ถ.ราชดำเน น ซ.สบเด ม ต.ในเม อง อ.เม อง จ.นครศร ธรรมราช

หอพระสูง หรือพระวิหารสูง เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งในเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือ บริเวณสนามหน้าเมือง ใกล้ศาลหลักเมือง ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช หอพระสูง หรือพระวิหารสูง เรียกชื่อตามลักษณะของการก่อสร้างของพระวิหาร ซึ่งสร้างบนเนินดินที่ขุดจากคลองควน สูงกว่าพื้นปกติถึง 2.10 เมตร ด้านหน้าทางเข้าเป็นบันไดทางขึ้น เลียนแบบตามคติจีนลัทธิเต๋า เป็นพุทธสถานผสมผสานกับเทวสถานหอกราบไหว้ฟ้าดิน ของจักรพรรดิหรือฮ่องเต้หรือกษัตริย์ ซึ่งเปรียบว่าเป็นโอรสสวรรค์ ภายในหอพระสูง (พระวิหารสูง) ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย พระพุทธรูปปูนปั้นแกนดินเหนียว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 23–24 หรือในสมัยอยุธยาตอนปลาย (สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช. (2562). โบราณสถานหอพระสูง (พระวิหารสูง). //www.facebook.com/nakonsrifad14/posts/530001227599463/

โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษเปิดสอนทั้งในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2461 ณ วัดท่ามอญ (ศรีทวี) โดยมีพระครูเหมเจติยานุรักษ์ (ห้องกิ้ม วุฑฺฒิกโร) สมณศักดิ์เดิมคือ “พระครูศรีสุธรรมรัต” เจ้าอธิการวัดท่ามอญเป็นผู้อุปการะ ต่อมาได้ยกระดับเป็น โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช และย้ายมายังที่ปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2478 มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ในปัจจุบัน โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชยืนหยัดอยู่อย่างสง่างามคู่นครศรีธรรมราชมามากกว่า 105 ปี สร้างสรรค์คุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ต่อเยาวชน สังคม ประเทศชาติ มาจนถึงปัจจุบันและยังเป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสอบเข้าสูงที่สุดเป็นอันดับ1ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติโรงเรียน[แก้]

ภาพมุมสูงทำให้เห็นอาคารอึ่งค่ายท่ายในอดีต

เดิมโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชแห่งนี้เป็นโรงเรียนหญิงล้วนซึ่งอยู่คู่กับโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช (ซึ่งเป็นโรงเรียนชายล้วน) เป็นเวลามาช้านาน ประจำ มณฑลนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นได้ปรับเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสหศึกษา

จากอดีตถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2461 ถึงปัจจุบัน โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ยืนหยัดอยู่คู่กับจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลายาวนานกว่า 100 ปี เป็นเวลาแห่งความองอาจ สง่างาม และการบำเพ็ญกรณีย์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่ต่อการสร้างสรรค์ และพัฒนาประเทศชาติ

หากจะแบ่งช่วงของประวัติศาสตร์และความเจริญก้าวหน้าของโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช สามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุคคือ

ยุคบุกเบิก[แก้]

ก่อนจะมาเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช และ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ในปัจจุบันโรงเรียนได้เริ่มก่อตั้ง และมีวิวัฒนาการมาตามลำดับดังนี้

พ.ศ. 2461 แผนกสตรีของโรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เปิดสอนอยู่ที่วัดท่ามอญ (วัดศรีทวี) ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีพระครูศรีสุธรรมรัต (ห้องกิ้ม วุฑฺฒิงกโร) เจ้าอธิการวัดเป็นผู้อุปการะหรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมูลชั้นประถมปีที่1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังที่ปรากฏข้อมูลในประวัติวัดศรีทวีว่า "พระครูศรีสุธรรมรัต หรือ พระครูเหมเจติยานุรักษ์ (ห้องกิ้ม วุฑฺฒึงกโร) ในสมัยของท่านนี้ ท่านได้พัฒนาสร้างความเจริญให้กับวัดท่ามอญ เช่น อุโบสถ กุฎีที่พักสงฆ์ และที่สำคัญได้สร้างโรงเรียนวัดท่ามอญเพื่อให้เด็กผู้หญิงได้ศึกษาเล่าเรียนเช่นเดียวกับเด็กผู้ชาย ซึ่งเด็กผู้ชายได้เรียนที่วัดท่าโพธิ์ และโรงเรียนวัดท่ามอญในครั้งนั้นเป็นที่มาของโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชในปัจจุบันนี้ โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ในครั้งนั้นเป็นที่มาขอโรงเรียนเบญจมราชูทิศในปัจจุบันนี้ "

พ.ศ. 2468 เริ่มเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และได้ขยายถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีต่อๆมา ในระดับนี้รับเฉพาะนักเรียนหญิง

พ.ศ. 2473 มีใบบอก (หนังสือราชการ) ที่219/1550 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2473 จากรองอำมาตย์เอกขุนดำรงเทวฤทธิ์ (เรือง โรจนหัสดิน) ถึงมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีธรรมราช ชาติเดโชชัย มไหศุริยาธิบดี พิริยพาหะ (ทองคำ กาญจนโชติ) สมุหเทศภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช เรื่องการแยกโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดออกเป็น 3 โรงเรียน และมีครูใหญ่ 3 คน สาระสำคัญของใบบอกนี้มีว่า โรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัด นครศรีธรรมราชตามทำเนียบในขณะนั้น มีอยู่ 3 แผนก คือ แผนกชาย แผนกสตรี และแผนกช่างถม แต่มีครูใหญ่เพียงคนเดียว ทำให้การควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง มีความบกพร่องเกิดขึ้นในทางราชการ ดังนั้น จึงขอเสนอเพื่อแยกโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดออกเป็น 3 โรงเรียนคือ

1. โรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช (เบญจมราชูทิศ) ให้รองอำมาตย์ตรีมี จันทร์เมือง เป็นครูใหญ่

2. โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้นายคลิ้ง ขุนทรานนท์ เป็นครูใหญ่

3. โรงเรียนประถมวิสามัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชให้นายกลั่น จันทรังษี เป็นครูใหญ่

ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2473 คำเสนอขอแยกโรงเรียนนี้ ได้รับอนุมัติจากอำมาตย์โทพระยาวิฑูรย์ดรุณกร (วารี ชิตวารี) ธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2473 (ตามตราสิงห์ยืนแท่นที่ 64/382 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2473) ส่งผลให้แผนกสตรีของโรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แยกเป็น “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” นับแต่นั้นมา โดยมีนายคลิ้ง ขุนทรานนท์ เป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2478 โรงเรียนได้แยกชั้นเรียน คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6ให้ย้ายมาเรียนยังเลขที่ 660 ถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมือง ตรงข้ามสนามหน้าเมือง ใกล้กับบริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน โดยใช้เรือนไม้ 3 หลังเรียกว่า "พลับพลา" เป็นสถานที่เรียน (พลับพลานี้คือ ที่พักของผู้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต

ยุคก่อร่างสร้างตัว[แก้]

พ.ศ. 2480 เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกุรมะ) ข้าหลวงประจำจังหวัด พร้อมด้วย ขุนบูรณวาท (พร้อย ณ นคร) ธรรมการจังหวัด และหลวงอถรรปกรณ์โกศล อัยการจังหวัด ได้ขอความอนุเคราะห์จากคหบดีเจ้าของเหมืองแร่ที่อำเภอร่อนพิบูลย์ ชื่อนายอึ่งค่ายท่าย แซ่อึ่ง บริจาคเงินเพื่อสร้างอาคารเรียนให้โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด ซึ่งท่านได้บริจาคเป็นจำนวน 30,000 บาท สมทบกับเงินงบประมาณของกระทรวงธรรมการ 12,000 บาท รวมค่าก่อสร้าง 42,000 บาท การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 อาคารเรียนหลังนี้ชื่อว่า "อาคารอึ่งค่ายท่าย" เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนที่ภูมิฐานสง่างาม มาตราบจนปัจจุบัน

พ.ศ. 2490 โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนเปิดรับนักเรียนชั้นเตรียมอักษรศาสตร์ ปีที่ 1 และ ปีที่ 2 ในปีถัดมา สมัยนั้น เรียกว่า ม.7 และ ม.8

อาคารอึ่งค่ายท่ายในปัจจุบัน(ก่อนมีการสร้างโดมกลางแจ้ง)

พ.ศ. 2495 กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อจาก“โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช” เป็น “โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช” เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-8

พ.ศ. 2503 ได้สร้างอาคารเรียนหลังที่ 2 พ.ศ. 2505 เริ่มรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.ศ.1) ตามหลักสูตรพุทธศักราช 2503

ยุคก้าวไกล[แก้]

พ.ศ. 2511 ได้รับพิจารณาให้เป็นโรงเรียนในโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.)

พ.ศ. 2519 รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) รับแบบ สหศึกษา และได้ที่ดินอันเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราชเดิม เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน จึงแยกออกเป็น 2 บริเวณ เรียกว่า กณ.1 และ กณ.2

หลังจากนั้นโรงเรียนก็ได้รับงบประมาณปรับปรุง สร้างอาคารเรียนหลายอาคารเพิ่มขึ้น

ขนาดโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชตั้งอยู่ ณ 660 ถ.ราชดำเนิน ต.คลัง อ.เมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

  • ทิศตะวันตกอยู่ตรงข้ามกับสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช
  • ทิศตะวันออกติดกับถนนศรีปราชญ์
  • ทิศเหนืออยู่ตรงข้ามกับ โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช "ณ นครอุทิศ"
  • ทิศใต้ ติดกับศาลาประดู่หก

โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง

  • ฝั่งก.ณ.1 มีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา
  • ฝั่งก.ณ.2 มีเนื้อที่ ประมาณ 5 ไร่เศษ

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

นับแต่ปี พ.ศ. 2466 เป็นต้นมา โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารมาแล้ว ดังนี้

ลำดับ ตำแหน่ง รายนามผู้บริหาร วาระการดำรงตำแหน่ง 1. ครูใหญ่ นายเลื่อน ทองธวัช พ.ศ. 2466 2. ครูใหญ่ นายมี จันทร์เมือง (พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2473) 3. ครูใหญ่ นายคลิ้ง ขุนทรานนท์ พ.ศ. 2473 4. ครูใหญ่ นางสาวอัมพร เผื่อนพงษ์ (พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2476) 5. ครูใหญ่ นางสาวซ่วนจู้ อุ่ยสกุล (พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2477) 6. อาจารย์ใหญ่ นางภูเก็ต อาจอนามัย (พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2483) 7. อาจารย์ใหญ่ นางนวลละออ ลีละพันธ์ (พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2512) 8. อาจารย์ใหญ่ นางสุวนีย์ ตันตยาภรณ์ (พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2518) 9. ผู้อำนวยการ นางสาวเสาวลักษณ์ ศรีวัชรินทร์ (พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2526) 10. ผู้อำนวยการ นางกรองทอง ด้วงสงค์ (พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2535) 11. ผู้อำนวยการ นางอรุณ นนทแก้ว (พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536) 12. ผู้อำนวยการ นายสวงค์ ชูกลิ่น (พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2541) 13. ผู้อำนวยการ นายวิญญู ใจอารีย์ (พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543) 14. ผู้อำนวยการ นายอนันต์ สุนทรานุรักษ์ (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2547) 15. ผู้อำนวยการ นายอุส่าห์ ศิวาโมกข์ (พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2552) 16. ผู้อำนวยการ นายสุพจน์ อภิศักดิ์มนตรี (พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2557) 17. ผู้อำนวยการ นายประดับ แก้วนาม (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559) 18. ผู้อำนวยการ ดร.ส.สมบัติ มีสุนทร (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2563) 19. ผู้อำนวยการ นายสง่า นาวารัตน์ (พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)

โบราณสถานสำคัญประจำโรงเรียน[แก้]

อนุสรณ์สถานศรีปราชญ์[แก้]

อนุสรณ์สถานศรีปราชญ์ ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ฝั่งก.ณ.1 ประกอบด้วยสระล้างดาบศรีปราชญ์และอนุสาวรีย์ศรีปราชญ์

สระล้างดาบศรีปราชญ์ถือกันตามตำนานว่าเป็นอนุสรณ์การตายของศรีปราชญ์ ผู้เป็นกวีเอกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกเนรเทศมาอยู่ ณ เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเกิดมีความขัดเคืองใจแก่เจ้านครศรีธรรมราช จึงถูกสั่งประหาร หลังจากประหารศรีปราชญ์แล้วเพชฌฆาตได้นำดาบมาล้างที่สระแห่งนี้ เล่ากันว่าแต่เดิมสระล้างดาบมีขนาดใหญ่มากคือตั้งแต่บริเวณหลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดปัจจุบัน จนถึงหลังโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช แต่ต่อมาเกิดความตื้นเขิน และบางส่วนทางเทศบาลจำเป็นต้องถมเพื่อตัดถนน จึงเหลือให้เห็นเพียงสระที่อยู่ในเขตโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ขุนอาเทศคดี ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองนครได้แย้งว่า สระดังที่กล่าวนั้นหาใช้สระล้างดาบศรีปราชญ์ไม่ หากเป็นสระที่ขุดขึ้นใหม่ในพ.ศ. 2448 เพื่อให้เจ้านายฝ่ายในที่ยังทรงพระเยาว์ได้พายเรือเล่น ทั้งยังได้ยืนยันว่า สระล้างดาบศรีปราชญ์แท้จริงนั้น อยู่บริเวณหลังศาลาประดู่หก แต่ในปี พ.ศ. 2476 ถูกถมเพื่อสร้างที่ทำการและที่พักข้าหลวงภาค 8ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ตั้งบ้านพักประมงจังหวัด และศูนย์จักรกลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

ด้วยความที่สระล้างดาบศรีปราชญ์บริเวณโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช เป็นเพียงสถานที่เดียวในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์การประหารชีวิตศรีปราชญ์ในครั้งนั้น ประกอบกับการที่ชาวกัลยาณีศรีธรรมราชและชาวเมืองนครศรีธรรมราช ให้ความเคารพสักการะศรีปราชญ์ ว่าเป็นบรมครูแห่งกานท์กลอนคนหนึ่งของประเทศ จึงทำให้ทุกองค์กรในโรงเรียน และจังหวัด เห็นพ้องต้องกันว่าสมควรสร้างอนุสาวรีย์ศรีปราชญ์ จึงร่วมกันประสานงานเพื่อจัดสร้างอนุสาวรีย์ศรีปราชญ์โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบรูปหล่อโลหะ และ ทำพิธีทางศาสนา พราหมณ์และพุทธ โดยประดิษฐานอนุสาวรีย์ ณ ทิศหรดีแห่งสระล้างดาบศรีปราชญ์ ซึ่งอนุสรณ์ศรีปราชญ์ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในสมัยผู้อำนวยการอนันต์ สุนทรานุรักษ์

ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ศรีปราชญ์ ยังความปลาบปลื้มแก่ชาวกัลยาณีศรีธรรมราชและชาวนครศรีธรรมราชเป็นล้นพ้น

พระวิหารสูง หรือ หอพระสูง[แก้]

หอพระวิหารสูง หรือชาวกัลยาณีศรีธรรมราชเรียกกันว่า”พระสูง” นั้นประดิษฐานอยู่ในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ฝั่งก.ณ.2

เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือในบริเวณสนามหน้าเมือง ใกล้สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนราชดำเนิน เรียกชื่อตามลักษณะของการก่อสร้างของพระวิหารซึ่งสร้างบนเนินดินที่สูงกว่าพื้นปกติถึง 2.10 เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงประวัติอย่างแท้จริง แต่สามารถสันนิษฐานจากลักษณะของสถาปัตยกรรม และจิตรกรรมฝาผนังว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนดินเหนียว สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 23–24 หรือในสมัยอยุธยาตอนปลาย

ยังไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสารแน่ชัดเกี่ยวกับประวัติการสร้างหอพระสูงแห่งนี้ แต่มีเรื่องเล่าของชาวบ้านที่บอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า เนินดินขนาดใหญ่เป็นที่ประดิษฐานหอพระสูงนั้น ชาวบ้านได้ช่วยกันขุดดินจากบริเวณคลองหน้าเมืองมาถมเป็นเนินขนาดใหญ่เพื่อใช้ตั้งปืนใหญ่ในการสกัดกั้นทัพพม่า ในคราวที่ได้มีการยกทัพใหญ่ลงมาตีหัวเมืองหน้าด่านต่าง ๆ ทางภาคใต้ ตั้งแต่มะริด ถลาง ไชยา จนถึงนครศรีธรรมราช บริเวณสนามหน้าเมืองน่าจะเป็นสนามรบและตั้งทัพตามกลยุทธ์ในการจัดทัพออกศึก เพื่อต่อสู้ประจัญบาน ต่อมาบริเวณแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ได้มีการก่อสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชา และได้สร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปในเวลาต่อมา

รูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นอาคารทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูนขนาดกว้าง ๕.๙๐ เมตร ยาว ๑๓.๒๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังคาเป็นเครื่องไม้มุง กระเบื้องดินเผาผนังด้านข้างเยื้องมาทางด้านหน้าทั้งสองด้านเจาะเป็นกรอบหน้าต่าง ทำช่องรับแสงในกรอบเป็นรูปกากบาท ฐานชั้นล่างก่อด้วยอิฐเป็นตะพัก ๔ ชั้น ด้านหน้าทางขึ้นเป็นบันไดต่อจากเนินเข้าไปยังพระวิหาร

รูปแบบประติมากรรม ได้แก่ องค์พระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย แกนพระพุทธรูปทำด้วยดินเหนียวโบกปูนปั้น องค์พระภายนอกขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๔๐ เมตร สูง ๒.๘๐ เมตร ลักษณะอวบอ้วน พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เป็นรูปคันศร พระศอเป็นริ้ว พระกรรณห้อยต่ำอยู่ใต้พระศก พระเกศาเกล้าเป็นมวย เม็ดพระศกเป็นขมวดปนเล็ก ยอดพระเกตุมาลาอาจหักหายไปครองผ้าสังฆาฏิเฉียงจากพระอังสาซ้ายมาจรดพระนาภี ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงวินิจฉัยว่าควรจัดอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔ สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ทางด้านหลังขอหอพระสูงพบพุทธรูปหินทรายแดง ปางมารวิชัย เศียรหักหายไป ส่วนฐานมีจารึกภาษาขอม รูปแบบจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเป็นรูปดอกไม้ห้อยลง กลีบดอกเขียนด้วยสีน้ำตาลจำนวน ๘ กลีบ ด้านดอกเขียนสีน้ำเงินหรือสีคราม ส่วนก้านเกสรเป็นลายไทย ดูอ่อนช้อยสวยงาม ส่วนใต้ฐานพระพุทธรูปเป็นลายจีน เข้าใจว่าคงเขียนขึ้นภายหลัง รูปแบบของจิตรกรรมฝาผนังคล้ายงานเขียนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีอิทธิพลจีนเข้ามาปะปนผสมกับลวดลายไทย

อาคารของโรงเรียน อั๊ยย่ะชั่ยๆ[แก้]

โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง

“ ฝั่งกัลยาณี 1 ” มีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา มีอาคารดังนี้

อาคาร 1 หรือเรียกว่า อาคารอึ่งค่ายท่าย เป็นอาคาร 2 ชั้น อาคาร 2 (อาคาร EP) เป็นอาคารพิเศษ 4 ชั้น สีส้ม ซึ่งติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งอาคาร อาคาร 3 อาคาร 7 ชั้น อาคาร 4 หรือเรียกกันว่า อาคารกวีศรีปราชญ์ เป็นอาคาร 2 ชั้น อาคาร 5เป็นอาคาร 4 ชั้น ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งอาคาร อาคาร 6 (อาคารวิทย์) เป็นอาคาร 3 ชั้น อาคาร 7 (อาคาร SMGP) เป็นอาคาร 7 ชั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน