ท ต งและสภาพภ ม ศาสตร ของทว ปแอฟร กา

ประมาณ 2 ใน 3 ของเนื้อที่ทวีปทั้งหมด เป็นที่ราบสูง พื้นทีที่เป็นที่ราบลุ่มมีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแคบๆ ตามบริเวณชายฝั่ง ตามลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาพอจะแบ่งภูมิประเทศของทวีปแอฟริกาออกได้ 5 เขตใหญ่ คือ

1. เขตภูเขาภาคเหนือ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป ในพื้นที่ประเทศโมร๊อกโก แอลจีเรีย และตูนีเซีย มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูง ซึ่งเป็นเทือกเขาเกิดใหม่ เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส มียอกเขาสูงที่สุดคือ ทูบคาล (MT. TUBKAL) 2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ๆ 4 สาย คือที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ อยู่ทางตอนเหนือของทวีป ซึ่งไหลผ่านประเทศซูดาน และประเทศสาธารณรัฐอาหรับที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ อยู่ทางตะวันตกของทวีป ซึ่งไหลผ่านประเทศมาลี ประเทศสาธารณรัฐอาหรับที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก อยู่ทางตอนกลางของปทวี ในเขตศูนย์สูตร อยู่ในประเทศคองโกที่ราบลุ่มแม่น้ำเบซี อยู่ทางตอนใต้ของทวีป ซึ่งไหลผ่านประเทศแซมเบีย ประเทศโรดีเซียใต้ และประเทศโมซัมบิก 3. เขตเทือกเขาและที่ราบสูงทางตะวันออก ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา เป็นบริเวณที่มีความสูงมากที่สุดลักษณะพื้นที่ทั่วๆ ไปเป็นที่ราบสูงและมีภูเขาสูงๆ ภูเขาส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว มียอดเขาสูง เช่น เทือกเขาคิลิมาจาโร(MTS. KILIMANJARO) ในประเทศแทนแกนยิกา เป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในทวีป มียอดสูงสุดชื่อว่า ยอดเขาคีนยา (KENYA) ซึ่งมีหิมะปกคลุมตลอดปี เนื่องจากมีระดับความสูงอยู่ในแนวหิมะ (SNOW LINE) ในเขตที่ราบสูงทางตะวันออกนี้มีทะเลสาบขนาดใหญ่มากมาย ที่สำคัญเช่น ทะเลสาบวิกตอเรีย ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของโลก รองจากทะเลสาบสุพีเรียในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลสาบแทนแกนยิกา ทะเลสาบแอลเบิร์ต ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (RIFT VELLEY) 4. เขตที่ราบสูงและเทือกเขาสูงทางตอนใต้ เป็นที่ราบสูงหินแกรนิต เรียกว่า แรนด์ (THE RAND) หรือวิกวอเตอร์สแรนด์ (WITWATERSRAND) เป็นแหล่งแร่ทองคำที่สำคัญของโลก มีเทือกเขาสูงขนานไปกับฝั่งมหาสมุทรอินเดีย คือ เทือกเขาดราเคนเบิร์ค (DRAKENSBERG MTS.) มียอดเขามองค์ซูกส์ (MONT AUX SOURCES) เป็นยอดสูงสุด ทางด้านตะวันตกเป็นเขตน้ำแห้ง มีทะเลทราย เช่น ทะเลทรายคาลาฮารี (KALAHARI DESERT) และทะเลทรายนานิบ (NAMIB DESERT) ระหว่างที่สูงที่หน้าผาเล็กๆ แยกจากกัน ซึ่งแต่ละส่วนเรียกว่า คาร์รู (KARROO) 5. เขตที่ราบสูงและทะเลทรายทางตะวันตก ได้แก่ที่ราบสูงกว้างใหญ่ ตั้งแต่บริเวรทะเลทรายคาราฮารี จนถึงอ่าวกินี เป็นที่ราบสูงหินเก่า ปกลุ่มด้วยหินและดินตะกอน

//mayandsom.blogspot.com/2014/11/blog-post_5.html

Download

  • Publications :0
  • Followers :0

ภูมิศาสตร์ ม.2 : ทวีปแอฟริกา

ทวีปแอฟริกา

Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!

Create your own flipbook

  • Follow
  • Upload
  • 0
  • Embed
  • Share

ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดงบริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออก และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก เกาะมาดากัสการ์และเกาะเล็กรอบ ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของทวีป แอฟริกาประกอบด้วย 54 รัฐเอกราช 8 ดินแดน และ 2 รัฐที่ยังไม่ถูกยอมรับโดยสหประชาชาติโดยพฤตินัย แอลจีเรียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในทวีป ส่วนไนจีเรียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศในทวีปแอฟริกาได้ร่วมมือกันจัดตั้งสหภาพแอฟริกาขึ้น มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาดดิสอาบาบา

แอฟริกามีเส้นศูนย์สูตรผ่านกลางทวีปและมีเขตภูมิอากาศมากมาย แอฟริกาเป็นทวีปเดียวเท่านั้นที่มีพื้นที่ภูมิอากาศแบบอบอุ่นอยู่ในทั้งซีกโลกเหนือ และซีกโลกใต้ พื้นที่และประเทศส่วนใหญ่ในทวีปจะตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ แต่ก็มีหลายประเทศอยู่ในซีกโลกใต้เช่นกัน แอฟริกามีความหลากหลายทางชีวภาพมาก สามารถพบจำนวนของสัตว์ขนาดใหญ่ได้มากที่สุด เพราะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคควอเทอร์นารีน้อยที่สุด ถึงอย่างนั้นแอฟริกาประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างหนักหลายอย่าง เช่น การขยายตัวของเขตทะเลทราย การทำลายป่า การขาดแคลนน้ำและปัญหาอื่น ๆ มีความกังวลว่าปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทวีปแอฟริกา จากการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่าแอฟริกาเป็นทวีปที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากที่สุด

มีการยอมรับเป็นวงกว้างว่าแอฟริกาโดยเฉพาะในแอฟริกาตะวันออกเป็นถิ่นกำเนิดของมนุษย์และเคลดวงศ์ลิงใหญ่ นั้นหมายความว่าแอฟริกามีประวัติที่ซับซ้อนยาวนาน บรรพบุรุษและต้นกำเนิดของวงศ์ลิงใหญ่ถือกำเนิดขึ้นราว 7 ล้านปีก่อน เช่น ซาเฮลแอนโทรปุสชาเดนซิส, ออสตราโลพิเทคัสแอฟริกานัส, ออสตราโลพิเทคัสอะฟาเรนซิส, โฮโมอิเร็กตัส, โฮโมแฮบิลิส และ โฮโมเออร์แกสเตอร์— โครงกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดของโฮโมซาเปียน (มนุษย์ยุคปัจจุบัน) พบในเอธิโอเปีย แอฟริกาใต้ และ โมร็อกโก โดยมีอายุประมาณ 200,000 ปี, 259,000 ปีและ 300,000 ปีตามลำดับ จึงเชื่อได้ว่าโฮโมซาเปียนถือกำเนินในแอฟริการาว 350,000–260,000 ปีก่อน

อารยธรรมของมนุษย์ในยุคแรก อย่าง อียิปต์โบราณ และฟินิเชียถือกำเนิดในแอฟริกาเหนือ ประวัติศาสตร์อันยาวนานและซับซ้อนของอารยธรรม การค้า และการอพยพ ทำให้แอฟริกามีกลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย ในช่วง 400 ปีที่ผ่านมาอิทธิพลจากยุโรปแพร่เข้ามาในแอฟริกาเป็นอย่างมาก โดยเริ่มตั้งแต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่การค้าและค้าทาสทำให้ชาวแอฟริกันพลัดถิ่นไปอยู่ทวีปอเมริกาเป็นจำนวนมาก ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศในยุโรปเข้ามาล่าอาณานิคมเกือบครบทุกพื้นที่ในทวีปนี้ ชาวยุโรปเข้ามาตักตวงทรัพยากรและหาประโยชน์จากชุมชนในท้องที่ ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาเกิดจากกระบวนการให้เอกราชในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ที่สุดในทวีปแอฟริกา[แก้]

จุดที่สุดในทวีปแอฟริกา สถานที่ รัฐ/ประเทศ จุดเหนือสุด แหลมบองก์ บิเซิร์ท/ตูนิเซีย จุดใต้สุด แหลมอะกะลัส เวสเทิร์นแคป/แอฟริกาใต้ จุดตะวันออกสุด แหลมแฮฟูน พุนต์แลนด์/โซมาเลีย จุดตะวันตกสุด แหลมเวิร์ด ดาการ์/เซเนกัล ยอดเขาที่สูงที่สุด ยอดเขาคีโบ เขาคิลิมันจาโร/แทนซาเนีย เกาะที่ใหญ่ที่สุด เกาะมาดากัสการ์ มาดากัสการ์ แม่น้ำที่ยาวที่สุด แม่น้ำไนล์ อียิปต์ ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุด ทะเลทรายสะฮารา

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปทางตอนเหนือ และมีคลองสุเอซเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียทางตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 – 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์

  1. เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 เขตคือ
    1. เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
    2. เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
  2. ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
    1. เขตทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา (ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายสะฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก
    2. เขตทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบ และทะเลทรายคาลาฮารี
  3. แม่น้ำ
    1. แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    2. แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
    3. แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
    4. แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก

กระแสน้ำในมหาสมุทร[แก้]

  1. กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
  2. กระแสน้ำเย็นกานาเรียส ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง
  3. กระแสน้ำอุ่นกินี ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
  4. กระแสน้ำเย็นเบงเกวลา ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง

ภูมิอากาศ[แก้]

ส่วนใหญ่จะมีทะเลทราย อากาศแห้งแล้ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในทวีป ส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาอยู่บริเวณตอนเหนือ และใต้แนวศูนย์สูตร

  • ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rain-forest Climate) ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางของที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก ชายฝั่งตอนใต้ของที่ราบสูงตะวันตก และด้านตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์
  • ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (Tropical Desert Climate) พบได้ตามแนวเส้นทรอปิกออฟแครนเซอร์ นับตั้งแต่ประเทศมอริเตเนีย มาลี แอลจีเรีย ไนเจอร์ ลิเบีย อียิปต์ ซูดาน และตามแนวเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น บริเวณประเทศแองโกลา นามีเบีย และบอตสวานา ทางภาคเหนือของแอฟริกามีทะเลทรายกว้างใหญ่ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา ทะเลทรายลิเบีย และทะเลทรายนูเบียส่วนทางภาคใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนูเบีย

การสำรวจ[แก้]

ประเทศในยุโรปชาติแรกที่สำรวจแอฟริกา คือโปรตุเกส และหลังจากนั้นก็ถูกสำรวจโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ ดัตช์ เป็นต้น นักสำรวจที่ยิ่งใหญ่ของแอฟริกามีหลายท่านด้วยกัน นักสำรวจที่รู้จักกันดีคือ ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตน์

เศรษฐกิจ[แก้]

แผนที่กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกา

CEN-SAD

COMESA

EAC

ECCAS

ECOWAS

IGAD

SADC

UMA

แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่แอฟริกากลับเป็นทวีปที่ยากจนและด้อยพัฒนา ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่นการระบาดของโรคร้ายแรง (ได้แก่ โรคเอดส์ และมาลาเรีย) รัฐบาลคอร์รัปชันและละเมิดสิทธิมนุษยชน การที่รัฐบาลขาดการวางแผน ระดับการรู้หนังสือที่ต่ำ การขาดแคลนเงินทุนต่างชาติ และความขัดแย้งระหว่างชนชาติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในรูปของกองโจร ไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จากรายงานการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2004 ประเทศที่อยู่อันดับต่ำสุด 26 ประเทศ (อันดับ 151 ถึง 175) ล้วนเป็นประเทศในทวีปแอฟริกา

ข้อมูลเศรษฐกิจ[แก้]

  • ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปแอฟริกา 10 อันดับแรก 1 อันดับ ประเทศ จีดีพี (ล้าน$) ปี 2014 1
    ไนจีเรีย1,573,999 2
    แอฟริกาใต้350,082 3
    อียิปต์286,538 4
    แอลจีเรีย214,063 5
    แองโกลา131,401 6
    โมร็อกโก110,009 7
    ซูดาน74,766 8
    เคนยา60,937 9
    เอธิโอเปีย54,809 10
    แทนซาเนีย49,115

1 ข้อมูลโดย IMF

  • แสดงตารางประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2 อันดับ (แอฟริกา) ประเทศ ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2009 อันดับ (โลก)

1

อิเควทอเรียลกินี

9,580

52

2

ลิเบีย

9,529

\>53

3

หมู่เกาะเซเชลส์

8,973

56

4

กาบอง

7,468

64

5

มอริเชียส

6,838

68

6

บอตสวานา

6,407

69

7

แอฟริกาใต้

5,824

73

8

นามิเบีย

4,543

83

9

แอลจีเรีย

4,027

91

2 ข้อมูลโดย IMF

การคมนาคมขนส่ง[แก้]

ทวีปแอฟริกายังมีปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าทวีปอื่น ๆ เนื่องจากหลายประเทศขาดเงินทุนที่จะนำมาพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ทันสมัย ประกอบกับทวีปแอฟริกามีลักษะภูมิประเทศและมีลักษณะภูมิสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่ง เช่น มีเขตทะเลทรายที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพื้นที่ลุ่มและป่าดิบที่กว้างใหญ่ และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและภูเขา การคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกาจึงใช้วิธีการดั้งเดิมกันทั่วไป

ทางน้ำ[แก้]

แม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำที่มีบทบาทสำคัญในการคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกาต่อเนื่องกันหลายศตวรรษ แต่ละปีมีเรือชนิดต่างๆล่องขึ้นลงตามแม่น้ำไนล์มากกว่า 13000 ลำ ในอดีตมีการใช้เรือใบแล่นขึ้นตามแม่น้ำไนล์ เนื่องจากมีลมพัดขึ้นเหนือและลงใต้สลับกันตามฤดูกาล ส่วนคลองสุเอซ เป็นเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมระหว่างทะเล เมดิเตอร์เรเนียนทางเหนือ และทะเลแดงทางใต้ คลองมีความยาว 163 กิโลเมตรและกว้าง 60 เมตร คลองสุเอซทำให้การเดินเรือระหว่างทวีปยุโรปและเอเชียสะดวกรวดเร็วขึ้น

ทางอากาศ[แก้]

ทวีปแอฟริกามีสายการบินที่ใช้ติดต่อกันทั้งระหว่างประเทศภายในทวีป และระหว่างทวีป ประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่ดีในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย เคนยา ไนจีเรีย และกานา ศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ไคโร ประเทศอียิปต์, เลกอส ประเทศไนจีเรีย, โจฮันเนสเบิร์ก และเคปทาวน์ประเทศแอฟริกาใต้

ประชากร[แก้]

จำนวนประชากร[แก้]

ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละประเทศของทวีปแอฟริกา

ทวีปแอฟริกามีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย รองลงมาคือ ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูง ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 30.5 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร (2552)

เชื้อสายของประชากร[แก้]

  1. นิกรอยด์ หรือเรียกว่า แอฟริกันนิโกร เป็นชนกลุ่มใหญ่สุดของทวีป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
    • บันตู อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก กลาง และใต้ เช่น เผ่าคิคูยู วาตูซี มาไซ
    • ซูดานนิโกร อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตกและทะเลทรายสะฮารา
    • ปิกมี บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก
    • บุชแมนและฮอตเทนทอต บริเวณทะเลทรายคาลาฮารี
  2. คอเคซอยด์ มาจากคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในแถบอียิปต์และซูดาน จากชาวยุโรปบริเวณแหลมกู๊ดโฮป และตอนเหนือของทวีป

ภาษา[แก้]

ทวีปแอฟริกามีภาษาพูดมากกว่า 1,000 ภาษา เนื่องจากทวีปแอฟริกามีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ และแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 4 กลุ่ม

  • กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือและบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก
  • กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา ตั้งแต่ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกไปทางตะวันออกถึงประเทศแทนซาเนีย
  • กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ของทวีปแอฟริกา กลุ่มภาษาบันตูมีหลายภาษา เช่น ภาษาซูลู สวาฮิลี
  • กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา กลุ่มภาษาเฮาซามีหลายภาษา เช่น ภาษาฟูลานี แมนดา คะวา

ขนาดพื้นที่[แก้]

ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณ 30,400,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็น 3 เท่าของทวีปยุโรป และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด คือ แอลจีเรีย (2,344,872 ตารางกิโลเมตร), สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (2,322,163 ตารางกิโลเมตร) และซูดาน (1,760,000 ตารางกิโลเมตร) ตามลำดับ

ในแง่ภูมิภาค ภูมิภาคที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดคือ แอฟริกาเหนือ (8,533,021 ตารางกิโลเมตร) ส่วนภูมิภาคที่มีขนาดพื้นที่น้อยที่สุดคือ แอฟริกาใต้ (3,083,998 ตารางกิโลเมตร)

ประวัติศาสตร์[แก้]

การแบ่งภูมิภาค[แก้]

ทวีปแอฟริกาสามารถแบ่งได้ 5 ภูมิภาคใหญ่ ๆ ดังนี้

การแบ่งภูมิภาคของทวีปแอฟริกา
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอฟริกา
แผนที่ทวีปแอฟริกา ภูมิภาค ลำดับ ประเทศ พื้นที่ (กม.2) ประชากร (2563) ความหนาแน่น

แอฟริกาเหนือ

ประเทศ

1

ตูนิเซีย 155,360 11,818,619 76

2

โมร็อกโก 446,300 36,910,560 83

3

ลิเบีย 1,759,540 6,310,434 4

4

อียิปต์ 995,450 102,334,404 103

5

แอลจีเรีย 2,344,872 43,851,044 18

ดินแดน

1

กานาเรียส (สเปน) 7,447 2,175,952 292

2

เซวตา (สเปน) 18.5 84,202 4,210

3

มาเดรา (โปรตุเกส) 801 251,060 (2564) 313

4

เมลียา (สเปน) 12.3 87,076 7,256.3

5

เวสเทิร์นสะฮารา 266,000 597,339 2

สถิติ

6,012,669 204,420,690 34.0

แอฟริกากลาง

1

กาบอง 257,670 2,225,734 9

2

แคเมอรูน 472,710 26,545,863 56

3

ชาด 1,259,200 16,425,864 13

4

เซาตูแมอีปริงซีป 960 219,159 228

5

สาธารณรัฐคองโก 341,500 5,518,087 16

6

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม) 2,322,163 89,561,403 40

7

ประเทศแอฟริกากลาง 622,980 4,829,767 8

8

อิเควทอเรียลกินี 28,050 1,402,985 50

9

แองโกลา 1,246,700 32,866,272 26

สถิติ

6,496,820 179,595,134 27.64

แอฟริกาใต้

1

นามิเบีย 823,290 2,540,905 3

2

บอตสวานา 566,730 2,351,627 4

3

เลโซโท 30,360 2,142,249 71

4

เอสวาตินี 17,200 1,160,164 67

5

แอฟริกาใต้ 1,213,090 59,308,690 49

6

ซิมบับเว 386,850 14,862,924 38

สถิติ

3,037,520 82,366,559 27.12

แอฟริกาตะวันออก

ประเทศ

1

บุรุนดี 25,680 11,890,784 463

2

คอโมโรส 1,861 869,601 467

3

จิบูตี 23,180 988,000 43

4

เอริเทรีย 101,000 3,546,421 35

5

เอธิโอเปีย 1,000,000 114,963,588 115

6

เคนยา 569,140 53,771,296 94

7

มาดากัสการ์ 581,795 27,691,018 48

8

มาลาวี 94,280 19,129,952 203

9

มอริเชียส 2,030 1,271,768 626

10

โมซัมบิก 786,380 31,255,435 40

11

รวันดา 24,670 12,952,218 525

12

ซูดาน 1,765,048 43,849,260 25

13

ซูดานใต้ 610,952 11,193,725 18

14

เซเชลส์ 460 98,347 214

15

โซมาเลีย 627,340 15,893,222 25

16

แทนซาเนีย 885,800 59,734,218 67

17

ยูกันดา 199,810 45,741,007 229

18

แซมเบีย 743,390 18,383,955 25

ดินแดน

1

มายอต (ฝรั่งเศส) 375 272,815 728

2

เรอูว์นียง (ฝรั่งเศส) 2,500 895,312 358

สถิติ

8,045,691 474,391,942 58.96

แอฟริกาตะวันตก

ประเทศ

1

เบนิน 112,760 12,123,200 108

2

บูร์กินาฟาโซ 273,600 20,903,273 76

3

กาบูเวร์ดี 4,030 555,987 138

4

โกตดิวัวร์ 318,000 26,378,274 83

5

แกมเบีย 10,120 2,416,668 239

6

กานา 227,540 31,072,940 137

7

กินี 245,720 13,132,795 53

8

กินี-บิสเซา 28,120 1,968,001 70

9

ไลบีเรีย 96,320 5,057,681 53

10

มาลี 1,220,190 20,250,833 17

11

มอริเตเนีย 1,030,700 4,649,658 5

12

ไนเจอร์ 1,266,700 24,206,644 19

13

ไนจีเรีย 910,770 206,139,589 226

14

เซเนกัล 192,530 16,743,927 87

15

เซียร์ราลีโอน 72,180 7,976,983 111

16

โตโก 54,390 8,278,724 152

ดินแดน

1

เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา (สหราชอาณาจักร) 390 6,077 16

สถิติ

6,064,060 401,861,254 66.27

รวมสถิติสูงสุด

29,656,760 1,342,635,579 45.27

อ้างอิง[แก้]

  • ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  • "GDP PPP, current prices". International Monetary Fund. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  • "GDP Nominal, current prices". International Monetary Fund. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  • "Nominal GDP per capita". International Monetary Fund. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  • Gordon Conwell Theological Seminary, African Christianity, 2020
  • Sayre, April Pulley. (1999) Africa, Twenty-First Century Books. ISBN 0-7613-1367-2.
  • Swanson, Ana (17 August 2015). "5 ways the world will look dramatically different in 2100". The Washington Post.
  • Harry, Njideka U. (11 September 2013). "African Youth, Innovation and the Changing Society". Huffington Post.
  • Janneh, Abdoulie (April 2012). "item,4 of the provisional agenda – General debate on national experience in population matters: adolescents and youth" (PDF). United Nations Economic Commission for Africa. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  • ↑ Collier, Paul; Gunning, Jan Willem (1999-08-01). "Why Has Africa Grown Slowly?". Journal of Economic Perspectives (ภาษาอังกฤษ). 13 (3): 3–22. doi:10.1257/jep.13.3.3. ISSN 0895-3309.
  • Fwatshak, S. U. (2014). "The Cold War and the Emergence of Economic Divergences: Africa and Asia Compared". Contemporary Africa. Springer. pp. 89–125. doi:10.1057/9781137444134_5. ISBN 978-1-349-49413-2.
  • Austin, Gareth (2010-03-01). "African Economic Development, and Colonial Legacies". International Development Policy | Revue internationale de politique de développement (ภาษาอังกฤษ) (1): 11–32. doi:10.4000/poldev.78. ISSN 1663-9375.
  • Dunning, Thad (2004). "Conditioning the Effects of Aid: Cold War Politics, Donor Credibility, and Democracy in Africa". International Organization. 58 (2): 409–423. doi:10.1017/S0020818304582073. ISSN 0020-8183. JSTOR 3877863.
  • Alemazung, J. (2010). "Post-Colonial Colonialism: An Analysis of International Factors and Actors Marring African Socio-Economic and Political Development". undefined (ภาษาอังกฤษ). S2CID 140806396. สืบค้นเมื่อ 2020-11-12.
  • Bayeh, E. (2015). "THE POLITICAL AND ECONOMIC LEGACY OF COLONIALISM IN THE POST-INDEPENDENCE AFRICAN STATES". www.semanticscholar.org (ภาษาอังกฤษ). S2CID 198939744. สืบค้นเมื่อ 2020-11-12.
  • "Africa. General info". Visual Geography. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2011. สืบค้นเมื่อ 24 November 2007.
  • Schneider, S.H.; และคณะ (2007). "19.3.3 Regional vulnerabilities". ใน Parry, M.L.; และคณะ (บ.ก.). Chapter 19: Assessing Key Vulnerabilities and the Risk from Climate Change. Climate change 2007: impacts, adaptation, and vulnerability: contribution of Working Group II to the fourth assessment report of the Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). Cambridge University Press (CUP): Cambridge, UK: Print version: CUP. This version: IPCC website. ISBN 978-0-521-88010-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-09-15.
  • Niang, I., O.C. Ruppel, M.A. Abdrabo, A. Essel, C. Lennard, J. Padgham, and P. Urquhart, 2014: Africa. In: Climate Change 2014: Impacts, Adaptation, and Vulnerability. Part B: Regional Aspects. Contribution of Working Group II to the Fifth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change [Barros, V.R., C.B. Field, D.J. Dokken et al. (eds.)]. Cambridge University Press, Cambridge, United Kingdom and New York, NY, USA, pp. 1199–1265. //www.ipcc.ch/site/assets/uploads/2018/02/WGIIAR5-Chap22_FINAL.pdf
  • "Homo sapiens: University of Utah News Release: 16 February 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2007.
  • Schlebusch, Carina M; Malmström, Helena; Günther, Torsten; Sjödin, Per; Coutinho, Alexandra; Edlund, Hanna; Munters, Arielle R; Vicente, Mário; Steyn, Maryna; Soodyall, Himla; Lombard, Marlize; Jakobsson, Mattias (2017). "Southern African ancient genomes estimate modern human divergence to 350,000 to 260,000 years ago". Science. 358 (6363): 652–655. Bibcode:2017Sci...358..652S. doi:10.1126/science.aao6266. PMID 28971970.
  • Sample, Ian (7 June 2017). "Oldest Homo sapiens bones ever found shake foundations of the human story". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
  • Zimmer, Carl (10 September 2019). "Scientists Find the Skull of Humanity's Ancestor — on a Computer – By comparing fossils and CT scans, researchers say they have reconstructed the skull of the last common forebear of modern humans". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
  • Mounier, Aurélien; Lahr, Marta (2019). "Deciphering African late middle Pleistocene hominin diversity and the origin of our species". Nature Communications. 10 (1): 3406. Bibcode:2019NatCo..10.3406M. doi:10.1038/s41467-019-11213-w. PMC 6736881. PMID 31506422. Richard Sandbrook, The Politics of Africa's Economic Stagnation, Cambridge University Press, Cambridge, 1985. ISBN 978-0511-55893-1.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน