็งและมะเร็งตับได้

ไวรัสตับอักเสบไวรัสตับอักเสบบี

อ่านเพิ่มเติม

แม้ปัจจุบันวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ก็มีคนไทยกว่า 9 ล้านคน และอีกหลายล้านคนทั่วโลกที่มีเชื้อไวรัสอยู่ในตัว คุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือไม่

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน